ความยุติธรรมและความเสมอภาคที่แท้จริงไม่มีในโลกใบนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเลือกข้างและกำหนดจุดยืนให้ชัดเจน เพื่อจะก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...
3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ
2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์
1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์
สด จาก เอเชียอัพเดท
วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ภาพคณะรัฐมนตรี โดย กาหลิบ
คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?
เรื่อง ภาพคณะรัฐมนตรี
โดย กาหลิบ
เป็นธรรมดาของการเมืองเลือกตั้ง ยังไม่ทันได้ตัวนายกรัฐมนตรีเราก็อยากเห็นคณะรัฐมนตรีเสียแล้ว เหตุเพราะตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีไม่ได้มีไว้บริหารราชการแผ่นดินแต่เพียงอย่างเดียว แต่คือดรรชนีชี้วัดอำนาจและความรุ่งโรจน์ของบุคคลผู้มีความทะเยอทะยานทางการเมืองด้วย นี่คือองค์ประกอบที่บอกเราได้ล่วงหน้าว่าเสถียรภาพของรัฐบาลจะเป็นอย่างไร มีเชื้อมะเร็งอยู่ที่ตรงไหน ท้ายที่สุดทำให้เราคิดได้เองว่า ประชาชนจะได้ผลคุ้มค่ากับการเสียสละเพื่อประชาธิปไตยมาถึงขนาดนี้หรือไม่
คณะรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งจึงมีความหมายลึกซึ้งกว่าความลงตัวทางการเมืองหรือแม้แต่ความรู้ความสามารถเฉพาะตัว แต่จำต้องสื่อภาพสาธารณะที่ทำให้ประชาชนภูมิใจได้ว่าประชาธิปไตยมีตัวตนและมีประสิทธิภาพจริง
เราต้องไม่คิดผิดๆ ว่า การตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเป็นเพียงพิธีกรรมหรือขั้นตอนทางการเมือง ยิ่งในช่วงที่ประชาธิปไตยถูกทดสอบมากๆ หรือเผด็จการรุมล้อมรอบตัวเหมือนสัตว์ป่ารอรุมทึ้งเราบ้าง ก็ยิ่งต้องใส่ใจกับความหมายทั้งในเชิงเนื้อหาและสัญลักษณ์ที่ปรากฏขึ้นในกระบวนการนั้น
เรื่องนี้จึงเขียนเผื่อนักการเมืองบางคนที่มีนิสัยหลงลืม เผลอคิดไปว่าเลือกตั้งจบแล้วก็หมดหน้าที่ของประชาชนแล้ว จนเห็นว่างานตั้งรัฐมนตรีเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะของผู้มีอำนาจเท่านั้น
ถามว่าคณะรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทยควรเป็นอย่างไร?
ก่อนตอบก็ต้องจำกัดความคำว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทยกำเนิดขึ้นในเงื่อนไขใด เพราะ “ชัยชนะ” ที่พรรคเพื่อไทยได้รับในวันนี้คือผลมวลรวมในการต่อสู้ของภาคประชาชนอย่างหลากหลายและยาวนาน ไม่ใช่อุบัติเหตุหรือเหตุบังเอิญ ไม่ใช่ผลงานโดยเฉพาะของแกนนำประชาชน ไม่ใช่ความเก่งของใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นการสั่งสมมาตั้งแต่การต่อสู้กับระบอบเผด็จการไทยมาตั้งแต่เกือบหนึ่งร้อยปีก่อน
ตัดส่วนมาเฉพาะการต่อสู้ในปี พ.ศ.๒๕๔๙ มาจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้รู้ว่าพรรคเพื่อไทยเป็นหนี้บุญคุณทางการเมืองกับใครบ้างก็ยังได้
รายชื่อคงไม่ยืดยาวนัก
๑. ประชาชนผู้เข้าร่วมชุมนุมในกระแสหลัก เช่น พีทีวี นปก. นปช. เป็นต้น
๒. ประชาชนผู้เข้าร่วมในกระแสเสริมที่กำลังวิวัฒนาการไปเป็นกระแสหลัก เช่น กลุ่ม ๒๔ มิถุนา เวทีราษฎร แดงสยาม เป็นต้น
