ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลำดับความเป็นมา กรณีปราสาทพระวิหาร



โดย นพดล  ปัทมะ
จันทร์ที่ 12 ต.ค. 52

ประเด็นเรื่องปราสาทพระวิหารกลับมาอยู่ในข่าวครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาเขตแดนของไทยและกัมพูชา  แต่ที่มันแก้ยากมากขึ้น เพราะกลุ่มพันธมิตรเอาเรื่องนี้มาจุดกระแสคลั่งชาติ และร่วมมือกับนักการเมืองใช้ประเด็นนี้ทำลายกันทางการเมือง โดยบิดเบือนข้อเท็จจริงและประเด็นข้อกฎหมายอย่างไร้ความละอาย หวังแต่จะเอาชนะและทำลายคนอื่นโดยอาศัยความเท็จ

แต่พอตนเองมีหน้าที่ในการแก้ปัญหา กลับไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แต่ยังพยายามโยนอุจจาระให้คนอื่น  เพื่อให้ผู้อ่านไม่เป็นเหยื่อของพวกคลั่งชาติ และนักการเมืองประเภทพูดเอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น และเติบโตด้วยความเท็จ 


ลองมาดูข้อเท็จจริงพอสังเขปในเรื่องนี้ดังนี้ครับ

  1. ในปี 2505 ไทยแพ้คดีในศาลโลกในคดีที่หม่อมเสนีย์ ปราโมช ว่าความรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์จึงจำใจ และจำยอมยก ปราสาทพระวิหารและที่ดินใต้ปราสาทให้กัมพูชาตามคำตัดสินของศาลโลกเมื่อ 46ปีที่แล้ว นายสมัครหรือนายนพดล ไม่ใช่คนยกปราสาทให้กัมพูชา เดิมไทยใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตกับกัมพูชา แต่หลังจากยกปราสาทให้กัมพูชาไปแล้ว ไทยจึงทำแผนที่ประเทศบริเวณนั้นใหม่ โดยตัดพื้นที่ปราสาทออกจากราชอาณาจักรไทยและกันออกไปให้อยู่ในเขตกัมพูชา ที่เรียกว่าแผนที่ชุดL 7017 ทุกหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งกองทัพไทย และกระทรวงต่างประเทศถือว่าเส้นเขตแดนไทยกับกัมพูชาเป็นไปตามแผนที่ชุด L 7017 นายอภิสิทธิ์โกหกในสภาตอนเป็นฝ่ายค้านว่าพื้นที่ใต้ปราสาทยังเป็นของไทย  แต่เผลอลืมไปว่าในปี 2541  ตอนเป็น รมต. ในครม ชวน ตนเองก็ออกแผนที่ประกาศเขตอุทยานเขาพระวิหารตามแผนที่ L 7017และระบุว่า เส้นบริเวณปราสาท เป็นเส้นเขตแดนระหว่างประเทศ ไทยและกัมพูชา ที่น่าละอายก็คือพอตนเองทำนั้น บอกทำได้ แต่พอคนอื่นทำ บอกว่าจะทำให้เสียดินแดน


  2. กระทรวงการต่างประเทศและกองทัพไทยยืนยันว่าไทยยกทั้ง ปราสาทและที่ดินใต้ปราสาท ให้กัมพูชา  เพราะศาลโลกตัดสินว่า "ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดน ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชาแต่พรรคปชป. และนายอภิสิทธ์ เห็นว่าไทยยกให้เฉพาะตัวปราสาท แต่ที่ดินใต้ตัวปราสาทยังเป็นของไทย ดังนั้นเมื่อพรรคปชป.เป็นรัฐบาล  ก็ต้องเจรจาเอาที่ดินกลับมาตามที่โจมตีท่านสมัครและนายนพดล ตอนตัวเองเป็นฝ่ายค้าน  หรือหากสงสัยก็ยื่นขอให้ศาลโลกตีความความหมายหรือขอบเขตคำพิพากษาได้ ตามธรรมนูญศาลโลก ข้อ 60   ซึ่งยื่นได้ตลอดเวลา ไม่มีอายุความ ประเด็นคือ อภิสิทธิ์กล้าพอไหม?



