ความยุติธรรมและความเสมอภาคที่แท้จริงไม่มีในโลกใบนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเลือกข้างและกำหนดจุดยืนให้ชัดเจน เพื่อจะก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...
3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ
2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์
1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์
สด จาก เอเชียอัพเดท
วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554
ระดับระบอบ โดย กาหลิบ
******************************************************************************
แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะ
เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิ์ขาด และโดยไม่ยอมฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร “
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก
วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗
เวลา ๑๓ นาฬิกา ๔๕ นาที
*****************************************************************************
คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?
เรื่อง ระดับระบอบ
โดย กาหลิบ
ถ้ามองให้ทะลุหมอกควันที่ปกคลุมเมืองไทยในขณะนี้อยู่ เราจะเห็นได้ว่าการสู้รบในทุกมิติของทั้งสองฝ่ายหลัก คือฝ่ายอำนาจเก่าและฝ่ายประชาชน ได้ยกขึ้นไปสู่ระดับระบอบเรียบร้อยแล้ว
เราเคยพูดกันแล้วว่า ระบอบ กับ ระบบ อยู่คนละระดับ ระบบคือส่วนเล็กที่อยู่ภายในระบอบ โดยระบอบเป็นเสมือนกรอบใหญ่ที่สุดหรือหลังคาที่ครอบคลุมทุกระบบย่อยนั้นไว้ อำนาจสูงสุดของรัฐย่อมอยู่ในระดับระบอบ แต่ผู้มีอำนาจที่ต้องการยื้อยุดอำนาจนั้นไว้ในมือ จะสกัดกั้นทุกวิถีทางมิให้การปะทะทางการเมืองยกระดับขึ้นไปสู่การเผชิญหน้าในระดับระบอบได้ เพราะถ้าถึงแล้ว ก็จะไม่มีทางเลือกใดๆ เหลืออีกเลย นอกจากสงครามกลางเมืองที่จะต้องสูญเสียกันมาก
ปัญหาคือ ยิ่งไม่ต้องการการต่อสู้ในระดับระบอบ แต่ตัวแทนของระบอบกลับส่งสัญญาณให้เครือข่ายของตนแสดงบทบาททางการเมืองที่สร้างแรงกดดันทางการเมืองและผลักดันสถานการณ์รวมไปสู่จุดนั้นมากขึ้นทุกขณะ
โดยเฉพาะกองทัพบกที่เป็นเครื่องมือหลัก (สลับกับสถาบันตุลาการในฐานะเครื่องมืออันดับหนึ่งและสอง) ขณะนี้ออกมาแสดงบทบาทมากเป็นพิเศษ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก สั่งให้หน่วยงานคุมกำลังในบังคับบัญชาออกมาปรากฏตัวจนประจักษ์แก่สายตา (visibility) ลูกน้องในสายเดียวกันอย่าง พลตรี กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ ให้สัมภาษณ์ยืนยันสนับสนุน “จุดยืน” ของผู้บัญชาการทหารบก ด้วยวาทกรรมเก่าๆ ย้อนยุค ที่มีความหมายทางการเมือง เช่น “นักการเมืองเล่นการเมือง” “บูชาเกียรติยศมากกว่าเงินตรา” เป็นต้น
การกล่าวหาว่านักการเมืองเล่นการเมือง เป็นวิธีสื่อสารว่า ผู้มีบทบาททางการเมืองทั้งหลายที่มาจากการเลือกตั้ง ต่างขาดความเหมาะสมที่จะเข้ารับอำนาจรัฐเพื่อบริหารประเทศ คนเหล่านี้ถูกฝึกให้ใช้คำว่าการเมืองในมิติลบโดยตลอด โดยต้องการให้มวลชนนึกถึงความฉ้อฉล ผลประโยชน์ และความโง่เขลาในการบริหารชาติ มากกว่าความเป็นประชาธิปไตยและประโยชน์ในทางนโยบาย ในขณะที่ปกปิดความชั่วร้ายเชิงระบอบของตนเองด้วยสื่อกระแสหลักและนักวิชาการสมุนรับใช้
