ความยุติธรรมและความเสมอภาคที่แท้จริงไม่มีในโลกใบนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเลือกข้างและกำหนดจุดยืนให้ชัดเจน เพื่อจะก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...
3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ
2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์
1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์
สด จาก เอเชียอัพเดท
วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ตอบ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล โดย จักรภพ เพ็ญแข
คอลัมน์ : “ผมเป็นข้าราษฎร” หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์วิวาทะ Thai Red News
ปีที่ 1 ฉบับที่ 37
เรื่อง : ตอบ “ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล”
*******************************************************************************
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้อ่านกระทู้เรื่อง “แลกเปลี่ยนกับคุณจักรภพ เพ็ญแข: ข้อจำกัดของการเขียนแบบอุปลักษณ์ (metaphorical) และความจำเป็นของการเขียนถึงสถาบันกษัตริย์เชิงวิพากษ์อย่างถูกกฎหมาย” ของ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และอ่านซ้ำสองหน รู้ทันทีว่าอาจารย์สมศักดิ์ฯ กำลังสื่อสารกับผมในเรื่องสำคัญและอาจมีผลต่อขบวนต่อสู้ของเราได้
แรกทีเดียวต้องขอขอบคุณอาจารย์สมศักดิ์ฯ ที่เขียนความเห็นออกมาเป็นสาธารณะ เพื่อให้ผมและคนอื่นๆ นำมาพิจารณาได้อย่างถี่ถ้วน บางทีครรลองไทยทำให้เราห่วงการรักษาหน้ากันมากเกินไป ทำให้ต้องพูดจากระซิบกระซาบจนคนอื่นไม่ได้ยินหรือพูดเป็นส่วนตัวทั้งที่หลายเรื่องเป็นประโยชน์สาธารณะ วิธีการพูดดังๆ แบบนี้มีประโยชน์และมีความจำเป็น
ผมขอยกท่อนหนึ่งของอาจารย์สมศักดิ์ฯ มาตรงนี้ สำหรับท่านที่ยังไม่ได้อ่าน
“...ผมไม่มีเวลาเขียนกระทู้ที่เขียนค้างไว้หลายสัปดาห์แล้ว เรื่อง "แลกเปลี่ยนกับคุณจักรภพ ว่าด้วยข้อจำกัดของการเขียนแบบอุปลักษณ์ metaphorical"
พอดีเห็นบทความใหม่นี้อีก
ผมอยากเขียนไว้สั้นๆ (ยาว ต้องรอกระทู้) คือ ขอให้สังเกตว่า เมื่อคุณจักรภพ ใช้โวหารแบบ metaphorical นั้น เขียนได้ "คม" มาก (เช่นบทความช่วง "ดูไบ" และอีกหลายบท)
แต่พอใช้โวหารแบบธรรมดา อย่างบทความนี้ กลับเขียนได้ไม่ค่อยดี ไม่มีประเด็นแหลมคมน่าสนใจนัก (อันที่จริง ก่อนหน้านี้ ที่เคยเขียนเรื่อง องคมนตรี ด้วยโวหารแบบธรรมดา แบบนี้มีส่วนที่เขียนผิดหลักการสำคัญของประชาธิปไตย ด้วย)
สิ่งที่ผมอยากเสนอคุณจักรภพ แต่ยังไม่มีเวลาเขียนอธิบายประกอบข้อเสนอโดยละเอียดคือ การเขียนแบบ metaphorical นั้น แม้คุณจักรภพ จะเขียนได้ดีมากๆ แต่รูปแบบการเขียนนั้น มีข้อจำกัด คือ (ก) ต้องเป็นคนที่ "ตาสว่าง" แล้ว จึงจะอ่านได้เข้าใจและ "ซาบซึ้ง" หรือ "สะใจ" และ (ข) ต่อเนื่องกัน การเขียนแบบ metaphorical จึงไม่ใช่อะไรที่สามารถใช้เป็นการอภิปรายด้วยเหตุผล โต้แย้ง (argumentative) ในระดับสาธารณะได้ พูดง่ายๆ คือ นอกจาก อ่าน "สะใจ" ในหมู่ คนทีคิดแบบเดียวกัน ("ตาสว่าง" เหมือนกัน) แล้ว ไม่สามารถใช้ในการอภิปรายในวงกว้างทั่วไปได้ โดยเฉพาะไม่สามารถใช้ในแง่ของการต่อสู้ทางอุดมการณ์...”
