ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553

ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 62


ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : หลังรัฐประหาร
ตอนที่ 62: ธรรมศาสตร์อัปยศ?
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)

*******************************************************************************
รายชื่อในบัญชีสีดำและเย็บปกด้วยหนังสุนัขเล่มนี้ไม่ควรมีชื่อของอธิการบดีของมหาวิทยาลัยใดๆ อยู่ด้วยเลย

*******************************************************************************
ธรรมศาสตร์อัปยศ?

และแล้วเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ปรากฏขึ้นอีกครั้ง เมื่อศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันได้รวมกันเป็นปึกแผ่นและตั้งคำถามเด็ดขาดกับอาจารย์สุรพล นิติไกรพจน์ว่า จะเลือกอะไรระหว่างตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

คำถามนี้แสดงนัยที่ยิ่งใหญ่ต่ออนาคตของระบอบประชาธิปไตยในราชอาณาจักรนี้ และในความเคารพต่อบทบาทของประชาคมธรรมศาสตร์ในการต่อสู้ด้วยเลือดเนื้อกว่าจะได้มา

และถามกับอธิการบดีที่ดูเหมือนจะคิดว่าเผด็จการกับประชาธิปไตยไม่มีความแตกต่างกัน

สภานิติบัญญัติแห่งชาติในขณะนี้ เป็นเพียงที่รวมของบุคคลที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (ที่ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมากในนาม คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) เสนอแต่งตั้งขึ้นมา ไม่มีใครในโลกอารยะที่จะเชื่อว่าเป็นสถาบันประชาธิปไตย

ไม่ต้องคนระดับอธิการบดีก็พอจะรู้ได้ว่า สภานี้เป็นตัวแทนเฉพาะผู้ที่ยึดอำนาจและคนที่อยู่เบื้องหลังผู้ยึดอำนาจเท่านั้น

อย่าว่าแต่ไปเป็นสมาชิกห้อยท้ายอยู่กับเขาด้วยเลย แค่เฉียดกรายเข้าไปใกล้ๆ ก็เป็นเสนียดจัญไรต่อความบริสุทธิ์ทางวิชาการแล้วครับ

มีแต่เพียงนักวิชาการที่ถูกข่มขืนซ้ำซาก และนอนรอให้เขาขยี้ซ้ำอีกเท่านั้นที่จะดีใจต่อตำแหน่งแห่งหนประเภทนี้

ชาวธรรมศาสตร์จึงถามอาจารย์สุรพลฯ ว่าไม่รู้สึกอะไรบ้างเลยหรือ

คำถามนี้มีความเมตตาหลงเหลืออยู่มาก เพราะคนถามเชื่อว่าท่านอธิการบดีไม่ใช่พวกที่ถูกเขาทำลายเยื่อพรหมจารีมาแล้ว แต่เข้าใกล้เขตอันตรายจนน่าเป็นห่วง

อาจารย์สุรพลฯ อาจจะไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่แล้วขนาดไหนก็ตาม แต่คนยังเชื่อว่าท่านต้องไม่เห็นด้วยกับการฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง และต้องแสดงออกให้ชัดเจนเป็นสาธารณะว่าจุดยืนของคนขนาดนี้เป็นอย่างไร

เพราะจุดยืนของอธิการบดีมหาวิทยาลัยน่าจะต้องมีมากกว่าส้นเท้า

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีแนวทางที่ชัดเจนกว่าใครทั้งหมดในการต่อสู้กับอำนาจเผด็จการ นั่นคือต่อสู้กับทุกอย่างและทุกคนที่อยู่ตรงข้ามกับระบอบประชาธิปไตย จนใครๆ ก็คารวะ และมองธรรมศาสตร์ว่าเป็นสถาบันอันศักดิสิทธิ์ในทางการเมืองและสังคม

ชื่อของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ บัดนี้มาต่อด้วยชื่อของสุรพล นิติไกรพจน์

ต่อให้ใจคิดเป็นห่วงความรุ่งเรืองในอาชีพของตัวเองขนาดไหนก็กระโจนไปไม่ได้ ตำนานธรรมศาสตร์บังคับอยู่

เมื่อเกิดการยึดอำนาจในวันที่ ๑๙ กันยายน ป้ายต่อต้านการรัฐประหารป้ายแรกๆ ผงาดขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์สุรพลฯ ก็คงจะเห็นหรือได้รับรายงาน

หรือเมื่อรู้แล้วรีบเผ่นไปหาผู้มีอำนาจและอธิบายความจนตัวเอง “หลุด” จากข้อหาต่อต้าน และได้บำเหน็จรางวัลมาเป็นสมาชิกสภาฯ ที่เสนอแต่งตั้งกันเองอย่างครื้นเครง ก็ไม่รู้เหมือนกัน

การแบ่งเค้กกันในหมู่คนโค่นทักษิณเป็นไปได้และเป็นไปแล้วในหมู่พันธมิตรฯ แม่ทัพนายกอง ข้าราชการพลเรือน และนักธุรกิจบางคน แต่รายชื่อในบัญชีสีดำและเย็บปกด้วยหนังสุนัขเล่มนี้ไม่ควรมีชื่อของอธิการบดีของมหาวิทยาลัยใดๆ อยู่ด้วยเลย

ผมเป็นอาจารย์สุรพล นิติไกรพจน์ในวันนี้ ไม่มานั่งรอเลือกแล้วล่ะครับว่าจะกกกอดตำแหน่งใดเอาไว้ดี ให้หนังมันหนาไปเรื่อยๆ โดยไม่จำเป็น

ในฐานะที่ไม่ใช่คนธรรมศาสตร์ ผมขอแสดงความคารวะต่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และประชาคมธรรมศาสตร์มา ณ โอกาสนี้

ต่อคำถามสุดยอดของท่าน.

---------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น