ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 12 อารยะขัดขืน


ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ก่อนรัฐประหาร
ตอนที่ 12 : อารยะขัดขืน
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2553 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)

*****************************************************************************
คิดเอง เออเอง จัดตั้ง รณรงค์ ปลูกฝังความเกลียดชัง เด็กเล็กรู้เรื่องไม่รู้เรื่องลากเข้ามาเกี่ยวข้องหมด อย่างนี้นับถือยากหน่อย

*****************************************************************************


อารยะขัดขืน

ได้ข่าวว่ากลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ประกาศใช้ “อารยะขัดขืน” ในการต่อต้านรักษาการนายกรัฐมนตรี

ผมยังไม่ได้อ่านละเอียดนัก แต่ฟังคร่าวๆ ดูเหมือนกับว่า พันธมิตรฯ ได้แนะให้ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของผู้นำรัฐบาล แสดงความรู้สึกนั้นออกมาด้วยวิธีการต่างๆ เช่น งดไหว้ จัดขบวนไปคอยด่านายกรัฐมนตรีในสถานที่ต่างๆ บีบแตร ฯลฯ โดยบอกว่านี่คือสิทธิในการแสดงออกตามระบอบประชาธิปไตย

ครับ เป็นประชาธิปไตยแท้เลยทีเดียว แท้ขนาดที่แม่บทประชาธิปไตยอย่างสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ คงจะงงกันไม่เสร็จว่าทำไมเมืองไทยถึงได้พัฒนาวิถีทางประชาธิปไตยไปได้ขนาดนั้น

ของเขาก็มีครับ แต่ไม่ใช่แบบนี้

เป็นธรรมดาของระบอบประชาธิปไตยที่จะมีการประท้วง ตราบเท่าที่การประท้วงนั้นไม่เกิดอันตรายทางกายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด

สังคมย่อมมีความเห็นที่หลากหลาย ความถูกต้องของคนหนึ่งอาจเป็นความผิดพลาดของอีกคนหนึ่ง
อย่างนี้ต้องยอมรับได้ อย่าไปวิตกทุกข์ร้อนอะไร

แต่เมื่อใดก็ตามเกิดการจัดตั้งอย่างกว้างขวาง ถึงขนาดที่สอนการแสดงออกอย่างนี้ ก็ต้องมานั่งใจเย็นๆ คุยกันหน่อยว่ามันมากไปหรือไม่

บอกให้เขาทำอะไร แล้วเขาทำตาม อย่างนี้ไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่าการแสดงออกโดยธรรมชาติ

ถ้าเขามีจิตใจต่อต้าน เขาหาวิธีการได้เองล่ะครับ ไม่ต้องรณรงค์ขนาดนี้ เว้นแต่ว่าคนที่รณรงค์ต้องการปริมาณมากกว่าคุณภาพ คือจะเอาคนเยอะๆ เข้าว่า

แต่ถ้าเป็นเรื่องของการหาเสียงเอาจำนวนกันแล้ว ก็ต้องถามต่อไปว่าทำอย่างนั้นด้วยวัตถุประสงค์อย่างไร

การต่อต้านนั้น ทำคนเดียวและมีคนเห็น ก็เพียงพอต่อการแสดงสิทธิแล้ว โดยเฉพาะในยุคที่สื่อเป็นจำนวนมากแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างชัดเจนอย่างนี้ ก็ยิ่งได้รับความสนใจมาก

ดูอาจารย์ที่รัฐศาสตร์จุฬาฯ นั่นปะไร ฉีกบัตรเลือกตั้งใบเดียวกลายเป็นวีรบุรุษของคนที่โยงบัตรเลือกตั้งใบนั้นเข้ากับประชาธิปไตยทั้งระบอบ

ไม่ต้องไปขนคณบดีมาช่วยฉีกก็ยังไหว

อารยะขัดขืนจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องอยู่ในตัวเอง เพราะเป็นสิทธิตามธรรมชาติของคนในระบอบประชาธิปไตย แต่วิธีการทำต่างหากที่เป็นปัญหา

คิดเอง ทำเอง ด้วยความจริงใจ ไม่เดือดร้อนใคร อย่างนั้นน่านับถือ

คิดเอง เออเอง จัดตั้ง รณรงค์ ปลูกฝังความเกลียดชัง เด็กเล็กรู้เรื่องไม่รู้เรื่องลากเข้ามาเกี่ยวข้องหมด อย่างนี้นับถือยากหน่อย

ฟังให้ดีนะครับ อารยะขัดขืนนั้นถูกต้องในตัวเอง แต่ถ้าใช้วิธีการที่ผิด ก็กลายเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องได้

ไม่อยากเห็นเมืองไทยกลายเป็นเกาหลีใต้ ที่นักการเมืองและประชาชนเตะต่อยกันทั้งในและนอกสภา

ไม่อยากเห็นการบ่มเพาะความรุนแรงขนาดเล็กในวันนี้ นำไปสู่เรื่องร้ายๆ ของประเทศไทยในวันหน้า

จะเลือกตั้งอยู่แล้ว ช่วยกันประคองหน่อยเถอะครับ

เลือกใครก็ช่างเถิด.

--------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น