ความยุติธรรมและความเสมอภาคที่แท้จริงไม่มีในโลกใบนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเลือกข้างและกำหนดจุดยืนให้ชัดเจน เพื่อจะก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...
3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ
2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์
1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์
สด จาก เอเชียอัพเดท
วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
เศรษฐกิจคู่การเมือง โดย กาหลิบ
คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?
เรื่อง เศรษฐกิจคู่การเมือง
โดย กาหลิบ
นี่คือระยะจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และเป็นการจัดตามกรอบความคิดเดิมคือ “รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” เราจึงได้ยินเสียงแปลกๆ จากมุมเล็กมุมน้อยของสังคมในลักษณะชี้นำและขีดวงการเดินของผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่บริหารบ้านเมืองตามผลการเลือกตั้งจากประชาชน
เสียงแปลกๆ พวกนี้คือส่วนหนึ่งของข้อจำกัดทางการเมืองไทยในปัจจุบันและเป็นภาพสะท้อนที่ดีถึงปัญหาที่ใหญ่โตกว่านั้นสำหรับคนที่ยังมองอะไรไม่เห็น
การตีกรอบอย่างหนึ่งคือการโน้มน้าวชวนเชื่อผ่านสื่อกระแสหลัก รวมแม้กระทั่งกลไกภายในของ “เสื้อแดง” เองว่า รัฐบาลใหม่ควรมุ่งงาน “เศรษฐกิจ” ของชาติเพียงอย่างเดียวก่อน และอย่าไปแตะต้อง กับ “การเมือง” ในระยะนี้
ว่าแล้วก็ชวนกันถกเถียงในเรื่องค่าแรงขั้นต่ำบ้าง บัตรเครดิตชาวนาบ้าง บัตรประจำตัวประชาชนของเด็กๆ บ้าง โดยอ้างว่าเป็นนโยบายที่พรรคเพื่อไทยนำเสนอในระหว่างหาเสียง จึงต้องนำมาสัมมนากัน
การถกเถียงเรื่องนโยบายเป็นสิ่งที่ดีและถูกต้อง เพราะนโยบายของรัฐบาลย่อมกระทบต่อคนไทยเป็นจำนวนหลายสิบล้านคน ความเป็นประชาธิปไตยอย่างหนึ่งคือการเคารพในสิทธิที่อาจถูกกระทบได้จากนโยบายใหม่ๆ ไม่ว่าผลกระทบทางบวกหรือทางลบ
แต่พร้อมกับการถกเถียงทางนโยบายเศรษฐกิจและสังคมนั้น ต้องมีสำนึกอยู่เสมอว่าการเมืองในปัจจุบันยังอยู่ในวงจรอุบาทว์อย่างโงหัวไม่ขึ้นอยู่ หากไม่ถกเถียงในปัญหาการเมืองไปพร้อมกันแล้วจะพบว่าปัญหาการเมืองเหล่านั้นจะย้อนกลับมาเป็นมารผจญจนไม่สามารถดำเนินนโยบายของรัฐบาลได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
“การเมือง” ในความหมายนี้ เราต้องชี้ถึงปัญหาหลายอย่างที่ครอบงำทั้งชาติอยู่ เช่น รัฐธรรมนูญที่ยังคงประกันสิทธิของชนชั้นนำในการแทรกแซงและบ่อนทำลายรัฐบาลของประชาชนได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญที่มีเจตนาลดทอนความเข้มแข็งของระบบรัฐสภาด้วยวิธีทำลายวินัยพรรค มีองค์กรอิสระต่างๆ ที่ทำหน้าที่เสมือนพรรคการเมืองที่เลือกฝักฝ่ายและดูจะเป็นเครื่องมือในการทำลายประชาธิปไตยในบ้านเมืองอย่างเป็นระบบ เป็นต้น
ประเด็น “การเมือง” ซึ่งยังมีอีกมากเหล่านี้ คือเครื่องมือที่ “อำนาจเก่า” เคยใช้ในการทำลายล้างรัฐบาลของประชาชนมาแล้วอย่างได้ผล และแนวโน้มก็ยังจะใช้ต่อไปอีกจนกว่าเขาจะเชื่อว่าประชาชนกลับคืนสู่การถูกควบคุมอย่างสมบูรณ์
เมื่อบรรยากาศเป็นเช่นนี้ เราจะก้มหน้าก้มตาทำงานบริหารชาติ โดยไม่แก้ปัญหาในระดับความเป็นความตายของเราเสียก่อนได้หรือ?
รัฐบาลใหม่ต้องเงยหน้าอย่างองอาจ ประกาศกับสังคมอย่างมั่นใจเลยว่าจะบริหารเศรษฐกิจกับการเมืองไปพร้อมกัน รวมทั้งงานทางสังคมที่จะไม่แยกส่วนหรือจัดลำดับการทำงานตามใจนายหน้าผู้หากินอยู่กับอำนาจในระบอบเก่า
หลักการที่เห็นพูดๆ กันว่า เศรษฐกิจก่อนการเมืองทีหลังนั้น เป็นความไร้เดียงสาของคนที่นึกว่าเขา “ยอม” เราแล้วจริง
ถ้าพูดกันให้ถึงแก่นก็ต้องสงเคราะห์ว่าทัศนะอย่างนี้คือความไม่รับผิดชอบทางการเมืองของผู้ที่ได้รับเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมากเด็ดขาด
รู้ล่ะว่าอยากเป็นรัฐบาล และอยากแสดงฝีมือเหมือนสมัยไทยรักไทยให้มันกระฉูด ลัทธิดาราในวงการเมืองจะได้หวนกลับมาอีกครั้งเมื่อประชาชนเซ็งแซ่สรรเสริญเหมือนก่อนรัฐประหาร แต่อย่าลืมโดยเด็ดขาดว่าระบอบการเมืองที่แวดล้อมรัฐบาลนี้อยู่มิได้ถูกออกแบบมาเพื่อเรา
อำนาจแท้จริงถูกกำหนดและอำพรางเอาไว้เป็นปุ่มอำนาจของ “เขา” ทั้งสิ้น
ถ้าไม่แก้ปัญหาการเมืองควบคู่ไปด้วยก็เตรียมลี้ภัยกันอีกรอบหนึ่งได้
เพราะของบางอย่างอาจเสื่อมทรุดลงไปบ้าง แต่ยังมีตัวอยู่.
---------------------------------------------------------------------------
ช่วยสนับสนุน SMS-TPNews พิมพ์ PN กดส่งมาที่เบอร์4552146 สมัครวันนี้ ใช้ฟรี14วัน ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน รายได้เป็นค่าใช้จ่ายในการทำงานต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย Call center : 084-4566794-5 (จ.- ศ. 10.00-18.00น.)/e-mail :tpnews2009@gmail.com/บล็อก :http://wwwthaipeoplenews.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น