ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553

ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 61 ทหารหาข่าว


ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : หลังรัฐประหาร
ตอนที่ 61: ทหารหาข่าว
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)

*******************************************************************************
กรณีข่าวที่เกี่ยวข้องกับกองทัพภาคที่สาม ก็เลยสับสนไปหมดว่าจริงหรือไม่ ถ้าจริงแล้วใครสั่งใคร ใช้ข้อมูลอะไรในการสั่งการ และที่สำคัญคือเตรียมพร้อมไว้เพื่อใคร เพราะขณะนี้มีนายหลายคน

*******************************************************************************
ทหารหาข่าว

ข่าวเรื่อง “คลื่นใต้น้ำ” ทำให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. นั่งไม่ติดที่ ต้องออกมาวางแผนการหาข่าวกับวุ่นวายโดยใช้วิธีแบบทหาร เพราะรู้สึกจะเป็นวิธีเดียวที่รู้จัก

วิธีการนั้นก็คือใช้โครงสร้างของทหารเพื่อทำงานข่าว โดยแบ่งความรับผิดชอบจากระดับศูนย์กลางลงไปถึงระดับกองทัพภาค และเรื่อยไปจนถึงระดับกองร้อย นอกจากนั้นก็ทำแบบ matrix คือไขว้ระดับกันเล็กน้อยในหน่วยที่ไม่สูงนัก เพื่อเก็บข้อมูลที่อาจจะบกพร่องไป

ระบบนี้มีประสิทธิภาพสูงในแง่ปริมาณ เพราะจะได้หมูหมากาไก่มาเต็ม แต่ในด้านคุณภาพแล้วขึ้นอยู่กับกระบวนการกรองข่าวเป็นอย่างมาก

พอได้ยินอย่างนี้หลายคนก็เกิดความกังวล เพราะสังคมประชาธิปไตยมีความแตกต่างจากสนามรบ

ในสนามรบนั้น หลักการที่สำคัญคือการแยกมิตรกับศัตรูออกจากกันให้ได้ ก่อนที่หาทางเอาชนะอย่างเด็ดขาดและโดยเต็มกำลังศรัทธา โลกของทหารเป็นสีขาวกับสีดำ ไม่ค่อยจะยอมรับว่าสรรพสิ่งในโลกมนุษย์นี้ล้วนเป็นสีเทา

แต่ในสังคมประชาธิปไตย ไม่ค่อยแบ่งมิตรกับศัตรู เพราะไม่ถือว่าความคิดเห็นที่แตกต่างกันทำให้คนเป็นปรปักษ์จนถึงขั้นต้องทำลายล้างกัน แต่จะหาเวทีแสดงออกซึ่งความคิดอันหลากหลาย และหวังว่าจะสามารถเลือกความคิดหรือสรุปความคิดที่ทุกฝ่ายยอมรับและดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้มาปฏิบัติ

ในสนามรบต้องจับตามองความเคลื่อนไหวทุกอย่าง และถ้าหากวินิจฉัยไม่ได้ว่าอยู่ “ฝ่ายเรา” ก็ให้เชื่อว่าเป็น “ฝ่ายเขา” ไว้ก่อน ความเคลื่อนไหวในสายตาทหารจึงไม่ใช่ของดี ทำให้เกิดวิตกจริตได้อยู่เสมอ

แต่ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแห่งความเคลื่อนไหว เพราะเราส่งเสริมคนแต่ละคนให้ทำหน้าที่เป็นพลเมืองอย่างเต็มที่ นักประชาธิปไตยจึงแสดงออกซึ่งความคิดเห็น ถกเถียงกันคนอื่นๆ อย่างสร้างสรรค์ และจะจับกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อผลักดันความคิดใดๆ ของกลุ่มหรือของตัวเองอยู่ตลอดเวลา

นี่แหละครับคือความแตกต่าง การหาข่าวด้วยวิธีวิตกจริตกับการเปิดให้เคลื่อนไหวกันโดยเปิดเผยเพื่อจะได้รู้ว่าใครเป็นใคร ต่างกันขนาดฟ้ากับเหวก็ว่าได้

นายทหารระดับเด็กๆ หรือชั้นประทวนที่ได้รับมอบหมาย จะต้องจับตามองทุกสิ่งทุกอย่างที่เคลื่อนไหวได้ แม้แต่เรื่องที่เจ้าตัวก็ไม่เชื่อว่ามีอะไร เพื่อจะได้มีรายงานส่งผู้บังคับบัญชา รายงานนั้นก็จะถูกนำส่งในระดับที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงศูนย์กลาง

ศูนย์กลางก็จะอ่านรายงานแนววิตกจริตที่ส่งเข้ามาจากทุกทิศแล้วได้ข้อสรุปว่ามีคลื่นใต้น้ำอยู่ทุกแห่งหน

แถมยังมีความเคลื่อนไหวในฝ่ายของตัวเองผสมเข้ามาอีก อย่างกรณีข่าวที่เกี่ยวข้องกับกองทัพภาคที่สาม ก็เลยสับสนไปหมดว่าจริงหรือไม่ ถ้าจริงแล้วใครสั่งใคร ใช้ข้อมูลอะไรในการสั่งการ และที่สำคัญคือเตรียมพร้อมไว้เพื่อใคร เพราะขณะนี้มีนายหลายคน

กลัวแม้กระทั่งเสียงหริ่งหรีดเรไรอย่างนี้ หน้าไหนจะกล้ายกเลิกกฎอัยการศึก

ประเทศไทยก็เลยดูคล้ายพม่าขึ้นไปเรื่อยๆ

สิบเจ็ดเดือนสู่ประชาธิปไตยขณะนี้ฟังคล้ายๆ “ถนนสู่ประชาธิปไตย” (“Roadmap for Democracy”) ของรัฐบาล SPDC ที่ไม่มีใครเชื่อและขาใหญ่ก็ยังยืนยันคว่ำบาตรต่อไปจนประเทศเดือดร้อนสาหัส

ไม่เห็นกันหรืออย่างไรว่าประเทศชาติจะเสียหายได้ขนาดไหน ถ้าไม่กลับการทวนเข็มนาฬิกานี้ให้ทัน

เรื่อง “การข่าว” ที่ได้ยินมา อาจจะเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์อย่างทารุณได้ จึงต้องท้วงติงกันด้วยความปรารถนาดีว่าฐานความคิดของกระแสหลักยังคงเป็นประชาธิปไตยอยู่

และคนที่เคลื่อนไหวอย่างประชาธิปไตยไม่ได้คิดว่าเราอยู่ในสนามรบ ก็จะเคลื่อนไหวต่อไป

จะให้ทุกคนเห็นด้วยกับการรัฐประหารอย่างไรไหว คนตั้งหกสิบกว่าล้านคน

ถ้าอยากจะลดวิตกจริตเสียบ้าง ทหารลงมาเล่นกับลูกชาวบ้านเขาบ้างก็จะดี อย่าไปแยกโลกกันอยู่เลยครับ.

---------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น