ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

บิน ลาเด็นกับประชาธิปไตยไทย โดย กาหลิบ

คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?

เรื่อง บิน ลาเด็นกับประชาธิปไตยไทย

โดย กาหลิบ

ขณะที่หน่วยคอมมานโดสหรัฐฯ แอบบุกแผ่นดินปากีสถานเพื่อไล่ล่าสังหาร โอซาม่า บิน ลาเด็น ผู้นำขบวนการมุสลิมหัวรุนแรงอัล-กออิดะห์ จนประสบความสำเร็จตามข่าว นั่นคือได้ลั่นกระสุนสังหารบิน ลาเด็นและพวกอีก ๔ คน จนเลือดสาดกระจายบ้านพักไปแล้วนั้น ผู้ควบคุมแผนสังหารครั้งนี้คงนึกว่าทุกอย่างคงจบสิ้นลง โลกคงจะแซ่ซ้องสรรเสริญใน ความสำเร็จของตน

ที่สำคัญคือ ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่าคงฉวยเอาเรื่องนี้มาเป็นเหตุผลเพื่อถอนทหารอเมริกันออกจากสมรภูมิอัฟกานิสถานตามนโยบายที่ประกาศไว้ระหว่างหาเสียงเลือกตั้ง ก่อนถูกดูดเข้าสู่หลุมดำแห่งสงครามจนต้อง แพ้เหมือนเมื่อคราวประธานาธิบดีจอห์นสัน แพ้สงครามเวียดนาม

แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เมื่อวันพุธที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ซึ่งดูเหมือนจะไกลแสนไกลจากสถานที่ที่ปลิดชีพบิน ลาเด็นในปากีสถาน อาจจะเปลี่ยนความสำเร็จของรัฐบาลสหรัฐฯ ให้กลายเป็นวิบากกรรมได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ทันทีที่ข่าวฆ่าบิน ลาเด็นปรากฎขึ้น และคนไทยส่วนใหญ่กำลังนั่งทำตาปริบๆ ดูภาพเละๆ พร้อมเห็นภาพคนอเมริกันส่วนหนึ่งออกมาโห่ร้องยินดีกันอยู่นั้น ผู้พิพากษาศาลธรรมนูญในเยอรมนีกลับนัดประชุมโดยด่วนเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ในอีกทัศนะหนึ่ง

ประเด็นพิจารณาของนักกฎหมายเหล่านี้ ไม่ใช่วินิจฉัยว่าบิน ลาเด็นเป็นผู้ก่อการร้ายและมีความผิดจริงหรือไม่ แต่เป็นคำถามว่าควรทำอย่างไรต่อผู้ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดในลักษณะนี้ต่างหาก

รัฐบาลสหรัฐฯ มีความเห็นว่า คนๆ นี้เป็นผู้ก่อการร้ายเพราะตัวเองได้ประกาศตีตราไว้แล้วตั้งแต่ครั้งที่ จอร์ช ดับเบิลยู บุช เป็นประธานาธิบดี จึงตัดสิน ประหารชีวิตได้ในทันทีโดยไม่ต้องนำตัวขึ้นสู่การพิจารณาพิพากษาคดีแต่อย่างใด

แถมวิธีการก็ยังเลือกได้ตามใจ แม้กระทั่งล่วงละเมิดดินแดนของประเทศเอกราชอย่างปากีสถานเข้าไปโดยไม่ต้องขออนุญาตก็ยังทำได้

แต่ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนีกลับเห็นตรงข้าม คำวินิจฉัยจากสมาชิกสำคัญแห่งสหภาพยุโรปจึงชี้ว่าการสังหารบิน ลาเด็นในครั้งนี้ละเมิดหลักกฎหมายสากลและสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง

