ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

คำไว้อาลัย ฯพณฯ นายสมัคร สุนทรเวช


โดย : จักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
จันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2552

คำไว้อาลัย ฯพณฯ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๕ ของประเทศไทยของ นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีวันอังคารที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒

ฯพณฯ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๕ ของประเทศไทย ได้จากเราไปแล้วในวันนี้ (วันอังคารที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒) ในฐานะคนไทยคนหนึ่งที่มีความรักและเคารพท่านอย่างสูง และในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาในรัฐบาลที่ท่านเป็นหัวหน้า ผมขอกราบท่านไปจากแดนไกลด้วยหัวใจที่ศรัทธาและเชื่อมั่น และเช่นเดียวกับ ฯพณฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ได้ส่งข้อความผ่าน ทวิตเตอร์มาก่อนหน้านี้ ผมรู้สึกเสียใจที่ไม่ได้ไปร่วมงานสวดพระอภิธรรมของท่าน แต่จะพยายามไปร่วมงานปลงศพในวันใดก็ตามที่ครอบครัวของท่านกำหนดขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับสถานการณ์ทางการเมืองในอนาคต

ฯพณฯ นายสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ใหญ่ที่มีจิตใจมั่นคงและมีภาวะผู้นำทางการเมืองอันสูงยิ่ง ในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผมได้เห็นการตัดสินใจอันสุขุมรอบคอบและได้รับความรู้ตลอดจนความกรุณาจากท่านในหลายกรณี โดยเฉพาะเมื่อผมถูกกล่าวร้ายว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จนภายหลังต้องลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองนั้น ฯพณฯ นายสมัครฯ มีความหนักแน่น และโอบอุ้มผมจนนาทีสุดท้าย ท่านไม่ยอมให้ศัตรูของฝ่ายประชาธิปไตยเข้ามาทำร้ายผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านจนท่านเองก็เสี่ยงภัยทางการเมือง นี่คือสิ่งที่ผมจะจดจำไปชั่วชีวิต

ขอให้ดวงวิญญาณอันมั่นคงของท่านไปสู่สัมปรายภพเถิด.

ด้วยความเคารพอย่างสูง

นายจักรภพ เพ็ญแข

******************************************************************
นายสมัคร สุนทรเวช

วุฒิการศึกษาและเกียรติประวัติ

สถานที่เกิด
- กรุงเทพมหานคร
– บ้านหน้าวังบางขุนพรหม
- ถนนสามเสน

อายุ - 72 ปี (พ.ศ. 2550)

บิดา-มารดา
- เสวกเอกพระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช) คุณหญิงบำรุงราชบริพาร (อำพัน – สกุลเดิม จิตรกร)
ฝ่ายบิดา
- เป็นหลานลุง มหาเสวกตรี พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี(สุ่น สุนทรเวช) ฝ่ายมารดา
- เป็นหลานตา - มหาเสวกตรีพระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร จิตรกร)

พี่น้องร่วมบิดา – มารดา
- พ.อ.แพทย์หญิงมยุรี (สุนทรเวช) พลางกูร อดีตรองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าฯ
- นางเยาวมาลย์ (สุนทรเวช) - ราชวังเมือง ประกอบธุรกิจส่วนตัว
- พล.อ.อ.สมมต สุนทรเวช
- รองเจ้ากรมช่างอากาศที่ปรึกษากองทัพอากาศ(ถึงแก่กรรม)
- นายสมัคร สุนทรเวช
- นายมโนมัย สุนทรเวช - อดีตพนักงานรัฐวิสาหกิจ
- นายสุมิตร สุนทรเวช - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร

ประวัติการศึกษา
ก่อนประถม
- โรงเรียนสตรีบางขุนพรหมประถม
- โรงเรียนเทเวศร์ศึกษามัธยม
- โรงเรียนเซ็นต์คาเบรียลอาชีวะ
- โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์อุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศึกษาเพิ่มเติม
- คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย- BRYANT &STRATTON INSTITUTE, CHICAGO,
U.S.A.

ประกาศนียบัตร
- ประกาศนียบัตร A.C.C. (โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์)

ปริญญา
- นิติศาสตร์บัณฑิต- ประกาศนียบัตรวิชาชีพมัคคุเทศก์ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
- DIP. IN ACCOUNTING AND BUSINESS ADMINISTRATION.

