ความยุติธรรมและความเสมอภาคที่แท้จริงไม่มีในโลกใบนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเลือกข้างและกำหนดจุดยืนให้ชัดเจน เพื่อจะก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...
3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ
2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์
1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์
สด จาก เอเชียอัพเดท
วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
เบื้องหลังตำแหน่งประธานสภาสิทธิมนุษยชน UN โดย กาหลิบ
คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?
เรื่อง เบื้องหลังตำแหน่งประธานสภาสิทธิมนุษยชน UN
โดย กาหลิบ
ฟังคำคุยของรัฐบาลเกี่ยวกับตำแหน่งประธานสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ที่ไทยเพิ่งได้รับมาหมาดๆ ทำให้เกิดความนึกคิดขึ้น ๒ อย่าง หนึ่งคือคนที่ยังไม่รู้เหตุผลเบื้องหลังอาจจะเผลอภูมิใจว่าเป็นเกียรติยศของเมืองไทยในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ อีกอย่างคือ คนรู้ก็มีหน้าที่ต้องบอกเล่าเพื่อมิให้เมืองไทยยิ่งพลัดหลงเข้ารกเข้าพงของป่าสากล
เพราะเบื้องหลังเรื่องนี้มันไม่เหมือนกับคำโฆษณาของรัฐบาลมหาอำมาตย์หรอกครับ
สภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเป็นหน่วยใหม่ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๙ นี่เอง
ประกอบด้วยสมาชิก ๔๗ ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งนับเป็นเสียงข้างน้อยเพราะสมาชิกเต็มองค์คือ ๑๙๒ ประเทศ
ตัวประธานสภาเลือกตามพื้นที่ภูมิศาสตร์ที่แบ่งออกเป็น ๕ พื้นที่ ได้แก่ แอฟริกา ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันตก และประเทศตะวันตกอื่นๆ ละตินอเมริกาและแคร์ริปเบียน และเอเชีย เพื่อให้เป็นธรรมต่อสมาชิก เพราะทุกส่วนของโลกจะเวียนกันมาเป็นประธานได้
ข่าวแจ้งว่า เมื่อได้รับเลือกแล้ว รัฐบาลก็มอบหมายให้ นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ทำหน้าที่เป็นประธานสภา รับเรื่องร้องทุกข์และวางแนวทางจัดการกับระเบียบด้านมนุษยชนของโลก
งานไม่ใช่เล็ก และดูเผินๆ ก็น่าภาคภูมิใจนัก
แต่เบื้องหลังอันแท้จริงนั้นลึกซึ้ง เล่าเป็นข้อๆ ไปจะชัดเจนกว่า
๑. การก่อตั้งสภาฯ และกลไกการเลือกประธานสภาฯ กระทำขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๔๙ ปีเดียวกับที่เกิดรัฐประหาร คปก./คมช. ในเมืองไทย โค่นรัฐบาลประชาธิปไตยที่ชนะการเลือกตั้งสองครั้งซ้อนๆ แปลว่าตำแหน่งประธานสภาฯ ที่ไทยได้รับ เป็นผลการทำงาน ทั้งหาเสียงโน้มน้าวใจและวางแนวทางต่างๆ ในช่วงรัฐบาลที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ผลงานของคณะรัฐประหาร รัฐบาลสุรยุทธ์ รัฐบาลสมัคร รัฐบาลสมชาย และแน่นอนว่าไม่ใช่ฝีมือของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
แปลไทยเป็นไทย สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทยตั้งแต่การรัฐประหารมาจนบัดนี้ ที่รัฐบาลถึงกับใช้อาวุธสงครามเข่นฆ่าประชาชนแล้วนั้น ไม่ได้ถูกรวมเป็นหลักฐานที่แสดงความพร้อมหรือไม่พร้อมของไทยเลย
อย่าลืมว่ากลไกสหประชาชาติในบางครั้งก็ช้านานเหมือนระบบราชการทั่วไป ผลที่เห็นเดี๋ยวนี้มาจากการทำสะสมมาเป็นปีๆ ก็บ่อยไป
๒. นายสีหศักดิ์ฯ เข้าทำหน้าที่ประธานสภาฯ ครั้งนี้แบบส่วนตัว ไม่ใช่ในนามเอกอัครราชทูตและไม่ใช่ในนามรัฐบาลไทยแต่อย่างใด แปลว่าถ้านายสีหศักดิ์ฯ พ้นจากตำแหน่งเอกอัครราชทูตฯ เดี๋ยวนี้ ก็ยังคงทำหน้าที่ประธานสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้
ทำไมน่ะหรือ?
