ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 6 ศาลต้องอธิบาย


ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ก่อนรัฐประหาร
ตอนที่ 6. ศาลต้องอธิบาย
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)

-------------------------------------------------------------------------------

ศาลอธิบายมากกว่านี้หน่อยเถิดว่าหมิ่นศาลคืออะไร การกระทำใดถือว่าเป็นการนำเสนอความคิดอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งศาลก็ต้องฟัง เพราะเป็นศาลไทย ไม่ใช่ศาลอิรัก

-------------------------------------------------------------------------------
ศาลต้องอธิบาย

ผมเริ่มจะเชื่อตงิดๆ ว่า อำนาจกับปัญญานั้นมักจะขัดแย้งกัน ทั้งๆ ที่พยายามจะแสวงหาทั้งสองอย่างนี่แหละ แต่เมื่อได้อย่างหนึ่งก็จะเสียอย่างหนึ่งอยู่เสมอ วิ่งหนีกันตลอด

เมื่อใครมีอำนาจขึ้นมา และมีมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างที่เรียกว่าเรืองอำนาจ กลไกในสมองของตนเองจะถูกบิดเบือนไป จากเดิมที่ต้องโน้มน้าวจิตใจของคนรอบตัวด้วยเหตุผล เพื่อให้เขาเห็นคล้อยตาม มาบัดนี้แค่ขยับตัวนิดเดียวเขาก็เชื่อเขาก็คล้อยตาม จะเสแสร้งหรือจริงใจก็เถิด ทำให้เจ้าตัวเริ่มคุ้นเคยกับระบบสั่งการโดยไม่โน้มน้าว

เรียกว่าใช้อำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขั้นใช้อำนาจล้วนๆ

เมื่อถึงตอนนั้นบางคนหมดความสามารถหรือไม่ก็หมดไฟที่จะอธิบายความไปเลย ไม่รู้จะออกแรงสมองไปทำไมเมื่อสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนทั้งหลายได้โดยง่าย

ขณะที่คนไร้อำนาจหรือมีอำนาจน้อยไม่มีทางเลือก จะทำให้ใครเขาเห็นทางเดียวกับตน ก็ต้องชักแม่น้ำทั้งห้า ต้องสร้างกระบวนการอธิบายบนหลักเหตุผลอย่างมีระบบ หรืออย่างน้อยก็ต้องเรียกร้องความเห็นใจ ทำให้ชำนาญขึ้นเรื่อยๆ ในหลักการโน้มน้าวชักจูง

ครับ หลักการโน้มน้าวชักจูงนี่แหละคือหัวใจของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

ผมกำลังนำประสบการณ์ลบที่เราเคยเห็นจากฝ่ายบริหารมานับครั้งไม่ถ้วน มาฝากฝ่ายตุลาการของไทยในขณะนี้

ฝ่ายตุลาการกำลังใช้ความพยายามจัดระเบียบการเมืองของไทยเสียใหม่ตามพระราชดำรัส

บางขั้นตอนก็ชัดเจนว่าทำอะไรและทำอย่างไร เช่น การให้ได้มาซึ่งกรรมการการเลือกตั้งเพื่อมาทำหน้าที่ตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ๑๕ ต.ค. ๒๕๔๙ และการเลือกตั้งต่างๆ หลังจากนั้น การดำเนินการพิจารณาพิพากษาคดีความที่สาธารณชนเห็นว่าเป็นเรื่องเกี่ยวโยงกับการเมือง เป็นต้น

แต่บางอย่างก็ยังไม่ชัด ไม่เป็นที่เข้าใจ และควรอธิบายเพิ่มให้มากและบ่อยๆ

โดยเฉพาะเรื่องการหมิ่นศาล

ติดตะรางกันไปหลายคนเมื่อต่างฝ่ายต่างก็ยกขบวนกันไปเชียร์ไปด่าที่หน้าศาล ขณะที่ศาลกำลังดำเนินการเกี่ยวกับอดีตกรรมการการเลือกตั้งสามท่าน โดยแบ่งข้างอย่างชัดเจน ปะทะกันรุนแรงด้วยวาจาและการสัมผัสทางกาย แต่ไม่ถึงกับเลือดตกยางออก

คุณชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ก็เกือบไป ออกไปสร้างข่าวให้เป็นสีสันการเมืองแบบที่ผู้สื่อข่าวหลายคนชอบ ถูกตัดสินว่าหมิ่น นัยว่าทำให้กระบวนการศาลกลายเป็นเรื่องตลกแบบตัวคุณชูวิทย์

ตั้งแต่อดีต ก.ก.ต. ติดคุก คนทั้งหลายก็ครั่นคร้ามต่อศาลไปตามๆ กัน แม้แต่สื่อมวลชนที่ห้าวหาญดุดันกับใครได้ทั้งแผ่นดินก็ยังควบคุมตนเองเป็นการใหญ่ ใช้คำพูดคำจาอะไรก็ระมัดระวังเหลือเกิน จนผมผู้อ่านรู้สึกว่าขำดี

หลายคอลัมน์ก็เลยเยินยอศาลไปเสียเลย ปลอดภัยดี ทั้งที่ผมเชื่อว่าคนระดับศาลแล้วคงไม่ต้องการอะไรอย่างนี้

เมื่ออำนาจมีมาก ปัญญาก็จะลดลง อย่างที่เราจั่วหัวกันมา หรือปัญญามีแต่ไม่กล้าแสดงออก เพราะกลัวจะได้ไปสอนหนังสือต่อในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ก็ค่าเท่ากัน

บรรยากาศแบบนี้หมิ่นเหม่ต่อประชาธิปไตยมากครับ ถึงจะเป็นการใช้อำนาจตระลาการเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ผมก็ยังเห็นว่าพอจะสอดแทรกมิติของปัญญาเข้าไปได้

ศาลอธิบายมากกว่านี้หน่อยเถิดว่า หมิ่นศาลคืออะไร การกระทำใดถือว่าเป็นการนำเสนอความคิดอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งศาลก็ต้องฟัง เพราะเป็นศาลไทยไม่ใช่ศาลอิรัก และการกระทำใดที่ถือว่าล้ำเส้นและหมิ่นศาล ให้ช่วยยกกรณีที่มองเห็นเป็นรูปธรรมออกมาจะๆ

เราจะได้เป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยกันได้อย่างเต็มที่ และขณะเดียวกันก็ไม่มีพฤติกรรมหมิ่นศาล ในความหมายที่ทำให้กระบวนการของท่านต้องได้รับความกระทบกระเทือนจนทรุดโทรมไปได้

ผู้มีอำนาจคือฝ่ายที่ต้องคิดและเป็นห่วงกังวลในเรื่องนี้ เพราะหลังจากกระบวนการของท่านแล้วเมืองไทยต้องกลับสู่ครรลองปรกติกันต่อไป

เพราะเชื่อว่าไม่มีใครคิดระบอบอื่นเตรียมไว้.

-------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น