ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 8 ประชาธิปไตยบนหลักการใหม่


ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ก่อนรัฐประหาร
ตอนที่ 8 : ประชาธิปไตยบนหลักการใหม่
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)

******************************************************************************
ในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ การประท้วงที่หน้าศาลมีขึ้นเป็นประจำ และออกจะรุนแรงในเชิงเนื้อหาเสมอ

******************************************************************************
ประชาธิปไตยบนหลักการใหม่

วิกฤติการณ์การเมืองรอบนี้ ทำให้เกิดหลักการใหม่ๆ หลายอย่าง ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าจะเป็นผลดีต่อประชาธิปไตยในระยะยาวทั้งหมดหรือไม่ ต้องพูดเชยๆ อย่างที่เขาชอบพูดกันเมื่อจนตรอกขึ้นมาว่า...ให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ก็แล้วกัน

สิ่งที่น่าพิจารณามากเป็นพิเศษคือการตัดสินจำคุกบุคคลที่ไปแสดงความเห็นตรงหน้าศาล ในวันพิจารณาพิพากษาคดีของอดีตกรรมการการเลือกตั้ง ว่าเป็นการกระทำที่ศาลจะไม่อดทนและไม่ถือว่ากระทำได้อีกต่อไป จึงจำคุกเสียเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง

นับเป็นครั้งแรกที่มีการลงโทษบุคคลและพวกในลักษณะนี้ กระเทือนต่อการรวมตัวกันในแบบที่เรียกกันติดปากว่า ม็อบ เป็นอย่างยิ่ง

เพราะเกิดพื้นที่ที่ไม่สามารถ “ม็อบ” ได้งอกขึ้นมาใหม่ในเมืองไทย

เรื่องแบบนี้ต้องเคารพศาลด้วยการปฏิบัติตามที่ท่านสั่ง แต่จิตวิญญาณของมนุษย์ยังพอมีอยู่ ทำให้เราต้องนำมาคิดใคร่ครวญระหว่างกันให้ดี

แยกให้ชัดระหว่างการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแล้วเลิก กับการวางบรรทัดฐานในระยะยาวอย่างชนิดไม่เลิก

ประชาธิปไตยนั้นเป็นของที่เปราะบางนัก บางคนเรียกว่าเป็นพื้นที่เล็กๆ ระหว่างสวรรค์กับนรกเอาเลย ค่าที่ว่าของอย่างเดียวกันสำหรับประชาธิปไตยอาจจะถูกพลิกควับเดียวกลายเป็นเครื่องมือของระบอบอื่นไปได้

หลายระบอบใช้ประชาธิปไตยเป็นนกต่อ และซ่อนระบอบที่ตนเองต้องการจริงๆ เอาไว้

การแสดงออกของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็นเรื่องสำคัญในทุกสังคมประชาธิปไตย ใครที่ “อนุญาต” ให้แสดงออกได้มาก ไม่ว่าจะบ้าบอแค่ไหนในสายตาของใครก็ตาม ก็ถือกันว่าเป็นประชาธิปไตยมาก

ใครที่มีข้อจำกัดหรือควบคุมมาก ก็ถือว่าประชาธิปไตยน้อยลงไปตามส่วน

ในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ การประท้วงที่หน้าศาลมีขึ้นเป็นประจำ และออกจะรุนแรงในเชิงเนื้อหาเสมอ

ผมเคยไปเดินเตร่อยู่แถวหน้าศาลฎีกาในกรุงวอชิงตัน ที่อยู่ตรงข้ามกับรัฐสภาหรือคองเกรสส์ เพื่อดูเขาประท้วงกันหลายครั้ง ยังจำได้ว่าน่าตื่นตาตื่นใจมาก

เรื่องที่ประท้วงก็หลากหลาย แต่ยอดฮิตก็จะมีเรื่องสิทธิในการทำแท้ง สิทธิในการพกพาอาวุธปืน สิทธิในการตาย (คือให้หมอฉีดยาให้ตายจากไปได้ ถ้าไม่อยากทนทุกข์กับโรคที่ตนเองผจญอยู่) ไปจนถึงนโยบายเกี่ยวกับเกย์หรือรักร่วมเพศ

ผมเข้าไปสนทนาธรรมกับผู้ประท้วงเหล่านี้ ก็เลยรู้ว่าส่วนใหญ่แกก็ไปประท้วงมาทุกที่ ตั้งแต่หน้าทำเนียบขาว หน้าคองเกรสส์ หน้าบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้อง หน้าบ้านของตัวละครสำคัญๆ ในเรื่องนั้น ไปจนถึงสำนักงานหนังสือพิมพ์ ซึ่งไม่ได้ไปประท้วงแต่อยากจะเป็นข่าว

เหตุที่มาลงเอยที่ศาลฎีกาก็เพราะว่าเป็นคำตอบสุดท้าย โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ และผู้ประท้วงต้องการพิทักษ์สิทธิตามรัฐธรรมนูญของตน

ชนะหรือแพ้ที่นี่ก็ถือเป็นเด็ดขาด ต้องรอไปอีกหลายปีกว่าจะเกิดคดีใหม่ๆ ในเรื่องเดิมๆ ที่ประชาชนสนใจ ก็อาจจะมีการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนหลักการไปในอีกทิศทางหนึ่งได้

เพราะตัวอย่างเหล่านี้ ทำให้เกิดความเชื่อมโยงบางอย่าง

การประท้วงที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครจ้างมา หรือมาเพราะต้องการทำลายกระบวนการยุติธรรมของบ้านเมือง สมควรหรือไม่ที่จะถูกห้ามขาด เพราะเป็นเพียงการแสดงออกต่อเนื่องกับเวทีอื่นๆ ที่อนุญาตให้เขาแสดงออกได้

เรื่องนี้น่าคิด เพราะเป็นสิทธิอันลึกซึ้งของคนในสังคมที่ยังเรียกตนเองว่าประชาธิปไตย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงเฉลิมพระนามมาตลอดว่า “เอนกนิกรสโมสรสมมติ” หมายความว่าเสวยราชย์เพราะประชาชนยกให้ท่านเป็น

คิดดูก็แล้วกัน.
----------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น