ความยุติธรรมและความเสมอภาคที่แท้จริงไม่มีในโลกใบนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเลือกข้างและกำหนดจุดยืนให้ชัดเจน เพื่อจะก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...
3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ
2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์
1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์
สด จาก เอเชียอัพเดท
วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552
เฉลิมขวัญวันเกี้ยเซี้ย โดย จักรภพ เพ็ญแข
โดย : จักรภพ เพ็ญแข
ที่มา : คอลัมน์ผมเป็นข้าราษฎร นสพ.ไทยเรดนิวส์ ฉบับที่ 28
ผมไม่ได้เฉลิมฉลองใดๆ ในวันที่ทางราชการเขากำหนดให้เป็น “วันรัฐธรรมนูญ” เพราะมองวันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปีอย่างเฉยเมย ไม่ได้คิดและไม่ได้ทำอะไรนอกเหนือไปจากครรลองปกติ เว้นแต่จะถูกเกณฑ์ให้ไปร่วมพิธีกรรมบางอย่างในบางปีที่มีหัวโขนครอบอยู่
แต่เพราะพี่น้องชาวเสื้อแดงไปร่วมชุมนุมกันมากในปีนี้ เพราะแกนนำท่านกำหนดให้ไปชุมนุมกันในวันนั้น ผมจึงคิดว่าควรฝากความคิดบางอย่างไว้ก่อนจะหมดเทศกาลฉลองรัฐธรรมนูญไปเสีย ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว
๑๐ ธันวาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็นรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นวันคล้ายวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ “พระราชทาน” รัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรก เพื่อให้เป็นปฐมบทของระบอบประชาธิปไตยไทย
สองสามประโยคข้างบนนั่นล่ะครับคือปริศนาธรรมที่พยากรณ์ไปจนถึงอนาคตได้เลยว่าระบอบที่เรียกว่าประชาธิปไตยในราชอาณาจักรไทยมันจะออกหัวหรือก้อย หรืออาบเลือดต่างน้ำเพียงใดกว่าจะได้มา
ขอแบ่งออกเป็น ๓ ประโยคหรือวลีย่อยดังนี้
๑. รัชกาลที่ ๗ เป็นผู้พระราชทาน
๒. รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถือเป็นฉบับที่ถาวร
๓. ระบอบประชาธิปไตยตั้งต้นมาตั้งแต่วันนั้นในปี พ.ศ.๒๔๗๕
ตอบคำถามนี้ตามปรัชญาประชาธิปไตยได้ก็สมควรจะฉลองกันให้ครึกครื้น แต่ถ้าตอบแบบงกๆ เงิ่นๆ แล้วกระโจนไปพูดแบบนกแก้วนกขุนทอง ก็เอาเวลาไปเที่ยวงานลูกตะขบหรืออะไรอื่นๆ จะดีกว่า
พูดกันมานานและพูดกันมากในหมู่คนที่ไม่ค่อยจะรักและศรัทธาในประชาธิปไตยว่า คณะราษฎรผู้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสยามเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ นั้น “ชิงสุกก่อนห่าม” เปลี่ยนแปลงการปกครองในขณะที่ประชาชนพลเมืองขาดความพร้อม และพระปกเกล้ากำลังจะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้อยู่แล้ว
ตำราและงานวิจัยไม่รู้จักกี่ฉบับ รวมทั้งฉบับที่ดีเหลือเกินของ ดร.ธำรงศักดิ์เพชรเลิศอนันต์ ที่ใช้ชื่อว่า “๒๔๗๕ และ ๑ ปีหลังการปฏิวัติ” ยืนยันเรียบร้อยแล้วว่าแนวพระราชดำริที่จะมีรัฐธรรมนูญใช้ในเมืองไทยนั้นมีมาก่อนจริง คือฉบับ “เค้าโครงเบื้องต้น” ที่ทรงคบคิดกับพระยากัลยาณไมตรี (ฟรานซิส บี แซร์) เรย์มอนด์ สตีเวนส์ และพระยาศรีวิสารวาจา แต่ทว่าเนื้อความมุ่งพิทักษ์อำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์ไว้ดังเดิม มิได้ให้ปวงชนชาวไทยมีอำนาจสูงสุดเลย
“เค้าโครงเบื้องต้น” จึงมิใช้แผนพัฒนาประชาธิปไตยในเมืองไทย แต่เป็นการต่ออายุของระบอบราชาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราชโดยแท้
เพราะฉะนั้น หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ โอกาสที่คนไทยจะได้ลืมตาอ้าปากในทางการเมือง หรือฟื้นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างชาวโลกเขาบ้าง ก็คงจะไม่มี เพราะไม่มีสิ่งบ่งชี้ใดๆ ในระบอบเก่าว่าจะเกิดมีขึ้นได้
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ จึง “พระราชทาน” รัฐธรรมนูญให้กับบ้านเมืองในเชิงพิธีการ ส่วนผู้ที่ให้รัฐธรรมนูญตัวจริงเสียงจริงกับปวงชนชาวไทยมาตั้งแต่วันเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายปฏิวัติมาในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ คือคณะราษฎร
การเฉลิมฉลองใดๆ ควรต้องกระทำโดยมียางอายและรู้เท่าทัน
แล้วฉบับที่ “พระราชทาน” ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๕ ที่เรียกเต็มยศว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม” ถือเป็นฉบับถาวรฉบับแรกหรือไม่?
