ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552

รัฐประหาร 16 กันยายน 2500 ฉากเปิดยุคมืดประชาธิปไตย



โดย อริน
ที่มา : คอลัมน์ พายเรือในอ่าง นสพ.โลกวันนี้วันสุข 10-16 ต.ค. 52

ในเดือนเมษายน 2500 กลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมและกองทัพภายใต้การนำของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เริ่มเคลื่อนไหวเตรียมแผนรัฐประหาร โดยมีแกนนำสำคัญเข้าประชุมร่วมกับกองทัพ เช่น กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ) ประธานองคมนตรี,ม.ร.ว.เสนีย์ และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช(กุลลดา เกษบุญชู มี้ด,การเมืองไทยในยุคสฤษดิ์-ถนอม ภายใต้โครงสร้างอำนาจโลก. กองทุนปรีดี พนมยงค์ มูลนิธิ50 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2550 ,หน้า35) ไม่นานจากนั้นก็เริ่มเปิดฉากโจมตีรัฐบาลผ่านหนังสือพิมพ์ของกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม(สยามรัฐ) และพรรคฝ่ายค้าน เช่น พรรคประชาธิปัตย์และพรรคสหภูมิ ที่สนับสนุนจอมพลสฤษดิ์โดยตรง ซึ่งแยกตัวมาจากพรรคเสรีมนังคศิลา มี นายสุกิจ นิมมานเหมินทร์ เป็นหัวหน้าพรรค และ นายสงวน จันทรสาขา (น้องต่างมารดาของจอมพลสฤษดิ์) เป็นเลขาธิการฯ (ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเดือนธันวาคม 2500ก็มี การสลายพรรคสหภูมิมาเป็นพรรคชาติสังคม ซึ่งมี จอมพลสฤษดิ์เป็นหัวหน้าพรรค มี พล.ท.ประภาส จารุเสถียร เป็น เลขาธิการฯ)

เค้าลางของการ "กำจัด" ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองด้วยหนึ่งในข้อกล่าวหาที่ใช้ได้ผลมาตลอดสำหรับ "การเมืองสามานย์" ก็ถูกนำมาใช้กันเปิดเผยยิ่งขึ้นทุกดที นั่นคือข้อหา "หมิ่นพระบรามเดชานุภาพ" และผนวกด้วย "ล้มล้างสถาบัน"

โดยการอภิปรายทั่วไประหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม 2500 นายพีร์ บุนนาค ส.ส. สุพรรณบุรี อภิปรายว่า "…สงสัยว่า หนังสือพิมพ์ไทยเสรี จะมีเบื้องหลังในทางการเมืองเพื่อที่จะคิดล้มล้างอำนาจกษัตริย์เป็นแน่แท้…"และ "มี ข่าวลืออย่างนี้ครับ…นี้เกี่ยวกับอธิบดี (ตำรวจ)โดยตรงเลย เกี่ยวกับฯพณฯ รัฐมนตรีมหาดไทย ในการประชุมพรรคเสรีมนังคศิลา ณ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลาบ่ายโมง วันที่ 7กุมภาพันธ์ 2498 นี้ ผมได้มาจากในพรรคของท่านนั้นเอง ซึ่งประชุมเฉพาะ ก่อนที่ประชุมเฉพาะ ส.ส. มนังคศิลา ประเภท 1 เขาบอกว่า ฯพณฯ นายพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ นี้ รัฐมนตรีมหาดไทย ได้ชี้แจงให้ที่ประชุมทราบต่อหน้า ฯพณฯ จอมพลป.พิบูลสงครามว่า ได้มีหลักฐาน แน่นอนว่า ประทานโทษครับ ในหลวงทรงมอบเงิน 7 แสนบาทให้ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และนายควง อภัยวงศ์ มาเล่นการเมืองในพรรคประชาธิปัตย์"

ดูเหมือนว่าประวัติศาสตร์ช่วงดังกล่าวจะมาซ้ำรอยอีกหนช่วงก่อนการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จากการอภิปรายเพิ่มเติมของนายพีร์ "…บอกว่า มีการประชุมวางแผนการประกาศภาวะฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 1มีนาคม 2500 นี้ ได้มีการประชุมในที่หนึ่ง ได้มีบุคคลชั้นจอมพลไปนั่งในที่ประชุมนั้น เว้นไว้แต่ฯพณฯ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นี้เป็นข้อเท็จจริง เขาว่าอย่างนี้ ถ้าไม่มีอะไร แถลงออกมาเสีย ตอบมาแล้วประชาชนจะมั่นใจว่า รัฐบาลนี้และโดยเฉพาะนายพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ยังเคารพสักการะองค์พระเจ้าอยู่หัวอยู่" (ใน รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยสามัญ ครั้งแรก และสมัยสามัญ ชุดที่ 2พ.ศ.2500, พระนคร : รวมมิตรไทย, 2506, หน้า 1031-1032)

ความสุกงอมของสถานการณ์ที่สะท้อนว่า จอมพลป.ไม่อาจรักษาสถานภาพหัวหน้าคณะรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศต่อไปได้ มาถึงใน วันที่ 15 กันยายน เมื่อจอมพลสฤษดิ์และผู้สนับสนุน ออกแถลงการณ์ขอให้ จอมพล ป. และ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ลาออกจากตำแหน่งทั้งหมด

