ความยุติธรรมและความเสมอภาคที่แท้จริงไม่มีในโลกใบนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเลือกข้างและกำหนดจุดยืนให้ชัดเจน เพื่อจะก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...
3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ
2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์
1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์
สด จาก เอเชียอัพเดท
วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 59 คลื่นใต้น้ำ
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : หลังรัฐประหาร
ตอนที่ 59 : คลื่นใต้น้ำ
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
*******************************************************************************
ตอนที่ 59 : คลื่นใต้น้ำ
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
*******************************************************************************
คลื่นใต้น้ำเป็นหลักฐานที่บอกว่าคนยังคงเป็นคน และมีศักดิ์ศรีทางสมองที่เหนือกว่าสัตว์หลายชนิด
*******************************************************************************
คลื่นใต้น้ำ
ผมว่าขำดีครับ เรื่องคลื่นใต้น้ำที่พูดกันจังในระยะนี้ เพราะถ้ายอมรับว่าชีวิตจริงเปรียบเสมือนผืนน้ำถึงขนาดที่เรียกรัฐบาลว่ารัฐนาวาแล้ว ก็ย่อมจะต้องมีคลื่นทั้งเหนือน้ำและใต้น้ำ แตกต่างจากแผ่นดินที่แข็งโปกเหมือนอัมพาตกิน
ถ้ายิ่งยอมรับได้ว่า เพื่อนมนุษย์ไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไรก็เป็นคนเหมือนกัน มีศักดิ์ศรีที่ไม่ได้เหลื่อมล้ำกันนักหนา อย่างที่เรียกว่าจิตใจประชาธิปไตย ก็จะยิ่งยอมรับว่าสังคมประกอบด้วยคนหลายหมู่เหล่าที่มีผลประโยชน์ ความคิด ความเชื่อ และวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน คงจะไม่พูดพล่อยๆ ว่าความเคลื่อนไหวที่ไม่ตรงตามความต้องการของตนเป็นคลื่นใต้น้ำ
ใครที่พูดคำว่าคลื่นใต้น้ำบ่อยๆ คงจะเพราะเชื่อว่าตัวเองยิ่งใหญ่เหลือประมาณ นำมาตั้งเป็นเจว็ดอยู่ตรงไหนเป็นต้องตกตะลึงนิ่งงันกันไปหมด ความเคลื่อนไหวทุกประการจะหยุดชะงัก ด้วยความครั่นคร้ามประกายวามวับจากอินทรีย์อันตระหง่านงามของตน
ราวกับคนบ้าอย่างไรก็อย่างนั้น
ผมเคยคุยกับผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ ได้รู้เรื่องที่น่าสนใจหลายอย่าง เป็นต้นว่ากว่าจะกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า “น้ำ” ได้นั้น สรรพสิ่งทั้งหลายนับไม่ถ้วนได้ผ่านขั้นตอนอันซับซ้อนอย่างไรกว่าจะมาหลอมรวมกันได้
น้ำจึงเป็นตัวทำละลายที่มีประสิทธิภาพยิ่ง เพราะน้ำมาจากทุกอย่าง
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าน้ำนั้นมีความคมยิ่งนัก สามารถจะเปลี่ยนรูปสรรพสิ่งทั้งหลายได้ทั้งหมดหากใช้เวลานานพอ
แต่ “น้ำหยดลงหินทุกวันหินมันยังกร่อน แต่หัวใจอ่อนๆ...” นั้นไม่ใช่พุทธวัจนะ แต่เป็นเพลงของคุณสุเทพ วงศ์กำแหง
ใครที่อยากเข้าใจองค์ประกอบของสังคมมนุษย์ เพื่อจะได้เข้าถึงแนวคิดประชาธิปไตยได้ ผมว่าเริ่มต้นศึกษาธรรมชาติของน้ำก็น่าจะดี
น้ำเริ่มต้นทีละหยด รวมตัวกันเป็นปริมาณที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ตามการกักเก็บ และเมื่อพัฒนาพลังงานจลน์และพลังงานศักย์ถึงขนาดหนึ่งแล้ว น้ำก็ไหลลงมาผลักให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้ หรือม้วนตัวลงเขาหรือวิ่งขึ้นมาตามชายหาดให้คนทั้งหลายบรรลัยวายวอดได้อีกเหมือนกัน จึงเรียกชื่ออย่างหลากหลายตั้งแต่ หยดน้ำ ธารน้ำ กระแสน้ำ คลื่น ฝน ไปจนถึง อุทกภัย
คนเริ่มต้นทีละคน รวมตัวกันเป็นปริมาณที่หนักแน่นขึ้นเรื่อยๆ ตามวิธีนำมวลชนและการบริหารจัดการสังคม เมื่อมีพลังถึงระดับหนึ่งแล้วก็สร้างกฎหมายพื้นฐานและกฎเกณฑ์ต่างๆ มากมายเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบ ถ้ารวมตัวกันไปสร้างวัดหรือทอดกฐินสามัคคีก็จะได้กุศลมาก แต่ถ้าวิ่งดาหน้าเข้าไปอย่างบ้าคลั่ง ก็จะฉิบหายไปตามๆ กันไม่ว่าจะที่ไหน
ตราบใดที่น้ำยังเคลื่อนไหวและเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา มีน้ำใหม่มาแทนน้ำเก่าอย่างที่เรามองตามไม่ทันหรือมองไม่เห็น มีเกลียวน้ำที่ไหลม้วนไปมาอยู่ตลอดเวลาทั้งที่ดูเสมือนไหลไปในทางเดียวกัน คนในสังคมก็ต้องมีจิตใจที่แตกต่างกันอยู่เสมอ ไม่อาจเป็นเนื้อเดียวกันได้ ยกเว้นจะมีข้อตกลงที่สร้างสรรค์
คนที่เข้าใจโลกที่แท้จริง ไม่หลงมายาอยู่ในโลกที่ตัวสร้างขึ้นจนลืมและวางบทบาทให้คนรอบตัวส่งเสริมมายาจนโงหัวไม่ขึ้น จะไม่กล้าคิดเลยว่ามนุษย์จะกลายสภาพไปเป็นสรรพสิ่งที่ไร้ชีวิตและจิตใจได้ และจะไม่ปฏิเสธเลยว่าคลื่นใต้น้ำเกิดขึ้นได้ในสังคมของคนที่ยังไม่ใช่ซากศพ
คลื่นใต้น้ำเป็นหลักฐานที่บอกว่าคนยังคงเป็นคน และมีศักดิ์ศรีทางสมองที่เหนือกว่าสัตว์หลายชนิด
คำถามไม่ได้อยู่ที่ว่าประเทศไทยขณะนี้มีคลื่นใต้น้ำหรือไม่ หรือโดยใคร คำถามคือเราจะหาทางรับรู้เกี่ยวกับคลื่นใต้น้ำเหล่านั้นและหาทางอยู่ร่วมกันโดยสันติได้อย่างไร
กระบวนการนี้เรียกว่าประชาธิปไตย ซึ่งไม่ได้วิเศษจนหาที่เปรียบมิได้ หากเป็นเครื่องมืออ่านคลื่นใต้น้ำในทางสังคมที่โลกอารยะเขาถือว่ามีประสิทธิภาพที่สุดแล้ว
เลิกถามถึงคลื่นใต้น้ำเสียทีเถอะครับ เพราะฟังแล้วน้ำวิ่งไปรวมกันที่คอหอยหมด
คลื่นไส้.
-----------------------------------------------------------------------------------
เพลโต-ศิษย์โสกราติส โดย จักรภพ เพ็ญแข
ที่มา : คอลัมน์ “กว่าจะเป็นประชาธิปไตย” นิตยสารข่าวสังคมมุสลิมและสถานการณ์โลก ฉบับที่ 6
โดย : จักรภพ เพ็ญแข
เรื่อง : เพลโต-ศิษย์โสกราติส
เรื่อง : เพลโต-ศิษย์โสกราติส
******************************************************************************
เพลโต (ในภาษากรีก: Πλάτων Plátōn, อังกฤษ: Plato) (427 - 347 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก เขาเป็นลูกศิษย์ของโสกราติส เป็นอาจารย์ของอริสโตเติล เป็นนักเขียน และเป็นผู้ก่อตั้งอาคาเดมีซึ่งเป็นสำนักวิชาในกรุงเอเธนส์
******************************************************************************
ถึงโสกราติสถูกฆ่าตายอย่างทารุณด้วยยาพิษและถูกตัดเท้าทิ้งทั้งสองข้าง เพราะยืนยันว่าการจัดระเบียบสังคมเป็นสิทธิและหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน จนสร้างความขัดเคืองใจให้กับคนในวรรณะกษัตริย์ในยุคนั้น และเป็นที่เกลียดชังของเหล่าพระผู้อ้างว่าเป็นตัวแทนของพระเจ้า แต่เขาก็ทิ้งมรดกทางความคิดมาจนถึงรุ่นเราได้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและแสวงหาสมดุลของสังคมกันถึงทุกวันนี้ บุคคลที่เราต้องไหว้ครูเป็นพิเศษนอกจากตัวอาจารย์ใหญ่ท่านนี้แล้ว คือลูกศิษย์ที่จดบันทึกคำสอนเหล่านั้นไว้อย่างเป็นระบบจนเราได้อ่านและศึกษากันนั่นเอง
วันนี้จึงเป็นเรื่องของลูกศิษย์คนนั้น คนที่ต่อมาก็กลายเป็นอาจารย์เองด้วย เขาคือเพลโต้ (Plato) ผู้มาก่อนการณ์และก่อนความเข้าใจของสังคมอีกคนหนึ่ง
เพลโตบันทึกสิ่งที่อาจารย์โสกราติสสอนไว้ในรูปบทสนทนาจำนวน ๓๕ บทและจดหมายอีก ๑๓ ฉบับ โดยให้ความดีกับอาจารย์อย่างเต็มที่ แต่นักประวัติศาสตร์รุ่นหลังสงสัยกันมากว่าทั้งหมดนี้เป็นคำสอนใครกันแน่ อาจจะเป็นงานเขียนของเพลโตเอง แต่อ้างชื่อของอาจารย์ผู้โด่งดังและผู้คนยอมรับมากกว่า
นั่นก็ช่างเถิด
เพราะเพลโตยังพัฒนาวิธีคิดในเรื่องจำนวน ปริมาณ และปริมาตร จนกลายเป็นนักคณิตศาสตร์ ได้วางพื้นฐานการเรียนในระดับอุดมหรืออุดมศึกษาไว้ในรูปของวิทยาลัย (Academy) ณ นครเอเธนส์ และสร้างองค์ความรู้ในวิชาปรัชญาธรรมชาติ ซึ่งเป็นฐานของปรัชญาตะวันตกที่มีบทบาทครอบครองโลกมาตั้งแต่เกิดรัฐขึ้น ให้เราใช้เป็นเครื่องมือถกเถียงกันจนถึงทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น ตรรกะ วาทกรรม ฯลฯ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในระบอบประชาธิปไตย
นักประชาธิปไตยควรทราบว่า โสกราติสเป็นคนแรกๆ ในโลกที่บอกว่าเรามีสิทธิ์คิด และมีสิทธิ์ทางสังคม ลูกศิษย์เอกอย่างเพลโตคือผู้ที่นำการค้นพบอันกล้าหาญมาสานต่อจนกลายเป็นที่ยืนของพวกเราทุกวันนี้ ส่วนตำนานที่แต่งเติมกันว่าเพลโตพูดจามีวาทศิลป์ถึงขนาดที่ตอนเด็กๆ ผึ้งบินมาจับกันเต็มที่ริมฝีปากนั้น สุดแต่ภาวะจิตของแต่ละคน ถือว่าเป็นสีสันบันเทิงกันไป
สำหรับชาวประชาธิปไตยในโลกนี้ บุญคุณใหญ่ที่สุดของเพลโตอยู่ในความคิดและงานเขียนที่มีชื่อว่า “สาธารณรัฐ” หรือ “The Republic” เพราะเราถกเถียงอย่างเร่าร้อนรุนแรง เสียเลือดเนื้อมาตลอดประวัติศาสตร์ และยังสู้กันต่อไป ด้วยเจตนาจะวางแบบแผนให้กับสิ่งที่เรียกว่า รัฐ (state) ซึ่งเพลโตเป็นผู้วางรากฐานทางปรัชญาให้
เพลโตเสนอว่ามนุษย์ควรเริ่มต้นคิดว่า รัฐอุดมคติ (ideal state) ในทัศนะของตนเป็นอย่างไร ไม่ใช่ยอมรับสิ่งที่เป็นอยู่อย่างดื้อรั้นและฝังใจว่าเปลี่ยนแปลงไม่ได้ อุดมคตินั้นเพลโตเสนอว่าควรมีอย่างน้อย ๒ อย่างขึ้นในสังคมแบบอุดม นั่นคือ
๑. กฎหมาย
๒. รัฐบุรุษ
กฎหมายก็คือข้อตกลงร่วมทางสังคมที่นำมาใช้บังคับบุคคลเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม แทนที่จะใช้ผู้มีอำนาจกำหนด ในยุคที่การใช้กฎหมายปกปักรักษาสิทธิส่วนบุคคลของปัจเจกยังไม่ใช่แนวทางที่งอกงามอำไพนัก และรัฐบุรุษก็คือผู้ปกครองและผู้มีอำนาจในรัฐอย่างมีกรอบ เพราะสังคมสร้างกรอบขึ้นมาให้
ในยุคนั้น การเสนอใช้กฎหมายแทนตัวบุคคลผู้มีอำนาจรัฐ และการวางวิธีจำกัดอำนาจของผู้มีอำนาจรัฐ เป็นแนวคิดที่ก้าวหน้าอย่างหาที่เปรียบมิได้เลย เป็นอันตรายอย่างสาหัสกับผู้เสนอ อย่าว่าแต่กรีกของเพลโตเลยครับ เมืองไทยสมัยนี้ก็พูดดังๆ ได้เสียที่ไหน
แต่ไม่นานจากนี้ สองประเด็นนี้ล่ะที่เราจะใช้เป็นธงนำในการปฏิวัติประชาธิปไตยอันแท้จริงในรัฐที่ล้าหลังทางการเมืองอย่างเมืองไทยเสียยิ่งกว่ารัฐของเพลโต
แต่สิ่งที่ผมอ่านและคิดต่อจากเพลโตอย่างอัศจรรย์ใจ คือสิ่งที่เรียกกันในสมัยหลังว่าไตรลักษณ์ในโครงสร้างทางสังคม ซึ่งประกอบเข้าด้วยกันแล้วตอบโจทย์ของมนุษย์ผู้มิใช่พรหมได้สบาย ไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องทำสงครามแก่งแย่งกันเลย
เพลโตเสนอว่าสังคมมี ๓ ส่วน และต้องพัฒนาทั้ง ๓ ส่วนไปสู่ความเป็นอุดมรัฐหรือรัฐอุดมคติ
๑. ความต้องการทางกาย (appetite)
ถึงโสกราติสถูกฆ่าตายอย่างทารุณด้วยยาพิษและถูกตัดเท้าทิ้งทั้งสองข้าง เพราะยืนยันว่าการจัดระเบียบสังคมเป็นสิทธิและหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน จนสร้างความขัดเคืองใจให้กับคนในวรรณะกษัตริย์ในยุคนั้น และเป็นที่เกลียดชังของเหล่าพระผู้อ้างว่าเป็นตัวแทนของพระเจ้า แต่เขาก็ทิ้งมรดกทางความคิดมาจนถึงรุ่นเราได้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและแสวงหาสมดุลของสังคมกันถึงทุกวันนี้ บุคคลที่เราต้องไหว้ครูเป็นพิเศษนอกจากตัวอาจารย์ใหญ่ท่านนี้แล้ว คือลูกศิษย์ที่จดบันทึกคำสอนเหล่านั้นไว้อย่างเป็นระบบจนเราได้อ่านและศึกษากันนั่นเอง
วันนี้จึงเป็นเรื่องของลูกศิษย์คนนั้น คนที่ต่อมาก็กลายเป็นอาจารย์เองด้วย เขาคือเพลโต้ (Plato) ผู้มาก่อนการณ์และก่อนความเข้าใจของสังคมอีกคนหนึ่ง
เพลโตบันทึกสิ่งที่อาจารย์โสกราติสสอนไว้ในรูปบทสนทนาจำนวน ๓๕ บทและจดหมายอีก ๑๓ ฉบับ โดยให้ความดีกับอาจารย์อย่างเต็มที่ แต่นักประวัติศาสตร์รุ่นหลังสงสัยกันมากว่าทั้งหมดนี้เป็นคำสอนใครกันแน่ อาจจะเป็นงานเขียนของเพลโตเอง แต่อ้างชื่อของอาจารย์ผู้โด่งดังและผู้คนยอมรับมากกว่า
นั่นก็ช่างเถิด
เพราะเพลโตยังพัฒนาวิธีคิดในเรื่องจำนวน ปริมาณ และปริมาตร จนกลายเป็นนักคณิตศาสตร์ ได้วางพื้นฐานการเรียนในระดับอุดมหรืออุดมศึกษาไว้ในรูปของวิทยาลัย (Academy) ณ นครเอเธนส์ และสร้างองค์ความรู้ในวิชาปรัชญาธรรมชาติ ซึ่งเป็นฐานของปรัชญาตะวันตกที่มีบทบาทครอบครองโลกมาตั้งแต่เกิดรัฐขึ้น ให้เราใช้เป็นเครื่องมือถกเถียงกันจนถึงทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น ตรรกะ วาทกรรม ฯลฯ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในระบอบประชาธิปไตย
นักประชาธิปไตยควรทราบว่า โสกราติสเป็นคนแรกๆ ในโลกที่บอกว่าเรามีสิทธิ์คิด และมีสิทธิ์ทางสังคม ลูกศิษย์เอกอย่างเพลโตคือผู้ที่นำการค้นพบอันกล้าหาญมาสานต่อจนกลายเป็นที่ยืนของพวกเราทุกวันนี้ ส่วนตำนานที่แต่งเติมกันว่าเพลโตพูดจามีวาทศิลป์ถึงขนาดที่ตอนเด็กๆ ผึ้งบินมาจับกันเต็มที่ริมฝีปากนั้น สุดแต่ภาวะจิตของแต่ละคน ถือว่าเป็นสีสันบันเทิงกันไป
สำหรับชาวประชาธิปไตยในโลกนี้ บุญคุณใหญ่ที่สุดของเพลโตอยู่ในความคิดและงานเขียนที่มีชื่อว่า “สาธารณรัฐ” หรือ “The Republic” เพราะเราถกเถียงอย่างเร่าร้อนรุนแรง เสียเลือดเนื้อมาตลอดประวัติศาสตร์ และยังสู้กันต่อไป ด้วยเจตนาจะวางแบบแผนให้กับสิ่งที่เรียกว่า รัฐ (state) ซึ่งเพลโตเป็นผู้วางรากฐานทางปรัชญาให้
เพลโตเสนอว่ามนุษย์ควรเริ่มต้นคิดว่า รัฐอุดมคติ (ideal state) ในทัศนะของตนเป็นอย่างไร ไม่ใช่ยอมรับสิ่งที่เป็นอยู่อย่างดื้อรั้นและฝังใจว่าเปลี่ยนแปลงไม่ได้ อุดมคตินั้นเพลโตเสนอว่าควรมีอย่างน้อย ๒ อย่างขึ้นในสังคมแบบอุดม นั่นคือ
๑. กฎหมาย
๒. รัฐบุรุษ
กฎหมายก็คือข้อตกลงร่วมทางสังคมที่นำมาใช้บังคับบุคคลเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม แทนที่จะใช้ผู้มีอำนาจกำหนด ในยุคที่การใช้กฎหมายปกปักรักษาสิทธิส่วนบุคคลของปัจเจกยังไม่ใช่แนวทางที่งอกงามอำไพนัก และรัฐบุรุษก็คือผู้ปกครองและผู้มีอำนาจในรัฐอย่างมีกรอบ เพราะสังคมสร้างกรอบขึ้นมาให้
ในยุคนั้น การเสนอใช้กฎหมายแทนตัวบุคคลผู้มีอำนาจรัฐ และการวางวิธีจำกัดอำนาจของผู้มีอำนาจรัฐ เป็นแนวคิดที่ก้าวหน้าอย่างหาที่เปรียบมิได้เลย เป็นอันตรายอย่างสาหัสกับผู้เสนอ อย่าว่าแต่กรีกของเพลโตเลยครับ เมืองไทยสมัยนี้ก็พูดดังๆ ได้เสียที่ไหน
แต่ไม่นานจากนี้ สองประเด็นนี้ล่ะที่เราจะใช้เป็นธงนำในการปฏิวัติประชาธิปไตยอันแท้จริงในรัฐที่ล้าหลังทางการเมืองอย่างเมืองไทยเสียยิ่งกว่ารัฐของเพลโต
แต่สิ่งที่ผมอ่านและคิดต่อจากเพลโตอย่างอัศจรรย์ใจ คือสิ่งที่เรียกกันในสมัยหลังว่าไตรลักษณ์ในโครงสร้างทางสังคม ซึ่งประกอบเข้าด้วยกันแล้วตอบโจทย์ของมนุษย์ผู้มิใช่พรหมได้สบาย ไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องทำสงครามแก่งแย่งกันเลย
เพลโตเสนอว่าสังคมมี ๓ ส่วน และต้องพัฒนาทั้ง ๓ ส่วนไปสู่ความเป็นอุดมรัฐหรือรัฐอุดมคติ
๑. ความต้องการทางกาย (appetite)