“...แต่ในระยะยาวแล้ว การต่อสู้ทางอุดมการณ์ การโต้แย้งด้วยเหตุผล เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งยวดต่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
บอกตรงๆว่า การเขียนในลักษณะธรรมดา ในลักษณะ argumentative เกี่ยวกับสถาบันฯ ไม่ใช่อะไรบางอย่างที่ สามารถเขียนได้ง่ายๆ ทันที แม้แต่คนที่เป็นนักเขียนอย่างคุณจักรภพก็ตาม บทความล่าสุดนี้ (และบทความ องคมนตรี ก่อนหน้านี้) ได้พิสูจน์ให้เห็น...”
และอีกท่อนหนึ่ง
“...ที่สำคัญยังเป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก ที่คิดว่า การเขียนแบบ metaphorical นั้น safe (ปลอดภัย) จากการเล่นงานของกฎหมาย
ใน "ระบบกฎหมาย" หรือ "กระบวนการยุติธรรม" แบบไทยๆ นั้น การเขียนแบบ metaphorical ไม่ทำให้หลีกเลี่ยงการถูกเล่นงานได้เลย เรื่องนี้ได้รับการพิสูจน์มาแล้วตั้งแต่ช่วงปี 2500 และตลอดเรื่อยมาจนปัจจุบัน (กรณีที่คุณจักรภพโดนเล่นงานเองเป็นตัวอย่างหนึ่ง)...”
ขอบอกตั้งแต่แรกนี้เลย โดยไม่ต้องลีลามากว่า ผมเห็นด้วยกับอาจารย์สมศักดิ์ฯ ผมรู้ตัวดีว่าอยากสื่อสารอะไรในข้อเขียนของตัวเอง แต่ขณะเดียวกันก็มีข้อขัดแย้งอยู่ในใจหลายอย่างที่ทำให้เขียนออกมาอย่างนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานภาพที่ขัดแย้งระหว่างการต่อสู้ในระบบและนอกระบบเลือกตั้ง
ตัวตนของผมพ้นจากผลประโยชน์ในการเลือกตั้งมานานแล้ว
แต่คนแวดล้อมและสิ่งแวดล้อมของผมยังไม่พ้น และผมต้องอาศัยเขาเหล่านี้ในการเดินงานการเมือง ผมใช้เวลาในการปรับทัศนะของเขาเหล่านี้ให้ “ก้าวหน้า” และเห็นภาพเดียวกับอาจารย์สมศักดิ์ฯ และผม ซึ่งเป็นเรื่องยากและใช้เวลา บางครั้งต้องรอจนสถานการณ์จริงเกิดขึ้นแล้วจึงถึงบางอ้อ ส่วนคนที่เห็นแล้วจน “ตาสว่าง” แล้ว ก็มีลักษณะพฤติกรรมการเมืองแบบ “ฉันเป็นฉันเอง” เป็นส่วนใหญ่ เป็นแนวร่วมกันได้ แต่จับมาใส่กรอบปฏิบัติการเดียวกันอย่างมีวินัยและวิถีปฏิบัติรวมหมู่ทีไร เกิดปัญหาทุกที บางคนวิ่งหนีเอาดื้อๆ พึ่งพาอะไรในยามหน้าสิ่วหน้าขวานไม่ได้ ผมจึงต้องระวังมิให้การสื่อสารใดๆ ทำให้เขาวิ่งหนีไปไกลกว่านั้นก่อนที่เราจะมีโอกาสอธิบายความอย่างเป็นระบบจนเขาเกิดความเข้าใจถ่องแท้