อาชีพในอดีต-เคยเป็น
- เจ้าหน้าที่สอนเครื่องลงบัญชีไฟฟ้า NATIONAL CASH REGISTERED CO.,LTD
- เสมียนแผนกรถยนต์และภายหลังดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าแผนกเครื่องอะไหล่ BARROW BROWN
(1948) CO. , LTD. (พ.ศ.2497-2502)
- ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกเครื่องอะไหล่ LOXLEY BANGKOK CO. ,LTD. (พ.ศ.2502-2505)
- FREE LANCE GUIDE, WORLD TRAVEL SERVICE CO. , LTD.(พ.ศ.2504-2506)
- ผู้จัดการแผนกเครื่องอะไหล่ บริษัท เอื้อวิทยาพาณิชย์ จำกัด (พ.ศ.2507-2509)
- DIETARY AID-FOX REVER REHABLLITION HOSPITAL, CHICAGO, U.S.A. (พ.ศ. 2510-
2511)
- ผู้จัดการแผนกเครื่องอะไหล่ บริษัท เอื้อวิทยาพาณิชย์ จำกัด ( พ.ศ. 2512-2513)
- ผู้บริหารฝ่ายขาย JOHN DEERE THAILAND CO.,LTD. (พ.ศ. 2513-2514)
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอล ประจำประเทศไทย (พ.ศ. 2514-2516)

งานด้านการเมือง
- สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2511-2519)
- กรรมการผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มหนุ่มพรรคประชาธิปัตย์
- สมาชิกสภาเทศบาลนครกรุงเทพ (ได้รับเลือกตั้งเมื่อ 15 ส.ค. 2519)
- สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 10 ธ.ค. 2516)
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 23 ธ.ค. 2516)
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (ได้รับเลือกตั้งเมื่อ 25 ม.ค. 2518, 4 เม.ย. 2519 ,
22 เม.ย.2522 , 18 เม.ย. 2526 , 27 ก.ค. 2529 , 24 ก.ค. 2531 , 22 มี.ค. 2535 , 13 ก.ย. 2535 , 2 ก.ค.
2538 และ 17 พ.ย. 2539)
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พ.ศ. 2518)
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2519)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2519-2520)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2526-2529)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2533-2534)
- รองนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2535)- รองนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2538-2539)
- รองนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2539-2540)
- ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2543-2547)
- สมาชิกวุฒิสภา กทม. (พ.ศ. 2549)
- นายกรัฐมนตรี (29 ม.ค.2551 - 9 ก.ย.2551)

เคยเป็น
- กรรมาธิการตรวจรายงานการประชุม (พ.ศ. 2516-2518)
- ประธานคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน (พ.ศ. 2523-2526)
- ประธานคณะกรรมาธิการการปกครอง (พ.ศ. 2529-2531)
- ประธานคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2531-2533)
- ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม (พ.ศ. 2535-2538)
- กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2518, 2519, 2520,
2521, 2523, 2524, 2526, 2527 และ 2528

การปฏิบัติหน้าที่
- เป็นรัฐมนตรีขึ้นกล่าวปราศรัยในที่ประชุม I.L.O. ณ ที่ประชุมดูงานต่างประเทศ องค์การสหประชาชาติ
กรุงเจนีวา ในการประชุมเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2519 และ พ.ศ. 2520
- ดูงานทั่วไปในอิสลาเอล พ.ศ. 2517
- ดูงานด้านการเกษตรและอาวุธในอิสลาเอล พ.ศ. 2520
- ดูงานด้านการตำรวจและโครงการผันน้ำ SNOWY MOUNTAIN ในประเทศออสเตรเลีย
- ผู้แทนประทศไทยร่วมประชุม รมต.แรงงานอาเซี่ยนที่ นครมนิลา
- ฟิลิปปินส์
- ดูงานบริษัท การบินของประเทศญี่ปุ่น
- ผู้แทนรัฐบาลไทยร่วมประชุม รมต.สังคม ณ กรุงจาการ์ต้า อินโดนีเซีย
- ดูงานการเคหะแห่งชาติ
- สิงค์โปร์ยซางคัฐบาลไทยิสลาแสลาแย. 2516
- ผู้แทนรัฐบาลไทยร่วมประชุม และดูงานประเทศแคนาดา
- ผู้แทนรัฐบาลไทยร่วมประชุมสหภาพไปรษณีย์สากล ณ นครฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมันนี
- ร่วมประชุมกับ รมต.พาณิชย์ฝรั่งเศส และดูงานบริษัท แอร์บัสอินดัสตรี้ ประเทศฝรั่งเศส
- ร่วมประชุมกับ รมต.คมนาคมที่กรุงสอนดอน ประเทศอังกฤษ
- ร่วมประชุม และดูงานด้านโทรคมนาคม กับหลายหน่วยงานในสหรัฐอเมริกา และทำหน้าที่เป็นประธานที่
ประชุมในการประชุมด้านการคมนาคม และขนส่ง ของแอสแคปในประเทศไทย
- ดูงานด้านการเศรษฐกิจใน 5 รัฐ ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ดูงานด้านการคมนาคม และโทรคมนาคมในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เยอรมันนี ฝรั่งเศส และอังกฤษ
- เป็นผู้แทนประเทศไทย (แทนนายกรัฐมนตรี) ปราศรัย ณ ที่ ประชุมใหญ่องค์การสหประชาชาติ (ในการ
ประชุม EARTH SUMMIT เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540)
- ประชุมและดูงานในประเทศเมื่อเป็นผู้ว่าฯ กทม. 4 ปี