ก็เพราะ หนึ่ง-การเข้ามาเป็นประธานของไทยที่เริ่มหาเสียงมาแต่ครั้งที่เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ มันลึกเกินกว่าที่จะหยุดยั้งได้ เสียงคัดค้านที่ระงมมาจาก NGOs และรัฐบาลบางประเทศว่าไทยไม่ควรเข้ารับตำแหน่ง จึงไม่มีผลทันการณ์ในการระงับยับยั้งความเป็นประธาน แต่กดดันจนเกิดการต่อรองว่าไทยอย่าเป็นประธานสภาฯ ในนามประเทศเลย ขอให้สีหศักดิ์ฯ เป็นแบบส่วนตัว เพื่อป้องกันข้อครหาดีกว่า
หมายความว่าวันนี้ไทยมิได้เป็นประธานสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เพราะมีคนรังเกียจมาก แต่ให้คนของไทยที่เจรจาหาเสียงมาแต่ต้นเข้ามารั้งตำแหน่งไว้ก่อน เนื่องจากย้อนไปทำอะไรใหม่หมดไม่ไหว
อีกเหตุก็คือตัวคุณสีหศักดิ์ฯ เองที่มีบุคลิกลักษณะที่คนสหประชาชาติยอมรับ พูดง่ายๆ คือมีแฟนมาก ยอมรับในความสามารถและความเหมาะสมต่างๆ เป็นที่น่าเสียดายว่าคนอย่างนี้ไม่มีทัศนคติที่จะทำอะไรเพื่อฝ่ายประชาชนและประชาธิปไตยเท่าที่ควร จึงไม่มีประโยชน์ต่ออนาคตของชาตินัก
๓. คู่แข่งไทยในรอบสุดท้ายคือ บังกลาเทศ มัลดิฟส์ และเคอร์กิสถาน ล้วนแต่มีปัญหาสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงมาก่อนไทยทั้งสิ้น บังกลาเทศยังถล่มกันกลางเมืองระหว่างค่ายต่างๆ จนถูกจัดเป็น “รัฐล้มเหลว” ในปีนี้ด้วย มัลดิฟส์มีผู้นำที่หนีการเลือกตั้งมาแล้วกว่า ๒๐ ปี และเคอร์กิสถานก็เป็นอ่างเลือดที่ล้างกันไม่จบระหว่างชาวอุสเบ็คและชาวเคอร์กิซที่คร่าชีวิตคนไปมากกว่า ๒,๐๐๐ ศพ
เทียบกันอย่างนี้ สถานการณ์ไทยก็ย่อมดูดีกว่าเป็นธรรมดา
ทั้งหมดที่เล่ามานี้ ไม่ใช่เพื่อตัดรอนผู้รักชาติที่ต้องการความภาคภูมิใจในความเป็นไทย เพียงแต่ขอให้ลืมตาให้สว่าง อย่าตามืดตาบอด และอย่าหลงเป็นเครื่องมือของคนโฉดชั่วที่ครองประเทศอยู่ในขณะนี้
ความภูมิใจของชาติอย่างแท้จริงมาจากความเป็นประชาธิปไตยเท่านั้น
ถ้าประชาชนต้องอยู่อย่างสัตว์ หรือคนชั้นสอง จะไปเป็นตำแหน่งต่างๆ หาพระแสงด้ามยาวอะไรกันครับ.