คนแวดล้อมและสิ่งแวดล้อมนั้น ผมหมายความถึงทุกอย่างในขบวนประชาธิปไตย ตั้งแต่เพื่อนฝูงญาติมิตร ทีมงาน กลุ่มมวลชน ไปจนถึงพรรคเพื่อไทยและนายกทักษิณฯ
แต่นั่นคือปัญหาที่ผ่านมา ขณะนี้ผมคิดว่าเวลาของการอธิบายความอย่างเป็นระบบ เปิดเผย ทั้งสำหรับผู้คนในสิ่งแวดล้อมของผมและสาธารณชนมาถึงแล้ว พวกเราหลายคน รวมทั้งตัวอาจารย์เอง ทั้งใน “ฟ้าเดียวกัน” และอื่นๆ ได้ช่วยอธิบายความทางสังคมจนประเด็นสถาบันกษัตริย์เป็นเรื่องที่พูดได้ฟังได้แล้ว โอกาสจะตั้งสติจนคิดแตกแขนงได้เกิดขึ้น ไม่จำเป็นต้องพูดเฉียดไปเฉียดมาแบบอุปลักษณ์หรือลงไปนั่งทำงานอยู่ใต้ดินอย่างเดียว
ตอบอาจารย์สมศักดิ์ฯ ด้วยความเคารพว่า ผมเห็นแล้วว่าการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริง โดยไม่วิพากษ์สถาบันกษัตริย์อย่างเป็นวิชาการ จริงจัง และเป็นสาธารณะนั้น เป็นไปไม่ได้อีกแล้ว
การนำเสนอด้วยกลวิธีแบบอุปลักษณ์อย่างเดียว ไม่อาจเข้าถึงความคิดและทัศนะของคนไทยส่วนใหญ่ที่ถูกครอบงำด้วยเครื่องมือทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม จนมองไม่เห็นว่าเราอยู่ในสภาพอย่างไรได้ ผู้ที่ “รู้อยู่แล้ว” ยังไม่มีพลังพอจะเปลี่ยนแปลงสังคมเพื่อให้ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงเกิดขึ้นได้ เราต้องเข้าถึงคนกลุ่มใหญ่กลุ่มนี้
แต่ผมคงต้องทดสอบตัวเองว่ามีความสามารถเพียงพอหรือไม่ งานวิชาการชั้นดีใช้ความสามารถและความอดทนอย่างสูงในการผลิต
ต้องเลี่ยงที่จะไม่หมกมุ่นกับงานนั้นๆ จนนึกว่าการตีความของตนเองเป็น “ความจริง” ในทุกกรณี จนภาวะจิตติดขัดและไม่อาจเดินงานในโลกของคนที่อ่อนวิชาการได้
ส่วนที่เขียนแบบอุปลักษณ์เพื่อความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงความผิดทางกฎหมายนั้น ให้สบายใจได้ว่าผมไม่เคยคิดและเห็นเป็นเรื่อง “อุดหูขโมยระฆัง” เสียด้วยซ้ำ
อาจารย์คงจำนิทานจีนเรื่องนี้ได้ คนเขลาคนหนึ่งแกจะขโมยระฆังหน้าบ้านเศรษฐี แต่กลัวระฆังจะดังแล้วคนในบ้านจะรู้ ก็เลยทำอย่างแยบคายด้วยการเอาดินอุดหูตัวเองแล้วจึงเอื้อมมือคว้าระฆังใบนั้น ผลคือตัวเองไม่ได้ยินอยู่คนเดียว แต่คนอื่นเขาได้ยินหมดทั้งบ้าน ในที่สุดถูกจับไปโบยหลังเสียอานไป
ผมรับแนวคิดของอาจารย์ครับ แต่ขอเวลาสักนิด.