3. ปี 2549 กัมพูชาไปยื่นคำขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยแผนที่ที่ยื่นนั้นมันรุกล้ำและผนวกอาพื้นที่ทับซ้อน 4.6ตาราง กม.  ที่ไทยอ้างสิทธิเข้าไปด้วย  กล่าวคือกัมพูชายื่นขอขึ้นทะเบียน a) ตัวปราสาท และb) พื้นที่ทับซ้อน

4. ปี 2550 ในสมัยรัฐบาลสุรยุทธ์ไทยคัดค้านไม่ให้เขาเอา b)พื้นที่ทับซ้อน ไปขึ้นทะเบียน จนคณะกรรมการมรดกโลกเลื่อนการพิจารณาการขึ้นทะเบียนปราสาทจากปี 2550ไปเป็น ก.. 2551

5. เดือน ก.. 2551 รัฐบาล คมช. หมดวาระลง รัฐบาลสมัครเข้ามาจึงต้องรับช่วงแก้ปัญหา และรัฐบาลเสมือนถูกไฟลนก้น เพราะเหลือเวลาเพียง เดิอนก่อนประชุมมรดกโลกในเดือน ก.. 2551 และต้องเร่งเจรจาให้กัมพูชาตัดพื้นที่ทับซ้อนออกก่อนให้ได้ เพราะแผนที่ที่กัมพูชายื่นคาไว้ตั้งแต่ปี 2549 มันผนวกเอาพื้นที่ทับซ้อนเราไปขึ้นทะเบียนไว้

6. พื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตาราง กม. นี้ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ ไทยก็อ้างเป็นเจ้าของ กัมพูชาก็อ้างว่าเป็นเจ้าของ  กัมพูชาไม่เคยยอมรับว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน เพราะกัมพูชาเห็นว่าศาลโลกตัดสินในปี 2505 ชัดเจนแล้วเรื่องเส้นเขตแดน โดยยึดเอาเส้นเขตแดนสยามฝรั่งเศส  แต่ไทยไม่เห็นด้วยกับกัมพูชา เพราะไทยอ้างว่าศาลโลกไม่ได้ตัดสินเรื่องเส้นเขตแดน

7. เมื่อต่างคนต่างอ้างสิทธิในพื้นที่ทับซ้อน ต่างฝ่ายจึงต้องแสดงการใช้อำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่เพื่อไม่ให้ตนเองเสียสิทธิเช่นการส่งคนเข้าไปอยู่ การส่งกำลังทหารเข้าไปครอบครองไว้ เพื่ออ้างว่าเป็นของตน และในระหว่างนั้นก็เจรจากัน โดยไม่รบกันหลายประเทศเลือกการพัฒนาร่วมกันไปก่อนจนกว่าจะมีการปักปันของคณะกรรมการชุดต่างๆ และนี่คือแนวทางที่ตกลงกันในคำแถลงการณ์ร่วม

8. รัฐบาลสมัคร และนายนพดล จึงพยายามเจรจาให้กัมพูชาตัดพื้นที่ทับซ้อนออก และห้ามนำไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เพราะหากกัมพูชาขึ้นทะเบียนพื้นที่ทับซ้อนเป็นมรดกโลกสำเร็จ ไทยจะสุ่มเสี่ยงเสียอธิปไตยในพื่นที่ทับซ้อน  ส่วนตัวปราสาทนั้นไทยแพ้คดีที่ศาลโลกในปี2505 และจำใจยกปราสาทให้เขาไป 46ปีที่แล้ว เขาจะขึ้นทะเบียนก็เป็นเรื่องของเขา เราห้ามเขาไม่ได้ มีคำถามว่าทำไมไทยไม่ยื่นขอขึ้นทะเบียนร่วม   คำตอบก็คือ ในอดีตไทยเคยขอขึ้นทะเบียนร่วม แต่ถูกกัมพูชาปฏิเสธมาแล้ว  และงานเฉพาะหน้าของรัฐบาลสมัครคือการเร่งเจรจาตัดพื้นที่ทับซ้อนออกก่อน ก.. 2551  ไม่ใช่การขึ้นทะเบียนร่วม เพราะการขอขึ้นทะเบียนต้องยื่นล่วงหน้าหลายปี