๒. ความต้องการทางจิตวิญญาณ (spirit)
๓. หลักเหตุผล (reason)
รัฐที่ดีที่สุดในทัศนะของเพลโต คือรัฐที่รู้ว่ามนุษย์เป็นทั้งคนและสัตว์ไปพร้อมกันและสร้างสมดุลได้ ความต้องการทางกายนั้นเป็นภาวะของสัตว์โลกโดยแท้ ทั้งกิน กาม และสัญชาติญาณดิบอื่นๆ แต่เมื่อเรานำจิตวิญญาณเข้ามาประกอบและพัฒนา ฝึกให้ใช้หลักเหตุผลแทนพละกำลังและความเป็นสัตว์ได้บ้างแล้ว รัฐนั้นๆ ก็จะอยู่ได้สบายขึ้นตามลำดับ เรื่องของศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ ค่านิยม ฯลฯ ก็ไหลเข้าสู่สังคมได้ในขั้นตอนนี้ ถึงบางอย่างที่จำนวนนั้นจะพากลับไปสู่ความเป็นสัตว์อยู่บ้าง อย่างพวกสุดโต่งของทุกศาสนา (religious fundamentalists) หรือลัทธิความเชื่อที่กดขี่มนุษย์อื่นๆ แต่สังคมมนุษย์ก็ยกสูงขึ้นมากเพราะกรอบความคิดที่เพลโตเสนอ
แต่เพลโตก็เป็นคน มิใช่พรหมหรือเทพเจ้ากรีก (โดยส่วนตัวแกก็บวงสรวงบูชาเทพเจ้าอพอลโลอยู่เสมอ) เมื่อถึงเวลาแบ่งชนชั้นทางสังคม ก็ยังอดแบ่งตามความเป็นจริงในยุคนั้นไม่ได้ เรื่องที่ว่านี้ชาวประชาธิปไตยยุคหลังไม่ค่อยชอบใจนัก คนในสังคมถูกแบ่งเป็น ๓ พวกคือ
๑. พวกผลิตงาน (productive)
๒. พวกคุ้มครองป้องกัน (protective)
๓. พวกครองเมือง (governing)
ผมแปลง่ายๆ ว่าเพลโตแบ่งคนในสังคมออกเป็น “๓ ก.” คือกรรมกร กองทัพ และกษัตริย์ โดยไม่ได้บอกชัดเจนว่าแต่ละคนจะไต่บันไดทางสังคมได้อย่างไร กรรมกรต้องเป็นกรรมกรไปตลอดชาติ คลอดลูกออกมาก็ต้องเป็นกรรมกรต่อไปทุกชาติหรืออย่างไร เรื่องนี้นักประชาธิปไตยที่มีแนวคิดเรื่องเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ (ความเป็นพี่น้อง) และนักสังคมนิยมที่เน้นความเท่าเทียมอย่างแท้จริง นำมาปรับปรุงต่ออีกมาก แต่ก็ถือได้ว่าเพลโตชี้ประเด็นไว้เป็นตุ๊กตาให้คนในสังคมวิจารณ์ไว้ชัดเจน
และในเนื้อตัวของปรัชญาแล้วเพลโตก็ไม่ได้พลาด “๓ ก.” ที่ประกอบด้วยกรรมกร กองทัพ และกษัตริย์ ความจริงก็คือผู้ปฏิบัติตามความต้องการทางสังคมสามประการแรกที่เขาเสนอ นั่นคือความต้องการทางกาย ความต้องการทางจิตวิญญาณ และหลักเหตุผล
กรรมกรคือผู้ตอบสนองความต้องการทางกาย
กองทัพคือผู้ตอบสนองความต้องการทางจิตวิญญาณ เพราะดูแลรักษาความเป็นรัฐนั้นๆ
กษัตริย์คือผู้ใช้หลักเหตุผลในการครองเมือง กษัตริย์ในที่นี้รวมถึงขุนนาง นักปราชญ์ ผู้เชี่ยวชาญ พระ และครูอยู่ด้วย รวมเรียกว่าเป็นรัฐบาลหรือคณะผู้บริหารประเทศ
ความแหลมคมของเพลโตอยู่ที่นี่เอง
หากกรรมกรไม่ยอมทำหน้าที่ผลิตของกินของใช้ ไม่เกิดผลิตภาพ (productivity) สังคมนั้นก็ไม่อาจดำเนินต่อไปได้ ถ้าเราโยงมาถึงวันนี้ก็จะเห็นว่าสอดคล้องต่อหลักเศรษฐศาสตร์และกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพราะเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรของรัฐเพื่อสนองความต้องการของคนในรัฐ (แถมเป็นความต้องการที่ไม่จำกัดเสียด้วย)
นี่ก็เรียกว่ารัฐต้องมีความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจ
กองทัพไม่ใช่สู้รบจนได้รับชัยชนะเพราะกล้ามโต โหดร้าย หรือชำนาญเพลงดาบ แต่ปกป้องให้รัฐเป็นรัฐต่อไปได้ และเพลโต้ไม่เคยบอกว่าคนที่รบเก่งจะมีความสามารถปกครองบ้านเมืองเก่งด้วยเสมอไป ทหารจึงไม่ควรขึ้นครองเมืองเพียงเพราะตัวถืออาวุธ
รัฐก็ต้องดูแลให้ทหารอยู่ในกรมกอง ไม่ทะลึ่งออกมาก่อรัฐประหาร เพื่อตัวเองหรือเพื่อเจ้านายคนไหนก็ตาม รัฐที่สมดุลจึงดำรงตนต่อไปได้
โดยเฉพาะกษัตริย์ ไม่ได้หมายความถึงปุถุชนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะเลย แต่หมายถึงคณะของบุคคลที่ประกอบด้วยความสามารถหลายแขนงหลายด้าน เพราะเพลโตรวมนักคิดและนักปรัชญาไว้ในกลุ่มนี้ด้วย นักปรัชญานั้นก็มีทั้งทางโลกและทางธรรมเสร็จสรรพ งานครองเมืองในทัศนะของเพลโตจึงไม่ใช่อำนาจเฉพาะ แต่เป็นอำนาจปลายเปิดที่ผู้รู้สามารถแผ่อิทธิพลเข้าไปในการตัดสินใจได้
กษัตริย์ในยุคหลังๆ จึงไม่ชอบแนวคิดของเพลโตเลย แต่ไปแสวงหาแนวคิดอย่างอื่นมาประกอบขึ้นเป็นพระราชอำนาจอันล้นพ้นและเป็นเอกสิทธิ์บุคคลขึ้นมา ตัวอย่างที่ชัดเจนมากคือลัทธิฟาโรห์ของไอยคุปต์โบราณและลัทธิไศเลนทร์หรือเทวราชของขอมโบราณ เพลโตมาก่อนการณ์มากด้วยข้อเสนอว่ากษัตริย์คืออะไร ไม่ใช่คำถามภายหลังที่ล้าหลังกว่าว่ากษัตริย์คือใคร ในทัศนะของเขา กษัตริย์เป็นสถาบันการเมืองการปกครอง โดยมีตัวบุคคลอยู่ในนั้นและเล็กกว่าในเชิงอิทธิพล
บางครั้งพวกเราต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่แท้ แล้วเราก็งุนงงสับสนเองว่าประชาธิปไตยที่ว่านั้นคือสิ่งใด เพลโตเสนอง่ายๆ ว่าประชาธิปไตยที่แท้คือการสถาปนารัฐของประชาชนหรือรัฐที่ประชาชนเป็นใหญ่ได้สำเร็จเท่านั้นเอง
วางบทบาทของกษัตริย์ (ผู้ปกครอง) กองทัพ (ทหาร) และกรรมกร (ประชาชนผู้เสียภาษี) ไว้เสร็จสรรพ
นักประชาธิปไตยยุคหลังคว้ามาใช้เป็นยาสามัญประจำระบอบได้เลย ตัวผมเองใช้อยู่เป็นประจำ ทำให้บางครั้งอดรู้สึกไม่ได้ว่าเรากวัดแกว่งในบางครั้งก็เพราะไม่เอาหัวใจของความเป็นรัฐมาเป็นหลักในการต่อสู้
การยึดเอาตัวคุณทักษิณ หรือยึดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ หรือสาละวนหาวิธีลดโอกาสที่ทหารจะก่อรัฐประหารนั้นก็ดีอยู่หรอกครับ แต่ต้องถามต่อไปว่าคนเหล่านั้นหรือสิ่งเหล่านั้นเป็นตัวแทนของอะไรในโครงสร้างใหญ่ของรัฐ แล้วต่อสู้อยู่บนหลักการนั้น
เท่าที่ผ่านมาการยึดมั่นกับสัญลักษณ์จนเกินไปทำให้เราขาดความคล่องตัวในการต่อสู้และเคลื่อนห่างจากประชาธิปไตยอันแท้จริงขึ้นทุกวันเหมือนกัน
เอาแค่หลักการของเพลโตก็พอถม ผู้ปกครอง ผู้ถืออาวุธ และผู้ทำมาหาเลี้ยงคนทั้งรัฐ จะอยู่กันอย่างไรให้ปกติสุข
ไม่ว่าจะก่อรัฐประหารยึดอำนาจ หรือเข้าสลายการชุมนุมที่สงบด้วยกำลังที่จัดตั้งแบบนักฆ่ามืออาชีพและอาวุธสงครามครบมือ รัฐอุดมคติก็เสียหายทั้งนั้น เพราะเมื่อผู้ถืออาวุธเล่นรังแกผู้ทำมาหาเลี้ยงคนทั้งรัฐ ทำให้อยู่กันไม่ได้
ผู้ปกครองถูกผู้ถืออาวุธเข่นฆ่าหรือขับไล่ หรือในทางกลับ ผู้ถืออาวุธถูกผู้ปกครองใช้เป็นเครื่องมือรักษาอำนาจของตนอย่างเดียวโดยไม่สนใจรัฐ ก็อยู่กันไม่ได้
หนักที่สุดคือผู้ปกครองเอาเปรียบผู้ทำมาหาเลี้ยงคนทั้งรัฐ เพื่อรักษาอำนาจล้นพ้นของตนเอาไว้ ก็จะเกิดกลียุค ถ้าไม่ไล่ปราบประชาชนจนเลือดนองแผ่นดิน แผ่นดินก็ลุกเป็นไฟเพราะประชาชนลุกขึ้นโค่นอำนาจของผู้ปกครองด้วยกำลัง หายนะทั้งนั้น
ถ้าลองนำแนวคิดบริสุทธิ์ของเพลโตมาใคร่ครวญดูบ้างว่า สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคนไทย มารวมกันเป็นรัฐไทยทำไม ทำไมไม่หนีไปพึ่งใบบุญรัฐอื่นๆ หรือแตกกระสานซ่านเซ็นออกเป็นชนกลุ่มน้อยเพื่อสู้กันต่อไปในทางการเมือง เราอาจจะเห็นสาเหตุของความจลาจลในครั้งนี้ได้ชัดขึ้น
ไม่ต้องไปย้อนอ่านประวัติศาสตร์เมืองไทยหน้าไหนให้เสียเวลาเลยครับ เพราะสิ่งที่จะเกิดต่อไปจากนี้ยังไม่มีใครบันทึกไว้.
---------------------------------------------------------------------------------
TPNews (Thai People News): ข่าวสารสำหรับผู้รักประชาธิปไตย เที่ยงตรง แม่นยำ ส่งตรงถึงมือถือทุกวัน สมัครวันนี้ ใช้ฟรี 14 วัน พิมพ์ PN ส่งมาที่เบอร์ 4552146 ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน (เฉพาะ DTAC 30 บาท/เดือน) Call center: 084-4566794-6 (จ.- ศ. 9.30-17.30 น.)
๓. หลักเหตุผล (reason)
รัฐที่ดีที่สุดในทัศนะของเพลโต คือรัฐที่รู้ว่ามนุษย์เป็นทั้งคนและสัตว์ไปพร้อมกันและสร้างสมดุลได้ ความต้องการทางกายนั้นเป็นภาวะของสัตว์โลกโดยแท้ ทั้งกิน กาม และสัญชาติญาณดิบอื่นๆ แต่เมื่อเรานำจิตวิญญาณเข้ามาประกอบและพัฒนา ฝึกให้ใช้หลักเหตุผลแทนพละกำลังและความเป็นสัตว์ได้บ้างแล้ว รัฐนั้นๆ ก็จะอยู่ได้สบายขึ้นตามลำดับ เรื่องของศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ ค่านิยม ฯลฯ ก็ไหลเข้าสู่สังคมได้ในขั้นตอนนี้ ถึงบางอย่างที่จำนวนนั้นจะพากลับไปสู่ความเป็นสัตว์อยู่บ้าง อย่างพวกสุดโต่งของทุกศาสนา (religious fundamentalists) หรือลัทธิความเชื่อที่กดขี่มนุษย์อื่นๆ แต่สังคมมนุษย์ก็ยกสูงขึ้นมากเพราะกรอบความคิดที่เพลโตเสนอ
แต่เพลโตก็เป็นคน มิใช่พรหมหรือเทพเจ้ากรีก (โดยส่วนตัวแกก็บวงสรวงบูชาเทพเจ้าอพอลโลอยู่เสมอ) เมื่อถึงเวลาแบ่งชนชั้นทางสังคม ก็ยังอดแบ่งตามความเป็นจริงในยุคนั้นไม่ได้ เรื่องที่ว่านี้ชาวประชาธิปไตยยุคหลังไม่ค่อยชอบใจนัก คนในสังคมถูกแบ่งเป็น ๓ พวกคือ
๑. พวกผลิตงาน (productive)
๒. พวกคุ้มครองป้องกัน (protective)
๓. พวกครองเมือง (governing)
ผมแปลง่ายๆ ว่าเพลโตแบ่งคนในสังคมออกเป็น “๓ ก.” คือกรรมกร กองทัพ และกษัตริย์ โดยไม่ได้บอกชัดเจนว่าแต่ละคนจะไต่บันไดทางสังคมได้อย่างไร กรรมกรต้องเป็นกรรมกรไปตลอดชาติ คลอดลูกออกมาก็ต้องเป็นกรรมกรต่อไปทุกชาติหรืออย่างไร เรื่องนี้นักประชาธิปไตยที่มีแนวคิดเรื่องเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ (ความเป็นพี่น้อง) และนักสังคมนิยมที่เน้นความเท่าเทียมอย่างแท้จริง นำมาปรับปรุงต่ออีกมาก แต่ก็ถือได้ว่าเพลโตชี้ประเด็นไว้เป็นตุ๊กตาให้คนในสังคมวิจารณ์ไว้ชัดเจน
และในเนื้อตัวของปรัชญาแล้วเพลโตก็ไม่ได้พลาด “๓ ก.” ที่ประกอบด้วยกรรมกร กองทัพ และกษัตริย์ ความจริงก็คือผู้ปฏิบัติตามความต้องการทางสังคมสามประการแรกที่เขาเสนอ นั่นคือความต้องการทางกาย ความต้องการทางจิตวิญญาณ และหลักเหตุผล
กรรมกรคือผู้ตอบสนองความต้องการทางกาย
กองทัพคือผู้ตอบสนองความต้องการทางจิตวิญญาณ เพราะดูแลรักษาความเป็นรัฐนั้นๆ
กษัตริย์คือผู้ใช้หลักเหตุผลในการครองเมือง กษัตริย์ในที่นี้รวมถึงขุนนาง นักปราชญ์ ผู้เชี่ยวชาญ พระ และครูอยู่ด้วย รวมเรียกว่าเป็นรัฐบาลหรือคณะผู้บริหารประเทศ
ความแหลมคมของเพลโตอยู่ที่นี่เอง
หากกรรมกรไม่ยอมทำหน้าที่ผลิตของกินของใช้ ไม่เกิดผลิตภาพ (productivity) สังคมนั้นก็ไม่อาจดำเนินต่อไปได้ ถ้าเราโยงมาถึงวันนี้ก็จะเห็นว่าสอดคล้องต่อหลักเศรษฐศาสตร์และกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพราะเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรของรัฐเพื่อสนองความต้องการของคนในรัฐ (แถมเป็นความต้องการที่ไม่จำกัดเสียด้วย)
นี่ก็เรียกว่ารัฐต้องมีความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจ
กองทัพไม่ใช่สู้รบจนได้รับชัยชนะเพราะกล้ามโต โหดร้าย หรือชำนาญเพลงดาบ แต่ปกป้องให้รัฐเป็นรัฐต่อไปได้ และเพลโต้ไม่เคยบอกว่าคนที่รบเก่งจะมีความสามารถปกครองบ้านเมืองเก่งด้วยเสมอไป ทหารจึงไม่ควรขึ้นครองเมืองเพียงเพราะตัวถืออาวุธ
รัฐก็ต้องดูแลให้ทหารอยู่ในกรมกอง ไม่ทะลึ่งออกมาก่อรัฐประหาร เพื่อตัวเองหรือเพื่อเจ้านายคนไหนก็ตาม รัฐที่สมดุลจึงดำรงตนต่อไปได้
โดยเฉพาะกษัตริย์ ไม่ได้หมายความถึงปุถุชนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะเลย แต่หมายถึงคณะของบุคคลที่ประกอบด้วยความสามารถหลายแขนงหลายด้าน เพราะเพลโตรวมนักคิดและนักปรัชญาไว้ในกลุ่มนี้ด้วย นักปรัชญานั้นก็มีทั้งทางโลกและทางธรรมเสร็จสรรพ งานครองเมืองในทัศนะของเพลโตจึงไม่ใช่อำนาจเฉพาะ แต่เป็นอำนาจปลายเปิดที่ผู้รู้สามารถแผ่อิทธิพลเข้าไปในการตัดสินใจได้
กษัตริย์ในยุคหลังๆ จึงไม่ชอบแนวคิดของเพลโตเลย แต่ไปแสวงหาแนวคิดอย่างอื่นมาประกอบขึ้นเป็นพระราชอำนาจอันล้นพ้นและเป็นเอกสิทธิ์บุคคลขึ้นมา ตัวอย่างที่ชัดเจนมากคือลัทธิฟาโรห์ของไอยคุปต์โบราณและลัทธิไศเลนทร์หรือเทวราชของขอมโบราณ เพลโตมาก่อนการณ์มากด้วยข้อเสนอว่ากษัตริย์คืออะไร ไม่ใช่คำถามภายหลังที่ล้าหลังกว่าว่ากษัตริย์คือใคร ในทัศนะของเขา กษัตริย์เป็นสถาบันการเมืองการปกครอง โดยมีตัวบุคคลอยู่ในนั้นและเล็กกว่าในเชิงอิทธิพล
บางครั้งพวกเราต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่แท้ แล้วเราก็งุนงงสับสนเองว่าประชาธิปไตยที่ว่านั้นคือสิ่งใด เพลโตเสนอง่ายๆ ว่าประชาธิปไตยที่แท้คือการสถาปนารัฐของประชาชนหรือรัฐที่ประชาชนเป็นใหญ่ได้สำเร็จเท่านั้นเอง
วางบทบาทของกษัตริย์ (ผู้ปกครอง) กองทัพ (ทหาร) และกรรมกร (ประชาชนผู้เสียภาษี) ไว้เสร็จสรรพ
นักประชาธิปไตยยุคหลังคว้ามาใช้เป็นยาสามัญประจำระบอบได้เลย ตัวผมเองใช้อยู่เป็นประจำ ทำให้บางครั้งอดรู้สึกไม่ได้ว่าเรากวัดแกว่งในบางครั้งก็เพราะไม่เอาหัวใจของความเป็นรัฐมาเป็นหลักในการต่อสู้
การยึดเอาตัวคุณทักษิณ หรือยึดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ หรือสาละวนหาวิธีลดโอกาสที่ทหารจะก่อรัฐประหารนั้นก็ดีอยู่หรอกครับ แต่ต้องถามต่อไปว่าคนเหล่านั้นหรือสิ่งเหล่านั้นเป็นตัวแทนของอะไรในโครงสร้างใหญ่ของรัฐ แล้วต่อสู้อยู่บนหลักการนั้น
เท่าที่ผ่านมาการยึดมั่นกับสัญลักษณ์จนเกินไปทำให้เราขาดความคล่องตัวในการต่อสู้และเคลื่อนห่างจากประชาธิปไตยอันแท้จริงขึ้นทุกวันเหมือนกัน
เอาแค่หลักการของเพลโตก็พอถม ผู้ปกครอง ผู้ถืออาวุธ และผู้ทำมาหาเลี้ยงคนทั้งรัฐ จะอยู่กันอย่างไรให้ปกติสุข
ไม่ว่าจะก่อรัฐประหารยึดอำนาจ หรือเข้าสลายการชุมนุมที่สงบด้วยกำลังที่จัดตั้งแบบนักฆ่ามืออาชีพและอาวุธสงครามครบมือ รัฐอุดมคติก็เสียหายทั้งนั้น เพราะเมื่อผู้ถืออาวุธเล่นรังแกผู้ทำมาหาเลี้ยงคนทั้งรัฐ ทำให้อยู่กันไม่ได้
ผู้ปกครองถูกผู้ถืออาวุธเข่นฆ่าหรือขับไล่ หรือในทางกลับ ผู้ถืออาวุธถูกผู้ปกครองใช้เป็นเครื่องมือรักษาอำนาจของตนอย่างเดียวโดยไม่สนใจรัฐ ก็อยู่กันไม่ได้
หนักที่สุดคือผู้ปกครองเอาเปรียบผู้ทำมาหาเลี้ยงคนทั้งรัฐ เพื่อรักษาอำนาจล้นพ้นของตนเอาไว้ ก็จะเกิดกลียุค ถ้าไม่ไล่ปราบประชาชนจนเลือดนองแผ่นดิน แผ่นดินก็ลุกเป็นไฟเพราะประชาชนลุกขึ้นโค่นอำนาจของผู้ปกครองด้วยกำลัง หายนะทั้งนั้น
ถ้าลองนำแนวคิดบริสุทธิ์ของเพลโตมาใคร่ครวญดูบ้างว่า สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคนไทย มารวมกันเป็นรัฐไทยทำไม ทำไมไม่หนีไปพึ่งใบบุญรัฐอื่นๆ หรือแตกกระสานซ่านเซ็นออกเป็นชนกลุ่มน้อยเพื่อสู้กันต่อไปในทางการเมือง เราอาจจะเห็นสาเหตุของความจลาจลในครั้งนี้ได้ชัดขึ้น
ไม่ต้องไปย้อนอ่านประวัติศาสตร์เมืองไทยหน้าไหนให้เสียเวลาเลยครับ เพราะสิ่งที่จะเกิดต่อไปจากนี้ยังไม่มีใครบันทึกไว้.
---------------------------------------------------------------------------------
TPNews (Thai People News): ข่าวสารสำหรับผู้รักประชาธิปไตย เที่ยงตรง แม่นยำ ส่งตรงถึงมือถือทุกวัน สมัครวันนี้ ใช้ฟรี 14 วัน พิมพ์ PN ส่งมาที่เบอร์ 4552146 ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน (เฉพาะ DTAC 30 บาท/เดือน) Call center: 084-4566794-6 (จ.- ศ. 9.30-17.30 น.)
วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 58 สไตล์ทหาร
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : หลังรัฐประหาร
ตอนที่ 58: สไตล์ทหาร
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
*******************************************************************************
ครับ สไตล์ทหารนั้นเน้นความแตกต่างระหว่างผู้ออกคำสั่งกับผู้รับคำสั่งมาก เหมือนอยู่คนละโลกกัน
*******************************************************************************
สไตล์ทหาร
ใครที่สนใจในเรื่องของพฤติกรรมองค์กร (Organizational Behavior: OB) น่าจะส่องกล้องเข้าไปทำเนียบรัฐบาลทุกวันนี้ จะได้ความรู้มาก
ข่าวแจ้งว่า รัฐบาลรัฐประหารของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์กำลังปรับตัวอย่างอุตลุดกับระบบราชการของทำเนียบฯ โดยเฉพาะสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายทำเนียบฯ ก็กำลังรู้สึกสำลักน้ำกับ “สไตล์ทหาร” เต็มรัก ไม่รู้ว่าใครจะหมดความอดทนก่อนกัน
รู้แต่ว่าเหนื่อยกันทั้งคู่
อดีตนายกรัฐมนตรีบางท่านเคยพูดหัวเราะๆ กับคนใกล้ชิดว่า “ทหารคนไหนมาเป็นนายกฯ เมืองไทย ปวดกบาลทุกคน เพราะนึกว่าจะสั่งการอะไรได้หมด เอาเข้าจริงแล้วก็เหมือนสั่งขี้มูก ต้องไล่ตามกันอุตลุดกว่าจะได้ผลตามที่สั่งการไป”
ทหารจะเป็นเหล่าไหน คุมอำนาจหรือไม่ได้คุมก็ตาม มักจะคุ้นเคยกับระบบ “สั่งการลงล่าง” ที่จำลองมาจากการสั่งงานในสมรภูมิรบ นั่นคือผู้บังคับบัญชาเปรียบประดุจพระเจ้า คำสั่งแต่ละคำสั่งมีความศักดิ์สิทธิ์เหลือที่จะกล่าว ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ “เก่ง” คือคนที่ทำตามคำสั่งนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะต้องไปขู่เข็ญใครบ้างก็ตาม
แต่กิจการพลเรือนแตกต่างจากนั้นราวฟ้ากับเหว ความเสมอภาคระหว่างมนุษย์มีมากกว่าในวงการทหาร การสั่งการใดๆ จึงเป็นเรื่องของการ “บริหาร” คือผู้ออกคำสั่งต้องหาวิธีที่จะเกิดผลสัมฤทธิ์ตามนั้น มากกว่าการ “บัญชาการ” ซึ่งแปลว่าคนรับคำสั่งต้องเป็นผู้หาวิธีทำงาน พลาดขึ้นมาก็หัวขาดเอง
ทีมงานใหม่เริ่มจะคำรามว่า ระบบราชการของทำเนียบฯ ไม่สนองนโยบายเท่าที่ควร สั่งอะไรไปก็ไม่ได้เรื่อง หรือบางเรื่องที่ได้ก็ช้าเกินการ
ทำเนียบฯ บ่นกลับว่า ทำอะไรก็ไม่วางแผน ไม่บอกล่วงหน้า นึกว่าทุกคนเขาต้องมารุมล้อมอยู่รอบตัวเองตลอดเวลาราวกับจะออกศึกหรืออย่างไร
ทีมงานใหม่ไม่เข้าใจว่าประชุมอะไรกันนักหนา เช่นจะไปเยือนต่างประเทศก็ต้องหารือกันยืดยาว
ทำเนียบฯ โต้ว่า ไม่ประชุมแล้วนายกฯ จะเข้าใจหรือว่าประเด็นหารืออยู่ตรงไหน และมีอะไรที่ละเอียดอ่อนบ้าง
ทีมงานใหม่บอกว่าสถานการณ์อย่างนี้ นายกฯ จะเคลื่อนตัวไปที่ไหนอย่าให้ใครรู้ก่อน
ทำเนียบฯ บอกว่า วาระงานนายกฯ ล่วงหน้าทำไม่ได้เลย แล้วจะหวังความพร้อมจากที่ไหน
ฟังแล้วก็ขำ เหมือนนั่งดูเทนนิส US Open ที่เขาตีโต้กันไปมา
เรื่องนี้ความจริงออกจะลึกซึ้ง การทำงานด้วยอำนาจกับการทำงานด้วยการบริหารฟันเฟืองนั้นไม่เหมือนกัน อำนาจเป็นเรื่องของการสั่งการหรือบัญชาการ ติดตามมาด้วยการตกรางวัลหรือการลงโทษทัณฑ์ การบริหารที่ดีก็มีเรื่องรางวัลและการลงโทษ แต่วัดและประเมินผลจากเป้าหมายของภารกิจนั้นๆ มากกว่าจะยึดมั่นถือมั่นกับผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นคน
อย่างว่าแหละครับ สไตล์ทหารนั้นเน้นความแตกต่างระหว่างผู้ออกคำสั่งกับผู้รับคำสั่งมาก เหมือนอยู่คนละโลกกัน แต่สไตล์พลเรือนนั้นถือว่าทั้งนายและลูกน้องอยู่ในโลกเดียวกัน จะสั่งอะไรต้องคิดซับซ้อนเหมือนเราเป็นคนทำเอง
นายกรัฐมนตรีจึงยังมีพฤติกรรมเหมือนผู้บัญชาการทหารสูงสุดอยู่ที่ตึกไทยคู่ฟ้า และตึกไทยคู่ฟ้าก็เคลื่อนห่างจากตึกอื่นๆ ในทำเนียบรัฐบาลออกไปทุกที
ผลกระทบต่อรองนายกฯ และรัฐมนตรีทั้งหลายก็เห็นได้ชัด บางท่านก็ยังไม่มีรถนำขบวน ทำให้งกๆ เงิ่นๆ ผิดๆ ถูกๆ ประชุมคณะรัฐมนตรีแต่ละครั้งแทบจะต้องส่งหน่วยตามหารัฐมนตรี ที่หลงหายไปไหนก็ไม่รู้
ย้ายลงมาทำงานกลางสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้าก็ดีนะครับ อาจจะหากันเจอ.
----------------------------------------------------------------------------------
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 57 สมานฉันท์ให้ถูกจุด
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : หลังรัฐประหาร
ตอนที่ 57: สมานฉันท์ให้ถูกจุด
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
****************************************************************************
อย่าลืมว่าความไม่สมานฉันท์ในพื้นที่สามจังหวัดแต่เดิมนั้น ส่วนสำคัญมาจากความไม่สมานฉันท์ของผู้กำหนดนโยบายของประเทศในทุกระดับ ทั้งเจ้าของประเทศ ผู้บริหารประเทศ และผู้ปฏิบัติ
ตอนที่ 57: สมานฉันท์ให้ถูกจุด
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
****************************************************************************
อย่าลืมว่าความไม่สมานฉันท์ในพื้นที่สามจังหวัดแต่เดิมนั้น ส่วนสำคัญมาจากความไม่สมานฉันท์ของผู้กำหนดนโยบายของประเทศในทุกระดับ ทั้งเจ้าของประเทศ ผู้บริหารประเทศ และผู้ปฏิบัติ
****************************************************************************
สมานฉันท์ให้ถูกจุด
สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ฯ ประกาศว่าจะทำ คือการปรับเปลี่ยนแนวนโยบายการแก้ไขปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และก็ได้ลงมือไปแล้วหลายเปลาะ รวมทั้งการเดินทางเยือนมาเลเซียและยกเรื่องนี้ขึ้นเป็นวาระหลักในการหารือกับนายกรัฐมนตรีบาดาวี
ขณะนี้ขยับจะนิรโทษกรรมผู้ต้องหา ๕๘ คนจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่อำเภอตากใบ ซึ่งเป็นท่าทีที่สอดคล้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
วิธีการมองปัญหาใต้ของคุณสุรยุทธ์ฯ จึงดูแตกต่างค่อนข้างมากกับคุณทักษิณฯ เมื่อเป็นนายกรัฐมนตรี
หลายคนเห็นว่าเป็นความแตกต่างระหว่างความคิดสมานฉันท์กับการมุ่งหน้าปราบปราม
ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลในครั้งนี้จึงมีความสำคัญและสมควรช่วยกันจับตามอง มองแล้วก็เอาใจช่วยให้แก้ไขปัญหาให้ถูกจุดเสียที โดยอาจจะละวางความยึดมั่นถือไปสักช่วงหนึ่งก่อนว่ารัฐบาลชุดนี้มีที่มาจากการรัฐประหาร
เพราะปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นับเป็นจุดอ่อนของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นจุดอ่อนที่ใครทำก็ตาม
เรื่องนี้เรื่องเดียวอาจจะทำให้รัฐบาลชุดนี้แจ้งเกิดได้
ขณะเดียวกันก็มีเหตุประจวบเหมาะ ซึ่งเกิดต่างกรรมต่างวาระ แต่ดูจะสอดคล้องกันดี นั่นคือพรรคไทยรักไทยแต่งตั้งหัวหน้าพรรคคนใหม่ ได้แก่ คุณจาตุรนต์ ฉายแสง
คุณจาตุรนต์ฯ ในขณะที่เป็นรองนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายให้ทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายว่า จะหาทางบรรเทาไฟแห่งความขัดแย้งที่กำลังโหมกระหน่ำสามจังหวัดชายแดนภายใต้ในขณะนั้นได้อย่างไรบ้าง
หายไประยะหนึ่งแล้วคุณจาตุรนต์ฯ ก็กลับมาเสนอแนวทางสมานฉันท์
หายไประยะหนึ่งแล้วคุณจาตุรนต์ฯ ก็กลับมาเสนอแนวทางสมานฉันท์
สายเสรีนิยมปรบมือกราว ชื่นชมยินดี
แต่สายอนุรักษ์โกรธเคือง เห็นว่าคุณจาตุรนต์ฯ “ไร้เดียงสา” และ “ไปตกหลุมเขา”
กระทบกระเทือนถึงสถานะทางการเมืองของคุณจาตุรนต์ฯ ในครั้งนั้นเป็นอย่างมาก เพราะแนวคิดหลักของรัฐบาลในขณะนั้นคืออนุรักษ์นิยม
พรรคไทยรักไทยในขณะนี้อาจจะไม่ใช่ตัวแปรที่สำคัญอะไรในทางการเมือง แต่ถ้าแนวทางสมานฉันท์ควรก้าวลึกมากกว่านโยบายต่อ “ฝ่ายตรงข้าม” ก็ควรจะเริ่มต้นใช้แนวทางดังกล่าวกับ “ฝ่ายเดียวกัน”
ครับ ไม่ว่ารัฐบาลชุดนี้จะใส่ใจกระบวนการประชาธิปไตยแค่ไหน แต่การได้พันธมิตรทางการเมืองที่มีจุดร่วมกันในบางเรื่อง ก็คงไม่ใช่เรื่องที่เสียหายอะไร
คุณจาตุรนต์ฯ อาจใช้โอกาสนี้เปิดกระบวนการกำหนดนโยบายต่อชายแดนภาคใต้ภายในกรอบของพรรคไทยรักไทย เพราะเมื่อพรรคการเมืองย้อนกลับมาเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลในอนาคตแล้ว ย่อมจะต้องมีแนวนโยบายว่าจะเป็นรัฐบาลประเภทไหน
ระหว่างนี้เองก็กำหนดท่าทีและการแสดงออกสาธารณะได้ ไม่แพ้พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคการเมืองอื่นๆ ทุกพรรค
ถ้ารัฐบาลใช้ประโยชน์เป็น กระบวนการแก้ไขปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็จะราบรื่นและสอดคล้องต้องกันมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศชาติต้องการ
อย่าลืมว่าความไม่สมานฉันท์ในพื้นที่สามจังหวัดแต่เดิมนั้น ส่วนสำคัญมาจากความไม่สมานฉันท์ของผู้กำหนดนโยบายของประเทศในทุกระดับ ทั้งเจ้าของประเทศ ผู้บริหารประเทศ และผู้ปฏิบัติ
ถ้าแก้ไขตรงนี้ได้ก็จะเป็นคุณูปการยิ่ง.
---------------------------------------------------------------------------------
วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553
King Can Do No Worng
เรื่อง “King Can Do No Wrong”
ที่มา : คอลัมน์ ผมเป็นข้าราษฎร นสพ.วิวาทะ ไทยเรดนิวส์ ฉบับที่ 43
โดย จักรภพ เพ็ญแข
โดย จักรภพ เพ็ญแข
----------------------------------------------------------------------------------
อยู่ต่างประเทศดีอย่างหนึ่งตรงที่มีเวลาค้นคว้าและอ่านหนังสือ ผมได้อ่านหนังสือใหม่ๆ มากกว่าตอนอยู่บ้าน หนังสือที่เคยอ่านแล้วบางเล่ม พอมาได้ข้อมูลและประสบการณ์ใหม่ในชีวิต ก็ย้อนกลับไปอ่านอีกและรู้สึกแจ่มแจ้ง พิสูจน์ได้ว่าสัจธรรมนั้นดำรงอยู่รอบตัวเราเสมอ อยู่ที่ตัวเราจะเข้าถึงสัจธรรมนั้นหรือไม่เท่านั้น
เล่มหนึ่งที่ผมหยิบมาอ่านซ้ำด้วยประสบการณ์ใหม่คืองานเขียนของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ที่ชื่อว่า “คำอธิบายกฎหมายปกครอง” อ่านแล้วก็รู้สึกคึกคักขึ้นมา อยากจะแบ่งปันทัศนะบางอย่างที่ได้รับจากการอ่านซ้ำครั้งนี้กับท่านทั้งหลายผู้เป็นเจ้าของประเทศไทย
หนังสือเล่มนี้ให้ข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับทัศนะของอาจารย์ปรีดีในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย ซึ่งท่านได้ร่วมกับสายทหารลงมือกระทำจนสำเร็จในขั้นต้น เมื่อ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ จุดประสงค์หนึ่งของการปฏิวัติประชาธิปไตยครั้งนั้นคือวางหลักเกณฑ์ทางกฎหมายให้เป็นทางออกของสังคมอย่างเป็นธรรม เรียกกันสั้นๆ ว่าหลักนิติธรรม ขณะเดียวกันก็อธิบายคำว่า ปกครอง ที่สัมพันธ์กับคำว่าการเมืองอย่างใกล้ชิด หนังสือเล่มนี้จึงเป็นการผสมผสานระหว่างหลักนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมศักดินาอย่างสยามประเทศ
ท่านเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๗๔ ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองกว่าหนึ่งปี ใครคิดจะกล่าวหาว่าคณะราษฎร์ปฏิวัติประเทศไทยอย่างฉับพลันและไม่วางแผนอะไรล่วงหน้า คงต้องคิดใหม่
ท่อนหนึ่งที่อาจารย์เขียนอธิบายรูปแบบการปกครองในเชิงทฤษฎีไว้ ทำให้เรารุ่นหลังเข้าใจว่าตัวท่านคิดอะไรอยู่ และพลอยให้เข้าใจด้วยว่า เพราะเหตุใดความคิดเชิงทฤษฎีเหล่านั้นจึงไม่สำเร็จผลสมความปรารถนาของท่านและคณะปฏิวัติ ท่านเขียนไว้ว่า
“...๒.๑.๒ รัฐบาลราชาธิปตัยอำนาจจำกัด (Monachie limitee) ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินไม่มีอำนาจในการแผ่นดิน นอกจากอำนาจในการพิธีและลงพระนาม และยอมให้อ้างพระนามในกิจการต่างๆ แต่พระองค์มิได้ใช้อำนาจด้วยตนเอง อำนาจทั้งหลายในการบริหารตกอยู่แก่คณะเสนาบดี เช่น ในประเทศอังกฤษ และเพราะเหตุที่พระเจ้าแผ่นดินทำอะไรไม่ได้นี้เอง จึงมีสุภาษิตอังกฤษอยู่ว่า “King can do no wrong” พระเจ้าแผ่นดินไม่อาจทำผิด ถ้าจะพูดกลับอีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อพระเจ้าแผ่นดินทำอะไรไม่ได้ ก็ทำผิดไม่ได้อยู่เอง...”
ผมอ่านย่อหน้านี้ทบทวนหลายครั้งและคิดตามไป ทำให้เกิดความสว่างขึ้นมาทันทีว่า ปัญหาใหญ่ที่รัดรึงสังคมไทยไว้ที่เดิม ไม่ยอมพัฒนาไปตามอนิจธรรมทั้งที่เป็นเมืองพุทธ อยู่ที่ตรงนี้เอง นั่นคือเรื่องของพระมหากษัตริย์และบทบาทในระบอบที่เรียกว่าประชาธิปไตย ซึ่งไม่ใช่เรื่องของพระมหากษัตริย์ในฐานะบุคคล หากในฐานที่เป็นสถาบันอันทรงอิทธิพลและได้รับอิทธิพลจากสถาบันทางสังคมอื่นๆ
ทุกวันนี้เรายังทำสงครามทางความคิดกันในประเด็นนี้ ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าวิกฤติการณ์การเมืองไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรเลยกับพระมหากษัตริย์ เป็นเรื่องของผู้นำการเมืองเท่านั้น อีกแนวคิดหนึ่งเชื่อว่า ถึงเกี่ยวก็ไม่ทรงต้องรับผิดชอบใดๆ เพราะมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ (รับผิดแทน) อยู่แล้วทุกเรื่อง
เหลืองและชมพูอ้างว่าแดงจะล้มเจ้า โดยมุ่งเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นระบบประธานาธิบดี เมื่อต้นทางส่งเสียงอื้ออึงขึ้น เครือข่ายของอำมาตย์ในบทบาทนักวิชาการ สื่อมวลชน ข้าราชการทหาร ข้าราชการพลเรือน องค์กรที่มิใช่รัฐ (NGOs) ฯลฯ ก็สะท้อนเสียงว่าแดงจะล้มเจ้า ใครไม่กล้าเล่นเรื่องนี้ก็จะไปที่ประเด็นลำดับสองและสาม ได้แก่ ฉ้อโกง และ เป็นพวกก่อความวุ่นวายในสังคม
ทั้งหมดนี้คืออ้างถึงพระมหากษัตริย์เพื่อสร้างความชอบธรรม (legitimacy) ให้ตัวเอง และเพิ่มน้ำหนักให้กับข้อถกเถียงที่ตัวนำเสนอ
ลึกลงไปในใจแล้ว ก็เชื่อว่าพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจจริงและเป็นพระราชอำนาจพิเศษจนไม่ต้องไปเสียเวลาเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ ไม่อย่างนั้นจะอ้างถึงพระมหากษัตริย์ในฐานะอาวุธสำคัญในการต่อสู้ทางการเมืองกันทำไม
พระมหากษัตริย์ในรูปแบบไทยจึงมีอำนาจในทางการเมืองจริง เพราะคนส่วนใหญ่เชื่อว่ามี เมื่อมีแล้วก็ฟังและพร้อมจะกระทำตาม นั่นล่ะคืออำนาจ เพราะอำนาจหมายความถึงสิ่งที่มีแล้วทำให้คนอื่นๆ กระทำตามความต้องการของตนได้ ไม่ว่าจะเป็นอาวุธสงคราม ปากที่พูดเก่ง ความรู้ที่เหนือคนอื่นและได้รับการยอมรับ จนกระทั่งถึงสิ่งที่เรียกว่า บารมี
แต่หลัก “King can do no wrong” ที่อาจารย์ปรีดีอธิบายไว้ชัดเจนว่า เพราะกษัตริย์ไม่มีอำนาจใดๆ ในทางการเมือง เว้นแต่ความเป็นสัญลักษณ์ของประเทศในทางต่างๆ กษัตริย์จึงไม่ต้องทรงรับผิดชอบในกิจการบ้านเมืองเลยนั้น กลับถูกแปลผิดๆ แบบเข้าข้างตัวเองในเมืองไทยจนกลายเป็นว่า พระมหากษัตริย์ทำอะไรได้ทุกอย่างโดยไม่มีความผิด ลุกลามไปจนถึงแนวคิดที่ว่าเมื่อพระองค์ไม่ผิด ใครก็วิจารณ์พระองค์ท่านไม่ได้ จนสุดท้ายก็เกิดวัฒนธรรมใหม่ที่เรียกว่าการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพขึ้นมา
แปลว่าขณะนี้เมืองไทยมีรูปแบบการปกครองที่ออกจะประหลาด นั่นคือคนทั้งหลายเชื่อว่ากษัตริย์ทรงมีอำนาจจริง จะจบในวิกฤติการณ์ครั้งนี้เสียเมื่อไหร่ก็ได้ แต่กษัตริย์กลับไม่ต้องทรงรับผิดชอบอะไรเลยในทางการเมือง แต่รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างคณะนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะกลับมีความรับผิดชอบทางการเมืองเป็นอย่างมาก เสมือนมีอำนาจที่จะเสกเป่าให้ปัญหาการเมืองจบสิ้นลงไปได้ แต่ทว่ากลับไม่มีอำนาจแท้จริงในทางการเมืองเลย ต้องรอเสียงกระซิบจาก “มือที่มองไม่เห็น” อย่างเดียวเท่านั้น
เมื่อคนมีอำนาจกลับไม่ต้องแก้ไขปัญหา และคนมีปัญหากลับขาดอำนาจที่จะใช้แก้ แล้วจะไปแก้ปัญหาได้อย่างไร มองไม่เห็นทาง
แถมผู้เรียกร้องยังนัดกันว่า เรามาทำประหนึ่งว่ารัฐบาลเป็นผู้มีอำนาจแท้จริงทีเถิด ว่าแล้วก็เรียกร้องเฉพาะในสิ่งที่รัฐบาลมีอำนาจทำได้ นั่นคือยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเลือกตั้งใหม่ ทั้งหมดนี้เพื่อเน้นย้ำความเชื่อเดิมว่ารัฐบาลเป็นผู้มีอำนาจจริงและมีอำนาจทุกอย่างในการแก้ไขปัญหา ผู้คนจะได้ลืมว่าใครมีอำนาจจริงในการแก้ไขปัญหานี้
การแปล “King can do no wrong” อย่างผิดๆ โดยเจตนา เป็นสาเหตุพื้นฐานของความจลาจลในการเมืองไทยปัจจุบัน เพราะชวนกันวิ่งวนไปรอบๆ ไม่ยอมแหวกกระแสออกมาสู่ความจริง
ที่สุดแล้วก็ช่วยรักษา “วงจรอุบาทว์” ของการเมืองไทยไว้โดยไม่ได้ตั้งใจ.
