ความยุติธรรมและความเสมอภาคที่แท้จริงไม่มีในโลกใบนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเลือกข้างและกำหนดจุดยืนให้ชัดเจน เพื่อจะก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...
3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ
2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์
1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์
สด จาก เอเชียอัพเดท
วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 13 เลือกตั้งยังไม่พอ?
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ก่อนรัฐประหาร
ตอนที่ 13 : เลือกตั้งยังไม่พอ?
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
ตอนที่ 13 : เลือกตั้งยังไม่พอ?
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
******************************************************************************
การเลือกตั้งไม่ใช่เครื่องมือตัดสินของระบอบประชาธิปไตย ใช้วัดไม่ได้ว่าใครควรจะบริหารประเทศ ฯลฯ ฟังแล้วอยากจะหัวเราะเป็นภาษาคิวบา
******************************************************************************
เลือกตั้งยังไม่พอ?
หมู่นี้ได้ยินได้ฟังอะไรแปลกๆ อยู่เรื่อย จนผมอดคิดไม่ได้ว่าถ้าคนพูดเขาไม่บ้า สงสัยผมจะบอเป็นแน่
เช่น การเลือกตั้งไม่เพียงพอต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ต้องกอปรด้วยการประท้วงอย่างขนานใหญ่และต่อเนื่อง
การประท้วงการเมืองชนิดผูกติดกับตัวบุคคล ถ้าบุคคลนั้นๆ เข้ารับตำแหน่งทางการเมือง ก็ต้องปักหลักด่าทอกันไปทุกหนทุกแห่งอย่างไม่เลิก
การเลือกตั้งไม่ใช่เครื่องมือตัดสินของระบอบประชาธิปไตย ใช้วัดไม่ได้ว่าใครควรจะบริหารประเทศ ฯลฯ
ฟังแล้วอยากจะหัวเราะเป็นภาษาคิวบา
เมื่อคณะราษฎรเสี่ยงต่อการหัวขาดเจ็ดชั่วโคตรเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเมื่อคนเป็นจำนวนลุกฮือขึ้นกรณี ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ และเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม ๒๕๓๕ เพื่อต่อต้านระบอบการปกครองที่อยู่ตรงข้ามกับประชาธิปไตยนั้น
ก็เพราะอยากจะให้มีการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมขึ้นในบ้านเมือง
ต้องการเพียงเท่านั้นเองครับ ทั้งที่ได้พลีกายและใจอย่างหนักหนาสาหัสในความขัดแย้งทางการเมืองแต่ละครั้ง
หลายประเทศในโลกก็กำลังมีความต้องการอย่างเดียวกันนี้ และกำลังต่อสู้กันเป็นนักหนา
ปัญหาคือเมืองไทยได้มาแล้วกำลังทำอะไรกับสิทธิ์นั้น
คนส่วนใหญ่มีคำตอบอย่างชัดเจนอยู่กับตัว คือพอใจ ถนอมรักษา และรอคอยที่จะไปใช้สิทธิ์ของตนในทางการเมืองเมื่อถึงเวลา ชอบใครไม่ชอบใครไปแสดงออกกันในวันนั้น
เหมือนกับที่คนพม่าอยากได้แต่ไม่มีโอกาส
เหมือนกับที่คนปากีสถานอยากได้แต่ไม่มีโอกาส
แต่บังเอิญมามีคนไม่กี่คนเกิดคิดแปลกขึ้นมาว่า การเลือกตั้งชนิดที่กรรมการการเลือกตั้งมาจากศาล และพรรคการเมืองทั้งหลายอยู่ในกระแสสนับสนุนและต่อต้านปานๆ กัน เป็นการเลือกตั้งที่ให้ประชาธิปไตยแบบที่ตัวต้องการไม่ได้
จนต้องการจะประท้วงตลอดไปเพื่อรักษาบทบาทของตนเอง
ประชาธิปไตยไทยจะมานอกรีตเอาก็อีตรงนี้
ระบอบประชาธิปไตยมีพัฒนาการและเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆ เหมือนสรรพสิ่งทั้งหลาย แบบที่เราใช้กันอยู่นี้เรียกกันว่าประชาธิปไตยแบบผู้แทน (representative democracy) เพราะไม่สามารถนำคนหกสิบสามล้านคนมานั่งประชุมตัดสินใจในปัญหาต่างๆ ร่วมกันได้
เกิดมีคนจากยุคเพลโต้พลัดหลงเข้ามาในเมืองไทย บอกว่าถ้าไม่มานั่งประจันหน้ากันในรู้ดำรู้แดงแล้วก็ไม่ใช่ระบอบการปกครองแบบที่ต้องการ
น่าเหนื่อยใจจริงๆ
ใครมาลงทุนในเมืองไทยย่อมคิดหนักขึ้น เพราะพบว่าคนไทยคิดแปลกกว่าเขาเพื่อน ถึงจะชอบนิสัยอย่างไรก็ไม่ไว้ใจให้ร่วมเตียงนานนัก
ผมไปร่วมสัมมนาที่ศศินทร์มาเมื่อไม่กี่วันนี้ หมายเลขหนึ่งของ TRIS คือศาสตราจารย์ ดร. วรภัทร โตธนะเกษม บอกต่อที่ประชุมว่า สิ่งที่บรรษัทต่างชาติกลัวและไม่อยากมาลงทุนมากที่สุดคือ
widespread politically-motivated violence
แปลเป็นไทยว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเพราะการเมืองกระตุ้นจนแพร่กระจาย
หรือ การเลือกตั้งที่ตัดสินอะไรเด็ดขาดไม่ได้สำหรับประชาธิปไตย จนต้องกระตุ้นต่อมต่อต้านทางการเมืองกันตลอดกาล
คิดผิดคิดเสียใหม่ครับ.
-----------------------------------------------------------------------------------
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น