คำตอบคือเมื่อฝ่ายปฏิวัติและฝ่ายพระราชวงศ์อันมีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงเป็นผู้แทนเจรจาบรรลุข้อตกลงกันได้โดยเลือดไม่ต้องนองแผ่นดินไปกว่านั้น ก็ปรากฏว่าได้ทรงเติมข้อความหนึ่งคำลงไปในร่างที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมหรือนายปรีดี พนมยงค์ทูลเกล้าฯ ขึ้นมา ซึ่งเป็นคำแสนสำคัญและจองจำเมืองไทยเข้ากับระบอบอำมาตยาธิปไตยนับแต่นั้นมา
นั่นคือคำว่า “ชั่วคราว”
ส่งผลให้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามที่อุตส่าห์เอาชีวิตเข้าแลกมา กลายสภาพเป็น “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕” ไปเสียเฉยๆ
เมื่อฉบับที่มีผลบังคับใช้ในวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ กลายเป็นของชั่วคราวไปเสียแล้ว ก็ต้องเกิดการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับจริงขึ้นมา “ฉบับจริง” หรือ “ถาวร” ต่อมานั้นก็คือฉบับที่ตีฆ้องร้องป่าวกันในวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๕ ที่ลามมาเฉลิมฉลองกันอยู่ทุกปีนี่เอง
ประเด็นคือจากวันที่ ๒๗ มิถุนายน ถึง วันที่ ๑๐ ธันวาคมแห่งปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ได้เกิดการต่อรอง แลกเปลี่ยน เจรจาประสานประโยชน์ ที่รวมเรียกตามศัพท์จีนว่า “เกี้ยเซี้ย” โดยฝ่ายอำมาตย์จนไม่แน่ใจว่าปวงชนชาวไทยยังคงไว้ซึ่งอำนาจสูงสุดในสยามสมความตั้งใจของคณะราษฎรหรือไม่
เพราะหัวใจที่ว่า “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” ก็ถูกละเลยไปในฉบับ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๕ แถมยังเพิ่มเติมอีกมากรวมทั้งระบุว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็น “จอมทัพ” และเป็น “พระมหากษัตริย์” มิใช่ “กษัตริย์” เฉยๆ ตามที่ปรากฏในฉบับของคณะราษฎร
เพียงสองข้อนี้ก็นำมาสู่ข้อสามที่เราปุจฉาไว้ว่ารัฐธรรมนูญที่เราฉลองกันเหลือเกินทุกๆ วันที่ ๑๐ ธันวาคม เป็นการเริ่มต้นระบอบประชาธิปไตยในเมืองไทยหรือไม่
ประวัติศาสตร์ช่วยตอบให้แล้วครับว่า การใช้เพทุบายที่เหนือกว่าของอำมาตย์ จนของจริงกลาย “ของชั่วคราว” และของทำเทียมกลายเป็น “ของถาวร” ที่ทำให้เราเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญผิดฉบับมาจนบัดนี้นั้น คือสาเหตุหลักที่ทำให้ระบอบประชาธิปไตยของเราวิ่งผิดรางและไปผิดทิศ
กลายเป็นระบอบประชาธิปไตยจอมปลอมนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ใครนิยมเฉลิมฉลองระบอบประชาธิปไตยในวันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี น่าจะหารือกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเสียหน่อยว่า ใครเขาเอาของปลอม ของเลียนแบบ หรือของเสียที่หมดอายุนานแล้วมาให้กินแทนหรือเปล่า?
**************************************************************************
TPNews (Thai People News): ข่าวสารสำหรับผู้รักประชาธิปไตย เที่ยงตรง แม่นยำ ส่งตรงถึงมือถือทุกวัน สมัครวันนี้ ใช้ฟรี 14 วัน พิมพ์ PN ส่งมาที่เบอร์ 4552146 ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน (เฉพาะ DTAC 30 บาท/เดือน) Call center: 084-4566794-6 (จ.- ศ. 9.30-17.30 น.)
