ความยุติธรรมและความเสมอภาคที่แท้จริงไม่มีในโลกใบนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเลือกข้างและกำหนดจุดยืนให้ชัดเจน เพื่อจะก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...
3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ
2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์
1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์
สด จาก เอเชียอัพเดท
วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
นอกแดนปรองดอง โดย กาหลิบ

คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?
เรื่อง นอกแดนปรองดอง
โดย กาหลิบ
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งว่า คุณจตุพร พรหมพันธุ์ ไม่สามารถจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เพราะเป็น “ผู้ถูกคุมขัง” นั้น ถือเป็นเส้นแบ่งสำคัญในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมืองที่เรียกกันอย่างไพเราะว่า “ปรองดอง” ถึงคนที่มีวิถีคล้ายคุณจตุพรฯ อย่างคุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อจะได้เข้าสู่สภาซึ่งทำให้มวลชนจำนวนหนึ่งรู้สึกโล่งใจว่ามีตัวแทน แต่ก็ไม่ได้ลบล้างข้อเท็จจริงว่าฝ่ายเรายังคงเป็นเบี้ยในกระดานของฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น
คุณจตุพรฯ เข้าสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ ทั้งๆ ที่ได้รับเลือกตั้งแล้ว ไม่ใช่เพราะขบวนการเสื้อแดงที่เป็นเวทีกลางของขบวนประชาธิปไตยปัจจุบัน แต่เป็นเพราะมาตรา ๑๑๒ ของประมวลกฎหมายอาญาที่เรียกกันติดปากว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ความแตกต่างระหว่างคุณจตุพรฯ กับคุณณัฐวุฒิฯ คือจุดนี้ ส่งผลให้ทัศนะของเครือข่ายฝ่ายตรงข้ามจัดให้คุณจตุพรฯ ย้ายไปรวมในกลุ่มเดียวกับคุณสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ คุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข คุณดา ตอร์ปิโด เรดอีเกิ้ล และเหยื่อมาตรา ๑๑๒ รายอื่นๆ
สัญญาณที่ชัดเจนอย่างปฏิเสธมิได้คือ ผู้ที่ถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อันเนื่องมาจากเรื่องของสถาบันกษัตริย์ถือเป็นคนนอกกรอบของการเจรจา “ปรองดอง” ระหว่าง “อำนาจนอกรัฐธรรมนูญ” และ “อำนาจจากการเลือกตั้งของประชาชน”
มาตรา ๑๑๒ เป็นเส้นแบ่งว่าใครปรองดองได้และใครปรองดองมิได้
หรือพูดอีกอย่างคือแบ่งกันชัดเจนว่า “เขา” จะปรองดองกับใครและไม่ปรองดองกับใคร
เรื่องนี้เราต้องขอบคุณที่ “เขา” ทำให้ทุกอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง เพื่อลดความไขว้เขวของเหยื่อ ๑๑๒ บางท่านที่เผลอคิดไปว่าอาจได้รับอานิสงส์จากกระบวนการปรองดอง จนคิดเปลี่ยนทิศทางหรือขายตัวเพื่อเอาประโยชน์เฉพาะหน้า
ผลจากกรณีคุณจตุพรฯ ทำให้ความมั่นคงทางอุดมการณ์และความคิดในฝ่ายที่มองสู่อนาคตแข็งขึ้นมาก
ในฐานะที่รักและนับถือคุณจตุพรฯ เราทุกคนต่างเศร้าใจที่คุณจตุพรฯ จะต้องสูญเสียอิสรภาพไปอีกอย่างน้อยก็ระยะหนึ่ง เช่นเดียวกับท่านอื่นๆ ผู้ตกที่นั่งเดียวกัน แต่ก็ต้องบอกคุณจตุพรฯ ผ่านทางนี้ไปว่า ความเสียสละของคุณจตุพรฯ เป็นเส้นแบ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำงานในปัจจุบันและในอนาคต ความทุกข์ใจของคุณจตุพรฯ และผู้ที่ยอมรับในตัวคุณจตุพรฯ จะเป็นพลังงานสำคัญในกลไกที่ผลักดันสังคมไทยไปสู่กรอบใหม่ซึ่งเราหวังให้เป็นร่างกายที่ไร้เซลล์มะเร็ง หรือเป็นมะเร็งที่ฝ่อแล้วและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายอีกต่อไป
ไม่ว่าเราจะเห็นตรงกันหรือต่างกันมาบ้างในอดีต แต่เส้นใหม่นี้ชี้ชัดว่าเราอยู่ข้างเดียวกันในทางอุดมการณ์และแนวคิด ซึ่งจะทำให้เรามีอนาคตร่วมกันอีกมาก
การตัดขาด “อาชญากรมาตรา ๑๑๒” ออกจากกระบวนการปรองดองนั้น ความจริงก็น่าสนใจในตัวเองอยู่ไม่น้อยเพราะเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่แสดงถึงความเป็น “วินาศกาเล วิปริตพุทธิ” หรือ “เมื่อถึงคราวพินาศ ปัญญาย่อมวิปลาสไป” ของชนชั้นนำไทยในขณะนี้
มาตรา ๑๑๒ เป็นกฎหมายที่มีนัยทางการเมืองอย่างชัดเจน ถึงจะอ้างว่าสถาบันกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง ก็ต้องกระซิบถามกันว่ามีใครหน้าไหนที่เชื่อเช่นนั้นบ้าง
การตัดเรื่องนี้ออกจากกระบวนการปรองดอง เท่ากับฝังชิปแห่งปัญหาเอาไว้ แล้วสร้างมายาขึ้นมาหลอกตนเองว่าทุกอย่างเรียบร้อยดี ไม่ต่างจากนิยายของเอริค มาเรีย เรอมาร์ก ที่มีผู้แปลชื่อไว้ว่า “แนวรบด้านตะวันตกเหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง”
ชิปนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการพลิกความเข้าใจทางสังคมของคนไทย โดยเฉพาะคนไทยที่รู้แล้วว่าอะไรเป็นอะไร เพียงยังขาดความกล้าหาญทางจริยธรรมที่จะประกาศออกมาดังๆ
ท่านเหล่านี้จะเป็นผู้สนับสนุนอย่างลับๆ และจะเหนียวแน่นยิ่งขึ้นในอนาคตอันใกล้ เพราะความเข้าใจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแนวคิดขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะสร้างพลังแห่งความเปลี่ยนแปลงอย่างไม่น่าเชื่อ.
---------------------------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น