ความยุติธรรมและความเสมอภาคที่แท้จริงไม่มีในโลกใบนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเลือกข้างและกำหนดจุดยืนให้ชัดเจน เพื่อจะก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...
3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ
2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์
1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์
สด จาก เอเชียอัพเดท
วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 20 ใครสับสน?
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ก่อนรัฐประหาร
ตอนที่ 20 : ใครสับสน?
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
**************************************************************************
ตอนที่ 20 : ใครสับสน?
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
**************************************************************************
สังคมไทยที่เน้นการรักษาหน้า ไม่แสดงความคิดเห็นแหวกแนวรุนแรงจนเข้าหน้ากันไม่ติด หรือถือเรื่องผู้ใหญ่ผู้น้อยมากกว่าความถูกความผิด จะให้ประชาธิปไตยมันงอกงามอย่างไร
**************************************************************************
ใครสับสน?
ฝรั่งกลุ่มใหญ่ชวนผมไปพูดอะไรให้เขาฟังเมื่อคืนนี้ โดยให้เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองที่กำลังคุกรุ่นอยู่ คนเหล่านี้มาจากหลากหลายประเทศและทำธุรกิจที่ไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่เป็นไปตามแบบฉบับคือแต่งงานกับผู้หญิงไทยและตั้งใจจะอยู่เมืองไทยนาน
คุยกับฝรั่งเป็นร้อยๆ คนแล้วผมก็แบ่งเขาออกได้เป็นสองกลุ่ม
ไม่ใช่ฝ่ายสนับสนุนหรือคัดค้านคุณทักษิณฯ แต่แบ่งตามระยะเวลาที่แต่ละคนอยู่ในเมืองไทยมา
กลุ่มที่เพิ่งจะมาอยู่เมืองไทย เอาเป็นว่าต่ำกว่าห้าปี จะบ่นว่าสถานการณ์การเมืองในขณะนี้สับสนเหลือเกิน อ่านไม่ออก วิเคราะห์ไม่ได้ ไม่รู้ว่าจะวางแผนลงทุนทำการค้าไปในทิศทางไหนแล้ว
อีกกลุ่มเป็นมือเก่า อยู่เมืองไทยมาเป็นสิบปี จะยักไหล่แล้วบอกว่า ไม่เห็นมีอะไรที่จะสงสัยสับสนอะไรเลย สิ่งที่เกิดขึ้นมาจนกระทั่งบัดนี้ เป็นอาการของ “ประชาธิปไตยใหม่” หรือ “young democracy” เท่านั้นเอง
ผมได้ฟังไปนานๆ และเปรียบเทียบระหว่างคนสองกลุ่มแล้วก็เห็นอะไรสว่างขึ้นมาก ฝรั่งสองกลุ่มนี้ไม่แตกต่างอะไรนักกับคนสองรุ่นหรือสองยุคในเมืองไทยปัจจุบัน
กลุ่มแรกคล้ายกับ “คนรุ่นใหม่” ในเมืองไทย ที่คุ้นเคยกับทฤษฎีประชาธิปไตย หลับตาก็นึกถึงภาพพรรคการเมือง นักการเมือง การเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญ การอภิปรายทั้งในและนอกสภา รัฐบาล ฝ่ายค้าน ฯลฯ คนกลุ่มนี้เห็นว่าองค์ประกอบเหล่านี้เป็นธรรมดาของสังคม จะขัดแย้งกันบ้างเล็กน้อยก็ไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้นหวาดเสียวอะไร
แต่เมื่อเกิดการถกเถียงเช่นว่า จะเลือกตั้งหรือไม่เลือกตั้ง จะเลื่อนเลือกตั้งดีหรือไม่ นายกรัฐมนตรีจากมาตรา ๗ จำเป็นหรือไม่ ก็จะเกิดความไม่สบายใจ เพราะรู้สึกอยู่ลึกๆ ว่าทำไมสิ่งที่ควรเป็นมันไม่เป็น และทำไมมาตั้งคำถามลงลึกไปถึงขั้นพื้นฐานอย่างนี้อีก
เพราะไปนึกว่าเมืองไทยพัฒนาจนผ่านขั้นตอนนั้นมาแล้ว
กลุ่มหลังเป็นผู้ใหญ่ที่เห็นโลกมามากกว่า โดยเฉพาะฝรั่งที่ทันเห็นเผด็จการเมืองไทยมาหลายยุค และเห็นประชาธิปไตยระยะอนุบาลมาหลายครั้ง เห็นการยึดรัฐประหารอำนาจ เห็นการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแบบที่รุนแรงและตามครรลองนับครั้งไม่ถ้วน
แต่ชีวิตของแต่ละคนก็ดำเนินต่อไป ราวกับว่าอำนาจรัฐเป็นสมบัติผลัดกันชม ไม่กระทบอะไรกับวิถีชีวิตของคนอื่นๆ ในประเทศเลย
คนเหล่านี้ช่วยอธิบายเสียอีกว่า ในสังคมไทยที่เน้นการรักษาหน้า ไม่แสดงความคิดเห็นแหวกแนวรุนแรงจนเข้าหน้ากันไม่ติด หรือถือเรื่องผู้ใหญ่ผู้น้อยมากกว่าความถูกความผิด จะให้ประชาธิปไตยมันงอกงามอย่างไร ถึงจะมีรัฐธรรมนูญกำกับอยู่ทุกฝีก้าวว่าต้องเป็นประชาธิปไตยอย่างนั้นอย่างนี้ ก็เป็นเรื่องของกระดาษปึกหนึ่งเท่านั้นเอง
วัฒนธรรมประชาธิปไตยจริงๆ ต้องใช้เวลาอีกนานนัก
ฝรั่งอเมริกัน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สวิสส์ และอีกหลายๆ คนที่ผมนั่งคุยเฮฮาด้วย แย่งกันเล่าว่าประชาธิปไตยของเขาได้มาด้วยความลำบากยากแค้นอย่างไร และให้กำลังใจว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่สุด
ผมก็ย้อนถามว่า แล้วจะอยู่เมืองไทยต่อไปไหมเล่า
คนหนึ่งตอบทันทีว่า เพิ่งจะสร้างโรงงานใหม่อีกสองโรง อีกคนหนึ่งบอกขายบ้านและทรัพย์สินที่ประเทศตนเองหมดแล้ว และย้ายเข้าเมืองไทยอย่างสมบูรณ์เมื่อปีกลายนี้เอง
ฟังแล้วก็ชื่นใจดี
ข้อคิดจากงานเมื่อคืนนี้ออกจะลึกซึ้งอยู่นะครับ หลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตเป็นการมองภาพรวม (perspective)
ถ้าไปคว้าเอาจุดใดจุดหนึ่งมามอง ก็อาจจะโวยวายว่าไม่ถูกต้อง ไม่ควรมี ไม่ควรเป็น แต่ถ้าเห็นสิ่งที่มาก่อนและหลังจากนั้น ต่อภาพเข้าด้วยกันแล้วอาจจะได้ทัศนะใหม่ สามารถมองปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเรียบเฉยและเข้าใจลึกซึ้งกว่าเก่า
เพราะชีวิตจริงไม่ใช่ภาพนิ่ง แต่เป็นภาพยนตร์.
----------------------------------------------------------------------------------
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น