**************************************************************************
ที่มา : คอลัมน์ผมเป็นข้าราษฎร นสพ.ไทยเรดนิวส์ ฉบับที่ 28
ผมไม่ได้เฉลิมฉลองใดๆ ในวันที่ทางราชการเขากำหนดให้เป็น “วันรัฐธรรมนูญ” เพราะมองวันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปีอย่างเฉยเมย ไม่ได้คิดและไม่ได้ทำอะไรนอกเหนือไปจากครรลองปกติ เว้นแต่จะถูกเกณฑ์ให้ไปร่วมพิธีกรรมบางอย่างในบางปีที่มีหัวโขนครอบอยู่
แต่เพราะพี่น้องชาวเสื้อแดงไปร่วมชุมนุมกันมากในปีนี้ เพราะแกนนำท่านกำหนดให้ไปชุมนุมกันในวันนั้น ผมจึงคิดว่าควรฝากความคิดบางอย่างไว้ก่อนจะหมดเทศกาลฉลองรัฐธรรมนูญไปเสีย ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว
๑๐ ธันวาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็นรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นวันคล้ายวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ “พระราชทาน” รัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรก เพื่อให้เป็นปฐมบทของระบอบประชาธิปไตยไทย
สองสามประโยคข้างบนนั่นล่ะครับคือปริศนาธรรมที่พยากรณ์ไปจนถึงอนาคตได้เลยว่าระบอบที่เรียกว่าประชาธิปไตยในราชอาณาจักรไทยมันจะออกหัวหรือก้อย หรืออาบเลือดต่างน้ำเพียงใดกว่าจะได้มา
ขอแบ่งออกเป็น ๓ ประโยคหรือวลีย่อยดังนี้
๑. รัชกาลที่ ๗ เป็นผู้พระราชทาน
๒. รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถือเป็นฉบับที่ถาวร
๓. ระบอบประชาธิปไตยตั้งต้นมาตั้งแต่วันนั้นในปี พ.ศ.๒๔๗๕
ตอบคำถามนี้ตามปรัชญาประชาธิปไตยได้ก็สมควรจะฉลองกันให้ครึกครื้น แต่ถ้าตอบแบบงกๆ เงิ่นๆ แล้วกระโจนไปพูดแบบนกแก้วนกขุนทอง ก็เอาเวลาไปเที่ยวงานลูกตะขบหรืออะไรอื่นๆ จะดีกว่า
พูดกันมานานและพูดกันมากในหมู่คนที่ไม่ค่อยจะรักและศรัทธาในประชาธิปไตยว่า คณะราษฎรผู้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสยามเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ นั้น “ชิงสุกก่อนห่าม” เปลี่ยนแปลงการปกครองในขณะที่ประชาชนพลเมืองขาดความพร้อม และพระปกเกล้ากำลังจะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้อยู่แล้ว
ตำราและงานวิจัยไม่รู้จักกี่ฉบับ รวมทั้งฉบับที่ดีเหลือเกินของ ดร.ธำรงศักดิ์เพชรเลิศอนันต์ ที่ใช้ชื่อว่า “๒๔๗๕ และ ๑ ปีหลังการปฏิวัติ” ยืนยันเรียบร้อยแล้วว่าแนวพระราชดำริที่จะมีรัฐธรรมนูญใช้ในเมืองไทยนั้นมีมาก่อนจริง คือฉบับ “เค้าโครงเบื้องต้น” ที่ทรงคบคิดกับพระยากัลยาณไมตรี (ฟรานซิส บี แซร์) เรย์มอนด์ สตีเวนส์ และพระยาศรีวิสารวาจา แต่ทว่าเนื้อความมุ่งพิทักษ์อำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์ไว้ดังเดิม มิได้ให้ปวงชนชาวไทยมีอำนาจสูงสุดเลย
“เค้าโครงเบื้องต้น” จึงมิใช้แผนพัฒนาประชาธิปไตยในเมืองไทย แต่เป็นการต่ออายุของระบอบราชาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราชโดยแท้
เพราะฉะนั้น หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ โอกาสที่คนไทยจะได้ลืมตาอ้าปากในทางการเมือง หรือฟื้นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างชาวโลกเขาบ้าง ก็คงจะไม่มี เพราะไม่มีสิ่งบ่งชี้ใดๆ ในระบอบเก่าว่าจะเกิดมีขึ้นได้
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ จึง “พระราชทาน” รัฐธรรมนูญให้กับบ้านเมืองในเชิงพิธีการ ส่วนผู้ที่ให้รัฐธรรมนูญตัวจริงเสียงจริงกับปวงชนชาวไทยมาตั้งแต่วันเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายปฏิวัติมาในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ คือคณะราษฎร
การเฉลิมฉลองใดๆ ควรต้องกระทำโดยมียางอายและรู้เท่าทัน
แล้วฉบับที่ “พระราชทาน” ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๕ ที่เรียกเต็มยศว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม” ถือเป็นฉบับถาวรฉบับแรกหรือไม่?
