ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

มหาราชที่แท้จริง และยิ่งใหญ่ตลอดกาล

โดย : namome
ที่มา: http://www.newskythailand.us/board/index.php?topic=9100.0

เมื่อ 238 ปีล่วงมาแล้ว เหล่าบรรพชนของเราต้องอดทนฝ่าคลื่นลมแออัดกันอยู่ในเรือสำเภากว่า500 ลำ จากจันทบูรณ์มุ่งหน้าสู่กรุงศรีอยุธยาที่ค่ายโพธิ์สามต้น เพื่อเปิดศึกละเลงเลือดพลีชีพสังเวยแผ่นดินกับกองทัพอังวะ เพื่อประกาศอิสรภาพแห่งความเป็นไทเหนือแผ่นดินลุ่มน้ำเจ้าพระยา

Mission: เพื่อปลดแอก ประกาศอิสรภาพ ขับไล่พวกอังวะออกไปจากแผ่นดินไทย

Target: กองบัญชาการใหญ่ทหารพม่า ค่ายโพธิ์สามต้น กรุงศรีอยุธยา

Target attack: กองทหารพม่ากว่า1หมื่นนาย ที่ประจำค่าย และกองลาดตระเวน กองทหารขนาดกลางที่ประจำอยู่ ตามหัวเมืองใกล้เคียง ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม อุทัยธานี เพชรบุรี นครสวรรค์

Commander in chief: พระยาวชิรปราการ (สิน)

Commandant: หลวงพรหม หลวงพิชัยอาสา พระอนุชิตราชา พระยาอภัยรณฤทธิ์

Thai military data: เรือปืนสำเภาเล็ก 500 ลำ ทหารแม่นปืนโปรตุเกส 400 คน กองทหารราบม้าผสมไทย-จีน 15,000 คน กองทหารราบผสมไทย-ญวน-มอญ-ญี่ปุ่น-เขมร-อาหรับ 8,000 คน (กำลังพลโดยประมาณ)

Ungwah military data: กองทหารราบ-ม้า-ปืนใหญ่ 15,000 คนประจำค่ายโพธิ์สามต้น กองเรือลาดตระเวนจำนวนพล 1,500 คน กองทหารประจำด่าน-เมืองรอบนอก 5,000-8,000 คน

อีกไม่นานนับจากนี้ กรุงธนบุรี ราชธานีแห่งใหม่ของคนไทยจะถือกำเนิดขึ้นด้วยพระปรีชาสามารถของ มหาราชชาตินักรบ ที่ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ตอนนี้วันนี้ กองทัพของพระเจ้าตากกำลังรอนแรมอยู่ในสำเภาริมชายฝั่งทะเลตะวันออก อีก 4 วัน จะเข้าตีพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น ในย่ำค่ำวันที่ 6 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2311

ดังนั้นในวันที่ 6 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2549 หรืออีก 4 วันถัดไปจากนี้ พวกเราลูกหลานไทยจงมาร่วมรำลึก เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของชาติเรา วันซึ่งคนไทยทุกๆศาสนา ทุกๆความเชื่อ ต่างรวมใจเป็นหนึ่งช่วยกันขับไล่อริราชศัตรูของชาติ ทวงเอกราชของชาติเราที่พวกอังวะปล้นไปกลับคืน เช้าวันที่ 6 พฤศจิกายน ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ถือศาสนาไหน เมื่อคุณตื่นมา จงสำรวมจิตใจระลึกถึงดวงพระวิญญาณของสมเด็จพระเจ้าตากสิน และดวงวิญญาณของบรรพชนของเราที่ทำการณ์เพื่อเราเมื่อ 238 ปีมาแล้ว

เพราะถ้าไม่มีท่านเหล่านั้นในวันนั้นวันนี้อาจไม่มีประเทศไทยบนแผนที่โลก

วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชนสามัญ ลูกผสม จีน และ ไทยเกิดสมัย พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศหากต่อมา คือกษัตริย์ นามอุโฆษทรงคุณประโยชน์ มหาศาล แก่ขวานทองรัชสมัย พระเจ้าเอกทัศน์เกิดวิบัติ เคราะห์ซ้ำ คำรบสองยังโชคดี มีผู้กล้า นักปกครองท่านตริตรอง มองการณ์ไกล ใช้ปัญญาเสียสละ เด็ดเดี่ยว และ มุ่งมั่นผนวกกัน คั้นเป็นใจ ให้แกล้วกล้าจัดทัพสู้ กู้อธิปไตย “ไท” คืนมาจากพม่า ที่ว่าใหญ่ ในตองอูยี่สิบแปด ธันวาคม น้อมรำลึกองค์ขุนศึก มหากษัตริย์ ชาตินักสู้ทรงนำทัพ ขจัดอริ ราชศัตรูพระผู้กล้า ตากสิน มหาราชาด้วยสองมือ แทนมาลา มาแทบบาทในโอกาส วันสำคัญ อันทรงค่ากราบบวงสรวง ต่อดวงพระวิญญาณ์เหล่าประชา ไทยทั่วหล้า ถวายบังคม