ถัดมาวันที่ 16 กันยายน จอมพล ป.ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระที่นั่งอัมพรสถาน เวลา 11.00น. และกลับออกมาเวลา 13.00 น. ด้วยอากัปกิริยาผิดปกติ ไม่ยอมหยุดรถให้สัมภาษณ์กับคณะสื่อมวลชนที่รออยู่ อย่างที่เป็นมา เนื่องจากพระองค์ไม่ทรงเห็นชอบในการปลดจอมพลสฤษดิ์ จากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกตามที่รัฐบาลเสนอ ต่อมาในเวลา 14.30น. จอมพล ป. ได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีที่สำคัญ และสมาชิกสภาผู้แทนประเภท 1 พรรคเสรีมนังคศิลา ประชุมที่ทำการพรรค ณ บ้านมนังคศิลา เพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งกับจอมพลสฤษดิ์และพวก (เฉลิม มลิลา, "รัฐประหาร พ.ศ. 2500 ในประเทศไทย", วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518,หน้า 179)

แต่แล้วในเวลา 18.00 น. พล.ท.ประภาส จารุเสถียร แม่ทัพภาคที่ 1 ใช้รถถัง รถหุ้มเกราะและทหารราบ กระจายกำลังออกยึดจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ ร.ท.เชาว์ ดีสุวรรณ เข้ายึดกองบัญชาการตำรวจกองปราบปราม สามยอด ซึ่งเป็นที่บัญชาการของ พล.ต.อ.เผ่า ได้ภายในเวลา 2 ชั่วโมง ในขณะที่ พล.จ.กฤษณ์ สีวะรา รองแม่ทัพภาคที่ 1 พ.ท.เอิบ แสงฤทธิ์,พ.ต.เรืองศักดิ์ ชุมะสุวรรณ, พ.อ.เอื้อม จิรพงษ์ และ ร.อ.ทวิช เปล่งวิทยา ได้นำกำลังทหารราบที่ 1 พัน 3 บุกเข้าไปยึดวังปารุสกวัน ซึ่งเป็นกองบัญชาการตำรวจนครบาล ตามมาด้วยกองกำลังรถถัง ส่วน พล.ร.อ.หลวงชำนาญอรรถยุทธ ผู้บัญชาการทหารเรือ สั่งการทางวิทยุให้เรือรบ2 ลำ ยึดท่าวาสุกรี และส่งกำลังนาวิกโยธินส่วนหนึ่งยึดพื้นที่บริเวณหน้าวัดราชาธิวาส จนกระทั่งสถานการณ์อยู่ความควบคุมของคณะรัฐประหารหรือที่เรียกตัวเองว่า "คณะปฏิวัติ"

สำหรับจอมพล ป. ตัดสินใจหลบหนีโดยไม่ต่อสู้โดยรถยนต์ประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรียี่ห้อซีตรอง พร้อมกับนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัว พ.ต.อ.ชุมพล โลหะชาละ และ พ.ท.บุลศักดิ์ วรรณมาศ ไปทางจังหวัดตราด และว่าจ้างเรือประมงลำหนึ่งเดินทางไปที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา ก่อนจะเดินทางต่อไปอีกบางประเทศ จนเข้าอุปสมบทที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันที่3 สิงหาคม 2503 จากนั้นจึงติดต่อขอลี้ภัยการเมืองเข้าประเทศญี่ปุ่น และพำนักอยู่ที่นั่นจนถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.2507 ขณะที่ พล.ต.อ.เผ่า ยังมิได้หลบหนี แต่ถูกควบคุมตัวไปยังกองบัญชาการคณะปฏิวัติ แต่ในวันรุ่งขึ้นก็ถูกบีบให้เดินทางออกนอกประเทศไป กระทั่งเสียชีวิตที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2503

หลังจากคณะรัฐประหารควบคุมสถานการณ์ทั่วไปได้แล้ว จึงออกอากาศทางวิทยุประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้จอมพลสฤษดิ์เป็นผู้ รักษาพระนครฝ่ายทหาร ทั้งนี้การกระทำดังกล่าวยังคงเป็นปัญหาที่ยังไม่มีข้อยุติในทางวิชาการด้าน รัฐศาสตร์ การเมือง-การปกครอง เนื่องจากเป็นประกาศที่ปราศจากผู้รับสนองพระราชโองการ ซึ่งไม่มีบทบัญญัติรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญ 2495 (ราชกิจจานุเบกษา,ตอนที่ 76 เล่ม 74 วันที่ 16 กันยายน 2500)

การโค่นล้มรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามที่ มาจากการเลือกตั้งลงนี้ ถือเป็นการสิ้นสุด นายกรัฐมนตรีเป็นเชื้อสายคณะราษฎรอย่างเด็ดขาด พร้อมกับเป็นการสิ้นสุดเจตนารมณ์ในการสร้างระบอบประชาธิปไตยของการอภิวัฒน์ สยาม2475 ลง และเป็นการเริ่มต้นของวาทกรรม "สมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า".

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น