ความยุติธรรมและความเสมอภาคที่แท้จริงไม่มีในโลกใบนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเลือกข้างและกำหนดจุดยืนให้ชัดเจน เพื่อจะก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...
3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ
2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์
1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์
สด จาก เอเชียอัพเดท
วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554
ปรองดองแบบมวลชน โดย กาหลิบ
เรื่อง ปรองดองแบบมวลชน
โดย กาหลิบ
ในขณะที่ผู้เจรจา “ปรองดอง” ทั้งสองฝ่ายกำลังเร่งงานของเขาอยู่นั้น จำเป็นที่พวกเราผู้ร่วมต่อสู้พลีชีวิต เลือดเนื้อ และอนาคตของตนเองเพื่อประชาธิปไตยกันมา ต้องถามตัวเองว่า การ “ปรองดอง” เกิดประโยชน์อย่างไรต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของเมืองไทย หรือมีโทษอย่างไรบ้าง เราต้องถามให้ชัดเจนเสียก่อนที่ใครบางคนจะหันกลับมาถามประชาชนผู้รวมพลังขึ้นเป็นมวลชนว่า ต้องการจะร่วมในกระบวนการ “ปรองดอง” กับเขาด้วยหรือไม่
เมื่อมีใครขอให้ลืมเรื่องเก่าและเตรียมก้าวเข้าสู่ห้วงเวลาใหม่ ภาพในห้วงสำนึกและความทรงจำของมวลชนผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมักจะคล้ายคลึงกัน นั่นคือนึกถึงมวลชนจัดตั้งของฝ่ายตรงข้ามซึ่งหลายคนเรียกว่า “ม็อบมีเส้น” การโค่นทำลายรัฐบาลมวลชนด้วยกลไกตุลาการ วุฒิสภา องค์กรอิสระ องค์กรวิชาชีพที่มีเบื้องหลังเป็นธุรกิจ จนกระทั่งสั่งการให้กองทัพกระทำรัฐประหารยึดอำนาจ
เดิมพันก็สูงถึงขนาดฆ่าฟันประชาชนกลางถนนหลวงได้ในเวลากลางวันแสกๆ โดยมุ่งจะเด็ดชีพคนบริสุทธิ์เป็นร้อยเป็นพัน แสดงถึงความคิดหวงแหนอำนาจอย่างรุนแรงชนิดแลกกับอะไรก็ได้
นี่คือต้นทุนของมวลชนก่อนที่ใครจะพูดคำว่า “ปรองดอง” ขึ้นมา
พูดให้เป็นธรรม ก็ต้องยอมรับว่าบางคนที่เกี่ยวข้องกับการเจรจา “ปรองดอง” ก็มีเจตนาที่ดี นั่นคืออยากเห็นบ้านเมืองกลับคืนสู่ความสงบเรียบร้อย โดยหวังให้ส่งผลตรงไปยังเศรษฐกิจและสังคมที่จะกระเตื้องตาม
แต่ในเจตนาที่ดีนั้นเอง จะปิดตาข้างหนึ่งหรือสองข้างจนไม่เห็นความจริงข้างต้นนั้นหาได้ไม่ ถ้าทำอย่างนั้นก็จะเกิดการปรองดองที่ไม่สมบูรณ์ กลายเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่กว่าเดิมเสียอีก
การวาดภาพตอนจบของละครการเมืองในระดับโศกนาฏกรรมเที่ยวนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครทั้งนั้น ไม่ว่าเทวดาหรือคน
ถ้าอย่างนั้นฝ่ายประชาชนที่รวมตัวเป็นมวลชนประชาธิปไตยแล้วในวันนี้ควรตั้งต้นตรงไหน?