โอซาม่า บิน ลาเด็น จะมีความผิดอย่างไรและสมควรได้รับโทษทัณฑ์อย่างไร สหรัฐฯ จะต้องร่วมกับประเทศที่เกี่ยวข้อง หรือจะโดยตัวเองก็ตามแต่ นำตัวคนๆ นี้มาสู่กระบวนการพิจารณาพิพากษาคดี ตามหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน

โดยไม่ใช้ ศาลเตี้ยของตนมาแทนที่

สหรัฐอเมริกาเห็นว่า สิทธิของรัฐเหนือกว่า สิทธิมนุษยชนซึ่งแปลง่ายๆ ว่าสิทธิในความเป็นคน

แต่เยอรมนีเห็นว่า สิทธิมนุษยชนต้องเท่าเทียมกับ สิทธิของรัฐรัฐจะถืออำนาจบาตรใหญ่เข้ามาทำร้ายมนุษย์หรือคน โดยไม่มีกระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริงรองรับมิได้

บิน ลาเด็น จะเลวทรามต่ำช้าขนาดไหน จะเป็นผู้ก่อการร้ายทมิฬหินชาติอย่างไรก็ตามที เขาก็ยังมีความเป็นมนุษย์พอที่เราซึ่งถือตัวว่าใจสูงกว่าเขาจะต้องยอมรับในความจริงนั้น

ฝ่ายเยอรมนีจึงเชื่อว่า หากปล่อยความคิดอเมริกันอย่างนี้ แพร่กระจายไปในโลกจนกู่ไม่กลับและกลายเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ต่อไปหลักกฎหมายก็จะพังพินาศ ความเป็นคนก็จะไม่เหลือ เพราะสามารถจะถูกย่ำยีบีฑาโดยรัฐได้ทุกเมื่อที่รัฐเห็นสมควร

อิทธิพลเยอรมนีมีขนาดไหนเราก็รู้กันอยู่ ดูไปเถิด ไม่นานแนวคิดแย้งของเยอรมนีก็จะกลายเป็นจุดยืนรวมของสหภาพยุโรปอีก ๒๖ ชาติ แถมด้วยอารยประเทศที่ไม่ได้พึ่งพาอิทธิพลสหรัฐฯ เพื่อความอยู่รอด

ฉันใดก็ฉันนั้น

รัฐไทยที่กำลังกล่าวหาใครๆ ว่าเป็น ผู้ก่อการร้ายเพียงเขาเรียกร้องประชาธิปไตยตามสิทธิในความเป็นมนุษย์ ก็ต้องตระหนักสำนึกถึงกรณีที่อาจเป็นบรรทัดฐานนี้ไว้ หากรัฐอเมริกันซึ่งมีอำนาจล้นพ้นในระดับโลก ไม่อาจใช้อำนาจของรัฐอย่างเต็มที่ตามอำเภอใจได้ในกรณีผลสืบเนื่องในครั้งนี้ รัฐไทยที่มีอำนาจล้นพ้นในระดับประเทศ ก็ย่อมไม่อาจลงโทษใครๆ อย่างศาลเตี้ย เพียงแค่ตัวเอ่ยวาจาตีตราว่าเขาเป็น ผู้ก่อการร้ายได้ง่ายๆ เหมือนกัน

ทีมกฎหมายของโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมและนักกฎหมายฝ่ายประชาธิปไตยทั้งหลาย ได้โปรดร่วมกันใช้ประโยชน์จากหลักการอันสำคัญนี้ อย่าได้เสียโอกาสเลย.

--------------------------------------------------------------------------------

สนับสนุน "กาหลิบ" และทีมงาน สมัคร SMS-TPNews พิมพ์ PN กดส่งมาที่เบอร์4552146 สมัครวันนี้ ใช้ฟรี 14 วัน ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน รายได้เป็นค่าใช้จ่ายในการทำงานต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย Call center : 084-4566794-5 (จ.- ศ.10.00-18.00น.)/e-mail : tpnews2009@gmail.com/บล็อก :http://wwwthaipeoplenews.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น