ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อัญมณีไทย (จะ) ไปจีน โดย ผศ.ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น

ทับทิม [Ruby] อยู่ในตระกูล Corundum ทับทิมมีสีแดงสด เป็นอัญมณีที่มีชื่อเสียงมากและนิยมกันแพร่หลาย มีความแข็งเท่ากับ 9 ถือว่าเป็นอัญมณีศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธ ทำให้เกิดกำลังใจแข็งแกร่งและเป็นที่เกรงกลัวของภูตผี และป้องกันอันตรายแก่ผู้สวมใส่คนไทยเชื่อว่า ทำให้เกิดลาภยศและก่อให้เกิดอำนาจ

----------------------------------------------------------------------------------

ไพลิน [Sapphire] เป็นพลอยในตระกูล Corumdum ไพลินเป็นพลอยมีค่าที่มีสีน้ำเงิน มีความแข็งเท่ากับทับทิม คือ9 ทนต่อแรงกระทบขีดข่วนได้พอสมควร เชื่อว่าผู้ใดที่สวมไพลินจะสามารถคาดการณ์สิ่งต่างๆได้ล่วงหน้า และป้องกันภัยจากศัตรูได้

---------------------------------------------------------------------------------


อัญมณีไทย (จะ) ไปจีน 
โดย :  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อักษรศรี พานิชสาส์น 
ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ที่มา :  นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 5 พ.ย. 52 
----------------------------------------------------------------------------------
ที่ผ่านมา สินค้าหลักของไทยที่ส่งออกไปจีน ล้วนอยู่ในกลุ่มวัตถุดิบ/กึ่งวัตถุดิบ เช่น คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน  หรือเม็ดพลาสติก รวมไปถึงสินค้าเกษตร เช่น ยางพารา มันสำปะหลัง  ในขณะที่  สินค้าสำเร็จรูปเพื่อป้อนผู้บริโภคจีนโดยตรงยังมีมูลค่าส่งออกไปตลาดจีนไม่มากนัก  ผู้ประกอบการไทยจำนวนไม่น้อยจึงต่างถอดใจด้วยความคิด/ความเชื่อที่ว่า “สินค้าไทยยากจะแข่งขันกับสินค้าที่จีนผลิตเองได้  เพราะราคาถูกกว่าและมีความหลากหลายกว่า”  แต่ดิฉันขอเห็นต่างนะคะ และคิดว่า “ไม่เสมอไป” โดยเฉพาะในกรณี “อัญมณีไทย”  เพราะมั่นใจว่า  เราพอ (จะ) สู้กับอัญมณีของจีนได้ค่ะ

 ดิฉันและทีมวิจัยจากศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพิ่งกลับจากการเดินทางไปเก็บข้อมูลและตระเวณสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในประเทศจีน เริ่มจากนครกวางโจว  เมืองพานหยู  เมืองเสิ่นเจิ้น ในมณฑลกวางตุ้ง บินต่อไปยังเมืองหางโจว และปิดท้ายที่มหานครเซี่ยงไฮ้  ภายใต้โครงการศึกษาโอกาสและอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนด้านอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศจีน ด้วยงบประมาณจากสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT


“หง-หลาน-เป่า”  (ทับทิม-ไพลิน) เป็นคำตอบจากชาวจีนเกือบจะทุกท่าน ทันทีที่ดิฉันยิงคำถามไปว่า “ถ้าพูดถึงอัญมณีไทยคุณจะคิดถึงอะไรก่อน”  แต่ปัญหาหรือคำบ่นที่มักจะตามมาทันทีเช่นกัน คือ จะทราบได้อย่างไรว่า “หง-หลาน-เป่า” สวยๆ ที่เห็นนั้นเป็นของจริงหรือของปลอม  คนจีนที่ให้สัมภาษณ์บางท่านยังย้อนถามกลับมาว่า ประเทศไทยมีการกำหนดหรือออก “มาตรฐาน” ของพลอยสีสวยๆ พวกนี้หรือไม่ จึงสะท้อน จุดอ่อนสำคัญของอัญมณีไทยในสายตาของจีน นั่นคือ  ปัญหาคุณภาพมาตรฐานสินค้าและสินค้าปลอม