งานเขียนหนังสือ
- เขียนบทความและความคิดเห็นทางการบ้านการเมืองแบบไม่ประจำ ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ, สยามรัฐ
สัปดาห์วิจารณ์ และชาวกรุง ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ถึง พ.ศ. 2516
- เขียนบทความการเมืองในหนังสือพิมพ์ประชาไทย (พ.ศ. 2517-2520)
- เขียนบทความในคอลัมน์ประจำ (มุมน้ำเงิน) หนังสือพิมพ์เดลิมิเล่อร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 จนถึง พ.ศ. 2537
- หนังสือเล่มชื่อ “สันดานหนังสือพิมพ์” พ.ศ.2521 (จำหน่าย 120,000 เล่ม ในเวลา 45วัน)
- หนังสือเล่มชื่อ “การเมืองเรื่องตัณหา” พ.ศ. 2521 (จำหน่าย 85,000 เล่ม)
- หนังสือเล่มชื่อ “จากสนามไชยถึงสนามหลวง” (จำหน่าย 50,000 เล่ม)
- หนังสือเล่มชื่อ “เรื่องไม่อยากเล่า” (จำหน่าย 45,000 เล่ม)
- หนังสือเล่มชื่อ “การเมืองเรื่องตัณหา เล่มที่ 2” (จำหน่าย 45,000 เล่ม)
- สารคดีท่องเที่ยวประเทศในยุโรป “ซำเหมาทัวร์”
- สารคดีเดินทางในประเทศจีน “เมืองจีนที่เพิ่งได้เห็น”
- สารคดีเดินทางปาฐกถาในสหรัฐ “12 วัน 15 เมือง”
- สารคดีเล่าเรื่องการเดินทางในยุโรปตะวันออก 15 วัน “วนขวาเยือนอดีตสหาย ตอนใบไม้กำลังจะ
ร่วง” (ทั้ง 4 เรื่องลงติดต่อใน น.ส.พ.รายสัปดาห์)
- ชิมไปบ่นไป (พิมพ์ 9 ครั้ง) , ใครๆ ก็ชอบไทยฟู้ด (พิมพ์ 3 ครั้ง)
- เรื่องของคนรักแมว, จดหมายเหตุกรุงเทพฯ

งานวิทยุ
- สถานีรัฐสภา FM.87.5 ทุกวันศุกร์ เวลา 18.30 น. - 19.00 น.
- สถานี ทอ.01.AM.945 เวลา 23.00-24.00 น. ทุกวันพุธ
- สถานี 94 FM., 105.FM.
- TV 5 เช้านี้ที่เมืองไทย
- TV 9 คิดตามวัน

งานอดิเรก
- ถ่ายรูป, เดินทางต่างจังหวัดและต่างประเทศ, ปาฐกถา
- แสดงความคิดเห็นทางการบ้านและการเมืองตามคำเชิญ

ครอบครัว
- สมรสกับคุณหญิงสุรัตน์ (นาคน้อย) เมื่อพ.ศ. 2511มีบุตรีฝาแฝด 2 คน นางกาญจนากร (สุนทรเวช)
ไชยสาส์น จบมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ABAC / MBA. มหาวิทยาลัยฮาร์ทฟอร์ด USA. CONN.
- ปัจจุบันทำงานอยู่ฝ่ายการเงินของ ป.ต.ท. (สผ.)
- กานดาภา สุนทรเวช จบคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / MBA.มหาวิทยาลัยฮาร์ทฟอร์ด USA.
CONN. ปัจจุบันทำงานกระทรวงการต่างประเทศ

ปัจจุบัน
- เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (เขต1) ดุสิต
- เป็นหัวหน้าพรรคประชากรไทย (2522-2543)
- เป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน (2550)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ตริตาภรณ์มงกุฎไทย พ.ศ.2517
- ตริตาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ.2519
- ทวิติยาภรณ์มงกุฎไทย พ.ศ.2519
- รัตนาภรณ์ (ขั้นที่2) พ.ศ.2520
- ประถมาภรณ์มงกุฎไทย พ.ศ.2522
- ประถมภรณ์ช้างเผือก (พ.ศ. 2524)
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (พ.ศ. 2526)
- ทุติยจุลจอมเกล้า (พ.ศ. 2527)
- มหาวชิรมงกุฎ (พ.ศ. 2527)
- ประถมดิเรกคุณาภรณ์ (พ.ศ. 2540)
- ทุติยจุลจอมเกล้าฯ วิเศษ (พ.ศ. 2545)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น