--------------------------------------------------------------------------------
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้อ่านกระทู้เรื่อง “แลกเปลี่ยนกับคุณจักรภพ เพ็ญแข: ข้อจำกัดของการเขียนแบบอุปลักษณ์ (metaphorical) และความจำเป็นของการเขียนถึงสถาบันกษัตริย์เชิงวิพากษ์อย่างถูกกฎหมาย” ของ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และอ่านซ้ำสองหน รู้ทันทีว่าอาจารย์สมศักดิ์ฯ กำลังสื่อสารกับผมในเรื่องสำคัญและอาจมีผลต่อขบวนต่อสู้ของเราได้
แรกทีเดียวต้องขอขอบคุณอาจารย์สมศักดิ์ฯ ที่เขียนความเห็นออกมาเป็นสาธารณะ เพื่อให้ผมและคนอื่นๆ นำมาพิจารณาได้อย่างถี่ถ้วน บางทีครรลองไทยทำให้เราห่วงการรักษาหน้ากันมากเกินไป ทำให้ต้องพูดจากระซิบกระซาบจนคนอื่นไม่ได้ยินหรือพูดเป็นส่วนตัวทั้งที่หลายเรื่องเป็นประโยชน์สาธารณะ วิธีการพูดดังๆ แบบนี้มีประโยชน์และมีความจำเป็น
ผมขอยกท่อนหนึ่งของอาจารย์สมศักดิ์ฯ มาตรงนี้ สำหรับท่านที่ยังไม่ได้อ่าน
“...ผมไม่มีเวลาเขียนกระทู้ที่เขียนค้างไว้หลายสัปดาห์แล้ว เรื่อง "แลกเปลี่ยนกับคุณจักรภพ ว่าด้วยข้อจำกัดของการเขียนแบบอุปลักษณ์ metaphorical"
พอดีเห็นบทความใหม่นี้อีก
ผมอยากเขียนไว้สั้นๆ (ยาว ต้องรอกระทู้) คือ ขอให้สังเกตว่า เมื่อคุณจักรภพ ใช้โวหารแบบ metaphorical นั้น เขียนได้ "คม" มาก (เช่นบทความช่วง "ดูไบ" และอีกหลายบท)
แต่พอใช้โวหารแบบธรรมดา อย่างบทความนี้ กลับเขียนได้ไม่ค่อยดี ไม่มีประเด็นแหลมคมน่าสนใจนัก (อันที่จริง ก่อนหน้านี้ ที่เคยเขียนเรื่อง องคมนตรี ด้วยโวหารแบบธรรมดา แบบนี้มีส่วนที่เขียนผิดหลักการสำคัญของประชาธิปไตย ด้วย)
สิ่งที่ผมอยากเสนอคุณจักรภพ แต่ยังไม่มีเวลาเขียนอธิบายประกอบข้อเสนอโดยละเอียดคือ การเขียนแบบ metaphorical นั้น แม้คุณจักรภพ จะเขียนได้ดีมากๆ แต่รูปแบบการเขียนนั้น มีข้อจำกัด คือ (ก) ต้องเป็นคนที่ "ตาสว่าง" แล้ว จึงจะอ่านได้เข้าใจและ "ซาบซึ้ง" หรือ "สะใจ" และ (ข) ต่อเนื่องกัน การเขียนแบบ metaphorical จึงไม่ใช่อะไรที่สามารถใช้เป็นการอภิปรายด้วยเหตุผล โต้แย้ง (argumentative) ในระดับสาธารณะได้ พูดง่ายๆ คือ นอกจาก อ่าน "สะใจ" ในหมู่ คนทีคิดแบบเดียวกัน ("ตาสว่าง" เหมือนกัน) แล้ว ไม่สามารถใช้ในการอภิปรายในวงกว้างทั่วไปได้ โดยเฉพาะไม่สามารถใช้ในแง่ของการต่อสู้ทางอุดมการณ์...”