NATIONAL GEOGRAPHIC ฉบับภาษาไทย ประจำเดือนธันวาคม 2550 ได้อัญเชิญพระบรมสาทิสลักษณ์ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นปก และนำเสนอเรื่องราวของพระองค์ในฉบับด้วยขออนุญาตคัดบางส่วนมาให้อ่านกันค่ะ

คณะรัฐมนตรี มีมติในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2524 ถวายพระราชสมัญญานามให้พระเจ้ากรุงธนบุรีว่า "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" และ กำหนดวันที่ 28 ธันวาคม ของทุกปี ให้เป็นวัน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้น้อมระลึก พระเกียรติคุณ และ พระมหากรุณาธิคุณ อันยิ่งใหญ่ ที่พระองค์ทรงมีต่อแผ่นดินไทย และ ปวงชนคนไทย หากถามว่า อะไรคือความยิ่งใหญ่ กับการที่ขุนศึก คนหนึ่งตัดสินใจเด็ดเดี่ยวมุ่งมั่นที่จะ ไปตายดาบหน้า นำกองกำลังออกจากพระนครในเวลาที่กำลังเสียที่แก่พม่า โดยมีความตั้งมั่นว่า จะไปตั้งหลัก เพื่อกลับมากู้อิสรภาพคืนในเมื่อมีความพร้อม

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าทำไม่สำเร็จ หากการณ์ไม่เป็นตามคาด คือ ไทยไม่เสียแก่พม่า โทษที่ได้รับ จะถึงแก่ชีวิตเลยทีเดียวหากเป็นคนเห็นแก่ตัวในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป มีความเจริญทางวัตถุ เทคโนโลยี มีการศึกษามากขึ้น โดยเฉพาะการศึกษาที่เน้นด้านการบริการการจัดการ ที่ดูเหมือนจะสอนคนให้เห็นแก่ตัวมากขึ้น มองคนเป็นเฉกเช่นทรัพยากรชนิดหนึ่ง (ไม่งั้นจะมีเรื่อง HRM การจัดการทรัพยากรบุคคล) ก็คงไม่มีใครทำเป็นแน่
พระองค์ไม่ได้มีแค่น้ำพระทัยเด็ดเดี่ยว กล้าหาญและมุ่งมั่นเท่านั้น แต่ยังทรงมีพระอัจฉริยภาพทางการศึกสงคราม ทรงชำนาญการรบทางเรือ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้สามารถกู้อิสรภาพคือจากพม่าได้ในเวลาต่อมาพระเจ้าตากสินมิได้ทรงทำงานหนัก มิได้กูเอกราชเพื่อให้ตนเองได้ตำแหน่ง สูงสุดในแผ่นดิน หากทรงทำเพื่อตอบแทนคุณมาตุภูมิ แผ่นดินเกิดโดยมิได้นำพาชีวิต ของตนเอง

พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 เพียงเจ็ดเดือน หลังจากเสียกรุงฯ แก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงกู้อิสรภาพคืนมาได้ ในยุคนั้น มิเพียงแผ่นดินที่แตกระแหงเท่านั้น หากคนในชาติก็ยังแตกแยกทางความคิด เป็นก๊กเป็นเหล่า ซึ่งล้วนแต่เล็งเห็นผลประโยชน์ส่วนตน เป็นหลักแทบทั้งสิ้น ภารกิจใหญ่หลวง และสาหัส ที่พระองค์ทรงมุ่งมั่นต่อไปก็คือ ศึกภายในคือการกอบกู้แผ่นดินที่ดูเหมือนจะแตกเป็นเสี่ยงๆ ให้กลับมารวมกันเป็นปึกแผ่น มีความเป็นไท ได้อีกวาระหนึ่งด้วย

หลังจากทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากพม่าสำเร็จ แล้วพระเจ้าตากสินทรงมีพระวินิจฉัยว่า อยุธยาเสียหายมากเกินกำลังที่จะฟื้นฟูบูรณะได้จึงตัดสินพระทัยสร้างเมืองใหม่ที่กรุงธนบุรี ในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2310สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายเหตุผลไว้ว่า การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงเลือกทำเลกรุงธนบุรี ก็เพราะ มีระยะห่างจากกรุงศรีอยุธยาไม่มากนัก อาจทำให้ฐานะกรุงไม่ต่างจากกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ ทำเลที่ตั้งยังอยู่ติดปากน้ำ ป้องกันมิให้หัวเมืองเหนือซื้ออาวุธจากต่างประเทศ แต่เอื้อกรุงธนบุรีให้ได้เปรียบ และ ส่งเสริมให้ทำการค้าทางทะเลได้