ที่จริงแล้ว  ผู้บริโภคจีนวันนี้ มีเงิน มีรายได้มากขึ้น และพร้อมที่จะควักเงินจากกระเป๋าเพื่อครอบครองอัญมณีจากต่างประเทศ โดยไม่สนใจเรื่องราคา ขอเพียงมีรูปลักษณ์ที่สวยงาม และสามารถนำมาใส่เพื่ออวดโชว์สะท้อนสถานะทางสังคมได้  พูดง่ายๆ ก็คือ คนจีนมีเงินวันนี้ เขาไม่ต้องการสินค้าไร้คุณภาพ และรังเกียจของปลอมค่ะ


ในการเดินทางครั้งนี้  ดิฉันมีโอกาสสัมภาษณ์ คุณวินัย พรพิทักษ์สิทธิ์   ผู้มีประสบการณ์คร่ำวอดในการดูแลธุรกิจอัญมณีของทุนไทยในจีน ด้วยตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทแพรนด้า กวางโจว (จิวเวลรี่)  


หลังจากที่ได้พูดคุยสัมภาษณ์กันแบบเจาะลึก  และพาดิฉันและคณะวิจัยไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตของบริษัทฯ ในเมืองพานหยู   พาไปชมนิคมอุตสาหกรรมอัญมณี “ซาวาน” (ShaWan) ในศูนย์ World Mart  ของเมืองพานหยู    ต่อด้วยการพาไปชมร้านจำหน่ายปลีกของบริษัทฯ ในเมืองเสิ่นเจิ้น  จนเรียกได้ว่า  ช่วง 1 วันเต็มที่ได้พูดคุยและรับรู้รับฟังประสบการณ์ของคุณวินัย นับเป็นช่วงเวลาที่คุ้มค่ายิ่ง 


แพรนด้าได้เริ่มเข้ามาตั้งโรงงานในจีนเมื่อปี 2004  ในรูปแบบของทุนต่างชาติ 100 % ซึ่งในระยะแรกเน้นการใช้จีนเป็นฐานผลิตเพื่อการส่งออก แต่ต่อมาประมาณปี 2007  ได้ตัดสินใจเปลี่ยนกลยุทธ์เป็น “ผลิตในจีน ขายในจีน” ( Made in China, Sold in China) เพราะตระหนักถึงศักยภาพและกำลังซื้อที่มหาศาลของตลาดจีน


บริษัทฯจึงเริ่มหันมาพัฒนาสร้างตราสินค้าของตัวเองในจีน  และจนถึงวันนี้  มีเคาน์เตอร์จำหน่ายปลีก  8 แห่ง และมีร้านเฟรนด์ไชส์อีก   2 แห่ง โดยเน้นในกลุ่มสินค้าเครื่องประดับเงินและวางตำแหน่งในตลาดระดับกลาง-บน ภายใต้ตราสินค้า ESSE เน้นจุดแข็งในเรื่องคุณภาพโดยการฝังพลอยด้วยมือ  ซึ่งใช้ฝีมือในการเชื่อมทุกจุด  ในขณะที่  สินค้าคู่แข่งในจีนส่วนใหญ่เป็นงานติดกาว “ ถ้าลงไปเล่นตลาดล่าง  ก็คงจะสู้คู่แข่งจีนได้ยาก  เพราะต้นทุนเราสูงกว่า เช่น เราจ่ายค่าแรงแพงกว่า  เพราะต้องทำตามกฏหมายจีนทุกประการ  จึงต้องเน้นสร้างความโดดเด่นในเรื่องคุณภาพการผลิตและการออกแบบ”