----------------------------------------------------------------------------------
อยู่ต่างประเทศดีอย่างหนึ่งตรงที่มีเวลาค้นคว้าและอ่านหนังสือ ผมได้อ่านหนังสือใหม่ๆ มากกว่าตอนอยู่บ้าน หนังสือที่เคยอ่านแล้วบางเล่ม พอมาได้ข้อมูลและประสบการณ์ใหม่ในชีวิต ก็ย้อนกลับไปอ่านอีกและรู้สึกแจ่มแจ้ง พิสูจน์ได้ว่าสัจธรรมนั้นดำรงอยู่รอบตัวเราเสมอ อยู่ที่ตัวเราจะเข้าถึงสัจธรรมนั้นหรือไม่เท่านั้น
เล่มหนึ่งที่ผมหยิบมาอ่านซ้ำด้วยประสบการณ์ใหม่คืองานเขียนของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ที่ชื่อว่า “คำอธิบายกฎหมายปกครอง” อ่านแล้วก็รู้สึกคึกคักขึ้นมา อยากจะแบ่งปันทัศนะบางอย่างที่ได้รับจากการอ่านซ้ำครั้งนี้กับท่านทั้งหลายผู้เป็นเจ้าของประเทศไทย
หนังสือเล่มนี้ให้ข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับทัศนะของอาจารย์ปรีดีในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย ซึ่งท่านได้ร่วมกับสายทหารลงมือกระทำจนสำเร็จในขั้นต้น เมื่อ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ จุดประสงค์หนึ่งของการปฏิวัติประชาธิปไตยครั้งนั้นคือวางหลักเกณฑ์ทางกฎหมายให้เป็นทางออกของสังคมอย่างเป็นธรรม เรียกกันสั้นๆ ว่าหลักนิติธรรม ขณะเดียวกันก็อธิบายคำว่า ปกครอง ที่สัมพันธ์กับคำว่าการเมืองอย่างใกล้ชิด หนังสือเล่มนี้จึงเป็นการผสมผสานระหว่างหลักนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมศักดินาอย่างสยามประเทศ
ท่านเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๗๔ ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองกว่าหนึ่งปี ใครคิดจะกล่าวหาว่าคณะราษฎร์ปฏิวัติประเทศไทยอย่างฉับพลันและไม่วางแผนอะไรล่วงหน้า คงต้องคิดใหม่
ท่อนหนึ่งที่อาจารย์เขียนอธิบายรูปแบบการปกครองในเชิงทฤษฎีไว้ ทำให้เรารุ่นหลังเข้าใจว่าตัวท่านคิดอะไรอยู่ และพลอยให้เข้าใจด้วยว่า เพราะเหตุใดความคิดเชิงทฤษฎีเหล่านั้นจึงไม่สำเร็จผลสมความปรารถนาของท่านและคณะปฏิวัติ ท่านเขียนไว้ว่า
“...๒.๑.๒ รัฐบาลราชาธิปตัยอำนาจจำกัด (Monachie limitee) ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินไม่มีอำนาจในการแผ่นดิน นอกจากอำนาจในการพิธีและลงพระนาม และยอมให้อ้างพระนามในกิจการต่างๆ แต่พระองค์มิได้ใช้อำนาจด้วยตนเอง อำนาจทั้งหลายในการบริหารตกอยู่แก่คณะเสนาบดี เช่น ในประเทศอังกฤษ และเพราะเหตุที่พระเจ้าแผ่นดินทำอะไรไม่ได้นี้เอง จึงมีสุภาษิตอังกฤษอยู่ว่า “King can do no wrong” พระเจ้าแผ่นดินไม่อาจทำผิด ถ้าจะพูดกลับอีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อพระเจ้าแผ่นดินทำอะไรไม่ได้ ก็ทำผิดไม่ได้อยู่เอง...”
ผมอ่านย่อหน้านี้ทบทวนหลายครั้งและคิดตามไป ทำให้เกิดความสว่างขึ้นมาทันทีว่า ปัญหาใหญ่ที่รัดรึงสังคมไทยไว้ที่เดิม ไม่ยอมพัฒนาไปตามอนิจธรรมทั้งที่เป็นเมืองพุทธ อยู่ที่ตรงนี้เอง นั่นคือเรื่องของพระมหากษัตริย์และบทบาทในระบอบที่เรียกว่าประชาธิปไตย ซึ่งไม่ใช่เรื่องของพระมหากษัตริย์ในฐานะบุคคล หากในฐานที่เป็นสถาบันอันทรงอิทธิพลและได้รับอิทธิพลจากสถาบันทางสังคมอื่นๆ
ทุกวันนี้เรายังทำสงครามทางความคิดกันในประเด็นนี้ ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าวิกฤติการณ์การเมืองไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรเลยกับพระมหากษัตริย์ เป็นเรื่องของผู้นำการเมืองเท่านั้น อีกแนวคิดหนึ่งเชื่อว่า ถึงเกี่ยวก็ไม่ทรงต้องรับผิดชอบใดๆ เพราะมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ (รับผิดแทน) อยู่แล้วทุกเรื่อง
เหลืองและชมพูอ้างว่าแดงจะล้มเจ้า โดยมุ่งเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นระบบประธานาธิบดี เมื่อต้นทางส่งเสียงอื้ออึงขึ้น เครือข่ายของอำมาตย์ในบทบาทนักวิชาการ สื่อมวลชน ข้าราชการทหาร ข้าราชการพลเรือน องค์กรที่มิใช่รัฐ (NGOs) ฯลฯ ก็สะท้อนเสียงว่าแดงจะล้มเจ้า ใครไม่กล้าเล่นเรื่องนี้ก็จะไปที่ประเด็นลำดับสองและสาม ได้แก่ ฉ้อโกง และ เป็นพวกก่อความวุ่นวายในสังคม
ทั้งหมดนี้คืออ้างถึงพระมหากษัตริย์เพื่อสร้างความชอบธรรม (legitimacy) ให้ตัวเอง และเพิ่มน้ำหนักให้กับข้อถกเถียงที่ตัวนำเสนอ
ลึกลงไปในใจแล้ว ก็เชื่อว่าพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจจริงและเป็นพระราชอำนาจพิเศษจนไม่ต้องไปเสียเวลาเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ ไม่อย่างนั้นจะอ้างถึงพระมหากษัตริย์ในฐานะอาวุธสำคัญในการต่อสู้ทางการเมืองกันทำไม
พระมหากษัตริย์ในรูปแบบไทยจึงมีอำนาจในทางการเมืองจริง เพราะคนส่วนใหญ่เชื่อว่ามี เมื่อมีแล้วก็ฟังและพร้อมจะกระทำตาม นั่นล่ะคืออำนาจ เพราะอำนาจหมายความถึงสิ่งที่มีแล้วทำให้คนอื่นๆ กระทำตามความต้องการของตนได้ ไม่ว่าจะเป็นอาวุธสงคราม ปากที่พูดเก่ง ความรู้ที่เหนือคนอื่นและได้รับการยอมรับ จนกระทั่งถึงสิ่งที่เรียกว่า บารมี
แต่หลัก “King can do no wrong” ที่อาจารย์ปรีดีอธิบายไว้ชัดเจนว่า เพราะกษัตริย์ไม่มีอำนาจใดๆ ในทางการเมือง เว้นแต่ความเป็นสัญลักษณ์ของประเทศในทางต่างๆ กษัตริย์จึงไม่ต้องทรงรับผิดชอบในกิจการบ้านเมืองเลยนั้น กลับถูกแปลผิดๆ แบบเข้าข้างตัวเองในเมืองไทยจนกลายเป็นว่า พระมหากษัตริย์ทำอะไรได้ทุกอย่างโดยไม่มีความผิด ลุกลามไปจนถึงแนวคิดที่ว่าเมื่อพระองค์ไม่ผิด ใครก็วิจารณ์พระองค์ท่านไม่ได้ จนสุดท้ายก็เกิดวัฒนธรรมใหม่ที่เรียกว่าการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพขึ้นมา
แปลว่าขณะนี้เมืองไทยมีรูปแบบการปกครองที่ออกจะประหลาด นั่นคือคนทั้งหลายเชื่อว่ากษัตริย์ทรงมีอำนาจจริง จะจบในวิกฤติการณ์ครั้งนี้เสียเมื่อไหร่ก็ได้ แต่กษัตริย์กลับไม่ต้องทรงรับผิดชอบอะไรเลยในทางการเมือง แต่รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างคณะนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะกลับมีความรับผิดชอบทางการเมืองเป็นอย่างมาก เสมือนมีอำนาจที่จะเสกเป่าให้ปัญหาการเมืองจบสิ้นลงไปได้ แต่ทว่ากลับไม่มีอำนาจแท้จริงในทางการเมืองเลย ต้องรอเสียงกระซิบจาก “มือที่มองไม่เห็น” อย่างเดียวเท่านั้น
เมื่อคนมีอำนาจกลับไม่ต้องแก้ไขปัญหา และคนมีปัญหากลับขาดอำนาจที่จะใช้แก้ แล้วจะไปแก้ปัญหาได้อย่างไร มองไม่เห็นทาง
แถมผู้เรียกร้องยังนัดกันว่า เรามาทำประหนึ่งว่ารัฐบาลเป็นผู้มีอำนาจแท้จริงทีเถิด ว่าแล้วก็เรียกร้องเฉพาะในสิ่งที่รัฐบาลมีอำนาจทำได้ นั่นคือยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเลือกตั้งใหม่ ทั้งหมดนี้เพื่อเน้นย้ำความเชื่อเดิมว่ารัฐบาลเป็นผู้มีอำนาจจริงและมีอำนาจทุกอย่างในการแก้ไขปัญหา ผู้คนจะได้ลืมว่าใครมีอำนาจจริงในการแก้ไขปัญหานี้
การแปล “King can do no wrong” อย่างผิดๆ โดยเจตนา เป็นสาเหตุพื้นฐานของความจลาจลในการเมืองไทยปัจจุบัน เพราะชวนกันวิ่งวนไปรอบๆ ไม่ยอมแหวกกระแสออกมาสู่ความจริง
ที่สุดแล้วก็ช่วยรักษา “วงจรอุบาทว์” ของการเมืองไทยไว้โดยไม่ได้ตั้งใจ.
----------------------------------------------------------------------------------
TPNews (Thai People News): ข่าวสารสำหรับผู้รักประชาธิปไตย เที่ยงตรง แม่นยำ ส่งตรงถึงมือถือทุกวัน สมัครวันนี้ ใช้ฟรี 14 วัน พิมพ์ PN ส่งมาที่เบอร์ 4552146 ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน (เฉพาะ DTAC 30 บาท/เดือน) Call center: 084-4566794-6 (จ.- ศ. 9.30-17.30 น.)
วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 56 แผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : หลังรัฐประหาร
ตอนที่ 56: แผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
*******************************************************************************
คืบก็กะลา ศอกก็กะลา โลกมันจะใหญ่โตขนาดไหนกันเชียว ก็เลยไม่ได้ยินคนอื่นๆ เขาหัวเราะกันครืนอยู่ภายนอก
ตอนที่ 56: แผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
*******************************************************************************
คืบก็กะลา ศอกก็กะลา โลกมันจะใหญ่โตขนาดไหนกันเชียว ก็เลยไม่ได้ยินคนอื่นๆ เขาหัวเราะกันครืนอยู่ภายนอก
*******************************************************************************
แผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง
วันนี้เป็นวันที่เราควรคิดถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระพุทธเจ้าหลวงกันเป็นพิเศษ ไม่ใช่เพียงเพลิดเพลินว่าเป็นวันหยุดยาว
รัชสมัยของพระองค์ท่าน ผ่านช่วงเวลาของปากเหยี่ยวปากกาอย่างหวุดหวิดหลายครั้ง ใช้เกมการเมืองระหว่างประเทศทุกเกมที่เดี๋ยวนี้ก็ยังทันสมัยและยังใช้กันอยู่
ตั้งแต่สมดุลอำนาจและการสร้างระบบพันธมิตร การแลกเปลี่ยนดินแดนและสิทธิประโยชน์ของรัฐ การทำให้รัฐบาลมีลักษณะ “นานาชาติ” ไปจนถึงการพัฒนาโครงสร้างของประเทศให้กลมกลืนกับมหาอำนาจ
นึกถึงเหตุร้ายในสมัยนั้นแล้วก็เหนื่อยแทนพระองค์ท่าน เพราะเป็นเหตุที่คนอื่นทำ ส่วนในระยะหลังๆ เราต้องผจญกับเหตุร้ายที่กระทำเองเป็นส่วนใหญ่ แม้กระทั่งภัยคอมมิวนิสต์ที่การแทรกซึมจากภายนอกไม่สำคัญเท่ากับความแตกร้าวจากภายใน
คำว่า โลกาภิวัตน์ ยังไม่มีใช้ในรัชสมัยนั้น แต่น่าแปลกที่เนื้อหาสาระของพระบรมราชวิเทโศบาย หรือนโยบายต่างประเทศในยุคนั้นมีความเป็นนานาชาติอย่างเต็มเปี่ยม และไม่ได้มีลักษณะที่น่าละอายหรือเสียศักดิ์ศรีแต่อย่างใดด้วย
พระพุทธเจ้าหลวงทรงสอนแผ่นดินสยามไว้ว่า การมีภาวะจิตใจแบบนานาชาติ (international mindset) คือคิดอะไรกว้างไปในระดับโลก ไม่ใช่คิดแบบสยามและทำแบบสยามราวกับไม่มีประเทศอื่นใดในโลกอีกเลย เป็นเรื่องจำเป็นในการรักษาเอกราช และไม่ใช่การเอาใจ “ฝรั่ง”
ใครที่บังอาจคิดว่าเมืองไทยยิ่งใหญ่เหลือประมาณ อยากทำอะไรข้าก็จะทำ นอกจากจะไม่เดินตามรอยพระยุคลบาทของพระพุทธเจ้าหลวงแล้ว ยังทำให้ประเทศชาติเสี่ยงอันตรายอีกต่างหาก
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณค่อยๆ ยกกะลาที่ครอบกบตัวน้อยออกและโยนทิ้งไป โดยทรงหวังให้กบนั้นมองอะไรได้ไกลและเป็นประโยชน์
จะทราบเกล้าฯ หรือไม่ก็ไม่รู้ว่าบางครั้งบางคราวกะลานั้นก็ย้อนกลับมาครอบกบใหม่ กบใหญ่น้อยก็กระโดดโลดเต้นอย่างดีใจว่าได้กลับมาเป็นใหญ่อีกครั้ง
คืบก็กะลา ศอกก็กะลา โลกมันจะใหญ่โตขนาดไหนกันเชียว
ก็เลยไม่ได้ยินคนอื่นๆ เขาหัวเราะกันครืนอยู่ภายนอก
สิ่งที่พระพุทธเจ้าหลวงพระราชทานไว้ให้คนทั่วแผ่นดินในครั้งนั้น ความจริงคือสิ่งที่รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.๒๕๔๐ เรียกว่าศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์นั่นเอง
เพราะคนที่เข้าใจอะไรกว้างขวางจะสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างชาญฉลาดและทะมัดทะแมง และคนที่พัฒนาตัวเองได้อย่างนั้นถือว่าเกิดมาและใช้ชีวิตได้คุ้ม
การรักษาเอกราชของสยามในสมัยรัชกาลที่ ๕ คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพระราชอาณาจักร คล้ายๆ กับที่เรียกกันอย่างโก้หรูในยุคนี้ว่า HRD (Human Resource Development) ซึ่งยังมีความจำเป็นอย่างเหลือเกินในโลกใบนี้
ชาติอื่นๆ เขาไม่ได้เกิดมาเพื่อจะรักเมืองไทยอย่างไม่มีเงื่อนไข ทุกชาติเขาก็รักตัวเขา และต้องแข่งขันห้ำหั่นกับชาติอื่นๆ ทั้งนั้น คนไทยจึงต้องพัฒนาตัวเองเพื่อให้ต่อสู้กับเขาได้
การเปลี่ยนแปลงใดๆ ในบ้านเมืองจึงต้องคำนึงของพระบรมราชวิเทโศบายของพระพุทธเจ้าหลวงเสมอ
ทำไปแล้วคนไทยฉลาดขึ้นหรือโง่ลง
ทำไปแล้วคนไทยฉลาดขึ้นหรือโง่ลง
ทำไปแล้วคนไทยเข้มแข็งขึ้นหรืออ่อนแอลง
กบในกะลาออกจะมีความสุขจริง เพราะรื่นเริงกันในโลกแคบๆ ว่าข้าไม่ต้องพึ่งใคร แต่เมื่อเขายกกะลาขึ้นแล้วตีโครมทีเดียวก็เลิกกัน
ยางหัวก็ไม่มี สู้คางคกยังไม่ได้เลยครับ.
----------------------------------------------------------------------------------
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 55 ป้ายประชาธิปัตย์
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : หลังรัฐประหาร
ตอนที่ 55: ป้ายประชาธิปัตย์
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
*******************************************************************************
หลักการที่ควรเป็นคือ ถ้าจะไม่อนุญาตให้พรรคการเมืองทำหน้าที่ในทางการเมืองแล้ว ต้องบังคับอย่างเสมอภาคกันทุกพรรค
ตอนที่ 55: ป้ายประชาธิปัตย์
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
*******************************************************************************
หลักการที่ควรเป็นคือ ถ้าจะไม่อนุญาตให้พรรคการเมืองทำหน้าที่ในทางการเมืองแล้ว ต้องบังคับอย่างเสมอภาคกันทุกพรรค
*******************************************************************************
ป้ายประชาธิปัตย์
ความเฉียบขาดของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) ที่กลายสภาพมาเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) มีผลให้พรรคไทยรักไทยที่มีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วสองสมัยรวมห้าปี กลายเป็นพรรคที่ไม่กล้าก้าวขาไปทางไหนในกิจกรรมทางการเมือง
ขนาดประชุมหารือกันยังไม่มั่นใจ แซวกันไปมาในเรื่องห้าคนอย่างขันๆ ระคนหวั่นเกรง
ในขณะที่พรรคชาติไทย พรรคประชาราช พรรคมหาชน และพรรคที่ดูเหมือนจะใช้ชื่อว่า พรรคเสรีไทย ออกจะสบายๆ เหมือนคุ้นเคยกับอากาศแบบนี้มานานปี ในขณะที่พรรคไทยรักไทยกำลังชักแหง่กๆ เพราะปอดและลิ้นหัวใจทำงานผิดปรกติ
เรื่องแบบนี้น่าสังเกตว่าแตกต่างกันเพราะ DNA หรือเพราะว่านี่ไม่ใช่โรคที่ป่วยคลุมไปทั้งหมด แต่เป็นการจงใจแพร่เชื้อโรคไปยังเป้าหมายโดยเฉพาะ ก็เลยป่วยอยู่คนเดียว
ที่พูดอย่างนี้เพราะเห็นป้ายหาเสียงขนาดใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์อยู่ทั่วเมือง โดยเฉพาะสองข้างทางด่วน
วันแรกๆ ไม่แปลกใจ นึกเห็นใจอยู่พอสมควรด้วยซ้ำ เพราะเข้าใจว่าพรรคประชาธิปัตย์ช่างโชคร้ายจริง ขึ้นป้ายโฆษณาคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะอย่างหรูหราใหญ่โต ไม่กี่วันเท่านั้นก็เกิดการยึดอำนาจและฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง ทำให้นึกเสียดายในการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า
ต่อมาชักเริ่มเอะใจว่า ป้ายเหล่านี้ถูกทิ้งเอาไว้อย่างยืดเยื้อยาวนาน ไม่แสลงใจใครและไม่มีใครสั่งเก็บ ในขณะที่ปากก็ประกาศปาวๆ ว่าขณะนี้ยังอยู่ระหว่างกฎอัยการศึก ไม่สนับสนุนให้มีความเคลื่อนไหวใดๆ ในทางการเมือง จนพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลเก่าครั่นคร้าม
น้ำท่วมเหมือนจะตายยังไม่กล้าไปตั้งกองช่วยเหลือชาวบ้าน เพราะกลัวว่าใครจะไปฟ้องผู้มีอำนาจในบ้านเมืองว่าแอบหาเสียง ความผิดอาจจะถึงขั้นกล่าวหาว่าละเมิดคำสั่งของคณะปฏิรูปฯ และอาจจะถือโอกาสยุบพรรคทิ้งเสียเลย
ในขณะที่ไทยรักไทยกำลังหวาดกลัว
ประชาธิปัตย์ก็ขยายพื้นที่ติดป้ายของตนเองไปเรื่อยๆ
เหมือนกับจะบอกว่าประชาธิปไตยกลับคืนมาสู่ประเทศไทยแล้วสำหรับคนทุกคน ยกเว้นพรรคไทยรักไทย
หรือคล้ายกับบอกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีสิทธิอย่างเต็มที่ในฐานะพลเมืองไทยคนหนึ่ง แต่ตอนนี้อย่าเพิ่งกลับ!
หรือคล้ายกับบอกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีสิทธิอย่างเต็มที่ในฐานะพลเมืองไทยคนหนึ่ง แต่ตอนนี้อย่าเพิ่งกลับ!
เงื่อนไขยกเว้นทางการเมืองแบบนี้ออกจะชัดเจนขึ้นทุกวันในสังคมของคนมีการศึกษา
เป็น double standard ที่ออกจะโอ่อ่าน่าตื่นตาตื่นใจมาก
หลักการที่ควรเป็นคือ ถ้าจะไม่อนุญาตให้พรรคการเมืองทำหน้าที่ในทางการเมืองแล้ว ต้องบังคับอย่างเสมอภาคกันทุกพรรค หรือถ้าเห็นว่าสถานการณ์พอรับไหวและจะเปิดช่องให้หายใจกันได้บ้าง ทุกพรรคก็ควรที่จะได้รับสิทธินี้อย่างเท่าเทียมกัน
ทำทีว่าเลือกพรรคนี้ แสดงท่าว่ารังเกียจพรรคโน้น ในขณะที่ยังไม่มีการเลือกตั้งอย่างนี้ ทำให้สงสัยเหลือกำลังว่าจะร่างรัฐธรรมนูญอย่างเป็นกลางได้หรือ
ปัญหาทางการเมืองจะเกิดจากอดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทยหรืออย่างไรก็ตาม แต่การลงโทษพรรคไทยรักไทยและสมาชิกเกือบยี่สิบล้านคนย่อมไม่ใช่หนทางของการทำงานในระบอบประชาธิปไตย
อย่าพูดถึงคำว่า สมานฉันท์ เลยครับ เดี๋ยวจะหัวร่อตกเก้าอี้กันเสียก่อน
คงต้องจารึกไว้ ณ นาทีนี้ของการเมืองไทยว่า ป้ายหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ที่ตระหง่านอยู่ได้ในบรรยากาศอย่างนี้ เป็น Amazing Thailand ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยไม่ควรมองข้าม.