ข้อพิจารณาอันดับแรก อย่าเอาเดิมพันทั้งหมดของฝ่ายประชาชนไปใส่ใน “ปรองดอง”
รูปธรรมคืออย่าลาก “แกนนำ” “แกนตาม” “แกนนอน” และ “แนวร่วม” ของขบวนประชาธิปไตยไปผสมพันธุ์กันอยู่ในหม้อปรองดองเดียวกันหมด เพื่อเคี่ยวไปนานๆ และเคี่ยวพร้อมกันจนเนื้อเปื่อย
ใครอยากจะมอบตัวหรือแสดงเจตนา “ปรองดอง” ให้ทั้งสองฝ่ายประจักษ์ก็ให้ทำไป เพราะอาจเกิดประโยชน์ต่อขบวนการได้หากมีการ “ปรองดอง” กันจริง ผู้ที่พ้น “ตราบาป” ก็จะได้รับหน้าที่หรือมียศถาบรรดาศักดิ์ใดๆ ที่นำมาใช้เกื้อกูลพี่น้องประชาชนต่อมาได้ ไม่ใช่ว่าจะไร้ประโยชน์เสียเลย
ใครไม่มั่นใจและต้องการยืนหยัดในการล้อมพื้นที่อำนาจของฝ่ายตรงข้าม แทนที่จะหลุดเข้าไปในพื้นที่อำนาจของ “เขา” ก็ทำงานอยู่นอกพื้นที่นั้นต่อไป มุ่งสร้างองค์กรทำงานที่เข้มแข็งจริงจังเพื่อรองรับสถานการณ์วันที่ “ปรองดอง” มีอันต้องพังพินาศลง ถึงวันนั้นขบวนการประชาชนก็จะไม่สูญเปล่า สภาพการสื่อสารโทรคมนาคมในโลกยุคนี้มีแต่เอื้อเราทั้งสิ้น
อันดับสอง ผู้เจรจา “ปรองดอง” ฝ่ายประชาธิปไตย จะต้องล้วงลึกไปถึงโครงสร้างทางอำนาจของฝ่ายตรงข้ามและนำกลับมาเป็นของประชาชนบ้าง ไม่แตะอยู่แค่ผิวเหมือนเครื่องสำอางประทินโฉม
รูปธรรมของการนี้คือแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ทุกมาตรา โดยไม่เว้นหมวดไหนหรือมาตราใด ความในรัฐธรรมนูญใหม่จะต้องส่งผลไปจนถึงการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเครื่องมืออื่นๆ เช่น กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา ระเบียบวิธีพิจารณาพิพากษาคดี เป็นต้น
ส่วนการแก้ไขให้เกิดผลจริงๆ นั้นต้องใช้เวลา แง่นี้พอเข้าใจกันได้อยู่ แต่ก็ต้องเปิดประตูไปสู่การแก้ไขเอาไว้ก่อน
กองทัพจะต้องลดความสามารถในการฆ่าประชาชนและประหารรัฐ หลักคิดคือทหารเป็นของฝ่ายประชาชน รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งคือผู้บังคับบัญชาสูงสุด ไม่ได้เป็นเพียง “จ๊อกกี้” อย่างที่ประธานองคมนตรีไปเสี้ยมสอนไว้
อันดับสุดท้ายผู้เจรจา “ปรองดอง” ของฝ่ายประชาชนต้องเจรจาโดยตรงกับหัวหน้าใหญ่ของฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น การเจรจากับลูกหาบนั้นเสียเวลาและไม่เกิดประโยชน์โภชย์ผลใดๆ เลย
คงไม่ต้องเอ่ยตรงนี้ว่าต้องเจรจากับคนชื่ออะไร.
--------------------------------------------------------------------------------
สนับสนุน SMS-TPNews พิมพ์ PN กดส่งมาที่เบอร์ 4552146 สมัครวันนี้ ใช้ฟรี14วัน ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน รายได้เป็นค่าใช้จ่ายในการทำงานต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย Call center : 084-4566794-5 (จ.- ศ. 10.00-18.00น.)/e-mail :tpnews2009@gmail.com/บล็อก :http://wwwthaipeoplenews.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น