ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 21 เหลือแต่ตุลาการ


ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ก่อนรัฐประหาร
ตอนที่ 21 : เหลือแต่ตุลาการ
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)

**************************************************************************

การเลือกตั้งนั้นเป็นกระบวนการเดียวที่หาอะไรอื่นมาเปรียบเทียบหรือแข่งขันได้ยาก มันก็ดิบๆ ตรงๆ อย่างนั้นแหละ

**************************************************************************
เหลือแต่ตุลาการ

ไม่ต้องสงสัยอะไรอีกแล้วครับว่าประเทศไทยกำลังเดินไปสู่ทิศทางใด

ฟัง “ปัญญาชน” อย่างคุณอานันท์ ปันยารชุน ดร.โคทม อารียา หรือคุณหมอประเวศ วะสี ที่ดูประหนึ่งว่าจะนัดกันออกมาเป็นดาบหนึ่ง ดาบสอง ดาบสามเรื่อยไป ก็พอจะรู้ได้ว่าคิดอะไรอยู่

ระยะเวลาแห่งความกระมิดกระเมี้ยนได้สิ้นสุดลงแล้ว

ประเทศไทยมาถึงจุดที่ผู้มีปัญญาและพยายามชี้นำสังคมเรื่อยมาร่วมใจกันประกาศว่า ประชาธิปไตยของไทยไม่จำเป็นต้องใช้การเลือกตั้งเป็นเครื่องมือก็ได้

จะเล่นคำประดิดประดอยอย่างไรก็ตามใจ อาจจะบอกว่า “การเลือกตั้งไม่ใช่ทั้งหมดของประชาธิปไตย” หรือ “ประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งที่ต้องเกิดขึ้นจากการเลือกตั้งเสมอไป” ก็ตาม ความหมายระหว่างบรรทัดและบนบรรทัดที่ท่านทั้งหลายได้พูดขึ้นมานั้นชัดเจนเป็นที่สุดคือ

ไม่ต้องมีเลือกตั้งก็ได้

ฟังแล้วผมอยากร้องไห้ แต่ก็ร้องไม่ออก คงจะเป็นน้องๆ ความรู้สึกของ “คนตุลา” ที่หมอพรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรีและเป็นหนึ่งใน “คนตุลา” ล่ะกระมัง เมื่อท่านบอกว่าขณะนี้ “คนตุลา” น้ำตาตกในกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะอยู่ฝ่ายสนับสนุนหรือคัดค้านรัฐบาลของคุณทักษิณฯ

รู้ล่ะครับว่าประชาธิปไตยเป็นภาวะที่ใหญ่หลวงกว่าการเลือกตั้ง เพราะหมายถึงสิทธิและเกียรติภูมิตามธรรมชาติของคน ไม่ต้องมีใครให้มา และไม่ต้องไปรอรับความเมตตาจากใคร เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกผู้ทุกนามพึงยอมรับและกระทำตนอย่างนั้น

แสดงสิทธิ์ของตนอย่างเต็มที่แต่ถูกต้อง ไม่ละเมิดสิทธิ์ของคนอื่นที่เป็นชาวประชาธิปไตยเช่นเดียวกับตน เคารพในกฎเกณฑ์ที่คนส่วนใหญ่ให้ความยอมรับนับถือ เห็นความสำคัญของการทำตามกฎหมายระบิลเมือง เสียงข้างมากต้องเคารพในความมีสิทธิ์ของเสียงข้างน้อย ฯลฯ

เข้าใจครับ

แต่จะได้ทั้งหลายเหล่านี้มาจากไหนเล่า ถ้าไม่ตั้งต้นที่การเลือกตั้งเสียก่อน

เพราะการเลือกตั้งนั้นเป็นกระบวนการเดียวที่หาอะไรอื่นมาเปรียบเทียบหรือแข่งขันได้ยาก มันก็ดิบๆ ตรงๆ อย่างนั้นแหละ แต่มันก็ตอบโจทย์ได้ตรงตัวว่านี่คือสิ่งที่คนส่วนใหญ่เขาชอบและเชียร์

ใครจะจัดการเลือกตั้งและจะจัดอย่างไรหรือมีความโปร่งใสแค่ไหนเป็นอีกเรื่องหนึ่ง กรณีนี้เมืองไทยเราเป็นตัวอย่างที่ดี เมื่อมีความสงสัยว่าจะไม่ซื่อตรง ก็เปลี่ยนเป็นกลุ่มใหม่ที่ทุกคนจะโล่งใจกว่า อย่างกรรมการการเลือกตั้งที่ได้ข่าวว่าอาจจะเอาไว้ทั้งสิบคน

ออกหน้าห้า ช่วยอยู่ข้างหลังอีกห้า

แต่คนที่ไม่อยากเห็นการเลือกตั้งก็ย่อมจะต้องเดินตามแนวทางของตัวเองต่อไป ซึ่งเห็นได้ไม่ยาก

ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลก็แทบจะไม่มีตัวตนแล้วเพราะเป็นรักษาการ

ฝ่ายนิติบัญญัติเหลืออยู่คนเดียวในทางสัญลักษณ์ คือคุณสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา เกิดคดีอะไรขึ้นสักหนึ่งคดีก็หายสาบสูญไปได้เลย

เพื่อจะเหลือฝ่ายตุลาการแต่เพียงฝ่ายเดียว

ถึงประธานศาลฎีกาท่านจะต่อสู้เพื่อผดุงรักษาไว้ซึ่งหลักนิติธรรมอย่างไรก็ตาม แต่ก็ต้องยอมรับว่าจากสามขั้วประชาธิปไตยมาเหลือหนึ่งนั้น คงจะเรียกได้ยากว่าเป็นระบอบการปกครองอย่างที่รัฐธรรมนูญประสงค์จะให้เป็น

ก็ต้องพลิกไปมาตรา ๓ และ/หรือ มาตรา ๗ เพื่อให้ลูกฆ่าแม่เสียเลย

มาตุฆาตเพื่อชาติ ผมเพิ่งรู้ตอนอายุขนาดนี้เองครับว่าเขาทำกันได้.

--------------------------------------------------------------------------------


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น