ความยุติธรรมและความเสมอภาคที่แท้จริงไม่มีในโลกใบนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเลือกข้างและกำหนดจุดยืนให้ชัดเจน เพื่อจะก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...
3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ
2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์
1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์
สด จาก เอเชียอัพเดท
วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554
น้ำอันตราย โดย กาหลิบ
คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?
เรื่อง น้ำอันตราย
โดย กาหลิบ
น้ำท่วมฉับพลันในหลายพ้ืนที่ภาคเหนือขณะนี้ กำลังสร้างความเดือดร้อนอย่างมากให้กับพี่น้องประชาชน หากท่วมขังนานกว่านี้ ปัญหาก็จะบานปลาย และทำให้เดือดร้อนมากยิ่งขึ้น นี่กลายเป็นบททดสอบแรกของรัฐบาลใหม่ที่น่าจะนับหนึ่งในวันนี้ด้วยการได้ตัวนายกรัฐมนตรีก่อนหนึ่งคน ซึ่งจะตามมาด้วยคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ
บททดสอบนั้นมิใช่วัดว่า จะพูดผ่านสื่อเก่งหรืออย่างเฉลียวฉลาดทางการเมืองขนาดไหน และก็มิได้วัดตรงที่สั่งข้าราชการปาวๆ โดยตัวไม่ลงไปบริหารเอง แต่อยู่ตรงที่การนำของนายกรัฐมนตรีกับการทำงานอย่างเป็นระบบและเป็นทีมของรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนอยู่ที่บทบาทประสานงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ที่เกิดปัญหาว่าจะทำงานในเชิงพรรคและรัฐบาลควบคู่กันไปได้โดยมีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่
นายกรัฐมนตรีคนใหม่ควรถือโอกาสนี้รวมอำนาจการบริหารมาสู่รัฐบาล โดยเอาประโยชน์ของประชาชนผู้เดือดร้อนเป็นที่ตั้ง รัฐบาลประชาธิปัตย์ที่ผ่านมาใช้วิธีประสานประโยชน์กับระบบราชการ ในทำนอง “แบ่งกันกิน-แบ่งกันใช้” อำนาจบริหารและการปฏิบัติจึงกระจายออกไปสู่กลไกราชการ ในขณะที่ฝ่ายการเมืองเล่นการเมืองกันอย่างเดียว รัฐบาลใหม่ที่ประชาชนเลือกเข้ามาอย่างท่วมท้นต้องแก้กลไกนี้ก่อน
กรณีน้ำท่วมจึงเปรียบเสมือนของขวัญในทางบริหารสำหรับรัฐบาล โดยมีเงื่อนไขว่าต้องมองให้ทะลุและทะลวงท่อให้สำเร็จ
น้ำท่วมเป็นปัญหา ๒ ระดับอยู่เสมอ นั่นคือ ระดับเฉพาะหน้า และระดับโครงสร้างพื้นฐาน ขณะนี้ประชาชนกำลังเดือดร้อน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ทั้งในเรื่องการช่วยชีวิตและกู้ทรัพย์สิน ต่อมาก็คือปัจจัยสี่ที่ขาดตกบกพร่อง ซึ่งต้องเร่งเติมให้กับประชาชน เรื่องนี้ต้องทำก่อน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในแต่ละพื้นที่ตลอดจนผู้สมัครพรรครัฐบาลที่พ่ายแพ้ศึกเลือกตั้ง สามารถเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้อย่างสวยงาม
แต่ปัญหาสำคัญอยู่ที่ระดับโครงสร้างพื้นฐาน รัฐบาลไทยรักไทยที่มาจากการเลือกตั้งได้เคยคิดไว้แล้วอย่างเป็นระบบ รวมทั้งแนวคิดผันน้ำจากภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ขึ้นมาใช้ในตอนบนและใช้ในภาคอีสานยามแล้ง เรื่องนี้ถือเป็นโครงการขนาดใหญ่หรือ mega project ที่สำคัญโครงการหนึ่งในขณะนั้น
ความคิดแก้ไขปัญหาในระดับพื้นฐานในเรื่องนี้จึงมีอยู่ โครงการที่ลงลึกและบริหารเสียใหม่จากต้นเหตุจะช่วยเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของพี่น้องที่ยากจนได้อย่างมหาศาล และสามารถทำได้จริง
หากได้ทำ
คำสำคัญอยู่ตรงนี้เอง
เพราะท้ายที่สุดแล้วรัฐบาลเลือกตั้งได้เรียนรู้อย่างเจ็บปวดว่า ในบ้านเมืองนี้ การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบและบริหารอย่างเป็นระบบ เป็นของที่เกินเอื้อม เพราะอำนาจนอกระบอบประชาธิปไตยบางอย่างจะคอยทำตัวเป็นอุปสรรคสกัดกั้นมิให้ทำได้ โดยอ้างเหตุผลเก่าแก่ว่ามีทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือไม่ก็ขาดความรู้ความชำนาญ ใช้สื่อมวลชน นักวิชาการ ข้าราชการในสังกัดเป็นเครื่องมือในการส่ือความทำนองนี้อย่างต่อเนื่องเป็นระบบจนมติมหาชนหลงตาม
แต่สุดท้ายก็เข้าใจได้เองอย่างซาบซึ้งว่า ไม่ใช่เพราะความผิดของรัฐบาล แต่เพราะทรัพยากรน้ำได้กลายเป็นสมบัติส่วนตัวของผู้มีอำนาจในเมืองไทย
จะเพราะลุ่มหลงว่าตนเท่านั้นที่จะแก้ไขเรื่องเหล่านี้ได้
หรือหวังใช้ภาวะ “น้ำเกิน-น้ำขาด” เป็นเครื่องมือทำให้คนไทยส่วนใหญ่ยากจนต่อไป เพราะรู้อยู่แก่ใจว่าหากน้ำถึงคนอย่างเหมาะสมและทันการณ์ ชีวิตเขาจะยกระดับขึ้นมากในทุกด้าน จนเขาอาจชี้มือมายังกลุ่มคนที่ทำให้ความยากจนเป็นปัญหาเรื้อรังของเมืองไทย และทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองถึงขั้นพื้นฐานได้
เพราะอะไรไม่ต้องมาตอบกันตรงนี้ สถานการณ์การเมือง-เศรษฐกิจ-สังคมที่เป็นจริงจะช่วยเปิดตาให้สว่างและตอบคำถามสำหรับพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศได้เอง
หากรัฐบาลคิดแค่หาเสียงไปวันๆ กับการแก้ไขปัญหาน้ำ เขาคงไม่ว่าอะไร
แต่ถ้ามุ่งมั่นแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบทั่งประเทศ ถึงขนาดจะเปลี่ยนคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศได้ ขอแนะนำว่าจงสร้างความแข็งแรงทางการเมืองเสียก่อน
เพราะงานนี้เจอของแข็งแน่.
------------------------------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น