---------------------------------------------------------------------------------
วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 54 รางวัลของสนธิ (ลิ้ม)
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : หลังรัฐประหาร
ตอนที่ 54 : รางวัลของสนธิ (ลิ้ม)
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
******************************************************************************
ใช้คำหยาบๆ คายๆ ล่วงเกินกันอยู่ตลอดเวลาโดยไม่มีใครใช้กฎหมายข้อไหนจัดการได้ ก็เป็นเรื่องของซุปเปอร์แมนเชียวนะจะบอกให้
ตอนที่ 54 : รางวัลของสนธิ (ลิ้ม)
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
******************************************************************************
ใช้คำหยาบๆ คายๆ ล่วงเกินกันอยู่ตลอดเวลาโดยไม่มีใครใช้กฎหมายข้อไหนจัดการได้ ก็เป็นเรื่องของซุปเปอร์แมนเชียวนะจะบอกให้
******************************************************************************
รางวัลของสนธิ (ลิ้ม)
เพิ่งมานึกขึ้นได้ในวันที่ต่างฝ่ายต่างไปเฝ้าสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชที่วัดบวรฯ ยังไม่ทราบเลยว่าใครตกรางวัลให้กับคุณสนธิ (ลิ้ม) แล้วหรือยัง ฐานที่ช่วยรวบรวมพลพรรค “ยิกทักษิณ” มาเขย่าเมืองอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นฐานให้กับการ “ดึงพรมจากใต้เท้า” ของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรจนสำเร็จล้มตึง
ในวันนั้นคุณสนธิฯ “บังเอิญ” ไปเฝ้าสมเด็จอาจารย์ และพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ก็ “บังเอิญ” ไปเฝ้าในวันและเวลาเดียวกัน สื่อมวลชนติดตามท่านนายกฯ ไปทำข่าวเป็นอันมาก ก็น่าจะได้รายงานถึงความบังเอิญครั้งนี้อย่างสะใจคุณสนธิฯ
ปรากฏว่านายกรัฐมนตรีคนใหม่ทักทายตามมารยาท แล้วก็ปลีกตัวหายไปเลย ข่าวแพร่สะพัดว่าอีกฝ่ายก็ออกจะเป็นเดือดเป็นแค้นในความไม่ซาบซึ้ง จากวันนั้นก็เลยมีอะไรเย็นชาอยู่บ้าง
ข่าวว่าอาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิชจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ก็เป็นแค่ข่าวในหนังสือพิมพ์ต่างๆ รวมทั้ง “ผู้จัดการ” และมาบัดนี้ก็พัฒนาไปเป็นข่าวเก่า
มาสมหวังบ้างก็เมื่อเห็นรายชื่อสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนอย่างคุณสำราญ รอดเพชร คุณคำนูญ สิทธิสมาน เข้าไปเป็น ส.ส. แบบชาวบ้านไม่ต้องเลือก ก็ค่อยหายเหนื่อยหน่อย
แต่ก็ยังไม่สุด
ใครก็ตามที่ตั้งโจทย์อยู่ในใจว่า มีรัฐบาลที่ตนเองจะต้องใช้ความปราดเปรื่องของลัทธิประสมสื่อ (media convergence) ในการโค่นล้มลงให้ได้ ถึงขนาดคาดหวังไว้ล่วงหน้าว่าจะประท้วงยืดเยื้อไปจนกระทั่งเกิดการใช้กำลังในรูปใดรูปหนึ่งในบ้านเมือง และ “ทหารกล้า” จะออกมาเป็นบทสรุปเพื่อปิดฉากให้อย่างสวยงาม ย่อมจะต้องคิดบัญชีเป็น
เขาทุ่มชีวิตมาลงทุนนะครับ ต่อให้มีเลือดบ้าขนาดไหนก็ต้องคิดถึงความคุ้มทุนบ้าง อย่างน้อยก็แว่บหนึ่ง
ปัญหาคือจะเอาอะไรอีก
สถานภาพพิเศษก็ขอมาและให้แล้ว ตั้งแต่วันที่สถานีโทรทัศน์ทุกช่องพร้อมใจกันเผยแพร่สารคดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ASTV ช่องเดียวไม่ต้องถ่ายทอด คือวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ นั่นแหละ
ใช้คำหยาบๆ คายๆ ล่วงเกินกันอยู่ตลอดเวลาโดยไม่มีใครใช้กฎหมายข้อไหนจัดการได้ ก็เป็นเรื่องของซุปเปอร์แมนเชียวนะจะบอกให้
แต่ความมีสถานภาพพิเศษอย่างนี้ไม่ได้ทำให้จ่ายเงินเดือนทีมงานได้ และ “ภาพ” ของความมั่งคั่งที่ติดแหงกอยู่ในระบบการเงินก็ใช่ว่าจะหลุดออกมาได้เอง
ก็เลยต้องออกมาทวงบุญคุณบ่อยครั้ง เพราะยังไม่ได้ และวันที่วัดบวรฯ ก็ทำทีเหมือนกับจะจำกันบ่ได้กา เป็นที่น่าสะดุ้งใจนัก
เป็นผมผมก็คิดมาก
ครรลองในระบอบประชาธิปไตยนั้นมีดีหลายอย่าง แต่ที่ดีชัดๆ และมีประโยชน์ยิ่งก็คือ การรู้ได้ว่าใครควรมีราคาเท่าใดในเกมการเมือง
แต่ในการเมืองแบบเบ็ดเสร็จ คนที่เกี่ยวข้องไม่มากก็น้อยจะรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของเรื่องนั้นๆ ความสำคัญก็ค่อยๆ พัฒนาขึ้นไปเป็นมูลค่าที่ไม่ค่อยจะมีมาตรฐาน
ไม่นานก็ต้องนำไปแลกเปลี่ยนเป็นธนบัตรอันสามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย หรือเรียกกันว่า cash in ในทางใดทางหนึ่ง
ไม่ขอหลวงก็ขอราษฏร์ นานไปอีกนิดหนึ่งคำว่า “ขอ” ก็เลือนๆ ไป จนอาจกลายเป็นคำว่า “ฉ้อ” ขึ้นมาได้
ถึงวันนั้นแล้วจะรู้ว่าผู้เข้าแข่งขันคนนี้เขาไม่ธรรมดา ทำหน้าที่กรรมการตัดสินแพ้ชนะด้วยตัวเอง แถมยังจัดหาถ้วยรางวัลมาแจกตัวเองอย่างเอิกเกริกครึกครื้นอีกต่างหาก.
----------------------------------------------------------------------------------
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 53 กล่องดำ
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : หลังรัฐประหาร
ตอนที่ 53 : กล่องดำ
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
****************************************************************************
กล่องดำที่อดีตว่าที่รัฐมนตรีฯ ท่านนี้เล่า คือกระบวนการส่งชื่อเร่ไปตามที่ต่างๆ ที่เขาถือตัวเองว่ามีส่วนสำคัญในการโค่นล้มรัฐบาลชุดที่แล้วมากับมือ
ตอนที่ 53 : กล่องดำ
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
****************************************************************************
กล่องดำที่อดีตว่าที่รัฐมนตรีฯ ท่านนี้เล่า คือกระบวนการส่งชื่อเร่ไปตามที่ต่างๆ ที่เขาถือตัวเองว่ามีส่วนสำคัญในการโค่นล้มรัฐบาลชุดที่แล้วมากับมือ
****************************************************************************
กล่องดำ
ผมบังเอิญได้คุยกับ “อดีตว่าที่รัฐมนตรี คมช.” ท่านหนึ่ง ก็เลยได้รู้อะไรแปลกๆ
ชี้แจงเสียก่อน เหตุที่ต้องเรียกท่านยืดยาวอย่างนั้นก็เพราะว่า เมื่อไม่กี่วันมานี้ ท่านเป็นผู้ที่สื่อมวลชนมั่นใจถึงขนาดนั่งยันและนอนยัน ก่อนจะยืนยันว่าจะได้เป็นรัฐมนตรีร่วมคณะแน่ ถือว่าเป็น ว่าที่ คนหนึ่ง แต่ในที่สุดเมื่อราชรถไม่มาเกย สิบล้ออาจจะมาแทน ก็ต้องเพิ่มตำแหน่งเป็น อดีตว่าที่ ตามระเบียบ
ท่านเล่าให้ฟังว่า ในระยะที่ยังมีการลุ้นระทึกกันอยู่นั้น ชื่อของท่านที่ลูกศิษย์ลูกหาอุตส่าห์เสนอขึ้นไปด้วยความรักและความไว้เนื้อเชื่อใจว่าท่านเป็น “ผู้ใหญ่” สมอายุ ต้องถูกนำเข้าสู่กระบวนการที่เรียกกันว่า กล่องดำ
ได้ยินคำว่า กล่องดำ หรือ black box หลายท่านจะรู้ทันทีว่าเขาหยิบยืมถ้อยคำมาจากวงการบินของโลก เพราะอากาศยานแทบทุกประเภทจะมีกล่องดำที่บันทึกการสนทนาในห้องควบคุมการบินหรือ cockpit
เมื่อเกิดเหตุที่ต้องสืบสวนและสอบสวนกันขึ้น หรือเกิดอุปัทวเหตุจนเครื่องบินนั้นตกลง กล่องดำก็จะกลายเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุดในการวิเคราะห์ว่าเหตุนั้นๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร จุดประสงค์หลักก็เพื่อป้องกันเหตุในอนาคต
กล่องดำจึงเป็นเทคโนโลยีและโนว์ฮาวในตัวเองเสร็จ มีความซับซ้อนและออกจะลึกลับอยู่ไม่น้อย ก็เลยเรียกขานกันว่ากล่องดำ ทั้งที่ความจริงอาจจะเป็นกล่องสีส้ม สีแดง สีขาว ฯลฯ หลากหลายตามใจผู้ออกแบบและจัดสร้างอากาศยานลำนั้นๆ แต่ความ “ดำ” ในแง่ความหมายของเรื่อง ก็ยังดำรงอยู่ไม่เสื่อมคลาย
“ชื่อผมเข้าไปหมุนอยู่ในกล่องดำนี่แหละ” ท่านเล่า
ผมอดสงสัยไม่ได้ รัฐบาลนั้นใครๆ เขาก็มักจะเปรียบกับเรือหรือรัฐนาวา เพราะต้องประคับประคองตนเองอยู่ท่ามกลางคลื่นลม และต้องแข่งกับใจของตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อมีกล่องดำเป็นอุปกรณ์อันสำคัญ ก็แสดงว่ารัฐบาลชุดนี้ หรือเกราะของรัฐบาลคือ คมช. เปรียบตัวเองเป็นเครื่องบิน
คำนวณโอกาสที่จะเกิดอุปัทวเหตุตกไว้ด้วยล่ะกระมัง ถึงได้มีกล่องดำเอาไว้
กล่องดำที่อดีตว่าที่รัฐมนตรีฯ ท่านนี้เล่า คือกระบวนการส่งชื่อเร่ไปตามที่ต่างๆ ที่เขาถือตัวเองว่ามีส่วนสำคัญในการโค่นล้มรัฐบาลชุดที่แล้วมากับมือ แล้วซาวเสียงกันว่าใครพอใจหรือไม่พอใจใคร และใครมี “ข้อมูล” อันจำเป็นต่อการพิจารณาก็จะได้นำออกมาโดยพลัน
กระบวนการพิจารณาก็มิใช่พยักหน้ารับหรือส่ายหน้าปฏิเสธ แต่เป็นการ “ให้และรับ” ในรูปแบบไทยเดิมที่เรียกกันว่าผลัดกันเกาหลัง
กล่องดำในที่นี้คือการบันทึกการสนทนาของขั้วอำนาจต่างๆ ที่โผล่ขึ้นมาจากน้ำ นับตั้งแต่วันที่ ๑๙ ก.ย. ๔๙ เป็นต้นมา โดยอาจจะมิใช่การบันทึกจริงๆ แต่เป็นการถกแถลงให้ผ่านหูของทุกคนที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะไม่ต้องมาต่อว่ากันภายหลังว่าเลือกไม้ตายซากที่ไหนมาบริหารประเทศ
กระบวนการที่ออกจะน่าทึ่งนี้ ทำให้ไม้สักทองกลายเป็นตะเกียบชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วโยนทิ้งมาแล้ว และทำให้เศษไม้ที่อยู่ที่ไหนก็เป็นได้แค่เสี้ยน กลายสภาพเป็นเสากลางบ้านต้นมหึมา ทำหน้าที่ค้ำยันบ้านไว้ทั้งหลัง กล่องดำนี้จึงมีอัศจรรย์
ผมถามว่าหลักๆ ในกระบวนการของกล่องดำมีอะไรกันบ้าง
“ง่ายๆ” ท่านว่า “คุณก็ต้องตอบคำถามห้าข้อนี้ให้ผ่าน”
“หนึ่ง...คุณเป็น “ลูก” ใคร”
“สอง...คุณโหดเป็นไหม”
“สาม...คุณจะใช้วิธีอะไรในการคืนกำไรสู่ผู้ถือหุ้น”
“สี่...ผ่านไปหนึ่งปีแล้วคุณจะจบหรือไม่ หรือมีแนวโน้มจะติดใจอยากอยู่ต่อ”
“ห้า...คุณเชื่อในลัทธิประชาธิปไตยจนเกินไปหรือเปล่า”
ผมฟังแล้วก็ไม่ได้ถามต่อ เพราะคนเล่าเองท่านก็สอบไม่ผ่าน นั่งดื่มเหล้าออนเดอะร็อคแก้วแล้วแก้วเล่าอยู่ค่อนคืน
แต่ใจทั้งท่านและผมก็ยอมรับอยู่ไม่วายว่า เป็นแนวคำถามสุดยอดของระบอบแบบใหม่โดยแท้.
--------------------------------------------------------------------------------
วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 52 เรื่องของอดีตนายกฯ
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : หลังรัฐประหาร
ตอนที่ 52 : เรื่องของอดีตนายกฯ
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
****************************************************************************
ตอนที่ 52 : เรื่องของอดีตนายกฯ
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
****************************************************************************
ไม่ใช่อำนาจแบบแบ่งปันกันจนไม่รู้ว่ามีจริงหรือไม่มีจริง คนนั่งหน้าก็ต้องรับการ “บอกบท” จากคนหลังม่านกันจนกลายเป็นเรื่องน่าขัน
****************************************************************************
เรื่องของอดีตนายกฯ
ในที่สุดความจริงก็ปรากฏต่อสายตาชาวโลก
คำแถลงโดยตลอดมาว่าประเทศไทยอยู่ในภาวะปรกติทางการเมืองแล้ว เพราะมีรัฐบาลและสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นที่เรียบร้อย สมควรที่ประชาคมระหว่างประเทศจะสานต่อสัมพันธไมตรีกับไทยได้ดังเดิมและยิ่งขึ้น
ทุกอย่างสวนทางกันทันทีที่รัฐบาลไม่ “อนุญาต” ให้อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับประเทศไทย โดยอ้างว่าสถานการณ์ยังไม่พ้นจากความวุ่นวาย
บวกกับการคงไว้ซึ่งกฎอัยการศึก ที่นักวิชาการและสื่อมวลชนจำนวนหนึ่งเริ่มรู้สึกอึดอัดไม่น้อย
ความจริงการยึดอำนาจในบ้านเมืองใดก็ตาม ในสายตาของนักรัฐธรรมนูญแล้วก็ไม่พึงกระทำทั้งนั้น แต่เมื่อขืนทำจนได้แล้ว ก็มีหน้าที่ที่ต้องยึดให้เด็ดขาด ห่วงหน้าพะวงหลังแสดงบทบาทประชาธิปไตยในขณะที่ประชาธิปไตยไม่มีและคนอื่นเขาก็รู้ บ้านเมืองอาจเสียหายได้ เพราะเขาไม่รู้ว่าจะติดต่อกับเราแบบ
ประชาธิปไตยหรือเผด็จการเบ็ดเสร็จ
กางเกงขาดจนเห็นก้นโผล่ออกมาเป็นยวงอย่างไทย ต่อให้ทำหน้าชื่นเหมือนได้รับอากาศบริสุทธิ์ก็หาคนเชื่อยากครับ
ถ้าบ้านเมืองเข้าที่แล้ว พร้อมจะเดินหน้าต่อไป การยกเลิกกฎอัยการศึกและอดีตนายกรัฐมนตรีสมัยไหนก็ตามควรจะกลับเมืองไทยได้ จะต้องเร่งประกาศและแสดงออกให้ชัด
ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งไปทั้งฉบับก็เป็นความกล้าขนาดหนักอยู่แล้ว จะมาเกรงกลัวอะไรกันในเวลานี้
อำนาจเป็นของประหลาดครับ มาจากประชาธิปไตยมีธรรมชาติอย่างหนึ่ง แต่ถ้ามาจากระบอบอำนาจเบ็ดเสร็จแล้วจะเป็นอีกแบบหนึ่ง
ประชาธิปไตยประกอบด้วยกลุ่มประชาชนมากหน้าหลายตา ที่รัฐบาลต้องประสานประโยชน์ที่ส่วนใหญ่จะแตกต่างกันให้ได้ เสียงที่เล็ดรอดมาว่าเกิดความไม่พอใจตรงนั้น มีใครประท้วงตรงนี้ กลายเป็นความธรรมดาที่ประชาธิปไตยด้วยกันจะเข้าใจได้ง่าย
แต่เผด็จการจะต้องแสดงออกอย่างเฉียบขาดว่าตนเองกุมอำนาจได้อยู่มือ ถ้ามีเสียงเล็ดรอดว่าเกิดการแตกคอกันระหว่างผู้มีอำนาจ สาธารณชนจะรู้สึกว่าระบอบนั้นมีปัญหาและกลายเป็นระเบิดเวลาไป พูดง่ายๆ ว่ารักจะยึดอำนาจกันแล้ว ต้องทำให้คนรู้สึกได้ว่ามีอำนาจจริง
ไม่ใช่อำนาจแบบแบ่งปันกันจนไม่รู้ว่ามีจริงหรือไม่มีจริง คนนั่งหน้าก็ต้องรับการ “บอกบท” จากคนหลังม่านกันจนกลายเป็นเรื่องน่าขัน
ขณะนี้การส่งสัญญาณของรัฐบาลจึงออกจะสับสนอยู่มาก ตกลงได้อำนาจรัฐอย่างเรียบร้อย เป็นนิจจังท่ามกลางอนิจจังทั้งหลายแล้วหรือไม่ หรือมีอะไรที่ต้องกลัวเสียงจิ้งจกตุ๊กแกที่มันร้องทักกันตามประสาของมัน
ขอให้ใส่ใจกับการสื่อสารสักนิดเถอะครับ
ขณะนี้คำแถลงของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ออกจะไม่ตรงกันอยู่บ่อยๆ บางครั้งความตรงกัน แต่น้ำหนักไม่เท่ากัน
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีก็ตัวลีบ พยายามเล่นบทอันน้อยที่เขาเหลือไว้ให้
ยังนึกภาพไม่ออกว่าเมื่อคณะรัฐมนตรีราชการชุดนี้มั่นใจในตัวเองและออกแถลงการณ์บ่อยครั้งขึ้น จะ “กระเพื่อม” กันขนาดไหนในบ้านเมือง
สองเรื่องสำคัญครับ กฎอัยการศึก กับ สิทธิในความเป็นคนไทยของอดีตนายกรัฐมนตรี ผู้บริหารประเทศใหม่ควรวางจุดยืนให้ชัด เพื่อให้โลกเขารู้ด้วยว่าเราอยู่ตรงไหน
กล้าๆ กลัวๆ จะเสียผลมาก.
---------------------------------------------------------------------------------
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 51 รัฐมนตรีพอเพียง
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : หลังรัฐประหาร
ตอนที่ 51 : รัฐมนตรีพอเพียง
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
*****************************************************************************
เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นปรัชญาที่หวังให้คนคิดลึก เข้าใจพอสมควรแล้วจึงหาวิธีการปฏิบัติให้เป็นจริง ไม่ใช่อะไรก็ได้ที่ตรงข้ามกับทักษิณ
ตอนที่ 51 : รัฐมนตรีพอเพียง
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
*****************************************************************************
เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นปรัชญาที่หวังให้คนคิดลึก เข้าใจพอสมควรแล้วจึงหาวิธีการปฏิบัติให้เป็นจริง ไม่ใช่อะไรก็ได้ที่ตรงข้ามกับทักษิณ
****************************************************************************
รัฐมนตรีพอเพียง
มีข่าวขึ้นหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์รายวันหลายฉบับว่า ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงไปรับประทานข้าวแกงในโรงอาหารของทำเนียบรัฐบาลอย่างเรียบง่าย เสื้อนอกก็ไม่ใส่ แถมยังตวัดเน็คไทเส้นงามขึ้นไปพาดไหล่ซ้ายเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารกระเด็นไปถูก
สื่อเฮฮากันใหญ่ว่า นี่แหละๆ เศรษฐกิจพอเพียง
ท่านรองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจก็ยิ้มรับสดชื่น บรรยากาศดี
เรื่องที่ว่าท่านจะรับประทานอย่างนั้นได้ทุกวันหรือไม่นั้นช่างเถอะครับ ใครจะไปกินซ้ำกินซากได้ทุกวัน เห็นใจ
แต่ประเด็นใหญ่กว่านั้นคือนิทรรศการนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงของรัฐบาลนั้น แค่รัฐมนตรีลงมากินข้าวแกงน่าจะไม่พอ และอาจทำให้เกิดเข้าใจผิดไปกันใหญ่
เพราะคนไทยส่วนใหญ่กินอย่างนั้นอยู่แล้ว มื้อกลางวันก็ข้าวบ้างก๋วยเตี๋ยวบ้าง มื้อละชามสองชามก็สบายไป บางวันเล่นขนมจีนก็พอกัน ถ้ารัฐบาลต้องการจะสื่อสารว่าวิถีชีวิตอันพอเพียงเป็นแบบที่ท่านรองนายกฯ แสดงให้ดู ก็เท่ากับว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่ต้องทำอะไรเลย
อยู่อย่างเดิมก็พอเพียงจนไม่รู้จะพอเพียงอย่างไรแล้ว
ความคิดที่ว่าอยู่เฉยๆ โดยไม่ต้องคิดใคร่ครวญอะไรใหม่เลยนั้น แน่ใจแล้วหรือว่าสอดคล้องกับแนวพระราชดำริ?
เศรษฐกิจพอเพียงนั้น พระราชทานเป็นแนวทางมาคานและถ่วงดุลกับสิ่งที่เรียกว่า เศรษฐกิจธุรกิจ เพราะมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าคนไทยในปัจจุบันนี้มีสองกลุ่ม
กลุ่มแรกยังไม่เชื่อมต่อและอาจจะไม่เชื่อมต่อกับโลกาภิวัตน์ ไม่รู้จักเรื่องของตราสารหนี้หรือตลาดล่วงหน้ากับใครเขา
ส่วนกลุ่มที่สองก็ตรงข้าม เปลี่ยนกระดาษและความเชื่อเป็นทุนได้อยู่ทุกวัน
จำเป็นต้องมีสองแนวทางเพื่อให้คนสองกลุ่มอยู่ร่วมกันได้ เหมือนวางต้นไม้ที่ชอบน้ำและไม่ค่อยชอบน้ำไว้เคียงข้างกัน รดชุ่มนักต้นที่ชอบแล้งก็จะเน่าตายไปได้ ถ้ารดน้อยเกินอีกต้นก็อาจจะเหี่ยวแห้งใบเหลือง ทำท่าจะวายปราณไปอีก ก็ต้องหาทางรดน้ำสองวิธีไปพร้อมๆ กัน
เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นปรัชญาที่หวังให้คนคิดลึก เข้าใจพอสมควรแล้วจึงหาวิธีการปฏิบัติให้เป็นจริง
ไม่ใช่อะไรก็ได้ที่ตรงข้ามกับทักษิณ
การรับประทานข้าวแกงหน้ากล้องของคุณปรีดิยาธรฯ จึงต้องตามมาด้วยคำอธิบายมากกว่ายิ้มรับและทำให้คนทั้งหลายเข้าใจว่านี่แหละคือเศรษฐกิจพอเพียง
ทำอย่างนั้นจะเสี่ยงพระราชดำริโดยไม่จำเป็น และคงมีคนไม่เห็นด้วยมาก
ทั้งสังคมกำลังรอฟังอยู่ว่า นโยบายเศรษฐกิจพอเพียงจะปรากฏออกมาในรูปโฉมใด เพราะคาดหวังไว้มากกว่านโยบายให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะไปรุมกินข้าวกลางวันในโรงอาหารทำเนียบฯ
รัฐบาลทุกชุดนั้นจะต้องรับผิดชอบทั้งสาระของนโยบายและสัญลักษณ์ของนโยบายไปพร้อมกัน จึงจะเป็นประชาธิปไตย จะคิดจะทำอะไร ควรทำให้ประชาชนทั้งประเทศเข้าใจและเดินตามได้อย่างมีสติ
ทำอะไรโดยไม่อธิบาย ให้คนเข้าชะเง้อดูตามรั้วเอาเองนั้น ออกจะศักดินาไปหน่อย
เขียนมาถึงบรรทัดนี้ก็นึกขึ้นได้ เมื่อนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าภาพในงานรับศีลอดในทำเนียบฯ เมื่อวันพุธที่แล้วนั้น ท่านสวมเสื้อพระราชทานแขนยาวแทนชุดสากลงามหรู
สัญลักษณ์อีกแล้วครับ
คราวนี้ออกจะเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญ เหมือนพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณขึ้นมาเป็นนายกฯ แล้วถอดเสื้อพระราชทานสวมสูทแทน แล้วก็จบลงด้วย รสช.