“...แต่ในระยะยาวแล้ว การต่อสู้ทางอุดมการณ์ การโต้แย้งด้วยเหตุผล เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งยวดต่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
บอกตรงๆว่า การเขียนในลักษณะธรรมดา ในลักษณะ argumentative เกี่ยวกับสถาบันฯ ไม่ใช่อะไรบางอย่างที่ สามารถเขียนได้ง่ายๆ ทันที แม้แต่คนที่เป็นนักเขียนอย่างคุณจักรภพก็ตาม บทความล่าสุดนี้ (และบทความ องคมนตรี ก่อนหน้านี้) ได้พิสูจน์ให้เห็น...”
และอีกท่อนหนึ่ง
“...ที่สำคัญยังเป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก ที่คิดว่า การเขียนแบบ metaphorical นั้น safe (ปลอดภัย) จากการเล่นงานของกฎหมาย
ใน "ระบบกฎหมาย" หรือ "กระบวนการยุติธรรม" แบบไทยๆ นั้น การเขียนแบบ metaphorical ไม่ทำให้หลีกเลี่ยงการถูกเล่นงานได้เลย เรื่องนี้ได้รับการพิสูจน์มาแล้วตั้งแต่ช่วงปี 2500 และตลอดเรื่อยมาจนปัจจุบัน (กรณีที่คุณจักรภพโดนเล่นงานเองเป็นตัวอย่างหนึ่ง)...”
ขอบอกตั้งแต่แรกนี้เลย โดยไม่ต้องลีลามากว่า ผมเห็นด้วยกับอาจารย์สมศักดิ์ฯ ผมรู้ตัวดีว่าอยากสื่อสารอะไรในข้อเขียนของตัวเอง แต่ขณะเดียวกันก็มีข้อขัดแย้งอยู่ในใจหลายอย่างที่ทำให้เขียนออกมาอย่างนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานภาพที่ขัดแย้งระหว่างการต่อสู้ในระบบและนอกระบบเลือกตั้ง
ตัวตนของผมพ้นจากผลประโยชน์ในการเลือกตั้งมานานแล้ว
แต่คนแวดล้อมและสิ่งแวดล้อมของผมยังไม่พ้น และผมต้องอาศัยเขาเหล่านี้ในการเดินงานการเมือง ผมใช้เวลาในการปรับทัศนะของเขาเหล่านี้ให้ “ก้าวหน้า” และเห็นภาพเดียวกับอาจารย์สมศักดิ์ฯ และผม ซึ่งเป็นเรื่องยากและใช้เวลา บางครั้งต้องรอจนสถานการณ์จริงเกิดขึ้นแล้วจึงถึงบางอ้อ ส่วนคนที่เห็นแล้วจน “ตาสว่าง” แล้ว ก็มีลักษณะพฤติกรรมการเมืองแบบ “ฉันเป็นฉันเอง” เป็นส่วนใหญ่ เป็นแนวร่วมกันได้ แต่จับมาใส่กรอบปฏิบัติการเดียวกันอย่างมีวินัยและวิถีปฏิบัติรวมหมู่ทีไร เกิดปัญหาทุกที บางคนวิ่งหนีเอาดื้อๆ พึ่งพาอะไรในยามหน้าสิ่วหน้าขวานไม่ได้ ผมจึงต้องระวังมิให้การสื่อสารใดๆ ทำให้เขาวิ่งหนีไปไกลกว่านั้นก่อนที่เราจะมีโอกาสอธิบายความอย่างเป็นระบบจนเขาเกิดความเข้าใจถ่องแท้
คนแวดล้อมและสิ่งแวดล้อมนั้น ผมหมายความถึงทุกอย่างในขบวนประชาธิปไตย ตั้งแต่เพื่อนฝูงญาติมิตร ทีมงาน กลุ่มมวลชน ไปจนถึงพรรคเพื่อไทยและนายกทักษิณฯ
