ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อำมาตย์บ่งเสี้ยนตำใจทุบอนุสาวรีย์ปราบกบฎ




ที่มา : http://thaienews.blogspot.com/index.html

อนุสาวรีย์ปราบกบฎได้กลับมามีบทบาทหนล่าสุด เมื่อคนเสื้อแดงเริ่มการชุมนุมรอบล่าสุดนี้ นายวีระ มุสิกพงษ์ ประธานนปช.ได้เลือกเป็นสถานที่รวมพลเป็นครั้งแรกเมื่อ 12 มีนาคม 2553 ก่อนกิจกรรมการชุมนุมใหญ่ที่ยืดเยื้อมาจบลงในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 โดยนายวีระประกาศในตอนนั้นว่ามาสักการะดวงวิญญาณของคณะราษฎร์ เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย

การชุมนุมของเสื้อแดงจบลงด้วยความพ่ายแพ้ ขณะที่อนุสาวรีย์ปราบกบฎก็อาจจะถึงจุดจบตามไปด้วย หลังจากเป็นเสี้ยนหนามตำใจฝ่ายนิยมเจ้ามาอย่างยาวนาน

กรมทางหลวง เร่งเดินหน้าก่อสร้าง โครงการสะพานลอยบริเวณวงเวียนหลักสี่ ในเดือนกรกฎาคม 2553 ทั้งที่ต้องลงมือก่อสร้างตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เนื่องจากต้องปรับแบบใหม่ให้ขนาดเสาตอม่อ จากที่ใหญ่ล้ำผิวจราจรพื้นราบ ให้มีขนาดที่เล็กลงแต่มีความมั่นคงแข็งแรงเช่นเดิม ทั้งนี้ กองบังคับการตำรวจนครบาล (บช.น.) เห็นว่า หากไม่ปรับ จะส่งผลกระทบต่อการจราจร ทำให้ช่องทางเดินรถแคบลง ในขณะที่ปริมาณรถจากรอบทิศทางมีปริมาณสูงมาก โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน

ล่าสุด ได้มีกลุ่มนักอนุรักษ์โบราณคดี และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนชาวบ้านได้รวมตัวกันคัดค้าน การเคลื่อนย้ายอนุสาวรีย์ ดังกล่าว ออกไปจากบริเวณเดิม เพื่อก่อสร้างสะพานลอย โดยอ้างว่า มีความสำคัญทางด้านจิตใจและเป็นโบราณสถานทางประชาธิปไตย มีอายุเกือบ 100 ปี ขณะเดียวกัน หากไม่เคลื่อนย้ายและก่อสร้างสะพานข้ามอนุสาวรีย์ดังกล่าว ก็ไม่เหมาะสม

อย่างไรก็ดี กรมทางหลวง ยืนยันว่า โครงการนี้ล่าช้ามานานและก่อนหน้านี้ได้มีการปิดผิวจราจรบางช่วงเพื่อรื้อย้ายสาธารณูปโภคโดยรอบ ส่งผลให้รถติดขัดหากต้องชะลอโครงการเพราะสาเหตุนี้ ก็คงไม่มีเหตุผลอะไรเพราะอนุสาวรีย์ดังกล่าว ได้มีการรื้อย้ายมา 3 ครั้งแล้ว อาทิ ช่วงที่มีการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดถนนพหลโยธิน

และที่ผ่านมาได้หารือกรมศิลปากรเมื่อ 4 ปีก่อน ช่วงที่อยู่ระหว่างศึกษาและออกแบบโครงการว่าสามารถรื้อย้าย หรือ ดำเนินการในส่วนงานก่อสร้างสะพานได้หรือไม่ กรมศิลปากรก็อนุญาต ให้กรมทางหลวง เดินหน้าก่อสร้างได้ รวมถึงการทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และที่ผ่านมาก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่เมื่อจะลงมือก่อสร้างกลับมีผู้ออกมาคัดค้าน

ขณะเดียวกันอนุสาวรีย์แห่งนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาใดเพียงเป็นสัญลักษณ์ทางการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยเท่านั้น เช่นเดียวกับ นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ระบุว่า อนุสาวรีย์ดังกล่าว เป็นเพียงสัญลักษณ์จำลองเท่านั้น ซึ่งไม่มีผลอะไร ดังนั้นจึงมองว่า น่าจะก่อสร้างได้โดยไม่มีผลกระทบอะไร

ล่าสุด นายวีระ เรืองสุขศรีวงศ์ อธิบดีกรมทางหลวง ออกมาระบุว่า ได้เตรียมลงมือก่อสร้าง ซึ่งขณะนี้ ได้รับอนุมัติแผนการจัดการจราจรจาก กองบังคับการตำรวจจราจร กองบัญชาการตำรวจนครบาลแล้วสำหรับการก่อสร้างสะพานลอยที่อนุสาวรีย์หลักสี่ โดยลงมือ หลังจากรื้อย้ายงานสาธารณูปโภคเรียบร้อยทั้งหมด ขณะเดียวกัน ได้ดำเนินการก่อสร้างงานฐานรองรับอนุสาวรีย์ ในบริเวณวงเวียนและงานรื้อย้ายสาธารณูปโภคอื่นๆในแนวถนนรามอินทรา

โดยแนวสายทางสะพานลอยหลักสี่ เริ่มต้นจากถนนแจ้งวัฒนะบริเวณหน้าโรงเรียนมัธยมสาธิต วัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เข้าสู่พื้นที่วงเวียนหลักสี่เชื่อมเข้าสู่ถนนรามอินทรา โดยมีจุดสิ้นสุดสะพานบริเวณก่อนถึงทางเข้ามหาวิทยาลัยเกริก ลักษณะของสะพานเป็นสะพานคู่ฝั่งละ 2 ช่องจราจร โดยที่มุ่งหน้าฝั่งทิศตะวันออก (รามอินทรา) สะพานมีความยาวรวม 908.90 เมตร ผิวจราจรกว้าง 7.75 เมตร
ส่วนฝั่งที่มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก (ถนนแจ้งวัฒนะ) สะพานมีความยาวรวม 586.00 เมตร ผิวจราจรกว้าง 7.75 เมตร งานปรับปรุงถนนช่วงขึ้นและ ลงสะพานด้านละประมาณ 200.00 เมตร งานก่อสร้างเชิงลาดคอสะพาน (Bridge Approach Structure) ความยาวด้านละ 58.75 เมตร งานไฟฟ้าแสงสว่าง งานติดตั้งกำแพงกันเสียง (Noise Barrier) งานสะพานลอยคนเดินข้ามบริเวณหน้าโรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครและหน้าที่ทำการไปรษณีย์รามอินทรา

การคัดค้านของกลุ่มอนุรักษ์ก็ยังคงเดินหน้าคัดค้านต่อไป ขณะที่กรมทางหลวงยืนยันเดินหน้าก่อสร้างแน่ นับจากนี้ อีก 600 วันน่าจะเปิดใช้เส้นทางได้ !!!

--------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น