ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 23 อำนาจเดิมกับอำนาจใหม่


ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ก่อนรัฐประหาร
ตอนที่ 23 : อำนาจเดิมกับอำนาจใหม่
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)

******************************************************************************
เขย่าด้วยวิธีการต่างๆ จนประชาชนที่กำลังตื่นเต้นกับอำนาจใหม่กลับฝ่อลงไปอีก แล้วกลับไปนึกในใจว่าเผด็จการก็คงจะดีเหมือนกัน
******************************************************************************

อำนาจเดิมกับอำนาจใหม่

นักเรียนรัฐศาสตร์คนใดที่สนใจเรื่องของรอยต่อประชาธิปไตย ระหว่างอำนาจนิยมเดิมกับประชาธิปไตยใหม่ จะต้องจับตามองเมืองไทยในขณะนี้ให้ดี จะได้ความรู้มาก

ส่วนรู้แล้วจะสดใสหรือเศร้าสร้อยเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ขณะนี้มีแรงกดดันอย่างผิดปรกติที่จะทำให้คุณทักษิณฯ เอ่ยปากออกมาให้ได้ว่า จะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายหลังจากการเลือกตั้ง ถึงขนาดออกโรงกันเป็นเครือข่ายเลยทีเดียวว่า ประชาธิปไตยไม่ต้องเริ่มจากการเลือกตั้งก็ได้

เกือบจะบอกตรงๆ อยู่แล้วว่าถ้าคุณทักษิณฯ ยืนยันจะเป็นนายกรัฐมนตรีต่อ การไล่ล่ารังควาญจะดำเนินต่อไปจนถึงกำหนดเลือกตั้ง และถ้าสาดไฟต่างๆ ใส่แล้วยังแข็งอยู่ได้ ก็จะเดินต่อไปถึงขั้นรุกฆาต คือทำให้ไม่ต้องเลือกตั้งเลย ยกเลิกกระบวนการไปเฉยๆ อย่างนั้นเอง

โดยใช้ข้ออ้างคลาสสิค ๒ ข้อ หรือข้อใดข้อหนึ่งก็ได้

หนึ่ง - อ้างว่าปฏิรูปการเมืองสำคัญกว่าการเลือกตั้ง ถ้าไม่ปฏิรูปการเมืองเสียก่อนก็จะเกิดความวุ่นวายทางการเมืองเหมือนเดิมอีก

คนที่อ้างข้อนี้จะไม่สาธยายต่อไปว่า แล้วใครเล่าเป็นผู้สร้างความวุ่นวายทางการเมือง? ทำราวกับว่าการประท้วงอย่างจาบจ้วงรุนแรง การละเมิดอำนาจฝ่ายบริหารโดยฝ่ายต่างๆ แม้กระทั่งความตั้งใจจะสังหารผลาญชีวิตผู้นำ เป็นเรื่องธรรมดาเสียเหลือเกิน

สอง - อ้างว่าสถาบันหลักของประชาธิปไตยไม่อยู่ในฐานะที่จะรองรับการเลือกตั้งได้ เพราะรัฐบาลกำลังจะหมดอายุ วุฒิสภากำลังจะหมดอายุ สภาผู้แทนราษฎรไม่มี คณะกรรมการการเลือกตั้งยังไม่อาจเข้ารับหน้าที่ได้ทัน

ขอมีนายกรัฐมนตรีโดยวิธีพิเศษไปพลางก่อน

เมืองไทยเราไม่ได้มีประชาธิปไตยที่แข็งแรงนัก เปลี่ยนแปลงการปกครองมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๕ เพิ่งจะมีรัฐบาลที่ทำงานได้เต็มวาระสี่ปีเอาเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๔-๒๕๔๘ นี่เอง และหลังจากนั้นก็ประสบโศกนาฏกรรมทางการเมืองมาโดยตลอดจนกระทั่งบัดนี้

อำนาจของรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นของใหม่ไปด้วย ถ้าจะพูดตรงๆ ไม่เกรงใจกันก็คือเขี้ยวยังไม่ยาวพอที่จะครองประเทศได้ตามที่รัฐธรรมนูญเรียกร้องต้องการ

ผิดกับอำนาจเดิมที่สถิตอยู่ในที่ต่างๆ เช่น กองทัพ ระบบราชการพลเรือน สำนักองคมนตรี พรรคประชาธิปัตย์ ฯลฯ ที่รู้จักประเทศไทยดีนัก ขนาดที่กะจังหวะของอารมณ์คนไทยได้อย่างแม่นยำ

รู้ว่าเมื่อไหร่คลั่งประชาธิปไตย จะเอานายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งให้ได้

รู้ว่าเมื่อไหร่เบื่อหน่ายนักการเมือง อยากได้คนที่ไม่ได้อยู่ในการเมืองมาปกครองแทน

รู้ว่าเมื่อไหร่กลับเป็นเด็กอีกครั้ง อยากให้ใครก็ได้เข้ามาเสกคาถาทำให้ความทุกข์ร้อนของตนสิ้นสุดลงไปราวกับปลิดทิ้ง โดยที่เจ้าตัวไม่ต้องทำอะไรเลย นอกจากคอยทำตัวให้น่าสงสารน่าเวทนา

เรื่องแบบนี้รัฐบาลพรรคไทยรักไทย ซึ่งถือเป็นตัวอย่างของอำนาจใหม่ ไม่ประสีประสาเอาเลยแม้แต่น้อยนิด

นึกง่ายๆ แบบของตัวว่าทำผลงานมากๆ แล้วประชาชนจะชอบ คนอื่นที่ครองอำนาจอยู่เดิมจะพอใจไม่พอใจ หรือจะหมั่นไส้รำคาญใจอย่างไรก็ช่างเขา ฉันไม่ได้ขอข้าวเธอกินนี่

หารู้ไม่ว่าอำนาจเดิมนั้นคือผู้อนุญาตให้อำนาจใหม่เกิดขึ้นได้ ถ้าอำนาจใหม่ทำแหลมจนเกินไปหรือคิดจะเอาเป็นของตัวเลย ก็จะเกิดฟ้าร้องฟ้าผ่า มีอิทธิฤทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ มากมายเกิดขึ้น

เขย่าด้วยวิธีการต่างๆ จนประชาชนที่กำลังตื่นเต้นกับอำนาจใหม่กลับฝ่อลงไปอีก แล้วกลับไปนึกในใจว่าเผด็จการก็คงจะดีเหมือนกัน

เพราะประชาชนถูกทำให้ลืมไปว่าประเทศนี้เป็นของเขา

ก็น่าลืมอยู่หรอกครับ ถ้าระลึกได้แล้วเกิดกลุ้มใจถึงขนาดนี้.
---------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น