ประกอบกับกรุงธนบุรีมีขนาดพอเหมาะ กับกำลังที่จะรักษาพระนครไว้ได้ยุทธศาสตร์ดี แวดล้อมไปด้วยที่ราบซึ่งเป็นโคลน และ ตม ป้องกันข้าศึกศัตรูได้การที่มีทำเลติดทะเล ยังประโยชน์ให้เป็นทางหนี หากจวนตัว ก็สามารถหนีไปสู่หัวเมืองตะวันออกได้สะดวก

อีกหนึ่งปีต่อมา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ในวันอังคาร แรม สี่ค่ำ เดือนอ้าย จุลศักราช 1130 หรือ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2311 ดังจดหมายเหตุโหรระบุว่า

“ณ วันอังคาร แรม 4 ค่ำ เดือน อ้าย เพลาโมงเศษ เสด็จออกขุนนาง ตรัสประภาษเนื้อความ ปรารภตั้งอุเบกขาพรหมวิหาร เพื่อจะทะนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนาและพระอาณาประชาราษฎร์นั้น อัศจรรย์แผ่นดินไหวเป็นเวลาช้านาน”

นอกจากวงเวียนใหญ่ในกรุงเทพมหานครแล้ว ยังมีพระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะเมืองที่ทรงยกทัพผ่านไป อาทิ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงม้าพระที่นั่งออกศึกพร้อม ทหารเอกสี่นาย ซึ่งประดิษฐาน ณ สวนสาธารณะทุ่งนาเชย กลางเมืองจันทบุรี พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้ถือเป็นอนุสาวรีย์ประเภทหมู่ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศปัจจุบันบริเวณเมืองเก่าจันทบุรี เป็นที่ตั้งของค่ายตากสิน หรือ กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 1 กองพลนาวิกโยธิน ของกองทัพเรือ ภายในประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าตากซึ่งเป็นที่เคารพบูชากันมาก

เล่าลือกันว่า ค่ายตากสินสูญเสียชีวิตทหารในการศึกน้อยที่สุดในสงครามเกือบทุกครั้งที่เข้าร่วม“ล่าสุดทหารของเราที่ลงไปปฏิบัติราชการที่ภาคใต้ก็ไม่มีใครเสียชีวิตเลยสักคนเดียว” นี่คือคำบอกเล่าอย่างภาคภูมิใจของนายทหารคนหนึ่งในค่ายนั้นทหารค่ายตากสินใน จังหวัดจันทบุรี ซึ่งกลับจากปฏิบัติภารกิจทางภาคใต้ จะอัญเชิญพระบรมสาทิสลักษณ์ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และ ธงแดง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของนักรบพระเจ้าตากนำขบวน พวกเขาเชื่อกันว่า พวกตนได้รับพรปาฏิหาริย์ เพราะทหารทุกนายแคล้วคลาดปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่ครั้งนี้

ขอวิญญาณพระเจ้าตากสินมหาราชจงเป็นพยาน พวกเราจำเป็นต้องกู้ชาติอีกครั้งหนึ่งแต่ครั้งนี้ จะกู้ชาติจากคนไทยด้วยกัน ไม่เหมือนขับไล่พม่าดั่งที่พระองค์เคยกระทำมา ประชาชนเดือดร้อนแสนสาหัส จากการกดขี่ของพวกศักดินาอำมาตย์ไม่กี่คนในแผ่นดิน ความเป็นธรรมในสังคมไม่มี การเลือกที่รักมักที่ชังมองเห็นได้อย่างชัดแจ้ง ประชาชนคนไทยจะไม่ยอมพวกมันอีกต่อไปแล้ว พวกเราตาสว่างมากแล้วว่าอะไรเป็นอะไร พวกเราเสื้อแดง มีความเคารพรัก และนับถือพระองค์เป็นตัวอย่างของการรักชาติ กู้ชาติ หากประวัติศาสตร์ที่พวกเราเรียนรู้มาเป็นจริง พระองค์ก็ต้องเคยทุกข์นั้นมาก่อน ทุกข์จากคนไทยด้วยกัน

ขอพระองค์จงมาเป็นสักขีพยานการต่อสู้ของพวกเราเถิด พวกเราจะต่อสู้ให้คนไทยมีชีวิตอย่างอิสรเสรี ไม่มีกฎหมายกดขี่ใดๆ ทุกคนจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอันเดียวกัน ศักดินาอำมาตย์จะต้องหมดไปจากแผ่นดินไทย พวกเราจะสร้างชาติไทยให้เหมือนอารยะประเทศอื่นๆเริ่มต้นแต่ปีใหม่นี้ การต่อสู้ของพวกเราจะเริ่มรุก รุก จนกว่าจะได้ชัยชนะมา

ขอพระองค์จงอวยพระพรชัยแก่พวกเราด้วยเถิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น