ด้วยประสบการณ์ร่วม 5 ปี  ทำให้แพรนด้ามีความเข้าใจในตลาดจีนมากขึ้น  ทั้งในเรื่องของรูปแบบ และราคา และเน้นการออกแบบที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า คุณวินัยย้ำว่า  “ส่วนของการออกแบบถือเป็นหัวใจของงาน  บริษัทฯ จะใช้วิธีการออกแบบจากประเทศไทย เพราะยังไม่มั่นใจในเรื่องความซื่อสัตย์ หากทำการออกแบบในจีน อาจมีการลอกเลียนแบบ  แต่แม้ว่าจะออกแบบที่เมืองไทย ก็ต้องเน้นรูปแบบดีไซน์ที่สนองตลาดจีน” เนื่องจากตลาดอัญมณีในจีนมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาทำให้บริษัทฯ ต้องปรับตัวตามเทรนด์ของตลาดตลอดเวลาเช่นกัน


ในแง่ของการตัดสินใจซื้ออัญมณี/เครื่องประดับแต่ละประเภทจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ เช่น  ทองและเพชร จะซื้อกันมากในช่วงเทศกาลสำคัญ  เช่น  วันตรุษจีน วันเกิด วันแต่งงาน หรือวันครบรอบต่างๆ ในขณะที่ อัญมณีจากเงินหรือพลอยสี  เป็นการซื้อหาตามความชอบเช่นเดียวกับการเลือกซื้อสินค้าแฟชั่น ถ้าชอบรูปแบบ ชอบดีไซน์ สาวจีนรุ่นใหม่ก็จะตัดสินใจซื้อได้โดยง่าย


นอกจากนี้ ผู้บริโภคในมณฑลต่างๆ ของจีนก็มีรสนิยมความชอบที่แตกต่างกันไป  เช่น  คนจีนรวยในเซี่ยงไฮ้  ซึ่งรับอิทธิพลจากฝรั่งและเป็นเมืองที่เป็นแฟชั่นมากที่สุดของจีน  ชอบสินค้าหรู  มีราคาและเปลี่ยนแปลงตามแฟชั่น ที่สำคัญ คือ มีการแข่งขันสูงมาก  คุณวินัยเล่าว่า  “การทำตลาดอัญมณีในเซี่ยงไฮ้  ถ้าสินค้าไม่ได้มีความเป็นพิเศษหรือนำแฟชั่น จะขายได้ลำบาก  ลูกค้าพร้อมที่จะเปลี่ยนความนิยมตลอดเวลา มีแบรนด์คู่แข่งจำนวนมาก และบรรดาแบรนด์ดังระดับโลก มักจะใช้เซี่ยงไฮ้เป็นที่เริ่มต้นและลองตลาด”


ในขณะที่  คนจีนรวยในกวางตุ้ง ชอบอัญมณีเครื่องประดับเพื่อการลงทุน เช่น ทองคำ จึงนิยมซื้อไปเพื่อเก็บเป็นทรัพย์สิน  แต่ถ้าเป็นคนในวัยทำงาน  ผู้บริโภคสาวจีนรุ่นใหม่จะชอบเครื่องประดับแฟชั่นที่มีขนาดเล็ก  ดูน่ารัก มีรูปแบบโดดเด่น ไม่นิยมเครื่องประดับที่มีรายละเอียดมากเกินไป  ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของบริษัทฯ ภายใต้แบรนด์ ESSE  


เนื้อที่หมดแล้วค่ะ ก็หวังว่า ประสบการณ์ในการรุกตลาดจีนของ “อัญมณีสัญชาติไทยในแดนมังกร” รายนี้  จะช่วยเติมเต็มความหวังของผู้ประกอบการไทยรายอื่นๆ ที่สนใจจะเข้าไป  Made in China และ Sold in China นะคะ  สำหรับรายละเอียดผลการศึกษาจะนำมาผลิตเป็น “คู่มือการค้าการลงทุนอัญมณีเครื่องประดับในจีน”  ให้กับ GIT  และคาดว่าจะเผยแพร่ได้ภายในเดือนเมษายนปีหน้าค่ะ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น