แต่นั่นคือปัญหาที่ผ่านมา ขณะนี้ผมคิดว่าเวลาของการอธิบายความอย่างเป็นระบบ เปิดเผย ทั้งสำหรับผู้คนในสิ่งแวดล้อมของผมและสาธารณชนมาถึงแล้ว พวกเราหลายคน รวมทั้งตัวอาจารย์เอง ทั้งใน “ฟ้าเดียวกัน” และอื่นๆ ได้ช่วยอธิบายความทางสังคมจนประเด็นสถาบันกษัตริย์เป็นเรื่องที่พูดได้ฟังได้แล้ว โอกาสจะตั้งสติจนคิดแตกแขนงได้เกิดขึ้น ไม่จำเป็นต้องพูดเฉียดไปเฉียดมาแบบอุปลักษณ์หรือลงไปนั่งทำงานอยู่ใต้ดินอย่างเดียว
ตอบอาจารย์สมศักดิ์ฯ ด้วยความเคารพว่า ผมเห็นแล้วว่าการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริง โดยไม่วิพากษ์สถาบันกษัตริย์อย่างเป็นวิชาการ จริงจัง และเป็นสาธารณะนั้น เป็นไปไม่ได้อีกแล้ว
การนำเสนอด้วยกลวิธีแบบอุปลักษณ์อย่างเดียว ไม่อาจเข้าถึงความคิดและทัศนะของคนไทยส่วนใหญ่ที่ถูกครอบงำด้วยเครื่องมือทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม จนมองไม่เห็นว่าเราอยู่ในสภาพอย่างไรได้ ผู้ที่ “รู้อยู่แล้ว” ยังไม่มีพลังพอจะเปลี่ยนแปลงสังคมเพื่อให้ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงเกิดขึ้นได้ เราต้องเข้าถึงคนกลุ่มใหญ่กลุ่มนี้
แต่ผมคงต้องทดสอบตัวเองว่ามีความสามารถเพียงพอหรือไม่ งานวิชาการชั้นดีใช้ความสามารถและความอดทนอย่างสูงในการผลิต
ต้องเลี่ยงที่จะไม่หมกมุ่นกับงานนั้นๆ จนนึกว่าการตีความของตนเองเป็น “ความจริง” ในทุกกรณี จนภาวะจิตติดขัดและไม่อาจเดินงานในโลกของคนที่อ่อนวิชาการได้
ส่วนที่เขียนแบบอุปลักษณ์เพื่อความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงความผิดทางกฎหมายนั้น ให้สบายใจได้ว่าผมไม่เคยคิดและเห็นเป็นเรื่อง “อุดหูขโมยระฆัง” เสียด้วยซ้ำ
อาจารย์คงจำนิทานจีนเรื่องนี้ได้ คนเขลาคนหนึ่งแกจะขโมยระฆังหน้าบ้านเศรษฐี แต่กลัวระฆังจะดังแล้วคนในบ้านจะรู้ ก็เลยทำอย่างแยบคายด้วยการเอาดินอุดหูตัวเองแล้วจึงเอื้อมมือคว้าระฆังใบนั้น ผลคือตัวเองไม่ได้ยินอยู่คนเดียว แต่คนอื่นเขาได้ยินหมดทั้งบ้าน ในที่สุดถูกจับไปโบยหลังเสียอานไป
ผมรับแนวคิดของอาจารย์ครับ แต่ขอเวลาสักนิด.
--------------------------------------------------------------------------------
TPNews (Thai People News): ข่าวสารสำหรับผู้รักประชาธิปไตย เที่ยงตรง แม่นยำ ส่งตรงถึงมือถือทุกวัน สมัครวันนี้ ใช้ฟรี 14 วัน พิมพ์ PN ส่งมาที่เบอร์ 4552146 ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน (เฉพาะ DTAC 30 บาท/เดือน) Call center: 084-4566794-6 (จ.- ศ. 9.30-17.30 น.)
--------------------------------------------------------------------------------
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น