ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สมดุลนอก-ใน โดย กาหลิบ

คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?

เรื่อง สมดุลนอก-ใน

โดย กาหลิบ


ในการปกครองบริหารรัฐ เราต้องพิจารณาปัจจัยแวดล้อมทางอำนาจทั้งสองส่วนคือปัจจัยภายใน (internal/domestic determinants) และปัจจัยภายนอก (external / cross-national determinants) จึงจะถือว่ามองครบ รัฐหรือประเทศในโลกปัจจุบันต้องมองอย่างนี้ทั้งนั้น ในใจของผู้ปกครองอาจอยากปิดประเทศเป็นกบในกะลาเพื่อผูกขาดในอำนาจต่อไป แต่ก็จะทำไม่ได้โดยสะดวก ขนาดมหาอำนาจผู้มีอำนาจเหนือรัฐอื่นๆ ยังไม่อาจทำได้ และต้องน้อมยอมรับการมีส่วนร่วมของปัจจัยแทรกสอดเหล่านี้เพิ่มขึ้นทุกวัน

การแทรกสอดเหล่านี้สามารถช่วยเพิ่มความเป็นประชาธิปไตยให้กับรัฐหรือประเทศนั้นๆ ได้หากบริหารด้วยสติปัญญาและความไม่ประมาท แต่ถ้าทำอย่างขลาดเขลาหรือเห็นแก่ตัว สถานการณ์ก็อาจเลวร้ายลงถึงขั้นต้องปฏิวัติโดยประชาชนซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งจะทำให้บอบช้ำมาก

รัฐบาลโดย คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากนี้

หลายปีมาแล้วที่ปัจจัยภายในของไทยคือตัวกำหนดแนวคิดในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและในการบริหารจัดการประเทศ โดยแทบจะลืมปัจจัยภายนอกไปเลย

คิดกันอย่างกระเส็นกระสายบ้าง ก็เป็นเรื่องของการเมืองระหว่างประเทศแบบระทึกใจ ที่เขาเรียกกันว่า foreign intrigues เช่น ซีไอเอแอบหนุนฝ่ายตรงข้าม เพื่อนบ้านแอบส่งอาวุธเข้ามาหนุนการสู้รบในประเทศ เป็นต้น ราวกับจะสร้างภาพยนตร์เอาไว้ฉายดูเล่น

ปัจจัยภายนอกที่สำคัญคือ การแข่งขันและการเติมเต็มระหว่างชาติในทางเศรษฐกิจ การใช้สื่อที่มีลักษณะไร้พรมแดน การหลอมรวมและขัดแย้งทางวัฒนธรรม ความเป็นพลโลก (ที่ตีคู่ไปกับความเป็นพลเมืองของแต่ละชาติ) และการพัฒนาทางนวัตกรรม/เทคโนโลยี

สิ่งเหล่านี้ห่างจากประเด็นภายในที่เราสนใจกันนักหนา ไม่ว่าการต่อสู้ระหว่างไพร่-อำมาตย์ การขับเคลื่อนขบวนการเสื้อแดง บทบาทในเชิงสาระและสัญลักษณ์ของชนชั้นบนกับผู้มาใหม่อย่าง พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และอื่นๆ หรือไม่?

คำตอบคือ ใกล้กับตัวเราอย่างที่สุด ใกล้มากกว่าที่เราเคยนึก ใกล้กว่าที่เราอยากยอมรับ

รัฐบาลชุดใหม่ของไทยเกิดขึ้นในขณะที่ทั่วทั้งโลกกำลังจับตามองว่าสหรัฐอเมริกาจะหาทางออกทางเศรษฐกิจให้กับตนเองอย่างไร

บารัค โอบาม่าอยู่ในสภาพว่ายวนอยู่ในบ่อแคบๆ ต่อให้ฉลาดหลักแหลมอย่างไรในการสื่อสาร ก็ไม่อาจแทนที่ยุทธศาสตร์แท้จริงที่คนเขากำลังรอคอยและยังไม่ได้รับจนบัดนี้

เกิด รัฐประหารในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปลี่ยนตัวกรรมการผู้จัดการใหญ่ขององค์กรโลกที่มีบทบาทสูงสุดแห่งหนึ่งในการจัดการเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์โดยอาศัยเหตุผลในเรื่องชู้สาว ก่อนนำตัวแทนของสหภาพยุโรปอย่าง คริสทีน ลาการ์ด เข้ามาสวมตำแหน่งแทน

โอกาสที่สหภาพยุโรปจะ แทนที่สหรัฐอเมริกาในฐานะผู้จัดการเศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในมือ จะจัดการได้หรือไม่ก็ต้องดูกันต่อ

จีนเพิ่งแถลงข่าวที่ฟังแล้วน่าทึ่งและน่าขำไปพร้อมกัน รัฐบาลปักกิ่งบอกกับโลกว่ายินดีเข้าร่วมในกระบวนการเยียวยา (bail out) เศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่สหรัฐฯ ต้องลดค่าใช้จ่ายด้านการทหารและความมั่นคงเสียบ้างก่อน

ฟังดูแล้วเหมือนเกิดสิ่งที่ฝรั่งเขาใช้สำนวนว่า เปลี่ยนหัวโต๊ะ (turn the table) อย่างไรชอบกล จู่ๆ จีนกลับเป็นฝ่ายบอกสหรัฐฯ ว่าต้องมีนโยบายการทหารและความมั่นคงอย่างไร ทั้งๆ ที่อยู่ในสภาพกึ่งศัตรูกันมานานหลายสิบปี

บรรยากาศอย่างนี้ย่อมส่งผลที่กว้างขวางและลึกซึ้งต่อเศรษฐกิจโลก

ยิ่งรัฐบาลสหรัฐฯ ดูจะยังว่ายวนหาทางออกไม่ได้ เศรษฐกิจโลกก็เหมือนคนกลั้นหายใจอยู่ในน้ำ จะหมดแรงร่วงผล็อยเมื่อใดก็ไม่รู้

รัฐทุกรัฐรวมทั้งไทยจำต้องตระหนักในความจริงข้อนี้และเตรียมเชื่อมโยงการจัดการเศรษฐกิจในประเทศกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่างเหมาะสม

โปรดอย่าหมกมุ่นกับอันตรายจากเจ้าของบ้านเพียงอย่างเดียว อย่าลืมด้วยว่าบ้านหลังนี้ยังอยู่ในป่าและอยู่ท่ามกลางสิงสาราสัตว์ที่ล้อมรอบบ้านนั้นด้วย.

-----------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น