ดร.ทักษิณฯ มารับตำแหน่งก็แทบไม่เคยสวมเสื้อพระราชทาน ในที่สุดแล้วก็ได้รับของขวัญเป็น คปค. และ คมช. ครบชุด
พลเอกสุรยุทธ์ฯ ก็เลยกลับมาเป็นพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ดีกว่า
เรื่องนี้คงไม่ต้องอธิบาย.
-------------------------------------------------------------------------------
วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553
TPNews เชิญสมัครสมาชิก SMS
***"TPNews" ขอเชิญผู้มีหัวใจรักประชาธิปไตยทุกท่าน สมัครเป็นสมาชิกข่าวสั้นผ่านมือถือ (SMS) เพื่อนำรายได้ช่วยสนับสนุนการต่อสู้กับระบอบอำมาตยาธิปไตย***
***TPNews (Thai People News) : ข่าวสารสำหรับผู้รักประชาธิปไตย เที่ยงตรง แม่นยำ ส่งตรงถึงมือถือทุกวัน สมัครวันนี้ ใช้ฟรี 14 วัน พิมพ์ PN ส่งมาที่เบอร์ 4552146 ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน (เฉพาะ DTAC 30 บาท/เดือน) Call center: 084-456 6794-6 (จ.- ศ. 9.30-17.30 น.)***
***TPNews (Thai People News) : ข่าวสารสำหรับผู้รักประชาธิปไตย เที่ยงตรง แม่นยำ ส่งตรงถึงมือถือทุกวัน สมัครวันนี้ ใช้ฟรี 14 วัน พิมพ์ PN ส่งมาที่เบอร์ 4552146 ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน (เฉพาะ DTAC 30 บาท/เดือน) Call center: 084-456 6794-6 (จ.- ศ. 9.30-17.30 น.)***
จักรภพ ประกาศสนับสนุนเวทีนักศึกษา ใครอย่ามาข่มขู่
22 มี.ค.53 รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อเวลา 20.30 น. ของวานนี้ (21 มี.ค.) นายจักรภพ เพ็ญแข แกนนำกลุ่มแดงสยามได้วีดิโอลิงค์ไปที่เวทีขององค์กรนักศึกษารักประชาธิปไตย หน้าสำนักงานสหประชาชาติ เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์
กล่าวถึงกรณีการเคลื่อนขบวนคนเสื้อแดงทั่วกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ว่า อยากเตือนว่าผู้นำมวลชนต้องไม่คิดว่ามวลชนเป็นสมบัติส่วนตัวของตัวหลังมีประชาชนออกมาร่วมเคลื่อนขบวนมากเป็นประวัติศาสตร์โดยที่ไม่มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น
ซึ่งทางกลุ่มแดงสยามเป็นแนวทางไม่ใช่บุคคล ไม่ได้ต้องการที่จะแย่งมวลชน เพียงต้องการปฏิรูปประชาธิปไตยโดยสันติ สิทธิบูชาบุคคลต้องไม่อยู่ในขบวนการปฏิรูปประชาธิปไตย และพี่น้องประชาชนที่มาร่วมชุมนุมไม่ใช่สมบัติส่วนตัวของแกนนำคนไหน
เหตุที่พี่น้องพากันมาร่วมชุมนุมเพราะบูชาประชาธิปไตย การรวบรวมมวลชนได้มากขนาดนี้ควรให้ข้อมูลที่ยกระดับ อย่าเอาแต่ด่านายอภิสิทธิ์ หรือนายสุเทพ อย่าเอาแต่รักษาระดับข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์ นายจักรภพ กล่าวและว่า ตนรู้สึกขำตอนที่มีการตั้งโรงเรียน นปช.ให้คนเสื้อแดงไปในแนวทางเดียวกัน ถ้าทุกคนคิดเหมือนกันก็ต้องว่าบ้าไปแล้ว แบบนั้นเขาเรียกเป็นลัทธิเผด็จการทรราช ต้องคิดให้หลากหลายถึงจะเป็นพลังในระบอบประชาธิปไตย อย่าหงุดหงิดที่มีกลุ่มแดงสยาม หรือกลุ่ม เสธ.แดง เพราะในอดีตก็มีมากมายหลายกลุ่ม คนเสื้อแดงจะต้องเป็นไทในตัวเอง ถ้ามัวแต่ยึดติดกับใครคนใดคนหนึ่ง หากคนคนนั้นบ้าหรือตายจะทำยังไง ตนรู้ว่าเวทีใหญ่มีการเตือนมาที่เวทีของนักศึกษาแห่งนี้ ตนเข้าใจว่าเด็กๆ มีความกดดัน แต่ขอให้ยืนหยัดในความถูกต้องนี้ต่อไป
ฝ่ายปฏิกิริยาในคนเสื้อแดงมีมาก และคนแบบนี้ก็เคยทำให้ขบวนประชาธิปไตยตกรางมาแล้ว ขออย่าไปสนใจหากใครจะมาชี้นำว่าต้องพูดยังไงหรือห้ามเชิญใครมาขึ้นเวที ตนไม่อยากตอกย้ำให้เกิดความร้าวฉาน
นักศึกษาออกมาเคลื่อนไหวด้วยใจบริสุทธิ์ อย่ามากดดัน ข่มขู่ ถ้าแกนนำ นปช.ไม่กล้าพูดเรื่องโครงสร้างประเทศไทยก็ให้เด็กพวกนี้พูด เด็กยังไม่กลัวจะมากลัวแทนทำไม. นายจักรภพทิ้งท้าย
----------------------------------------------------------------------------------
วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553
เลือกตั้งรังอำมาตย์ โดย จักรภพ เพ็ญแข
ที่มา : คอลัมน์ “ร้อยรักอักษราเป็นอาวุธ” หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์วิวาทะ Thai Red News ปีที่ 1 ฉบับที่ 41
โดย : จักรภพ เพ็ญแข
โดย : จักรภพ เพ็ญแข
******************************************************************************
เรื่อง เลือกตั้งรังอำมาตย์
เกิดมาตาเห็นก็เลือกตั้ง
เลือกตั้งเสียจนพังยังตั้งต่อ
เป้าหมายอยู่ไหนนะใจคอ
เป้าหมายอยู่ไหนนะใจคอ
หรือเพียงขอเลือกตั้งก็นั่งเพลิน
การเลือกตั้งคือกลไกอันใหญ่ยิ่ง
ประชาธิปไตยแท้จริงย่อมสรรเสริญ
แต่ระบอบของอำมาตย์มักขาดเกิน
แต่ระบอบของอำมาตย์มักขาดเกิน
จะจำเริญอย่างไรไม่เสรี
การเลือกตั้งในครรลองของอำมาตย์
ไม่ทะนงองอาจขาดศักดิ์ศรี
ถึงมวลชนหนุนหลังพลังมี
ถึงมวลชนหนุนหลังพลังมี
ก็จะไม่สมประดีไม่ปรีดา
เลือกตั้งเป็นอัตวิสัย
แต่รอบตัวเป็นอย่างไรล่ะเจ้าข้า
สิ่งแวดล้อมเป็นพิษพิจารณา
สิ่งแวดล้อมเป็นพิษพิจารณา
ถือเป็นภาวะวิสัยอย่างไทยเดิม
มวลชนเป็นรัฐบาลมาสองครั้ง
ม็อบเหลืองคลั่งเล่นลึกเพราะฮึกเหิม
กองทัพไทยร่วมด้วยช่วยต่อเติม
กองทัพไทยร่วมด้วยช่วยต่อเติม
ก็ปัญหาหน้าเดิมเผด็จการ
“นายกสมัคร” นั่นอย่างไรหัวใจเศร้า
รับใช้เขารักเขาเขาล้างผลาญ
ทระนงจงรักในหลักการ
ทระนงจงรักในหลักการ
เผชิญคนใจพิการร้าวรานใจ
ถึง “นายกสมชาย” รายที่สอง
ลงครรลองของเก่าเขาผลักไส
ยึดทำเนียบรัฐบาลรุกรานไทย
ยึดทำเนียบรัฐบาลรุกรานไทย
สั่งกองทัพสักเท่าใดไม่ใยดี
ทั้งหมดนี้นี่แหละท่านวันเลือกตั้ง
รวมพลังอย่างคนชนกับผี
ผู้หลอกหลอนซ่อนเร้นมาเป็นปี
ผู้หลอกหลอนซ่อนเร้นมาเป็นปี
จึงรู้ว่าไม่เสรีหรอกเมืองไทย
เลือกตั้งดีมีประโยชน์คือย่างก้าว
แต่ถึงคราวเข้าโค้งไม่โปร่งใส
หากถูกปล้นมนต์ดำทำอย่างไร
หากถูกปล้นมนต์ดำทำอย่างไร
ยอมน้ำตาตกในก็ใช่ที
เรามวลชนอย่าวนแต่เลือกตั้ง
ใช้พลังพังกรอบรอบวิถี
ไม่ยอมรับรู้อำมาตย์เป็นชาติพลี
ไม่ยอมรับรู้อำมาตย์เป็นชาติพลี
เกิดคำตอบระบอบดีมีแก่ใจ
อย่าหวังเพียงเลือกตั้งในรังโจร
เขาจะโยนเคราะห์กรรมนำมาให้
ความชั่วช้าจะถูกล้างจนจางไป
ความชั่วช้าจะถูกล้างจนจางไป
เอาประชาธิปไตยบูชายัญ
เลือกตั้งเถิดเลือกตั้งแต่ยั้งหน่อย
อย่าเลื่อนลอยคิดงามไปตามฝัน
ในระบอบแห่งอำมาตย์ชาติภินท์พัง
ในระบอบแห่งอำมาตย์ชาติภินท์พัง
เร่งเลือกตั้งรับเขาจะเศร้าใจ.
------------------------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------------------------
TPNews (Thai People News): ข่าวสารสำหรับผู้รักประชาธิปไตย เที่ยงตรง แม่นยำ ส่งตรงถึงมือถือทุกวัน สมัครวันนี้ ใช้ฟรี 14 วัน พิมพ์ PN ส่งมาที่เบอร์ 4552146 ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน (เฉพาะ DTAC 30 บาท/เดือน) Call center: 084-4566794-6 (จ.- ศ. 9.30-17.30 น.)
วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553
แถลงการณ์แดงสยาม ฉบับที่ 2
แถลงการณ์แดงสยาม ฉบับที่ ๒
เรื่อง วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน (กลางเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓)
เรื่อง วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน (กลางเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓)
ขณะนี้การรวมพลังทุกกลุ่มและทุกด้านของขบวนประชาธิปไตยมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะผู้มีอำนาจเบื้องหลังระบอบเผด็จการอำมาตยาธิปไตยหรือเผด็จการโบราณ ได้แสดงตัวตนอย่างชัดเจนแล้ว จนมวลชนส่วนใหญ่ตระหนักดีว่าใครอยู่เบื้องหลังการทำลายล้างประชาธิปไตย การทำลายพลังในฝ่ายประชาธิปไตย ด้วยการยั่วยุให้เกิดความแตกแยกในขบวน ถือเป็นวิธีการหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม เราผู้ยึดแนวทางแดงสยามจะไม่ร่วมมือกับการยั่วยุเช่นนี้ เราจะมุ่งดำรงเป้าหมายหลักของเราต่อไป นั่นคือการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทยโดยสันติ
แดงสยามขอย้ำว่า เรามิใช่เป็นเพียงกลุ่ม หากเราเป็นแนวทางที่ผู้ปรารถนาประชาธิปไตยแท้จริง ทุกคนสามารถเข้าร่วมได้ การรวมกลุ่มขณะนี้มีขึ้นเพื่อผลักดันแนวทางแดงสยามให้ขยายไปทั้งลึกและกว้างเท่านั้น คำว่า แนวทาง หมายถึงแผนที่ของขบวนปฏิวัติประชาธิปไตยโดยสันติ ซึ่งครอบคลุมภาพรวมทั้งหมดของการต่อสู้ครั้งสำคัญนี้
การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ต้องไม่ถูกจำกัดด้วยการนำที่ผูกขาด ปิดกั้น และปราศจากมิตรภาพ ลัทธิบูชาบุคคล ลัทธิพรรคพวก ลัทธิผลประโยชน์ จะต้องไม่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหว การต่อสู้เพื่อเป้าหมายอันสูงคือประชาธิปไตยที่แท้ ต้องไม่ถูกนำด้วยสภาพจิตใจที่ต่ำ แดงสยามจึงขอเชิญชวนชาวประชาธิปไตยทุกคนและทุกกลุ่มเข้าร่วมพัฒนาประชาธิปไตยตามแนวทางดังกล่าว เว้นแต่ผู้ที่ไปแอบทำข้อตกลงกับฝ่ายตรงข้ามเพื่อสืบพันธุ์เผด็จการในเมืองไทยต่อไป หรือกระทำตนเป็นฝ่ายปฏิกิริยาต่อขบวนประชาธิปไตยด้วยสาระและท่าทีอย่างทรราชน้อย
ขั้นตอนต่อไปของแดงสยาม คือการจัดตั้งองค์กรนำและวางแนวทางอย่างเป็นรูปธรรมให้เป็นที่ประจักษ์
แถลงไว้ ณ วันศุกร์ที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓
---------------------------------------------------------------------------------
แดงสยามขอย้ำว่า เรามิใช่เป็นเพียงกลุ่ม หากเราเป็นแนวทางที่ผู้ปรารถนาประชาธิปไตยแท้จริง ทุกคนสามารถเข้าร่วมได้ การรวมกลุ่มขณะนี้มีขึ้นเพื่อผลักดันแนวทางแดงสยามให้ขยายไปทั้งลึกและกว้างเท่านั้น คำว่า แนวทาง หมายถึงแผนที่ของขบวนปฏิวัติประชาธิปไตยโดยสันติ ซึ่งครอบคลุมภาพรวมทั้งหมดของการต่อสู้ครั้งสำคัญนี้
การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ต้องไม่ถูกจำกัดด้วยการนำที่ผูกขาด ปิดกั้น และปราศจากมิตรภาพ ลัทธิบูชาบุคคล ลัทธิพรรคพวก ลัทธิผลประโยชน์ จะต้องไม่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหว การต่อสู้เพื่อเป้าหมายอันสูงคือประชาธิปไตยที่แท้ ต้องไม่ถูกนำด้วยสภาพจิตใจที่ต่ำ แดงสยามจึงขอเชิญชวนชาวประชาธิปไตยทุกคนและทุกกลุ่มเข้าร่วมพัฒนาประชาธิปไตยตามแนวทางดังกล่าว เว้นแต่ผู้ที่ไปแอบทำข้อตกลงกับฝ่ายตรงข้ามเพื่อสืบพันธุ์เผด็จการในเมืองไทยต่อไป หรือกระทำตนเป็นฝ่ายปฏิกิริยาต่อขบวนประชาธิปไตยด้วยสาระและท่าทีอย่างทรราชน้อย
ขั้นตอนต่อไปของแดงสยาม คือการจัดตั้งองค์กรนำและวางแนวทางอย่างเป็นรูปธรรมให้เป็นที่ประจักษ์
แถลงไว้ ณ วันศุกร์ที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓
---------------------------------------------------------------------------------
วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 50 อย่าให้ขายหน้าไปกว่านี้
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ก่อนรัฐประหาร
ตอนที่ 50 : อย่าให้ขายหน้าไปกว่านี้
โดย : กาหลิบพิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
*********************************************************************************
อ่านแล้วเขาคงหัวเราะกันเกรียว เพราะไม่ต่างจากเอาปืนไปจ่อหัวผู้หญิงแล้วถามว่าเธอรักฉันไหม ถ้าไม่ตอบว่ารัก ยายคนนั้นแกก็คงเป็นบ้า
*********************************************************************************
อย่าให้ขายหน้าไปกว่านี้
รู้สึกขนลุกนิดๆ เมื่อได้ยินข่าวว่า คุณนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศท่านใหม่ สั่งให้จัดทำหนังสือขึ้นมา ๑ เล่ม เพื่ออธิบายให้ทั่วโลกเข้าใจว่าทำไมจึงต้องมีการรัฐประหารในประเทศไทยเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙
ผมเข้าใจว่าหนังสือเล่มนี้จะจัดทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ และคงจะลำดับความโดยละเอียดว่าเมืองไทยเราเข้าตาจนอย่างไร คณะทหารจึงต้องออกมาตั้ง “คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” โค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ในห้วงเวลาไม่กี่วันก่อนที่จะมีการเลือกตั้งขึ้นจริงๆ
จะสบายใจขึ้นมากทีเดียวครับ หากคุณนิตย์ฯ แถลงต่อสักหน่อยว่าจะนำหนังสือเล่มนี้ไปแจกรัฐบาลพม่า คิวบา และเกาหลีเหนือโดยเฉพาะ และจะไม่แจกให้ใครอื่นเลย
อาจจะพอมีโอกาสที่ประเทศไทยจะได้รับความเชื่อถือบ้าง
เพราะในโลกแห่งประชาธิปไตยนั้น ไม่มีใครเขาเชื่อถือหรือยอมรับในการยึดอำนาจอีกต่อไปแล้วครับ
ไม่มีเหตุผลไหนในโลกที่จะทำให้การรัฐประหารถูกต้องขึ้นมาได้
ไม่มีวิกฤติใดๆ ที่จะเป็นข้ออ้างให้ยกเลิกประชาธิปไตย ถึงแม้จะชั่วคราว
อะไรที่ถือว่าเป็นของดีนั้น เขาไม่บังคับกันด้วยอำนาจบาตรใหญ่ เพราะถ้าลงบังคับกันเสียแล้ว ก็จะไม่มีวันได้รู้ว่าความเต็มใจหรือความสมัครใจมีหรือไม่
การบังคับ หมายความว่า คนหนึ่งไม่ต้องการสิ่งนั้นๆ แต่อีกคนหนึ่งต้องการให้ทำหรือให้เป็น จึงไม่อาจพูดได้เลยว่าเป็นของดี เพราะถึงแม้จะดีก็ไม่มีทางรู้
แล้วกระทรวงการต่างประเทศจะไปอธิบายอะไรกับเขา?
ถ้าจะแค่นอธิบายกัน คงจะออกมาเป็นเหตุผลเชยๆ ว่าสถานการณ์ในเมืองไทยไม่เหมือนใคร เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ไม่ได้ เพราะเรามีองค์ประกอบของความเป็นประเทศที่แตกต่างจากเขาอย่างนั้นอย่างนี้
ประชาธิปไตยเมืองไทยจึงมีมาตรฐานที่ตั้งเอง คือตามความคิดของผู้ยึดอำนาจว่าอะไรคือประชาธิปไตย โอดครวญว่าเรามีการประท้วงทั่วเมืองและมีความขัดแย้งทางการเมืองกันมาก ก็เลยต้องยึด ยึดแล้วเห็นไหม ความวุ่นวายหายวับไปกับตาจริงๆ
อ่านแล้วเขาคงหัวเราะกันเกรียว
เพราะไม่ต่างจากเอาปืนไปจ่อหัวผู้หญิงแล้วถามว่าเธอรักฉันไหม
ถ้าไม่ตอบว่ารัก ยายคนนั้นแกก็คงเป็นบ้า
เอาล่ะ ถ้าวันนี้หลวมตัวไปบอกเขาว่า เห็นใจเถิด ประเทศไทยของเราไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน จงอย่าลืมหาทางอธิบายเสียด้วยว่า วันที่เกิดอยากให้เขามาลงทุนทำการค้า หรือเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยนั้น จะกลับคำพูดอย่างไรเพื่อจะบอกว่าเรามีมาตรฐานเดียวกับทุกประเทศในโลก
วันนี้พูดอย่าง วันหลังพูดอย่าง แล้วเกียรติยศเกียรติศักดิ์ของประเทศจะอยู่ตรงไหนครับ
โปรดอย่าออกหนังสืออธิบายเหตุผลและความชอบธรรมแห่งการรัฐประหารเลย
แต่ชี้แจงกับเขาดีกว่าว่า ไหนๆ ก็ถึงขนาดนี้แล้ว ประเทศไทยมีแผนการที่จะคืนประชาธิปไตยให้กับคนทั้งประเทศอย่างไร บอกเงื่อนเวลาไปด้วย เขาจะได้เชื่อถือ และลงท้ายก็ยืนยันเสียหน่อยว่าโอกาสที่จะเกิดผิดสำแดงแบบนี้ ยังมีอีกหรือไม่ในอนาคต
อะไรที่มันเลอะเทอะผิดทางไปแล้ว อย่าไปดันทุรังว่ามันถูก อีโก้แบบไทยใช้เสียให้ถูกทาง อย่าให้เขาต้องหัวเราะกันจนเสียดท้องหนักกว่านี้เลย ไหนๆ เราก็เป็นประเทศที่เก่าแก่
กลัวเขาจะนึกว่าวัฒนธรรมไทยสมัยนี้คือตลกคาเฟ่ ไม่ใช่นาฏศิลป์น่ะครับ.
