ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 4 เห่อดีเบต


ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ก่อนรัฐประหาร
ตอนที่ 4 เห่อดีเบต
โดย : กาหลิบ

----------------------------------------------------------------------------------
ระบบรัฐสภานั้นแปลว่า อย่าไปตู่ว่าข้าพเจ้าจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีแน่ๆ เพราะอาจจะมีการจัดตั้งเป็นรัฐบาลผสม หัวหน้าพรรคที่มั่นใจนักหนา อาจจะไม่มีโอกาสเป็นก็ได้
----------------------------------------------------------------------------------

“เห่อดีเบต”

กำลังเห่อได้ที่ทีเดียวสำหรับสิ่งที่เรียกว่า “ดีเบต” หลังจากที่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ออกมาโหมโฆษณาตัวเองและพรรคด้วยข้อเสนอต่างๆ ทางนโยบาย และท้าให้หัวหน้าพรรคไทยรักไทยให้ออกมาโต้กันในโทรทัศน์

เรียกอย่างเท่ว่า ดีเบต แต่ไม่ยักสะกดเป็นภาษาอังกฤษให้ด้วยว่า debate ไหนๆ จะไปหยิบของเขามา ไม่ได้คิดเองแล้วก็ควรจะให้เกียรติกันเสียหน่อย

เป็นการปิดท้ายให้ระทึกใจเล็กๆ ตามแบบฉบับของให้ข่าวทางการเมือง เพื่อให้นอนลุ้นไปทั้งคืนว่าคุณทักษิณฯ จะตอบอย่างไร

ถ้าตอบรับก็จะช่วยยกระดับของผู้ท้าทาย เพราะอีกฝ่ายเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ถ้าตอบปฏิเสธก็จะคอยโห่ฮาว่าไม่แน่จริง (นี่หว่า)

คำนวณว่าได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง

ความจริงการโต้คารมและความคิดในเรื่องของบ้านเมืองเป็นสิ่งที่น่าสนับสนุน เพราะอำนาจรัฐเป็นของศักดิ์สิทธิ์และมีความพิเศษ นำไปใช้ทำงานต่างๆ ได้สารพัด กว่าสังคมจะยอมให้ใครก้าวเข้ามาได้อำนาจรัฐก็ต้องขอพิสูจน์ความสามารถกันอย่างจริงจัง โดยมักเริ่มต้นจากความสามารถในการคิด วิเคราะห์ปัญหา และหาทางออกที่ดีที่สุดเพื่อประกาศเป็นนโยบายออกมา กระบวนการนี้ทำให้การนำเสนอแนวความคิดทางการเมืองและวิพากษ์ตามหลังกลายเป็นกิจกรรมที่มีความหมายและกลายเป็นสีสันทางการเมือง จนเกิดเป็นวัฒนธรรมขึ้นมาหลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ฯลฯ

แต่เมื่ออุตส่าห์เรียกทับศัพท์ว่าดีเบต ก็ต้องแอบสรุปว่าคงจะยกมาจากประเพณีการเมืองอเมริกันเป็นแน่ เพราะที่สหรัฐฯ นั้นเขาใช้คำว่า presidential debate กันมานาน อันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสรรหาและเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศ

มีลักษณะจำเพาะที่ควรรู้ บางอย่างก็ไม่สอดคล้องกับประเพณีและวิถีทางทางการเมืองของไทยนัก

การโต้คารมทางโทรทัศน์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เริ่มต้นจากปัญหาทางการเมืองแท้ๆ ไม่ใช่นวัตกรรมในยามปรกติเลย สหรัฐฯ จะเป็นประชาธิปไตยก้าวหน้าทันสมัยขนาดไหนไม่รู้ล่ะ แต่ผู้หญิงเพิ่งจะได้รับสิทธิในการใช้สิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งเมื่อไม่นานนี้เอง ตามหลังผู้ชายเป็นร้อยปี (ส่วนเมืองไทยนั้นได้รับสิทธิ์พร้อมกันทั้งหญิง ชาย และเกย์)

เมื่อได้รับสิทธิ์มาอย่างยากลำบากเลือดตาแทบกระเด็นแล้ว สตรีอเมริกันก็รวมตัวกันขึ้นเป็นสันนิบาต เรียกว่าสันนิบาตสตรีผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง นัยว่ารวมกันไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ชายแอบมาแย่งเอาสิทธิ์นั้นกลับไปอีก

แต่ผู้ชายก็ไม่ยอม ยังหาทางกีดกันต่างๆ นานาไม่ให้ผู้หญิงได้เข้าร่วมในกิจกรรมทางการเมืองต่างๆ ได้โดยง่าย เช่น ตั้งสโมสรการเมืองชนิดห้ามผู้หญิงย่างเท้าเข้าไป ฯลฯ ผู้หญิงจึงพบว่าตนเองมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง แต่กลับขาดข้อมูลที่จะตัดสินใจได้ว่าผู้สมัครคนใดดีกว่ากัน เพราะฐานข้อมูลไม่ได้ชุกชุมดกดื่นเหมือนทุกวันนี้

ก็เลยใช้สันนิบาตนั่นเองในการเชิญผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีจากทุกพรรคมาพูดให้ฟัง และจัดรูปแบบให้พูดกันต่อหน้าสดๆ เรียงประเด็นไปตามสำคัญและความสนใจของสมาชิกในสันนิบาต

ปรากฏว่า....สุดฮิต

เป็นที่นิยมขนาดหนักทั้งในหมู่ผู้หญิงและผู้ชายผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง เบียดเสียดยัดเยียดเข้าไปดู จนในที่สุดต้องขายบัตร หมดแล้วหมดกัน

ต่อมาก็พัฒนาการไปไกล มีทั้งการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุ จนถ่ายทอดทางโทรทัศน์ไปทั่วประเทศ และถ่ายทอดสดผ่านอินเตอร์เน็ตร่วมด้วยอย่างในปัจจุบัน รูปแบบการโต้คารมก็ขยายจากรอบเดียวจบ จนกลายเป็นสามรอบ

สรุปแล้วสหรัฐฯ เขาคิดกระบวนการดีเบตขึ้นมาเพราะขาดข้อมูล แต่เหตุผลที่ออกจะสำคัญมากคือเขาใช้ระบบประธานาธิบดีในการบริหารประเทศ แปลว่าใครก็ตามที่เข้าร่วมการดีเบต คนใดคนหนึ่งในจำนวนนั้นจะก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีแน่

แต่ของไทยเรานั้นข้อมูลมากมายเนืองนอง ทั้งข่าวจริงข่าวปล่อย ได้รับฟังข้อมูลเกี่ยวกับการเมืองเสียจนกระทั่งไม่อยากฟัง

และระบบรัฐสภานั้นแปลว่า อย่าไปตู่ว่าข้าพเจ้าจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีแน่ๆ เพราะอาจจะมีการจัดตั้งเป็นรัฐบาลผสม หัวหน้าพรรคที่มั่นใจนักหนาอาจจะไม่มีโอกาสเป็นก็ได้ ไม่ว่าจะไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ หรือชาติไทยล่ะ

เพราะประชาชนคือผู้ตัดสินในท้ายที่สุดว่าใครจะเป็นใคร

ต้องระลึกไว้เสมอครับว่าประชาชนอยู่ด้านเดียวกับคนไถนา ไม่ใช่อีกด้านหนึ่งของคันไถ.

---------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น