ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แต่งงานใหม่ โดย กาหลิบ

คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?

เรื่อง แต่งงานใหม่

โดย กาหลิบ


เริ่มมีคนถามว่า หากรัฐบาลของประชาชนหรือรัฐบาลที่ประชาชนเลือกตั้งมากับมือทำงานไม่สอดรับกับผลประโยชน์ของประชาชน หรือหนักยิ่งกว่านั้นคือทำงานสอดรับกับผลประโยชน์กับฝ่ายตรงข้ามกับประชาชนเสียด้วยแล้ว ประชาชนควรทำอย่างไร

ปัญหานี้ไม่น่าจะเกิดในประเทศประชาธิปไตย แต่สำหรับประเทศที่แสร้งว่าเป็นประชาธิปไตยหรือเป็นประชาธิปไตยน้ำใต้ศอกแล้วย่อมเกิดขึ้นได้

และอาจกำลังเกิดอยู่ด้วยซ้ำ

เจตนาของคนส่วนใหญ่ที่มาจากการเลือกตั้งคงไม่น่าเป็นการมุ่งรับใช้เผด็จการ แต่ในจิตใจที่ขาดความมั่นคงทางอุดมการณ์และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความคิดรับใช้มวลชนคงจะแปรเปลี่ยนไปได้ในทันทีที่พบว่าอำนาจของประชาชนไม่ใช่อำนาจสูงสุด สุดท้ายก็วิ่งไปรับใช้อำนาจที่เหนือกว่าประชาชน

ประเด็นสำคัญจึงมิใช่ว่ารัฐบาลจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ หรือจะอยู่ได้นานแค่ไหน แต่อยู่ที่ระบอบซึ่งเป็นเสมือนฝาครอบรัฐบาลนั้นอยู่

การครอบงำเป็นการแผ่อิทธิพลอย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้ความคิดดีๆ ความตั้งใจดีๆ และความเป็นตัวแทนของปวงชนเลือนหายไปได้ ไม่ว่าปัญหาน้ำท่วม การจราจรในกรุงเทพฯ การเร่งเร้าให้สร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ความรวนเรในหลักการของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การประกาศสงครามกับสื่อไซเบอร์ ฯลฯ เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างแรกๆ ของการปะทะในหลักการ

ลองคิดดูให้ดีแล้วจะพบว่า เบื้องหลังทุกๆ นโยบายจะต้องมีหลักการที่อธิบายต่อประชาชนได้ ในกรณีที่มีลักษณะขัดผลประโยชน์ในหลายกลุ่มประชาชน กรณีนั้นก็ต้องอธิบายกันอย่างเต็มที่และอดทนจนกว่าจะพบทางออกที่สร้างฉันทามติหรือความขัดแย้งที่เบาบางที่สุด เพราะผู้กำหนดนโยบายจะต้องเลือกระหว่างทางเลือกต่างๆ ซึ่งจะมีผู้สมหวังและผิดหวังอยู่เสมอ

แต่ถ้าเบื้องหลังนั้นไม่ได้มาจากผลประโยชน์ของมหาชน แต่เป็นความต้องการของชนกลุ่มน้อยที่มีอำนาจเหนือประชาชน ก็จะไม่สามารถอธิบายให้ประชาชนพึงพอใจได้ สุดท้ายก็ต้องหาเรื่องเบี่ยงประเด็นกันไปจนไม่พูดถึง เหลือแต่เสียงกระซิบกระซาบและการนินทาว่าร้ายที่รัฐบาลนั้นเองต้องรับไป

คนที่คอยสั่งรัฐบาล (และรัฐบาลดันตอบรับ) ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรด้วยเลย

รัฐบาลของประชาชนหลายคณะในอดีต จึงกลายเป็นหนังหน้าไฟ หรือนายหน้าของผู้มีอำนาจในเมืองไทยไปด้วยประการฉะนี้

บทบาทนี้จะดำเนินไปจนกว่ารัฐบาลนั้นจะเสื่อมความนิยม ขัดแย้งกันภายในจนเดินต่อไปไม่ได้ และก็จะพังไปเองในที่สุด

คนที่คอยสั่งรัฐบาลเขาก็จะยักไหล่ ตั้งรัฐบาลชุดต่อๆ ไปมาตายแทนเขาต่อไปโดยไม่รู้สึกรู้สมอะไรด้วย

รูปแบบนี้เห็นกันแล้วเห็นกันอีก ก็ยังไม่ค่อยเรียนรู้กัน หรือจะคิดว่าตัวเองมีคุณวิเศษยิ่งไปกว่าคณะอื่นๆ และไม่ถูกดูดเข้าสู่วงจรอุบาทว์เหมือนคณะอื่นๆ หรืออย่างไรก็ไม่รู้

กลับมาที่คำถามข้างต้นว่า หากสถานการณ์เกิดผันแปรขึ้นจริงๆ เราจะทำอย่างไรกับ รัฐบาลของเรา”?

สิ่งแรกคือต้องใจเย็นๆ แยกคนที่เป็น ของเขาและ ของเราออกจากกัน

บางคนขณะนี้อยู่ในสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออก จำต้องแสดงละครฉากสำคัญตรงหน้า แต่ขณะเดียวกันก็ไม่มีพฤติกรรมเบื้องหลังที่ส่อว่า แปรพักตร์ไปจากมวลชนประชาธิปไตย อย่างนี้ก็สงเคราะห์ในขั้นต้นไว้ก่อนว่าเป็น ของเรา

บางคนมุ่งหน้าทำงานรับใช้ฝ่ายตรงข้ามกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ยิ่งมีอิทธิพลในรัฐบาลมากขึ้นก็ยิ่งรับใช้มากขึ้นและลึกซึ้งยิ่งขึ้น พยายามตลอดเวลาที่จะลดทอนอำนาจน้อยนิดที่ประชาชนมีอยู่เพื่อจะเอา การบ้านไปส่งครูว่าตัวเองเป็นนักเรียนในโอวาท อย่างนี้ก็นับว่าเป็น ของเขา

คณะกรรมการมวลชนถูกตั้งขึ้นแล้วและจะทำงานแยกแยะ ของเขาและ ของเราเป็นหลัก

อีกอย่างหนึ่งคือเราควรมองรัฐบาลขณะนี้ว่า เสมือนกำลังทดลองประสานผลประโยชน์กันอยู่ ดูกันสักระยะหนึ่งว่าผลประโยชน์ของอำนาจเดิมกับผลประโยชน์ของอำนาจใหม่จะหาจุดร่วมที่ทำให้อยู่ร่วมกันได้บ้างหรือไม่

การทดลอง อยู่ร่วมกันนี้เคยทำมาแล้วเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ และประสบความล้มเหลว

อยากลองดูอีกทีเมื่อเกือบ ๘๐ ปีให้หลัง ก็ถือเป็นการทดลองครั้งที่สองได้.

---------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น