ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 25 พุทธหรือไสย?


ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ก่อนรัฐประหาร
ตอนที่ 25 : พุทธหรือไสย?
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)

******************************************************************************
นั่งทบทวนดูบรรยากาศในเมืองไทยแล้วก็พบว่า เรามีรากฐานเป็นเมืองพุทธแท้ๆ แต่ใช้ประโยชน์จากพุทธธรรมน้อยอย่างน่าใจหาย

******************************************************************************
พุทธหรือไสย?

ตั้งแต่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยโผล่ขึ้นมาจากน้ำ ดูเหมือนจะเกิดประเพณีใหม่ที่มิใช่ไทยเดิมขึ้นมาหลายอย่าง

และเป็นประเพณีที่ประเทศประชาธิปไตยชนิดที่พัฒนาแล้วไม่รู้จัก

เป็นต้นว่าไม่ชอบใครก็ประกาศว่ามีสิทธิที่จะ “ด่า” ผ่านพ่อแม่พี่น้องและบุตรภรรยาของเขาได้ ทั้งที่คนเหล่านี้มิได้เกี่ยวข้องหรือมีผลประโยชน์ใดๆ ด้วยเลย

วิธีการอันสุนทรก็คือให้ข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัวของเป้าหมายนั้นๆ ผ่านเว็ปหรือ SMS ครบหมดทั้งชื่อ นามสกุล บ้านช่อง และส่วนที่สำคัญที่สุดคือหมายเลขโทรศัพท์ เพื่อให้ต่อสายไปพูดกับครอบครัวของเขาอย่างจ้วงจาบหยาบคาย

โดยมากจะเลือกกระทำการตอนดึกๆ เพื่อให้เดือดร้อนมากๆ

จุดประสงค์คือเพื่อจะประกาศความเกลียดชังของตน และแสดงความโกรธแค้นอย่างรุนแรงที่คนทางปลายสายบังอาจมีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างไปจากตน

ยุคนี้จึงเปิดศักราชของความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดผลลามปามไปอย่างที่ไม่น่าจะเป็น นอกจากประชาธิปไตยในระยะตั้งไข่ดูจะเฉไฉไปแล้ว วัฒนธรรมอันดีงามแบบไทยยังได้รับผลสะเทือนอีกต่างหาก

นักการเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั้น มีธรรมเนียมปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอยู่ว่า การเมืองเป็นเสมือนการแข่งขันกีฬา จะต่อสู้ห้ำหั่นอย่างไรก็จงเล่นกันอยู่บนเวทีเท่านั้น ไม่ล้นออกมาข้างนอกให้คนอื่นๆ เดือดร้อนรำคาญใจ

และไม่เคยลามปามไปถึงครอบครัวญาติมิตรของคนที่เป็นคู่ต่อสู้ทางการเมืองเลย

ด้วยหลักการที่รู้กันอย่างนี้ การเมืองจึงไม่เว่อร์ไม่เกิน และไม่ทำให้ประชาชนเจ้าของสิทธิ์ที่เฝ้ามองอยู่เกิดความเบื่อหน่ายต่อการเมือง

นี่เรียกว่ามารยาททางการเมือง ซึ่งเป็นคำที่ผู้นำม็อบพันธมิตรฯ คงจะเคยได้ยินมาบ้าง

ความเห็นที่ไม่ตรงกันทางการเมืองเป็นสิ่งที่ประชาธิปไตยเห็นว่าสูงค่า ควรแก่การสนับสนุนให้แสดงออกมากๆ หากแต่แสดงให้เหมาะสมกับกาลเทศะ

เมื่อไหร่ก็ตามที่ความเห็นที่ไม่ตรงกันทำให้คนมองกันและกันอย่างศัตรู ที่ต้องห้ำหั่นกันถึงขั้นแบ่งพวกเพื่อยกมาตีกัน ประชาธิปไตยก็พัง

นักเรียนอาชีวะเดี๋ยวนี้ยังกลายเป็นคนพันธ์ “อ.” ไม่เอะอะก็ตีกันยับเหมือนสมัยก่อน

มาถึงวันนี้คนแก่ทั้งหลายกลับกลายเป็นคนที่เรียกร้องความรุนแรงเสียเอง

ให้โทรศัพท์ไปด่าเขาที่บ้าน โดยญาติพี่น้องเขานอนหลับไม่รู้นอนคู้ไม่เห็น เอาความเห็นแก่ตัวของตัวเองไปพ่นใส่เขาถึงบ้านและในยามวิกาล อย่างนี้เป็นความรุนแรงทางวจีกรรมและมโนกรรมอย่างชัดแจ้ง

ผมมานั่งทบทวนดูบรรยากาศในเมืองไทยแล้วก็พบว่า เรามีรากฐานเป็นเมืองพุทธแท้ๆ แต่ใช้ประโยชน์จากพุทธธรรมน้อยอย่างน่าใจหาย

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องมัชฌิมาหรือทางสายกลาง โดยมีเนื้อความว่าผู้ปฏิบัติธรรมไม่
ควรคิดและทำอะไรอย่างสุดโต่ง และพิจารณาด้านต่างๆ อย่างมีโยนิโสมนสิการหรือมีความแยบคายละเอียดอ่อน

ทำอะไรก็ควรกอปรไปด้วยความเมตตาต่อเพื่อนร่วมทุกข์

จะยึดถืออะไรก็ควรคำนึงถึงหลักของพระไตรลักษณ์ อันว่าด้วยอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา จะได้รู้ในความเสื่อมของสรรพสิ่งทุกอย่าง จะไปยึดเอาเป็นตัวเป็นตนมิได้

ครับ พอถึงขั้นรณรงค์ให้คนตามไป “ด่า” ครอบครัวของเขาถึงบ้าน ก็คิดว่าต้องชวนคุยเรื่องเหล่านี้บ้างแล้ว
เพื่อไม่ให้คนที่ยึดเอาคุณสนธิฯ เป็นศาสดา ยื้อยุดสุดโต่งกันจนเกินไป

เพราะตนที่ติดตามเหตุการณ์มาตลอดยังสงสัยอยู่ไม่วายว่า แล้วคนอย่างคุณสนธิฯ เล่า ยึดใครเป็นศาสดา?

****************************************************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น