---------------------------------------------------------------------------------
วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 49 ราวกับไม่เสียดาย
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : หลังรัฐประหาร
ตอนที่ 49 : ราวกับไม่เสียดาย
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
****************************************************************************
รัฐประหารจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับผู้สนับสนุน ถ้าเป็นคนดีขนาดหนัก ก็อาจทำให้รัฐประหารนั้นกลายเป็นของดีได้
ตอนที่ 49 : ราวกับไม่เสียดาย
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
****************************************************************************
รัฐประหารจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับผู้สนับสนุน ถ้าเป็นคนดีขนาดหนัก ก็อาจทำให้รัฐประหารนั้นกลายเป็นของดีได้
****************************************************************************
ราวกับไม่เสียดาย
หลายคนบอกว่าการรัฐประหารเป็นเรื่องแปลกแหวกแนว ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้อีกในสังคมที่คนรู้แล้วว่าสิทธิและเสรีภาพนั้นสำคัญยิ่ง ขนาดถวายชีวิตได้
ผมยอมรับว่ารู้แปลกๆ เช่นกัน ที่เกิดการยึดอำนาจโดยกำลังในวันที่ ๑๙ กันยายน และเราก็เคลื่อนผ่านวันที่ ๖ ตุลาคม ที่ครบรอบสามสิบปี และกำลังจะเคลื่อนถึงวันที่ ๑๔ ตุลาคม โดยไม่รู้สึกอับอายอะไรนัก
รู้สึกลึกๆ แต่พูดไม่ออกบอกไม่ได้ นั่นก็ยังดี แต่ไม่รู้สึกรู้สมเลยนั้นอยู่ข้างจะแปลก เห็นจะต้องจุดเทียนส่องหาจิตวิญญาณ คล้ายกับที่สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ท่านจุดตะเกียงกลางวันแสกๆ ในช่วงต้นๆ ของกรุงรัตนโกสินทร์เสียแล้วกระมัง
ครับ ทำไมรู้สึกว่าคนจำนวนมากไม่เสียดายประชาธิปไตยก็ไม่รู้สิ
หรือการฉีกรัฐธรรมนูญอย่างสุภาพ ใช้โทนเสียงสุขุมนุ่มลึก ทำให้รู้สึกสูญเสียน้อยลง
หรือการไม่เสียเลือดเนื้อทำให้คนคิดว่าโชคดีหนักหนา ขนาดคุ้มกะลาหัวได้แล้ว
อาจจะเป็นเพราะคิดว่ารัฐประหารจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับผู้สนับสนุน ถ้าเป็นคนดีขนาดหนัก ก็อาจทำให้รัฐประหารนั้นกลายเป็นของดีได้
เหตุผลหลังสุดนี้เองที่ทำให้ผมเริ่มเข้าใจว่า สังคมไทยเห็นการรัฐประหารเป็นคำกลาง ไม่ได้ดีชั่วในตัวของมันเอง รัฐประหารที่ไม่ดีก็มี รัฐประหารที่งามพร้อมก็มี
รัฐประหารที่สร้างความสุขสดชื่น ชนิดที่เปลี่ยนจากอาการซึมเศร้าหม่นหมอง มาเป็นรื่นเริงเบิกบาน และต้องออกเดินยิ้มร่าให้คนทั้งหลายเห็นก็มี
แบบนี้เห็นจะต้องเรียกว่ารัฐประหารส่งเสริมสุขภาพ
โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพจิตชนิดที่บำรุงด้วยยาหรืออาหารเสริมใดๆ ไม่ได้ ยกเว้นแต่ความฉิบหายวายวอดของคนอื่น จะช่วยเยียวยาได้มาก
ส่วนรัฐประหารที่ไม่ดีนั้น เป็นอาการขั้นต้นของโรคร้ายที่เรียกว่ากบฏ นั่นคือมะเร็งที่จะต้องรีบตัดทิ้งโดยเร็วที่สุดเพื่อไม่ให้ลุกลาม แต่หลายครั้งกับหลายคน ตัดไม่ทันและลุกลามไปไกล จนสุดท้ายก็ถึงแก่กาลกิริยา
รัฐประหารที่แพทย์วินิจฉัยผิด ก็ร้ายแรงมาก เพราะในขณะที่ตอนแรกคิดว่าเป็นรัฐประหารส่งเสริมสุขภาพ ความจริงแล้วเป็นเนื้อร้าย ในที่สุดก็จะกลายพันธุ์ไปสู่โรคที่เรียกว่าทรราช ค่อยๆ หมดสภาพไปทีละน้อย ออกจะตายช้า แต่เมื่อตายแล้วจะตายสนิท ลูกหลานก็ต้องตั้งตัวอยู่ในความไม่ประมาท เพราะเป็นโรคที่ติดต่อทางกรรมพันธุ์ได้
เราสนุกกับคำว่า รัฐประหาร ได้ถึงขนาดนี้ เพราะในระดับพื้นฐานของจิตใจแบบไทยแล้วรัฐประหารไม่ใช่ปัญหาอะไร เหมือนไข่เจียวที่ใครๆ ก็เจียวเป็น แต่อร่อยยาก รัฐประหารไม่ใช่ยาพิษที่จะตื่นเต้นกิ๊วก๊าวอะไรในตัวเอง
แค่คำว่ารัฐประหารจึงสร้างความรู้สึกเสียดายมิได้
ต้องรัฐประหาร + กบฏ หรือ รัฐประหาร + ทรราช จึงจะเกิดปัญหามากน้อยไปตามฐานานุรูป
ความเสียดายสิทธิและเสรีภาพในสังคมไทยมีเงื่อนไขที่ละเอียดลึกซึ้ง หากคนทำรัฐประหารได้อย่างถูกอารมณ์ ก็พร้อมที่จะบอกคุ้มดี ไข่เจียวอร่อย เมื่อไหร่ที่ขัดใจขึ้นมานั่นแหละ ความหวงแหนในสิทธิและเสรีภาพจะระเบิดเถิดเทิงออกมาอย่างที่ไม่รู้ว่ามาจากไหน
รัฐประหาร แปลว่า การประหารรัฐ
รัฐ ในความหมายแบบไทย แปลว่า รัฐบาล ไม่ใช่ รัฐบาล + ดินแดน + ประชากร + อำนาจอธิปไตย แบบที่นักเรียนรัฐศาสตร์ท่องกันมา
การประหารรัฐบาล โดยเฉพาะรัฐบาลที่เราไม่ถูกใจ จึงไม่น่าเสียดายอะไรเลย
เมื่อไหร่ที่รู้ตัวว่าเป็นการประหารรัฐที่เราเองก็โดนประหารไปด้วยแล้ว อาจจะรู้สึกขึ้นมาตะหงิดๆ
ตอนนี้ยังก่อน.
ตอนนี้ยังก่อน.
---------------------------------------------------------------------------------
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 48 ปัญหาใต้...ใครรู้จริง?
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : หลังรัฐประหาร
ตอนที่ 48 : ปัญหาใต้...ใครรู้จริง?
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
****************************************************************************
ไปยกเลิกของเถื่อนห้าประการคือ อาวุธเถื่อน คนเถื่อน สินค้าเถื่อน น้ำมันเถื่อน และยาเสพติดอย่างนั้น ก็เท่ากับทำลายหัวใจของข้อตกลงเดิมจนหมดสิ้น
ตอนที่ 48 : ปัญหาใต้...ใครรู้จริง?
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
****************************************************************************
ไปยกเลิกของเถื่อนห้าประการคือ อาวุธเถื่อน คนเถื่อน สินค้าเถื่อน น้ำมันเถื่อน และยาเสพติดอย่างนั้น ก็เท่ากับทำลายหัวใจของข้อตกลงเดิมจนหมดสิ้น
****************************************************************************
ปัญหาใต้...ใครรู้จริง?
สะดุดใจกับข้อเขียนในคอลัมน์เพื่อนบ้านใน “โลกวันนี้” เมื่อได้อ่านบทความเรื่อง “อย่างนี้สิรู้จริง” ในคอลัมน์จับตาสถานการณ์ประจำวันอังคารที่ ๑๐ ต.ค. ๒๕๔๙ ซึ่งเป็นการสรรเสริญคุณอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยคนใหม่ล่าสุด ในแง่ความเป็นมาและแนวคิดว่าเป็นผู้ “รู้จริง” ในปัญหาความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แถมยังฝากความหวังอันสูงส่งไว้ด้วย
ประเด็นที่ผุดขึ้นมาทันที...อะไรคือ “ความรู้จริง” ในการแก้ไขปัญหานี้
ขณะนี้ก็มีรัฐมนตรีอย่างน้อยสองท่านแล้วที่แสดงตัวว่า “รู้” คุณอารีย์ฯ นั่นหนึ่งล่ะ อีกท่านดูเหมือนจะเป็น พลเอกบุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่มีข่าวว่าจะเปิดการ “เจรจา” กับผู้ที่อยู่เบื้องหลังความไม่สงบ
แปลว่าคุณอารีย์ฯ รู้มาตลอดว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร แต่ไม่เคยมีอำนาจอย่างเต็มมือในการปฏิบัติ เมื่อไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการระยะสั้นๆ ในรัฐบาลทักษิณ ก็กลับออกมาอย่างผิดหวัง คราวนี้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสียเอง ซึ่งเป็นกระทรวงที่คุณอารีย์ฯ เคยเป็นปลัดฯ ความพร้อมเพรียงเชิงอำนาจคงจะไม่มีมากไปกว่านี้แล้ว
ยังไม่ได้พูดถึงคุณบัญญัติ จันทร์เสนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นผู้อำนวยการ ศอบต. มาก่อนเก่า เข้ามาเสริมทีมอย่างน่าเชื่อถือ
ส่วนพลเอกบุญรอดฯ ก็ส่งสัญญาณที่น่าติดตาม ถ้าจะ “เจรจา” ก็หมายความว่าท่านรู้ตัวว่าใครอยู่ในฝ่ายตรงข้ามที่จะมาเจรจาด้วย ไม่ว่าจะอยู่เบื้องหน้าหรือเบื้องหลังก็ตาม
มหาดไทยกับกลาโหมทำท่าว่า “รู้” ถึงขนาดนี้แล้ว สื่อมวลชนจำนวนหนึ่งก็ฮือฮาตามไปว่าอยู่มือล่ะทีนี้
ครับ ทัศนคติเชื่อข้าราชการนั้นฝังลึกอยู่สังคมไทย ยิ่งบ้านนอกมากก็จะยิ่งเชื่อมาก ไม่ใช่เพราะโง่เง่า แต่เป็นเพราะอยู่ไกลเกินไปหน่อย ไม่รู้พิษสง “ความรู้จริง” ของข้าราชการไทย เขาทำท่าว่าเข้าใจปัญหา และได้ยินชื่อเสียงมานานมาเขาคลุกคลีอยู่กับปัญหา เกิดศรัทธาปสาทะโครมครามขึ้นมาเลยทีเดียว
เชื่อสนิทว่า รู้มานาน กับ รู้จริง เป็นคำๆ เดียวกัน จนเชื่อภาพลักษณ์แบบนี้ของมือเก่าในวงราชการมากกว่าเชื่อตัวเองด้วยซ้ำ
ปกครองง่ายอย่างนี้ ประชาธิปไตยถึงได้เกิดลำบาก
ปัญหาภาคใต้นั้น คนรู้จริงคือคนในพื้นที่ครับ ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ลงไปจนถึงประชาชนเลยทีเดียว เขารู้กันทั้งนั้นว่าใครวางระเบิดที่หาดใหญ่ไม่กี่วันก่อนการรัฐประหาร
และเขาแยกแยะออกว่าปฏิบัติการไหนทำเพื่อท้าทายอำนาจรัฐที่กรุงเทพฯ และปฏิบัติการไหนเป็นการผสมโรงของกลุ่มผู้ก่อการตัวจริง ที่ไม่ได้มีขีดความสามารถสูงจนควบคุมไม่อยู่
ส่วนแรกของปัญหานั้น ขณะนี้หมดความจำเป็นที่จะก่อต่อไปแล้ว เพราะเห็นหน้าคนในรัฐบาลใหม่ก็บอกว่าไปกินเลี้ยงกันดีกว่า
ระเบิดรายใหญ่ๆ จะน้อยลงทันตาเห็น เหลือแต่รายย่อยๆ ที่ก็รู้กันอีกแหละว่าใคร กลางวันเป็นคนภาครัฐแต่กลางคืนเปลี่ยนเป็นคนฟากโน้น เขารู้กันหมด เพราะไม่ใช่ความรู้ใหม่
รัฐบาลที่แล้วก้าวพลาดด้วยการยกเลิก ศอบต. เพราะวิเคราะห์อย่างถูกต้องเกินไปว่าหน่วยงานนั้นมีไว้เพื่อประสานประโยชน์ระหว่างขั้วอำนาจต่างๆ เท่านั้น ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาอย่างเด็ดขาดอย่างที่ต้องการ
ถูกเรื่องนั้นเรื่องเดียว ที่เหลือผิดหมด เพราะการยกเลิก ศอบต. เป็นการบอกว่ารัฐบาลไม่เอาด้วยกับข้อตกลงที่ระบบราชการและเครือข่ายของเขาทำกันมานานหลายสิบปี
ไปยกเลิกของเถื่อนห้าประการคือ อาวุธเถื่อน คนเถื่อน สินค้าเถื่อน น้ำมันเถื่อน และยาเสพติดอย่างนั้น ก็เท่ากับทำลายหัวใจของข้อตกลงเดิมจนหมดสิ้น ไม่เหลืออะไรไว้ต่อรองหรือมีความหวังว่าจะคบค้ากันต่อไปได้เลย เรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวกับ ศอบต. หรอกนะครับ ถามมาก็จะปฏิเสธไป
รัฐบาลที่แล้วช่างไร้เดียงสา ไม่รู้ว่าเขาตกลงกันว่าจะไม่แก้ปัญหาขั้นเด็ดขาด แต่จะใช้หลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ (peaceful co-existence) ซึ่งแปลว่าใครอยากได้อะไรก็เอาไป แต่อย่าให้เกิดภาพแห่งความขัดแย้งรุนแรงหรือแบ่งแยกดินแดนจริงๆ เป็นใช้ได้
ผมก็ไม่รู้จริงหรอกครับ แต่คน “รู้จริง” เขาเล่าให้ฟัง เท็จจริงโทษเขา
อยู่อย่างไทยมันก็ต้องพูดอย่างนี้.
----------------------------------------------------------------------------------
วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 47 ชอบธรรมหรือเป็นธรรม
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : หลังรัฐประหาร
ตอนที่ 47 : ชอบธรรมหรือเป็นธรรม
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
*****************************************************************************
ตอนที่ 47 : ชอบธรรมหรือเป็นธรรม
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
*****************************************************************************
แยกผิดและถูกออกจากกัน เพราะคนหรือเหตุการณ์ต่างๆ มักมีสภาพไม่ต่างจากเหรียญสองด้าน และอย่าบีบคั้นกระบวนการยุติธรรมด้วยอำนาจลึกลับมากนัก
*****************************************************************************
ชอบธรรมหรือเป็นธรรม
ใครที่ชอบศึกษาภาษาไทย จะพบความจริงอย่างหนึ่งว่าคนโบราณท่านช่างมีความลุ่มลึกในการสื่อสารเสียเหลือเกิน ทุกถ้อยคำมีความหมายทั้งนั้น ถ้าเราคิดให้ลึกพอ
สถานการณ์การเมืองในขณะนี้เป็นตัวอย่างที่ดี หลังจากการไล่รัฐบาลด้วยกำลังทหารของประเทศแล้ว ก็ตามมาด้วยการคาดโทษเรื่องของความไม่สุจริต ความไม่จงรักภักดี และการละเลยปัญหาบางอย่างของประเทศ เช่น สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ฯลฯ เตรียมจะใช้อำนาจของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติกับจำเลย คืออดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลของท่าน
เห็นคำที่ผุดขึ้นมาในขณะนี้สองคำที่ชวนสนใจในถ้อยคำสำนวน และความรู้สึกที่หลบอยู่หลังถ้อยคำเหล่านั้น
คำแรกคือ ชอบธรรม ที่ใครๆ ในฝ่ายตรงข้ามกับคุณทักษิณฯ กำลังกระเหี้ยนกระหือรือนักหนา ประกาศจะเล่นงานขนาดจมธรณี โดยบอกว่าเป็นความชอบธรรมของฝ่ายตน
คำที่สองคือ เป็นธรรม ที่ฝ่ายคุณทักษิณฯ ร้องไปรอบๆ ว่าเมืองไทยยังมีความงามเหล่านี้หลงเหลืออยู่บ้างหรือไม่ หรือเลือดเข้าตาเห็นว่าศัตรูทางการเมืองต้องถูกประหารแต่เพียงอย่างเดียวไปหมดสิ้นแล้ว
ผมมานั่งนึกถึงคำสองคำนี้แล้วก็สะท้อนใจ เพราะมีความหมายต่อเหตุการณ์ปัจจุบันเป็นอันมาก
ความชอบธรรมที่ใช้ในภาษาอังกฤษว่า legitimacy เป็นธรรมะประเภทที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ไม่ใช่ธรรมะ-ธรรมชาติ มีความหมายว่าความถูกผิดขึ้นอยู่ที่ว่า คนส่วนมากหรือคนส่วนน้อยที่มีอำนาจเห็นว่าอะไรถูกอะไรผิด
เป็นความถูกผิดที่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของฝูงชน ว่าอย่างนั้นเถิด
ไม่ต้องการเมืองก็ได้ เพียงการสูบบุหรี่ในปัจจุบันก็เห็นได้ชัดแล้วว่ามีความชอบธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปมาก จากเมื่อก่อนที่คนสูบบุหรี่อย่างสง่าผ่าเผยในทุกสถานการณ์ มาบัดนี้ถูกห้ามเกือบทุกที่ จนรู้สึกละอายใจ นึกอยากสูบขึ้นมาก็ต้องออกเนื้อออกตัวและย่องไปหามุมสงบของตนเองเหมือนถูกเนรเทศ
หรือลูกครึ่งที่ปรากฏในจอโทรทัศน์และจอภาพยนตร์ ในยุคหนึ่งเกือบจะต้องหลบๆ ซ่อนๆ เพราะคนมองว่าเป็นคนครึ่งพันธุ์ ไทยก็ไม่ใช่ฝรั่งก็ไม่เชิง แต่บัดนี้ปมด้อยหายไปแล้ว มีแต่ปมเด่น และขายเป็นจุดแข็งกันเอิกเกริก
ความชอบธรรมในทางการเมืองก็มิได้ต่างไปจากนี้ รัฐบาลทักษิณฯ ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนอย่างท่วมท้นสองครั้ง ใครๆ ก็ว่าไม่เคยมีรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งที่มีความ “ชอบธรรม” ขนาดนี้มาก่อน
แต่พอถึงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ และการปรากฏกายของ คปค. พร้อมกับข้อกล่าวหาต่างๆ อิทธิฤทธิ์ของการชี้ถูกชี้ผิดด้วยปลายกระบอกปืนก็กลับทำให้ “ความชอบธรรม” หายไปกับสายลม กลับตาลปัตรถึงขนาดหลายประเทศที่สนใจเมืองไทยถึงกับงุนงงวิจารณ์แทบไม่ถูก นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์เป็นต้น บอกว่าสถานการณ์การเมืองไทยถึงจะดูเรียบๆ ไม่มีความรุนแรง แต่นิวซีแลนด์ก็มองการเมืองในลักษณะนี้ว่าเป็น “เรื่องลบ” แปลว่าวิจารณ์ไม่ถูกว่าไม่ดีตรงไหน รู้แต่ว่าไม่ชอบ
ความชอบธรรมจึงเป็นภาวะที่ยึดถือได้ยาก ถึงนักรัฐศาสตร์จะสอนสั่งกันนักหนาว่ารัฐบาลที่ดีต้องมีสิ่งนี้เป็นเนื้อในอันสำคัญ
หลายท่านจึงไปสนใจที่คำว่า ความเป็นธรรม แทน เพราะคำว่า “เป็น” ที่นำหน้านามมานั้นต่างกับคำว่า “ชอบ” ในขณะที่คำหลังดิ้นไปได้ตลอดเวลาตามอัตตวิสัย คำแรกแสดงภาวะอันถาวรที่ยึดถือได้ แรกเป็นอย่างไรต่อมาก็ยังคงเป็นอย่างนั้น
เป็นธรรมคือภาวะที่ดีแล้วดีเลย ไม่ว่าจะกระทำโดยใครหรือในสถานการณ์ไหนก็ตาม
ดูจะเป็นนิจจังท่ามกลางความเป็นอนิจจังทั้งหลาย
คุณทักษิณฯ จะมีความชอบธรรมหลงเหลือขนาดไหน คงจะวัดและประเมินกันลำบาก แต่เราควรจะอยู่ในฐานะที่ให้ความเป็นธรรมได้
ใช้ข้อเท็จจริงไม่ใช่คำกล่าวอ้าง แยกผิดและถูกออกจากกัน เพราะคนหรือเหตุการณ์ต่างๆ มักมีสภาพไม่ต่างจากเหรียญสองด้าน และอย่าบีบคั้นกระบวนการยุติธรรมด้วยอำนาจลึกลับมากนัก
ไม่ชอบธรรมก็ควรให้ความเป็นธรรมครับ ไม่อย่างนั้นอาจจะถึงกับ “หลงธรรม” ไปเลย ก็จะยุ่งหนักข้อไปอีก.
