ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 19 ความขัดแย้ง-ความรุนแรง


ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ก่อนรัฐประหาร
ตอนที่ 19 : ความขัดแย้ง-ความรุนแรง
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)

***************************************************************************
ประชาธิปไตยเป็นระบอบที่สร้างกันขึ้นมาเพื่อรองรับความขัดแย้งในสังคมโดยเฉพาะ เพราะเห็นว่าการที่ทุกคนสามารถแสดงออกซึ่งจุดยืนของตนเองได้ และหาทางรอมชอมกันอย่างสันติ

***************************************************************************
ความขัดแย้ง-ความรุนแรง
ความดีประการหนึ่งของเหตุการณ์ลอบสังหารที่เกิดขึ้นคือ ได้เปิดเผยความในใจบางอย่างของคนไทยให้เป็นที่ประจักษ์ชัด ถึงจะขัดๆ ต่อแนวความคิดที่เป็นประชาธิปไตยอยู่บ้างก็ตาม

ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนแบบที่เรียกว่าโพลล์ จะกระทำขึ้นถูกต้องตามหลักวิชาการหรือสุจริตใจขนาดไหนเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ได้ออกมาในทางที่ว่า คนที่เชื่อว่าเหตุระเบิดเกิดขึ้นมีจำนวนพอๆ กับคนที่ไม่เชื่อและเห็นว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ของฝ่ายรัฐบาลเอง

ฝ่ายหลังที่มักจะเป็นคนที่มีแนวความคิดคนละทางกับรัฐบาลอยู่แล้ว ไปยึดเอาการให้ข่าวของตำรวจที่ออกจะสับสนหน่อยในช่วงแรก ประกอบกับความคิดเดิมที่ยืนกรานว่าไม่เชื่อไม่จริงของตัวเอง ก็เลยเกิดจินตนาการอันสมบูรณ์

ฝ่ายแรกก็ร้องขอความเป็นธรรมทั้งที่รู้ว่าว่าไม่มีทางจะได้รับ พยายามจะบอกว่าร้อยโทธวัชชัยฯ คนที่ถูกจับในที่เกิดเหตุ เป็นคนใกล้ชิดขนาดไว้วางใจให้ไปทำภารกิจลับที่ภาคใต้ของพลเอกพัลลภ ปิ่นมณี และพลเอกพัลลภฯ ก็เป็นผู้วางตัวอยู่ตรงข้ามนโยบายหลายเรื่องของรัฐบาลอย่างเปิดเผย แล้วจะไปใช้คนของ “เขา” สร้างสถานการณ์ของ “เรา” ได้อย่างไร

ถ้าจับได้แต่รถ ก็อาจจะเอื้อให้เชื่อว่าสร้างสถานการณ์ เพราะขาดตัวเชื่อมโยงว่าเป็นแผนของใครอย่างไร แต่นี่จับคนได้ทันควัน และรู้ด้วยว่าเป็นใครมาจากไหน

นั่นก็ช่างเถิด ข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นมาเรื่อยๆ จะเป็นเครื่องยืนยันได้เองว่าอะไรเป็นอะไร

ปัญหาไปอยู่ที่ว่า ดูเหมือนเราจะสนใจกันน้อยไปสักนิดหนึ่งว่า เหตุการณ์นี้มันรุนแรงขนาดไหน

สนใจกันแต่ว่าเป็นระเบิดของใคร ราวกับว่าตัวระเบิดเองไม่สำคัญ

แอมโมเนียมผสมน้ำมันหกสิบเจ็ดกิโลกรัมครึ่ง มากขนาดที่ตำรวจผู้ไปเปิดท้ายรถต้องผงะอย่างตกใจจนโทรศัพท์มือถือร่วงหล่น รุนแรงขนาดที่เชื่อได้ว่าสะพานรถข้ามที่อยู่เหนือรถแดวูคันนั้นจะพังทลายลงมาทั้งยวง พร้อมกับรถยนต์ที่กำลังติดขัดอยู่บนนั้นเป็นทิวแถว

อาคารพาณิชย์ทั้งสองฟากของถนนจะไม่เหลือ

รถยนต์และผู้สัญจรไปมาภายในรัศมีนั้นก็จะไปด้วย

ไม่ต้องคิดถึงขบวนรถของนายกรัฐมนตรี ที่ผมคิดว่าอาจจะหาซากไม่พบ

ผู้วางระเบิดในครั้งนี้มีความอำมหิตอย่างที่ผมเคยนึกว่ามีอยู่แต่ในตะวันออกกลางหรือรัสเซีย

แต่เมื่อไม่มีหลักฐานอะไรชี้ว่าชาวต่างชาติเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ครั้งนี้ ก็เลยต้องกล้ำกลืนฝืนสรุปว่าเป็นการกระทำของคนไทยล้วนๆ ทั้งผู้ลงมือและผู้บงการ

สรุปแล้วก็นั่งงงว่าเมืองไทยเป็นอะไรไปแล้ว ได้รับอิทธิพลจากข่าวต่างประเทศมากเกินไปหรือไร

ประชาธิปไตยเป็นระบอบที่สร้างกันขึ้นมาเพื่อรองรับความขัดแย้งในสังคมโดยเฉพาะ เพราะเห็นว่าการที่ทุกคนสามารถแสดงออกซึ่งจุดยืนของตนเองได้ และหาทางรอมชอมกันอย่างสันติเมื่อจุดยืนเหล่านั้นไม่ตรงกัน เป็นระบอบการเมืองชั้นยอด สร้างสังคมสันติสุขอย่างยั่งยืนได้

แต่ไม่ยอมรับความรุนแรง และเห็นว่าความรุนแรงเป็นปฏิปักษ์ของสันติสุข

เรื่องนี้ดูจะเป็นของใหม่ในสังคมไทย

ความขัดแย้ง และ ความรุนแรง

สองคำที่หลายคนนำไปรวมกันเป็นประโยคเดียวกันเสียเลย เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำลายประชาธิปไตยได้มาก อย่างที่เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ลอบสังหาร

คงต้องสอนลูกหลานกันใหม่ว่า ถ้าจะรักษาระบอบประชาธิปไตยไทยให้อยู่รอด อาจจะต้องท่องคาถาบทใหม่ว่า

ขัดแย้งได้แต่ต้องไม่รุนแรง.
----------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น