การจี้ไปที่บทบาทของ “เงินตรา” ก็หวนกลับไปโจมตี ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยใช้บทละครเดิมที่เขียนขึ้นมานานแล้วโดยสื่อในเครือผู้จัดการ โดยปิดบังความจริงว่า เงินตราสะพัดอยู่ในระบอบเก่าของไทยหนักหนาสาหัสกว่าในระบอบประชาชน ทั้ง “ทรัพย์สินฯ” ทั้งกลุ่มธุรกิจที่รับใช้ผู้มีอำนาจสูงสุดจนได้รับสัมปทานผูกขาดและต้องคอยจ่ายค่าต๋งย้อนคืน แม้กระทั่งรัฐประหารแต่ละครั้งก็ต้องใช้เงินเท่าไหร่ในการอัดฉีด เมื่อครั้ง พ.ศ.๒๕๔๙ ก็เอาเงินสดใส่ถุงพลาสติกออกไปจ่ายแจกตามรถถังจุดละหลายล้านบาท เพื่อประกันความ “จงรักภักดี”
ยิ่งฝ่ายอำนาจเก่าเข็นกันออกมาเล่นบทบาทเท่าไหร่ ก็ยิ่งเร้าให้สถานการณ์ยกระดับจากการต่อสู้เผด็จการเฉพาะหน้า กลายเป็นต่อสู้กับเผด็จการระดับโครงสร้าง ที่เปรียบเสมือนเซลล์มะเร็งในร่างกาย จนสุดท้ายก็ถึงความคิดที่จะเปลี่ยนโครงสร้าง และดุลทางอำนาจทั้งหมด เนื่องจากหมดหนทางใดๆ อีกต่อไป
สำหรับผู้ที่ยังเชื่อว่า การต่อสู้ในระดับระบอบและโครงสร้างนั้น “ใหญ่โตเกินไป” หรือ “ไม่มีทางจะเป็นไปได้” โปรดทราบด้วยว่าท่านอาจจะไม่มีทางเลือก
การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในประวัติศาสตร์ไม่เคยกระทำสำเร็จเมื่อ “ทุกๆ ฝ่าย” ในสังคม “พร้อม” หากเกิดขึ้นเมื่อมวลมหาประชาชนมีมติตรงกันว่า สถานภาพทางการเมืองที่เป็นอยู่มีความเลวร้ายจนเหลือที่จะกล่าว ไม่อาจยอมให้ดำรงสภาพอยู่ต่อไปได้ต่างหาก
ปฏิวัติฝรั่งเศสก็ไม่พร้อม ได้อำนาจรัฐในห้วงแรกแล้วก็ต้องล้างเลือดกันระลอกแล้วระลอกเล่ากันอีกหลายสิบปี จนระบบต่างๆ เริ่มลงตัว ระบอบจึงบังเกิดขึ้น และเสถียร ถือเป็นหลักชัยมาจนกระทั่งทุกวันนี้ได้
ปฏิวัติรัสเซียเมื่อล้มพระราชวงศ์ได้แล้วก็ปฏิวัติซ้ำ โค่นกันอีกหลายครั้งจนพรรคคอมมิวนิสต์ใต้ วลาดิเมียร์ เลนิน ได้รับอำนาจสูงสุดและวางเครือข่ายของประเทศใหม่ สุดท้ายก็ต้องเปลี่ยนแปลงอีก
แม้แต่ปฏิวัติในยุคหลังอย่างชิลี อิหร่าน กัมพูชา ยูเครน ยูโกสลาเวีย ตูนิเซีย อียิปต์ ฯลฯ ก็ล้วนต้องอาศัยเวลาในการปฏิวัติเป็นระยะๆ ไปทั้งสิ้น ไม่มีรายไหนเลยที่ทำครั้งเดียวแล้วลงตัวได้ผล นี่คือสัจธรรมของความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคมโดยมนุษย์
เมืองไทยเราเดินเข้าสู่ถนนสายปฏิวัติเพราะรู้สึกอย่างเดียวกับมวลชนปฏิวัติในอดีตว่าวิกฤติในปัจจุบันไร้ทางออกตามประเพณีเสียแล้ว เพียงแต่หลายคนยังติดยึดกับ “ระบบ” เล็กๆ น้อยๆ เช่น เวทีชุมนุมประท้วง พรรคการเมืองแนวเก่า การเลือกตั้งในระบอบเดิม เป็นต้น ถึงขั้นนั่งแก้ตัวให้กับระบอบเก่าที่ประสบความล้มเหลว ถ้ากลับตัวไม่ทันอาจจะพลาดพลั้งลงหลุมไปพร้อมกับเขาอย่างน่าเสียดายเป็นที่สุด
รัฐไทยในการเผชิญหน้าใน “ระดับระบอบ” ถือเป็น “สถานการณ์ใหม่” ที่แตกต่างจากห้าปีที่ผ่านมา.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น