คำตอบคือเมื่อฝ่ายปฏิวัติและฝ่ายพระราชวงศ์อันมีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงเป็นผู้แทนเจรจาบรรลุข้อตกลงกันได้โดยเลือดไม่ต้องนองแผ่นดินไปกว่านั้น ก็ปรากฏว่าได้ทรงเติมข้อความหนึ่งคำลงไปในร่างที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมหรือนายปรีดี พนมยงค์ทูลเกล้าฯ ขึ้นมา ซึ่งเป็นคำแสนสำคัญและจองจำเมืองไทยเข้ากับระบอบอำมาตยาธิปไตยนับแต่นั้นมา
นั่นคือคำว่า “ชั่วคราว”
ส่งผลให้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามที่อุตส่าห์เอาชีวิตเข้าแลกมา กลายสภาพเป็น “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕” ไปเสียเฉยๆ
เมื่อฉบับที่มีผลบังคับใช้ในวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ กลายเป็นของชั่วคราวไปเสียแล้ว ก็ต้องเกิดการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับจริงขึ้นมา “ฉบับจริง” หรือ “ถาวร” ต่อมานั้นก็คือฉบับที่ตีฆ้องร้องป่าวกันในวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๕ ที่ลามมาเฉลิมฉลองกันอยู่ทุกปีนี่เอง
ประเด็นคือจากวันที่ ๒๗ มิถุนายน ถึง วันที่ ๑๐ ธันวาคมแห่งปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ได้เกิดการต่อรอง แลกเปลี่ยน เจรจาประสานประโยชน์ ที่รวมเรียกตามศัพท์จีนว่า “เกี้ยเซี้ย” โดยฝ่ายอำมาตย์จนไม่แน่ใจว่าปวงชนชาวไทยยังคงไว้ซึ่งอำนาจสูงสุดในสยามสมความตั้งใจของคณะราษฎรหรือไม่
เพราะหัวใจที่ว่า “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” ก็ถูกละเลยไปในฉบับ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๕ แถมยังเพิ่มเติมอีกมากรวมทั้งระบุว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็น “จอมทัพ” และเป็น “พระมหากษัตริย์” มิใช่ “กษัตริย์” เฉยๆ ตามที่ปรากฏในฉบับของคณะราษฎร
เพียงสองข้อนี้ก็นำมาสู่ข้อสามที่เราปุจฉาไว้ว่ารัฐธรรมนูญที่เราฉลองกันเหลือเกินทุกๆ วันที่ ๑๐ ธันวาคม เป็นการเริ่มต้นระบอบประชาธิปไตยในเมืองไทยหรือไม่
ประวัติศาสตร์ช่วยตอบให้แล้วครับว่า การใช้เพทุบายที่เหนือกว่าของอำมาตย์ จนของจริงกลาย “ของชั่วคราว” และของทำเทียมกลายเป็น “ของถาวร” ที่ทำให้เราเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญผิดฉบับมาจนบัดนี้นั้น คือสาเหตุหลักที่ทำให้ระบอบประชาธิปไตยของเราวิ่งผิดรางและไปผิดทิศ
กลายเป็นระบอบประชาธิปไตยจอมปลอมนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ใครนิยมเฉลิมฉลองระบอบประชาธิปไตยในวันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี น่าจะหารือกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเสียหน่อยว่า ใครเขาเอาของปลอม ของเลียนแบบ หรือของเสียที่หมดอายุนานแล้วมาให้กินแทนหรือเปล่า?
**************************************************************************
TPNews (Thai People News): ข่าวสารสำหรับผู้รักประชาธิปไตย เที่ยงตรง แม่นยำ ส่งตรงถึงมือถือทุกวัน สมัครวันนี้ ใช้ฟรี 14 วัน พิมพ์ PN ส่งมาที่เบอร์ 4552146 ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน (เฉพาะ DTAC 30 บาท/เดือน) Call center: 084-4566794-6 (จ.- ศ. 9.30-17.30 น.)
**************************************************************************
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น