ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หุ่นเชิดหุ่น โดย กาหลิบ


คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?

เรื่อง หุ่นเชิดหุ่น

โดย กาหลิบ

    

การเมืองไทยเวลานี้ หากยืนมองอยู่ใกล้เกินไป เราจะเห็นภาพใหญ่ได้ยาก เราจะนึกว่าเพ่ือไทยปะทะประชาธิปัตย์และภูมิใจไทย เราจะเผลอคิดว่าการเลือกตั้งจะตัดสินว่าอำนาจเก่าและอำนาจใหม่ (คือประชาชน) นั้นใครจะแน่กว่ากัน เราจึงรู้สึกยินดียินร้ายไปกับกิจกรรมการเมืองในครั้งนี้จนบางทีก็มากเกิน

    

ความจริงงานนี้เป็นหุ่นเจอกับหุ่น และไม่ใช่หุ่นอดีตนายกรัฐมนตรีปะทะตัวแทนของฝ่ายอำนาจเก่าเสียด้วย

    

งานนี้เริ่มออกลายเป็นการเมืองระหว่างประเทศมากขึ้นทุกวัน เพราะมีผลประโยชน์ที่ขัดกันของชาติต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง หุ่นปะทะหุ่นในชั่วโมงนี้ จึงเป็นหุ่นของประเทศที่เกี่ยวข้องอย่างเร้นลับกับความขัดแย้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสัมพันธ์กับความขัดแย้งในระดับรัฐชาติของไทยอย่างกลมกลืน

    

พูดให้ชัดคือไทยไม่ได้สร้างความขัดแย้งกับกัมพูชารอบนี้เพราะสนุกที่จะมีเรื่อง หรืออัตตาใหญ่โต แต่งานนี้เป็นการกระทำตาม “สั่ง” ของอำนาจที่เหนือกว่าประเทศไทย ผู้มีอำนาจในไทยบางคนถูก “สั่ง” ให้เตรียมเปิดสงครามนั้นโดยคำสั่งที่ตกลงมาเป็นทอดๆ

    

นายพลระดับบัญชาการรบของไทยหลายคนยังไม่รู้เลยว่าความขัดแย้งในครั้งนี้เกิดจากอะไร มีเป้าหมายอันแท้จริงอย่างไร และจะไปจบลงตรงไหน

    

รู้แต่ว่าคำสั่งคือ เตรียมทำสงครามไว้ตลอดเวลา และเข้าทำการรบ (engagement) เป็นระยะๆ ประเภทสามสี่เดือนหรือหกเดือนครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นแนวทางที่ “ลงมา” ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๐ โน่นแล้ว 

    

การเมืองระหว่างประเทศที่มีมหาอำนาจเข้ามาเกี่ยวข้องนั้น มีจุดยืนอยู่เพียง ๓ อย่างเสมอมา:


๑. รักษาระเบียบของโลกแบบที่ตนเองได้รับประโยชน์

๒. ฉกฉวยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแบบใช้อำนาจบาตรใหญ่ 

๓. การครอบงำทางวัฒนธรรม ความคิด และความเชื่อ 

    

ในแถบเอเชียตะวันนอกเฉียงใต้หรืออุษาคเนย์ ผลประโยชน์ทางการเมืองและความมั่นคงของมหาอำนาจมีไม่มากนักในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับยุคสมัยแห่งทฤษฎีโดมิโนและสงครามเย็น แต่ความสำคัญทดแทนกลับเป็นผลประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในแง่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจระยะยาว เรากำลังพูดถึงแหล่งพลังงานและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของรัฐสมัยใหม่และเพื่อความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่ยิ่งขึ้น 

    

เมื่อผลสำรวจเกิดชี้ชัดว่า ในอ่าวไทยและบริเวณใกล้เคียงอาจมีน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และแร่ธาตุหลายชนิดในปริมาณที่คุ้มทุน ถึงขนาดดึงน้ำมันขึ้นมาดูเล่นเป็นประเดิมได้ถึง ๙ ล้านบาร์เรล เมื่อราวๆ พ.ศ. ๒๕๕๒ เกมการเมืองระหว่างประเทศก็เปลี่ยนทันที

    

หลังเงียบสนิทมานานเกือบครึ่งศตวรรษ เพราะแพ้มติศาลสถิตยุติธรรมระหว่างประเทศในสิทธิเหนือปราสาทและเขาพระวิหาร รัฐบาลไทยไม่ว่าจะชุดไหนต่างก็เงียบเสียงและไร้นโยบายในเรื่องนี้จนเหมือนเรื่องนี้ไม่เคยเกิดขึ้นโลกหรืออยากจะลืมมันให้สนิทเท่านั้น 

    

แต่แล้วจู่ๆ กลุ่มที่เรียกตนเองว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่รับงานมาจากไหนก็ไม่รู้แน่ ก็ออกมาโหมเรื่องนี้แบบคนเชียร์แขกค้าประเวณี จนกระทั่งรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ต้องรับลูกไปเล่นในสภาผู้แทนราษฎรและต้องแบกเอาไว้บนบ่าเมื่อตัวเองกระทำการฉ้อฉลจนได้เป็นรัฐบาล 

    

ความหมายที่แท้จริงคือคนใหญ่กว่าไทยเขาเลือกกดปุ่มให้เล่นเรื่องนี้เรียบร้อยแล้ว คนที่คอยรับงานมาประสานอย่างใกล้ชิดก็คือเจ้านายของคุณประพันธ์ คูณมี ซึ่งเป็นแกนนำพันธมิตรฯ ที่ออกมาจี้ไชในเรื่องนี้ เขาคือนาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริที่ได้พูดถึงไปในคราวก่อน 

    

แรงกดดันไม่ได้มาที่ตัวคุณประสงค์ฯ ผู้เป็นเพียงเสมียนหน้าหอ แต่ตรงลิ่วไปยังหุ่นเชิดตัวใหญ่ที่สุดของราชอาณาจักรไทยที่ผู้มีอำนาจเหนือประเทศเขาเลือกเป็นหุ่นเชิดของเขามานานนับทศวรรษ

    

แผนการทหารจึงถูกวาง และการหาเรื่องกัมพูชาจึงเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มต้นมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๐

    

ปราสาทพระวิหาร และพื้นที่โดยรอบ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาควาย ดินแดนข้อพิพาท  ๔.๖ ตารางกิโลเมตร จงชิดซ้ายไป

    

น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และอื่นๆ ในอ่าวไทยเขาเร่งเครื่องขึ้นมาแล้ว!


-------------------------------------------------------------------------------

ช่วยสนับสนุน SMS-TPNews พิมพ์ PN กดส่งมาที่เบอร์4552146 สมัครวันนี้ ใช้ฟรี 14วัน ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน รายได้เป็นค่าใช้จ่ายในการทำงานต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย Call center : 084-4566794-5 (จ.- ศ. 10.00-18.00น.)/e-mail :tpnews2009@gmail.com/บล็อก:http://wwwthaipeoplenews.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น