----------------------------------------------------------------------------------
TPNews - เชิญสมัครเป็นสมาชิกข่าวสั้นผ่านมือถือ (SMS)
***"TPNews" ขอเชิญผู้มีหัวใจรักประชาธิปไตยทุกท่าน สมัครเป็นสมาชิกข่าวสั้นผ่านมือถือ (SMS) เพื่อนำรายได้ช่วยสนับสนุนการต่อสู้กับระบอบอำมาตยาธิปไตย***
***TPNews (Thai People News) : ข่าวสารสำหรับผู้รักประชาธิปไตย เที่ยงตรง แม่นยำ ส่งตรงถึงมือถือทุกวัน สมัครวันนี้ ใช้ฟรี 14 วัน พิมพ์ PN ส่งมาที่เบอร์ 4552146 ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน (เฉพาะ DTAC 30 บาท/เดือน) Call center: 084-456 6794-6 (จ.- ศ. 9.30-17.30 น.)***
***TPNews (Thai People News) : ข่าวสารสำหรับผู้รักประชาธิปไตย เที่ยงตรง แม่นยำ ส่งตรงถึงมือถือทุกวัน สมัครวันนี้ ใช้ฟรี 14 วัน พิมพ์ PN ส่งมาที่เบอร์ 4552146 ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน (เฉพาะ DTAC 30 บาท/เดือน) Call center: 084-456 6794-6 (จ.- ศ. 9.30-17.30 น.)***
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 46 ศิลปะของคาลเดอร์
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : หลังรัฐประหาร
ตอนที่ 46 : ศิลปะของคาลเดอร์
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
*****************************************************************************
โมบายการเมืองไทยนั้นตั้งอยู่บนฐานของโมบายทุกๆ ชิ้นในโลกนี้คือ ทุกอย่างจะดำรงสภาพเดิมอยู่ได้ด้วยการถ่วงน้ำหนักที่ดี ด้านใดด้านหนึ่งหนักเกินไปแล้วก็จะเอียงกระเท่เร่
ตอนที่ 46 : ศิลปะของคาลเดอร์
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
*****************************************************************************
โมบายการเมืองไทยนั้นตั้งอยู่บนฐานของโมบายทุกๆ ชิ้นในโลกนี้คือ ทุกอย่างจะดำรงสภาพเดิมอยู่ได้ด้วยการถ่วงน้ำหนักที่ดี ด้านใดด้านหนึ่งหนักเกินไปแล้วก็จะเอียงกระเท่เร่
*****************************************************************************
ศิลปะของคาลเดอร์
หลังการยึดอำนาจเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ผมไปทานข้าวกับเพื่อนชาวสวิสคนหนึ่งที่วิตกทุกข์ร้อนกับอนาคตของเมืองไทยเป็นอย่างยิ่ง ก็เลยต้องนั่งปลอบประโลมอยู่เป็นนาน แต่ไม่ค่อยได้ผลมากนัก เพราะสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่ไม่คุ้นเคยเอาเสียเลยกับภาวะเผด็จการ พอไม่มีประชาธิปไตยก็รู้สึกเหมือนไม่มีอากาศจะหายใจ
ฟูมฟายไปสักพักหนึ่ง แกก็เงยหน้าขึ้นมาบอกผมเบาๆ อย่างคนที่ตกผลึกว่า “วัฒนธรรมการเมืองไทยเหมือนศิลปะของ อเล็กซานเดอร์ คาลเดอร์ ไม่มีผิด”
ผมถามว่าเป็นยังไง
แกก็บอกว่าคาลเดอร์คนนี้เป็นชาวเยอรมัน และมีชื่อเสียงในงานฝีมือที่นำส่วนประกอบหลายชิ้นเข้ามาสร้างเป็นงานเดียวกัน ส่วนใหญ่จะเป็นโมบายแบบมีสมดุล คือชิ้นใหญ่บ้างเล็กบ้าง เกาะเกี่ยวกันด้วยแกนหรือก้านเล็กเรียว แบ่งซ้ายขวาหน้าหลังกันอย่างลงตัว ใช้หลักการถ่วงน้ำหนักตามธรรมชาติ ถ้าไปแตะชิ้นใดชิ้นหนึ่งเข้า ก็จะสั่นไหวไปทั้งโมบายด้วยแรงสัมผัส
คนที่รักงานของเขาจะบอกคล้ายๆ กันว่า ดูแล้วสบายใจดี ได้สาระสำคัญของการใช้ชีวิตคือ หลายสิ่งหลายอย่างเกาะเกี่ยวกันอยู่หลวมๆ และมีความสัมพันธ์กันหมด จะไปเพิกเฉยกับชิ้นใดชิ้นหนึ่งไม่ได้เลย
ฟังแล้วผมก็นึกถึงท่านอาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ในการบรรยายเรื่อง การเสริมสร้างเสถียรภาพของประชาธิปไตยไทย ที่คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ นานมาแล้ว ท่านเปรียบกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นกับการพัฒนาประชาธิปไตยว่า เหมือนกำแพงผุและต้นโพธิ์ที่ขึ้นอยู่บนกำแพงนั้น
ไม่ดูตาม้าตาเรือ ไปรื้อกำแพงเข้า ต้นโพธิ์ก็ตาย
หรือเห็นรกรุงรังไปแยกเอาต้นโพธิ์ออกมา กำแพงก็พัง
เป็นปรัชญาการแบบขาดๆ เกินๆ อุ้มค่อมกันอยู่อย่างนั้น
ผมเล่าเรื่องนี้ให้เพื่อนชาวสวิสคนนี้ฟัง เขาก็เห็นความเชื่อมโยงกันทันที “ผมสังเกตว่าในสังคมไทย ของห้าชิ้นต้องสัมพันธ์กันเสมอคือ สถาบันกษัตริย์ สถาบันพุทธศาสนา สถาบันการเมืองแบบประชาธิปไตย สถาบันทหาร และประชาชนที่เหลือ” เขาว่า
จริงของเขา ทั้งห้าชิ้นนั้นถูกนำมารวมอยู่ด้วยกันในโมบายแบบที่คาลเดอร์สร้างชื่อเสียงมาแล้วมากมาย และมีธรรมชาติแบบนั้นทุกอย่าง
ผมได้อ่านเรื่องราวแบบนี้มาจากนักรัฐศาสตร์และคนที่สนใจวิเคราะห์การเมืองไทยมามากแล้ว แต่นึกเสมอว่าบางครั้งมุมมองจากคนนอกก็ให้ความแจ่มชัดได้มาก
มองตัวเองนั้นบางทีก็ ชัดเจน (clear) แต่ไม่ แจ่มแจ้ง (precise)
ต้องใส่ภาษาฝรั่งสักหน่อย เพราะหลังจากวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นต้นมา รู้สึกว่าบางวันก็พูดภาษาไทยไม่ค่อยชัด
โมบายการเมืองไทยนั้นตั้งอยู่บนฐานของโมบายทุกๆ ชิ้นในโลกนี้คือ ทุกอย่างจะดำรงสภาพเดิมอยู่ได้ด้วยการถ่วงน้ำหนักที่ดี ด้านใดด้านหนึ่งหนักเกินไปแล้วก็จะเอียงกระเท่เร่ จนถึงขั้นที่ไม่อาจคงสภาพเป็นโมบายได้อีกต่อไป
ผมถามเพื่อนว่า แล้วการเมืองสวิตเซอร์แลนด์ไม่เล่นโมบายอย่างนี้บ้างหรือ
เขาบอกว่า ของเขาเน้นหนักที่ประชาชน ปัจจัยอื่นจะเล็กเรียวลงไปเองโดยธรรมชาติโดยไม่ต้องไประรานไล่ที่กัน
ผมว่า ถ้าอย่างนั้นโมบายก็พังน่ะสิ
เขาก็ว่าพัง
อ้าว? ถ้าอย่างนั้นมันจะดีไปได้อย่างไรเล่า
เขาหัวเราะหึๆ แล้วตอบสั้นๆ ว่า “ที่สวิตเซอร์แลนด์เราเลิกเล่นโมบายกันแล้ว พอประชาชนเป็นใหญ่โมบายก็พัง ขณะนี้ประชาธิปไตยของเรากลายเป็นงานประติมากรรมชิ้นใหญ่ที่หนักมากและวางอยู่กับพื้นดิน”
ผมถอนหายใจยาวแล้วชวนเขาเปลี่ยนเรื่องคุย รู้สึกจะคุยกันเรื่องหมาบางแก้วที่เขาเพิ่งจะได้มา.
---------------------------------------------------------------------------------
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 45 คนพันธุ์พิเศษ
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : หลังรัฐประหาร
ตอนที่ 45 : คนพันธุ์พิเศษ
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
*******************************************************************************
คนเขาเก่งเย็บปักถักร้อย จะจับไปแข่งกีฬาพุ่งแหลนก็จะกลายเป็นคนไร้ความสามารถ
*******************************************************************************
คนพันธุ์พิเศษ
กำลังเสี่ยงทายกันอย่างเมามันว่าใครจะบุญหล่นทับได้เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
ได้เห็นการรณรงค์หาเสียงแบบแปลกๆ ของคนอาจจะเรียกได้ว่าผู้ดีเก่าหลายคน ซึ่งจะไม่ยอมแสดงออกตรงๆ ว่าปรารถนาอะไรอยู่ในใจ แต่จะแสดงด้วยบทบาทที่สมควรได้รับรางวัลตุ๊กตาทองยิ่งกว่า เช่น แสดงความเห็นเชิงนโยบายออกมาดังๆ เดินทางกลับจากต่างประเทศโดยไม่มีลูกน้องห้อมล้อมรับใช้ (เพื่อให้สมกับรัฐบาล “สมถะ”) ให้คอลัมนิสต์เขียนสนับสนุน (หรือเล่นงานคนที่ดูจะเป็นคู่แข่งได้) ฯลฯ
คนที่เฝ้ามองอยู่เริ่มส่งเสียงเชียร์บ้าง ยี้บ้าง หรือบางคนก็มีคำถามอยู่ในใจ
เสียงซุบซิบเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของตัวบุคคล ความสำคัญคงไม่อยู่ตรงนั้นนัก สิ่งที่หลายคนเริ่มจะรู้สึกและหยิบมาเป็นประเด็นถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ คือภูมิหลังด้านวิชาชีพของคนที่ถูกเอ่ยนามขึ้นมาแต่ละคน
โดยเฉพาะคนที่รับราชการมาตลอด กับคนที่ไม่ใช่
ความเป็นข้าราชการหรือไม่ ดูจะกลายเป็นปัจจัยที่สำคัญในการคัดเลือกรัฐมนตรีครั้งนี้ ถ้ามองอย่างวิเคราะห์ก็จะเข้าใจ ก็นายกรัฐมนตรีเองรับราชการทหารมาตลอดชีวิต ไม่เคยเบี่ยงไปในทิศทางอื่นใดเลย คนที่ท่านน่าจะไว้วางใจและ “รู้จัก” ก็คงวนเวียนอยู่ในระบบราชการ
ความจริงท่านจะหกคะเมนตีลังกาอย่างไรในการเลือก ก็เป็นสิทธิ์ของท่านในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
แต่ในเมื่อรัฐบาลมีผลต่อคนทุกคน ก็เลยต้องขอส่องกล้องเข้าไปดูหน่อย
ดูห่างๆ ก็พอจะเดากรอบความคิดของท่านได้บ้างแล้ว
คนเก่งเศรษฐกิจต้องอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
คนเก่งนโยบายต่างประเทศจะเป็นใครได้เล่า ก็กระทรวงการต่างประเทศ
นโยบายความมั่นคงและการป้องกันประเทศ ใครจะเก่งกว่าทหาร เพราะฉะนั้นต้องตั้งให้ทหารเป็น
กระทรวงมหาดไทยซับซ้อนอาศัยบารมีสูง หาอดีตปลัดกระทรวงมาสักคน เช่นเดียวกับกระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ
นี่คือกรอบความคิดที่เชื่อว่าข้าราชการเป็นศูนย์กลางของราชอาณาจักรนี้
ภาคเอกชน ภาคประชาชน ต้องลดลงไปเป็นตัวประกอบ แข่งบุญบารมีกับเขาอย่างไรไหว
ผมก็เชื่อมั่นครับว่าข้าราชการที่เก่งนั้น มีความสำคัญต่อบ้านเมืองและสมควรได้รับการยกย่องในทุกทางที่ทำได้
แต่โปรดอย่าลืมว่าข้าราชการถูกสร้างและพัฒนามาตลอดชีวิตเพื่อรักษาไว้ซึ่งระบบและครรลองที่มีอยู่แล้วในบ้านเมือง ไม่ใช่เพื่อสร้างระบบและวางครรลองใหม่
น้อยจนแทบจะหาตัวไม่ได้เลย สำหรับข้าราชการที่เติบโตขึ้นสู่ตำแหน่งสูงๆ ได้โดยเปลี่ยนแปลงทุกอย่างรอบตัวมาตลอด ส่วนใหญ่ได้ดีเพราะทำตามคำสั่งได้ดี และได้รับรางวัลในวิชาชีพของตัวเมื่อพิทักษ์รักษาสิ่งที่เป็นจารีตประเพณีในการทำงานในหน่วยงานนั้นๆ ได้
ข้าราชการจึงอยู่ในกรอบหรือแนวความคิดอนุรักษ์นิยม ใครที่เป็นเสรีนิยมจนเกินไปจะทนอยู่ในระบบราชการไม่ไหว หรือบางทีระบบราชการก็ทนคนๆ นั้นไม่ไหว โยนออกไปนอกระบบก็เห็นมามากแล้ว
แต่เรากำลังกระเสือกกระสนเพื่อเอาตัวรอดในโลกที่มีความเปลี่ยนแปลงมากมายเหลือเกิน พูดกันจนปากฉีกไปถึงรูหูว่าผู้นำในทุกระดับต้องมีทัศนคติที่ดีต่อความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ และสามารถผลักดันให้หน่วยงานของตนเองเจริญก้าวหน้าสอดคล้องกับโลก โดยไม่จมน้ำตาย
จะไปหาแบบนี้ที่ไหนในระบบราชการ?
ข้าราชการก็อย่าเพิ่งฉุนโกรธ ความเก่งกล้าสามารถของท่านนั้นมีมากและเป็นปัจจัยรักษาประเทศนี้มาตลอดด้วย แต่คำถามก็คือความเก่งนั้นตรงกับโจทย์ที่ประเทศไทยในกระแสโลกภิวัตน์ได้รับมาหรือไม่
คนเขาเก่งเย็บปักถักร้อย จะจับไปแข่งกีฬาพุ่งแหลนก็จะกลายเป็นคนไร้ความสามารถ
โดยสรุป คณะรัฐมนตรีในโลกปัจจุบันต้องเลือกสรรจาก “กรอบความคิด” ก่อน “ความรู้ความสามารถ” ครับ ยกเว้นจะไม่เอาจริงกับการยกระดับประเทศนี้.
----------------------------------------------------------------------------------------
วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553
ปฏิรูป...แนวทางทำลายประชาธิปไตย โดย จักรภพ เพ็ญแข
เรื่อง : ปฏิรูป...แนวทางทำลายประชาธิปไตย
โดย : จักรภพ เพ็ญแข
ที่มา : คอลัมน์ “ผมเป็นข้าราษฎร” หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์วิวาทะ Thai Red News ปีที่ 1 ฉบับที่
***************************************************************************
น่าสังเกตว่า ในระยะนี้มีการพูดถึงแนวทางในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีและสมควรถกเถียงกันให้กว้างขวาง น่าจะเป็นเพราะการเคลื่อนทัพของฝ่ายประชาธิปไตยที่ผ่านมายังไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์นัก จนมวลชนเกิดความล้าและเกิดคำถาม ในที่สุดก็ฝ่ายที่กุมการนำในขบวนการประชาธิปไตยให้คำตอบง่ายๆ ว่าเราต่อสู้เพื่อให้รัฐบาลยุบสภาและเลือกตั้งใหม่
โดยหวังจะใช้อำนาจรัฐจากการเลือกตั้งสถาปนาประชาธิปไตยในบ้านเมือง ตามแนวทางที่เรียกอย่างไพเราะเพราะพริ้งว่า “ปฏิรูป”
คำๆ เดียวกับการรวมอำนาจรัฐสู่ศูนย์กลางในสมัยรัชกาลที่ ๕ ล้มอำนาจของขุนนางและรัฐบาลท้องถิ่นลงเกือบเด็ดขาด
คำๆ เดียวกับชื่อคณะทหารที่ก่อการยึดอำนาจรัฐ หลังสังหารโหดนักศึกษาและประชาชนในฝ่ายประชาธิปไตยเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
คำๆ เดียวกับที่นักวิชาการในพระบรมราชูปถัมภ์อย่าง นายแพทย์ประเวศ วะสี ชอบใช้ เช่นเมื่อครั้งที่ผลักดันให้เกิดการ “ปฏิรูปการเมือง”
การใช้คำพ้องกันเช่นนี้มิใช่เหตุบังเอิญ แต่มีสิ่งที่เชื่อมโยงความคิดในหัวสมองแต่ละคนเข้าด้วยกัน ความเชื่อมโยงหรือความสัมพันธ์ทางความคิดที่ว่านี้ ก็มิได้หมายความว่าเขาร่วมกันวางแผนหรือนัดกันมาพูด แต่เป็นทัศนะที่สะท้อนความคิดในระดับเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ความก้าวหน้าหรือล้าหลังจึงไม่แตกต่างจากกันนัก
ถ้าเอาทัศนะทางประวัติศาสตร์มาจับ จะพบว่าการ “ปฏิรูป” ที่ผ่านมาในสังคมไทยแทบไม่ได้ก่อผลเปลี่ยนแปลงต่อระบอบประชาธิปไตยเลย การปฏิรูปสมัยรัชกาลที่ ๕ ส่งผลให้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมีความสมบูรณ์และเข้มข้นขึ้น อำนาจอธิปไตยก็อยู่ที่พระมหากษัตริย์มิใช่ประชาชนส่วนใหญ่ การปฏิรูปของระบอบเผด็จการอำมาตยาธิปไตย ที่เรียกว่า “ขวาพิฆาตซ้าย” ซึ่งความจริงคือ “ขวาฆ่าประชาธิปไตย” เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๙ ก็ทำให้เกิดเผด็จการเต็มรูปที่กลายพันธุ์มาเป็นเผด็จการอำพรางหรือประชาธิปไตยครึ่งใบจนกระทั่งปัจจุบัน การปฏิรูปแบบของหมอประเวศและคณะก็มิได้ทำให้ประชาชนได้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มิหนำซ้ำเมื่อเกิดการรัฐประหาร ยังไปแสดงท่าทีหนุนผู้ทำลายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้อย่างหน้าตาเฉย
คำว่า “ปฏิรูป” มีความไพเราะในทางภาษา แต่ในเชิงประวัติศาสตร์และรัฐศาสตร์ไทยแล้ว นี่คือคำอัปมงคลอย่างยิ่งทีเดียว
จะเรียกให้เท่ว่าเป็นศัพท์หรือวาทกรรมประเภท “ปิศาจบัญญัติ” ก็ยังได้
ข้อเสนอให้ “ปฏิรูป” ในเมืองไทยแทบทุกครั้งคล้ายจะแสดงเจตนารมณ์ประชาธิปไตย แต่เอาเข้าจริงแล้วกลับไปช่วยส่งเสริมระบอบตรงข้ามกับระบอบประชาธิปไตยทุกทีไป เพราะท้ายที่สุดก็จะยื่นคอมาเจื้อยแจ้วกับมวลชนว่า เมืองไทยเรายังไม่พร้อม ต้องค่อยเป็นค่อยไป และรักษาโครงสร้างอำนาจที่เป็นอยู่ไปก่อน
ครับ “ปฏิรูป” ของคนเหล่านี้หมายถึงการรักษาสถานภาพเดิม (status quo) เท่านั้นเอง
ประชาชนไม่ได้อะไรเลย มิหนำซ้ำยังถูกด่าว่าสร้างความเดือดร้อนรำคาญใจและทำภาพลักษณ์ของประเทศเสียหายเสียอีก
คนที่มักพูดว่าต้องประนีประนอมนั้น ควรถามตัวเองเงียบๆ ว่าหลักการประชาธิปไตยอันแท้จริงนั้นประนีประนอมได้จริงหรือ
ให้อำนาจอธิปไตยเป็นของคนอื่นไปก่อน ประชาชนค่อยเอาทีหลังหรือไม่ต้องสูงสุดก็ได้หรือ
เสรีภาพมีบ้างไม่มีบ้าง เรื่องไหนเขาใจดีให้มี ก็มี เรื่องไหนขัดผลประโยชน์เขา เขาไม่ให้ ก็ต้องหมอบกราบยอมรับกระนั้นหรือ
หลักกฎหมายหรือนิติธรรม ที่มาของความยุติธรรม มีบ้างไม่มีบ้างก็ได้หรือ ฯลฯ
ถ้าคิดอย่างวิญญูชนแล้ว จะพบว่าหลักการเหล่านี้ประนีประนอมไม่ได้หรอกครับ มีทางเลือก ๒ ทางเท่านั้นคือ มี หรือ ไม่มีประชาธิปไตยในบ้านเมือง
มองในแง่ดี คนที่เสนอ “ปฏิรูป” บางคนอาจจะหวังให้เป็นยุทธวิธี แต่ขอให้ดูของจริงประกอบไปด้วยเถิดว่า ผู้มีอำนาจรัฐที่เข้ามาปะเหลาะฝ่ายประชาชนในอดีตให้ยอมรับ “ปฏิรูป” แทน “ปฏิวัติ” นั้น ในที่สุดแล้วเป็นหมาจิ้งจอกที่สวมขนแกะอารีมาคุยกับท่านใช่หรือไม่ สุดท้ายท่านก็ร่วมปล้นหลักการประชาธิปไตยจากมือประชาชนไปใส่มือเขา จะโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตามใช่หรือไม่
แต่ละท่านก็อาวุโสมากแล้ว ทำบุญให้กับคนรุ่นหลังด้วยการให้กำลังใจและประสบการณ์กับเขาเถิดครับ อย่ามาหลอกล่อลูกหลานเพื่อจะได้เป็นใหญ่และลบปมด้อยอดีตของตัวเองอีกต่อไปเลย
หยุดหลอกเถิดครับว่า “ปฏิรูป” จะทำให้เกิดประชาธิปไตยแท้จริงในประเทศไทยได้ ล้มลุกคลุกคลานมากี่หนกี่ครั้งแล้วจำไม่ได้หรือครับ
การสถาปนาประชาธิปไตยแท้จริงในเมืองไทยได้ ต้องกระทำโดยกระบวนการปฏิวัติอย่างสันติ เป้าหมายคือโอนถ่ายอำนาจอธิปไตยในมืออำมาตย์มาเป็นของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศเท่านั้น ถ้าหากฟังคำว่า ปฏิวัติ แล้วสะดุ้งตกใจ ก็ควรร่วมกันอธิบายความต่อมวลชนที่ยังไม่กระจ่างให้ท่านรู้อย่างแจ่มแจ้งว่าคำๆ นี้เป็นเพียงยุทธศาสตร์ของภารกิจ ส่วนเป้าหมายคือระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง ด้วยความเคารพนบนอบในมหาประชาชน ไม่ใช่ฆ่าฟันกันเป็นบ้าเหมือนเขมรแดง
อย่าลืมว่าถ้าเราเป็นมหาอำมาตย์ในวันนี้ เราก็ต้องคิดฮุบขบวนการเสื้อแดง ดูดกลืนเอามาเป็นของเรา เพราะสีเหลืองอย่างเดียวไม่เพียงพอเสียแล้ว เราต้องการทั้งสีเหลือง สีชมพู สีขาว และสีแดงมาเป็นฐาน เราจึงจะตั้งตัวอยู่บนนั้นได้อย่างมั่นคง
ถ้า “ปฏิรูป” แล้วอำนาจรัฐไม่เปลี่ยนมือ ได้แต่เล่นละครเป็นรัฐบาลไปวันๆ ก็เท่ากับช่วยให้แผนฮุบเสื้อแดงเป็นผลมากขึ้น
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีภารกิจต่อเนื่องจาก ดร.ปรีดี พนมยงค์ ครับ ไม่ใช่ต่อจากการปล้นบ้านเมืองตามคำสั่งนายอย่างพลเรือเอกสงัด ชลออยู่.
----------------------------------------------------------------------------------
TPNews (Thai People News): ข่าวสารสำหรับผู้รักประชาธิปไตย เที่ยงตรง แม่นยำ ส่งตรงถึงมือถือทุกวัน สมัครวันนี้ ใช้ฟรี 14 วัน พิมพ์ PN ส่งมาที่เบอร์ 4552146 ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน (เฉพาะ DTAC 30 บาท/เดือน) Call center: 084-4566794-6 (จ.- ศ. 9.30-17.30 น.)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)