---------------------------------------------------------------------------------
เรื่อง เบื้องหลังตำแหน่งประธานสภาสิทธิมนุษยชน UN
โดย กาหลิบ
ฟังคำคุยของรัฐบาลเกี่ยวกับตำแหน่งประธานสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ที่ไทยเพิ่งได้รับมาหมาดๆ ทำให้เกิดความนึกคิดขึ้น ๒ อย่าง หนึ่งคือคนที่ยังไม่รู้เหตุผลเบื้องหลังอาจจะเผลอภูมิใจว่าเป็นเกียรติยศของเมืองไทยในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ อีกอย่างคือ คนรู้ก็มีหน้าที่ต้องบอกเล่าเพื่อมิให้เมืองไทยยิ่งพลัดหลงเข้ารกเข้าพงของป่าสากล
เพราะเบื้องหลังเรื่องนี้มันไม่เหมือนกับคำโฆษณาของรัฐบาลมหาอำมาตย์หรอกครับ
สภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเป็นหน่วยใหม่ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๙ นี่เอง
ประกอบด้วยสมาชิก ๔๗ ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งนับเป็นเสียงข้างน้อยเพราะสมาชิกเต็มองค์คือ ๑๙๒ ประเทศ
ตัวประธานสภาเลือกตามพื้นที่ภูมิศาสตร์ที่แบ่งออกเป็น ๕ พื้นที่ ได้แก่ แอฟริกา ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันตก และประเทศตะวันตกอื่นๆ ละตินอเมริกาและแคร์ริปเบียน และเอเชีย เพื่อให้เป็นธรรมต่อสมาชิก เพราะทุกส่วนของโลกจะเวียนกันมาเป็นประธานได้
ข่าวแจ้งว่า เมื่อได้รับเลือกแล้ว รัฐบาลก็มอบหมายให้ นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ทำหน้าที่เป็นประธานสภา รับเรื่องร้องทุกข์และวางแนวทางจัดการกับระเบียบด้านมนุษยชนของโลก
งานไม่ใช่เล็ก และดูเผินๆ ก็น่าภาคภูมิใจนัก
แต่เบื้องหลังอันแท้จริงนั้นลึกซึ้ง เล่าเป็นข้อๆ ไปจะชัดเจนกว่า
๑. การก่อตั้งสภาฯ และกลไกการเลือกประธานสภาฯ กระทำขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๔๙ ปีเดียวกับที่เกิดรัฐประหาร คปก./คมช. ในเมืองไทย โค่นรัฐบาลประชาธิปไตยที่ชนะการเลือกตั้งสองครั้งซ้อนๆ แปลว่าตำแหน่งประธานสภาฯ ที่ไทยได้รับ เป็นผลการทำงาน ทั้งหาเสียงโน้มน้าวใจและวางแนวทางต่างๆ ในช่วงรัฐบาลที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ผลงานของคณะรัฐประหาร รัฐบาลสุรยุทธ์ รัฐบาลสมัคร รัฐบาลสมชาย และแน่นอนว่าไม่ใช่ฝีมือของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
แปลไทยเป็นไทย สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทยตั้งแต่การรัฐประหารมาจนบัดนี้ ที่รัฐบาลถึงกับใช้อาวุธสงครามเข่นฆ่าประชาชนแล้วนั้น ไม่ได้ถูกรวมเป็นหลักฐานที่แสดงความพร้อมหรือไม่พร้อมของไทยเลย
อย่าลืมว่ากลไกสหประชาชาติในบางครั้งก็ช้านานเหมือนระบบราชการทั่วไป ผลที่เห็นเดี๋ยวนี้มาจากการทำสะสมมาเป็นปีๆ ก็บ่อยไป
๒. นายสีหศักดิ์ฯ เข้าทำหน้าที่ประธานสภาฯ ครั้งนี้แบบส่วนตัว ไม่ใช่ในนามเอกอัครราชทูตและไม่ใช่ในนามรัฐบาลไทยแต่อย่างใด แปลว่าถ้านายสีหศักดิ์ฯ พ้นจากตำแหน่งเอกอัครราชทูตฯ เดี๋ยวนี้ ก็ยังคงทำหน้าที่ประธานสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้
ทำไมน่ะหรือ?