๓. ประชาชนผู้ไม่ปรากฏตัวตามเวที แต่แสดงบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน และยกระดับการต่อสู้ทางไซเบอร์ (ซึ่งเคยถูกเหยียดหยามทำให้เป็นตัวตลกไปว่า “พวกหลังตู้เย็น”)
๔. ประชาชนผู้ไม่ปรากฏตัว แต่สนับสนุนปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นในการต่อสู้มาตลอด
๕. เครือข่ายฝ่ายซ้ายที่เด็ดเดี่ยวมุ่งมั่นมานานปีและยัง “แสวงจุดร่วม-สงวนจุดต่าง” กับฝ่ายประชาธิปไตยอย่างเข้มข้นอยู่
๖. ข้าราชการและคนของรัฐประเภทต่างๆ ที่เนื้อในเป็น “แตงโม”
๗. เครือข่ายการจัดตั้งเดิมของพรรคฝ่ายขวาอย่างพรรคประชากรไทยและพรรคไทยรักไทย
๘. เครือข่ายชาวไทยในต่างประเทศที่สนับสนุนงานเคลื่อนไหวในประเทศแบบรอบทิศทาง
หากเราคำนึงถึงผู้สนับสนุนและผู้ปิดทองหลังพระเหล่านี้ วิญญูชนจะตอบคำถามได้เองว่า เราควรจัดตั้งคณะผู้บริหารประเทศที่เรียกว่าคณะรัฐมนตรีอย่างไรเพื่อตอบสนองความต้องการทางการเมืองในใจของแต่ละท่าน
ข้อสำคัญข้อแรกคืออย่าให้ผู้ดำรงตนเป็นนายหน้าทางการเมือง ซึ่งถือเป็นเหลือบประเภทหนึ่งในขบวนประชาธิปไตยมาช่วงชิงอำนาจจากประชาชนแล้วชี้นำในการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีได้
มวลชนผู้ต่อสู้ร่วมกันมาอย่างแท้จริง จะต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่มกดดัน (pressure groups) จนมีอิทธิพลไม่มากก็น้อยต่อกระบวนการเลือกตัวผู้บริหารประเทศ ใครที่มีบทบาทในทางส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ก็ให้เป็นหรือหาทางสนับสนุน ใครมีบทบาทตรงข้าม หรือคอยเกาะกระแสเพื่อนเหมือนปลิงดูดเลือดอย่างด้านๆ ก็ต้องช่วยกันชี้ให้คนทั่วไปเห็นและสกัดกั้น
ข้อสอง สัดส่วนคณะรัฐมนตรีต้องประกอบด้วย ๑) ตัวแทนของอำนาจประชาธิปไตยที่ถูกโค่นล้มในการรัฐประหาร พ.ศ.๒๕๔๙ และการแทรกแซงกระบวนการประชาธิปไตยในปี พ.ศ.๒๕๕๑ ๒) ผู้แทนของมวลชนในการต่อสู้ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๙ เป็นต้นมา ๓) ผู้มีทักษะพิเศษในการบริหารงานยามวิกฤติที่จะสามารถสร้างผลสัมฤทธิ์ในการบริหารได้ทันเวลา (ทันเวลาก่อนจะถูกศัตรูร่วมกันโค่นล้มลงอีกครั้ง)
ข้อสามคือ คณะรัฐมนตรีชุดนี้จะต้องสำนึกถึงชัยชนะจากการเลือกตั้ง ตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่ามวลชนท่านได้มอบอำนาจอันเด็ดขาดชัดเจนให้เราบริหารแล้ว ต้องเลิกเหนียมอายหรือเกรงใจที่จะใช้อำนาจเหล่านั้นในการกำจัดเชื้อโรคของระบอบประชาธิปไตย
สุดท้ายจะได้ตั้งคณะรัฐมนตรีหรือไม่ หรือใครต้องรู้สึกว่าเป็นคนปัญญาอ่อนสังเวย “ปรองดอง” ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องตกนรกหมกไหม้กันไปตามกรรมเวรของแต่ละคน.
--------------------------------------------------------------------------
ช่วยสนับสนุน SMS-TPNews พิมพ์ PN กดส่งมาที่เบอร์4552146 สมัครวันนี้ ใช้ฟรี14วัน ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน รายได้เป็นค่าใช้จ่ายในการทำงานต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย Call center : 084-4566794-5 (จ.- ศ. 10.00-18.00น.)/e-mail :tpnews2009@gmail.com/บล็อก :http://wwwthaipeoplenews.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น