ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 10 เล่น (ไม่) เป็นทีม



ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ก่อนรัฐประหาร
ตอนที่ 10 : เล่น (ไม่) เป็นทีม
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2553 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)

*****************************************************************************
หรือจะต้องประกาศสงครามกับใครสักประเทศ ความเป็น “เรา” จึงจะหวนคืนสู่ราชอาณาจักรนี้?

*****************************************************************************

เล่น (ไม่) เป็นทีม

ไปขึ้นเวทีของกระทรวงอุตสาหกรรมมาเมื่อวันก่อน ได้อะไรดีๆ มาเยอะ ทั้งที่หัวข้อเรื่องเกี่ยวกับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นและอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ตลอดจนรางวัลของ SMEs นี่แหละครับ แต่ปรากฏว่าได้ข้อคิดทางการเมืองกลับมาแทน

โดยเฉพาะข้อคิดจาก คุณปราโมทย์ วิทยาสุข อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เกี่ยวกับวัฒนธรรมทางธุรกิจของชาวญี่ปุ่น

อธิบดีปราโมทย์ฯ เล่าว่า ในโรงเรียนอนุบาลของญี่ปุ่น ที่มีเด็กๆ อายุประมาณสามขวบอยู่กันเต็ม เมื่อถึงตอนวาดรูปเขาจะทำอะไรบางอย่างที่ไม่เหมือนเมืองไทย นั่นคือให้เด็กจับกลุ่มกันสี่คนแล้ววาดรูปด้วยกันในกระดาษแผ่นเดียวกัน ไม่ใช่ว่าต่างฝ่ายต่างมีคนละแผ่น

ก็ต่างคนต่างวาดนี่แหละครับ แต่ในแผ่นเดียวกัน

เมื่อคนหนึ่งโยเยหรือขี้เกียจขึ้นมา อีกสามคนก็จะลากจูงมาเขียนรูปต่อจนได้ เพราะครูจะไม่ยอมรับผลงานที่เขียนไม่ครบคน

พลังกลุ่มเกิดขึ้นในทันทีทันใดนั้นเอง

เด็กญี่ปุ่นจึงเติบโตขึ้นด้วยความคิดว่า ชีวิตของเราทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นความสุข ความทุกข์ ความสำเร็จ หรือความล้มเหลว มีความเกี่ยวโยงกับบทบาทของคนอื่น โดยเฉพาะในกลุ่มที่ตนสังกัด จะไม่มองอะไรแยกออกไปชนิดข้ามาคนเดียวหรือเอ็งไปคนเดียวก็แล้วกัน

พอโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ ก็จะรู้จักคำว่า กลุ่มทำงาน หรือ teamwork และสามารถแบ่งปันบทบาทในกลุ่มได้อย่างไม่เคอะเขิน รู้สึกเป็นธรรมชาติเสียเหลือเกิน

ผู้แทนจากโตโยต้าฟังอย่างนั้นแล้วก็เล่าต่อว่า ระบบ TPS (Toyota Production System) ของเขาก็ล้อมาจากความเป็นกลุ่มทำงานนี่เอง ถึงขนาดว่าจะมีการพักสิบนาทีในช่วงเช้าและบ่ายอย่างละช่วง ให้หัวหน้ากับลูกทีมเข้าไปสันทนาการกันในห้องเดียวกัน มีโทรทัศน์ เครื่องดื่ม และอะไรต่างๆ ในห้องที่ปรับอากาศอย่างสบาย

จุดประสงค์เพื่อให้ได้เกิดความสมัครสมานขึ้นอีก และลดโอกาสที่จะเกิดช่องว่างระหว่างกัน

แน่นอนว่าความเป็นทีมก็อาจจะนำมาซึ่งจุดอ่อนข้างเคียงได้ ถ้าบริหารไม่ดีพอ เช่น บุคลิกภาพอันโดดเด่นของสมาชิกในทีมอาจจะต้องเบาลงบ้าง เพื่อไม่ให้ “แหลม” เกิน ฯลฯ อาจจะสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมาในคราบคนได้

แต่ภาพรวมแล้วคือความสำเร็จในการแบ่งปันบทบาทและความสามารถคนละอย่างเพื่อความสำเร็จในเป้าหมายเดียวกัน

วันนั้นยังพูดถึงไคเซ็นและอะไรต่อมิอะไรอีกหลายอย่าง แต่เรื่องนี้กระทบใจผมมากเป็นพิเศษ และต้องนำมาคิดเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมไทย ซึ่งส่งผลต่อการเมืองปัจจุบันมาก

สังคมไทยของเราเน้นสภาพของการแบ่งปันกันในขั้นตอนสุดท้าย แต่ก่อนหน้านั้นออกจะต่างคนต่างทำอยู่มาก การลงแขกเกี่ยวข้าวก็เป็นการร่วมแรงร่วมใจกันอย่างน่ารักและมีน้ำใจจริง แต่ไม่ได้วางเป้าหมายเดียวกันและด้วยกัน

เป็นเรื่องของ เอ็งบ้าง ข้าบ้าง

ไม่ใช่เรื่องของ “เรา”

เล่ามาอย่างนี้ไม่ได้คิดว่าญี่ปุ่นยอดเยี่ยมจนถึงขั้นจะเชิญมาเป็นญาติผู้ใหญ่หรอกครับ แต่ทำให้อดคิดไม่ได้ว่าวิกฤติการณ์ทางการเมืองที่ดูเหมือนจะหาทางออกยังไม่ได้นั้น มาจากฐานวัฒนธรรมในข้อนี้หรือไม่

ไทยรักไทยบอก อภิสิทธิ์ฯ ไม่ใช่ “เรา”

ประชาธิปัตย์บอก ทักษิณฯ ไม่ใช่ “เรา”

เพราะฉะนั้นใครจะต่อสู้ฟาดฟันกันจนฉิบหายขายตัวอย่างไรก็เป็นเรื่องของเขา เราไม่เดือดร้อน ทั้งที่ประเทศชาติโดยรวมได้รับผลกระทบอย่างสาหัส

หรือจะต้องประกาศสงครามกับใครสักประเทศ ความเป็น “เรา” จึงจะหวนคืนสู่ราชอาณาจักรนี้?

---------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น