ก็เพราะ หนึ่ง-การเข้ามาเป็นประธานของไทยที่เริ่มหาเสียงมาแต่ครั้งที่เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ มันลึกเกินกว่าที่จะหยุดยั้งได้ เสียงคัดค้านที่ระงมมาจาก NGOs และรัฐบาลบางประเทศว่าไทยไม่ควรเข้ารับตำแหน่ง จึงไม่มีผลทันการณ์ในการระงับยับยั้งความเป็นประธาน แต่กดดันจนเกิดการต่อรองว่าไทยอย่าเป็นประธานสภาฯ ในนามประเทศเลย ขอให้สีหศักดิ์ฯ เป็นแบบส่วนตัว เพื่อป้องกันข้อครหาดีกว่า
หมายความว่าวันนี้ไทยมิได้เป็นประธานสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เพราะมีคนรังเกียจมาก แต่ให้คนของไทยที่เจรจาหาเสียงมาแต่ต้นเข้ามารั้งตำแหน่งไว้ก่อน เนื่องจากย้อนไปทำอะไรใหม่หมดไม่ไหว
อีกเหตุก็คือตัวคุณสีหศักดิ์ฯ เองที่มีบุคลิกลักษณะที่คนสหประชาชาติยอมรับ พูดง่ายๆ คือมีแฟนมาก ยอมรับในความสามารถและความเหมาะสมต่างๆ เป็นที่น่าเสียดายว่าคนอย่างนี้ไม่มีทัศนคติที่จะทำอะไรเพื่อฝ่ายประชาชนและประชาธิปไตยเท่าที่ควร จึงไม่มีประโยชน์ต่ออนาคตของชาตินัก
๓. คู่แข่งไทยในรอบสุดท้ายคือ บังกลาเทศ มัลดิฟส์ และเคอร์กิสถาน ล้วนแต่มีปัญหาสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงมาก่อนไทยทั้งสิ้น บังกลาเทศยังถล่มกันกลางเมืองระหว่างค่ายต่างๆ จนถูกจัดเป็น “รัฐล้มเหลว” ในปีนี้ด้วย มัลดิฟส์มีผู้นำที่หนีการเลือกตั้งมาแล้วกว่า ๒๐ ปี และเคอร์กิสถานก็เป็นอ่างเลือดที่ล้างกันไม่จบระหว่างชาวอุสเบ็คและชาวเคอร์กิซที่คร่าชีวิตคนไปมากกว่า ๒,๐๐๐ ศพ
เทียบกันอย่างนี้ สถานการณ์ไทยก็ย่อมดูดีกว่าเป็นธรรมดา
ทั้งหมดที่เล่ามานี้ ไม่ใช่เพื่อตัดรอนผู้รักชาติที่ต้องการความภาคภูมิใจในความเป็นไทย เพียงแต่ขอให้ลืมตาให้สว่าง อย่าตามืดตาบอด และอย่าหลงเป็นเครื่องมือของคนโฉดชั่วที่ครองประเทศอยู่ในขณะนี้
ความภูมิใจของชาติอย่างแท้จริงมาจากความเป็นประชาธิปไตยเท่านั้น
ถ้าประชาชนต้องอยู่อย่างสัตว์ หรือคนชั้นสอง จะไปเป็นตำแหน่งต่างๆ หาพระแสงด้ามยาวอะไรกันครับ.
---------------------------------------------------------------------------------
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น