9. การดำเนินการที่รัฐบาลสมัครและนายนพดลทำไปนั้น ดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอน หน่วยงานของรัฐและข้าราชการประจำทุกฝ่ายร่วมกันทำ และเห็นด้วย เช่นกระทรวงการต่างประเทศ กองทัพไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติ กรมแผนที่ทหาร ครม พล.อ. อนุพงษ์ ผบทบ. พล.อ. วินัย ภัทยกุล เห็นด้วย

10. หากรัฐบาลสมัครและนายนพดลไม่คัดค้านอย่างแข็งขันและเจรจาจนสำเร็จ กัมพูชาจะผนวกเอาพื้นที่ทับซ้อนไปขึ้นทะเบียนด้วย เราจะแย่กว่านี้ พวกเขาเป็นผู้ปกป้องดินแดนไทย

11. ที่กัมพูชาส่งทหารเข้าไปในพื้นที่ทับซ้อน และไทยก็ทำเช่นกัน ก็เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ และอ้างสิทธิ

12. การทูตนั้นต้องเจรจา และรักษาไมตรีไว้ หากทำตามแนวทางของรัฐบาลสมัครจะรักษาได้ทั้งดินแดน และไมตรี

13. คำแถลงการณ์ร่วมที่ครม.สมัครอนุมัติให้นายนพดล ไปเซ็นนั้นขณะนี้สิ้นผลไปแล้วตามหนังสือยืนยันของ รมต ต่างประเทศกัมพูชา  และตอนที่กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเป็นมรดกโลกในเดือน กค. 2551 นั้น คณะกรรมการมรดกโลกก็ห้ามไม่ให้นำคำแถลงการณ์ร่วมเข้าประกอบการพิจารณาตามที่ไทยขอระงับผลตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครอง  แสดงว่าไทยจะสนับสนุนการขึ้นทะเบียนตัวปราสาทหรือไม่ ก็ไม่ได้มีความสำคัญเลย กัมพูชาก็ขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทได้อยู่ดี

14. คำแถลงการณ์ร่วมทำให้กัมพูชายอมรับเป็นครั้งแรกว่ามีพื้นที่ทับซ้อน ทั้งๆที่ปฏิเสธมาโดยตลอด และโชคดีที่ในการประชุมที่แคนาดาที่ผ่านมา กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร โดยไม่เอาพื้นที่ทับซ้อนขึ้นทะเบียนด้วย โชคดีที่เขาทำตามแนวทางของแถลงการณ์ร่วม แม้ว่ามันไม่ผูกพันเขาเพราะไทยระงับผลไว้ก็ตาม

15. ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าคำแถลงการณ์ร่วมเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190และต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนทำขึ้น เพราะ

15.1 คำแถลงการณ์ร่วม"อาจมีบทบัญญัติเปลี่ยนแปลงอาณาเขต"และ

15.2 เป็นหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม

ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินผิดเพราะ

1. คำแถลงการณ์ร่วมไม่เป็นหนังสือสัญญาแต่เป็นเพียงแถลงการณ์ทางการเมือง และคู่กรณีไม่มีเจตนาผูกนิติสัมพันธ์กัน ซึ่งยืนยันได้จากหนังสือของ รมต. ต่างประเทศกัมพูชาที่ระบุว่า กัมพูชาไม่เห็นว่าคำแถลงการณ์ร่วมเป็น international treaty (สนธิสัญญาระหว่างประเทศ) 

2. ประการที่สอง ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเกินที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้ในมาตรา 190 โดยเติมคำว่า "อาจ" เข้าไป  และ

3. ประการที่สาม ข้อความที่ว่าเป็นหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และสังคมเป็นบทบัญญัติใหม่ ครอบจักรวาล มีปัญหา และขาดความชัดเจน และเจตนารมณ์หมายถึงข้อตกลงเขตการค้าเสรี มากกว่าจะเป็นหนังสือประเภท คำแถลงการณ์ร่วม.


http://www.redthai.org/index.php?option=com_content&view=article&id=390:2009-10-12-06-21-17&catid=40:other-writer&Itemid=97





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น