ความยุติธรรมและความเสมอภาคที่แท้จริงไม่มีในโลกใบนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเลือกข้างและกำหนดจุดยืนให้ชัดเจน เพื่อจะก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...
3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ
2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์
1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์
สด จาก เอเชียอัพเดท
วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 67 เสียดายน้ำ
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : หลังรัฐประหาร
ตอนที่ 67 : เสียดายน้ำ
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
*******************************************************************************
ตอนที่ 67 : เสียดายน้ำ
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
*******************************************************************************
นโยบายที่หวังผลระยะยาว อย่างแนวนโยบายเศรษฐกิจพื้นฐานจะโยงตนเองเข้ากับโลกาภิวัตน์หรือจะตัดรอนเลยนั้น ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐบาลชั่วคราวและไม่ควรจะไปเจ๋อทำ
*******************************************************************************
เสียดายน้ำ
เห็นใครหลายคนวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์แล้วผมก็กลุ้มใจพิลึก
ไม่ได้กลุ้มใจตรงความคิดเห็นหรอกครับ เพราะคนเราคิดเห็นแตกต่างกันได้โดยไม่ต้องเป็นศัตรูกัน ยิ่งความเห็นมากก็ยิ่งมีทางเลือกเชิงนโยบายมากขึ้น นับเป็นเรื่องที่ดี
ปัญหาอยู่ที่ว่า ความเห็นที่ออกมาจากปากของหลายคน ดูเหมือนจะอนุมานว่ารัฐบาลชุดนี้จะไม่ได้พ้นอำนาจไปในเวลา ๑๗ เดือนอย่างที่ประกาศ แต่ทำท่าจะอยู่ต่อไปอีกนานหลายปี จึงแสดงความเห็นประหนึ่งว่าคุณสุรยุทธ์มีเวลาทำงานถึงสี่ปีเต็มๆ หรือมากกว่า
พูดกันให้ดีนะครับ รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้มาโดยครรลองที่คนส่วนใหญ่เขาจะชื่นชมกัน เมื่อขืนจะเข้ามาให้ได้ก็ต้องมีห้วงเวลากำกับเอาไว้ให้ชัดว่า ประชาชนในระบอบประชาธิปไตยจะโผล่ขึ้นมาหายใจเหนือน้ำได้อีกเมื่อไหร่
๑๗ เดือนก็นานนักหนาแล้ว เมื่อเทียบกับปฏิทินโลกาภิวัตน์ นี่ยังส่งสัญญาณว่าประเทศไทยจะแยกตัวออกจากโลกอย่างถาวรอีกหรือ?
นโยบายของรัฐบาลชุดใดก็ตาม จะต้องเริ่มต้นจากที่มาของรัฐบาลนั้น ไม่ใช้ไปควักนโยบายสำเร็จรูปจากนักวิชาการคนใดมาใช้เหมือนผูกปิ่นโตและไม่สนใจสิ่งแวดล้อม
รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งสร้างสิ่งที่เรียกว่า สัญญาประชาคม ในระหว่างการหาเสียง เมื่อประชาชน “อนุญาต” ให้ครองอำนาจรัฐได้ชั่วคราวก็จะต้องวางนโยบายของตนเองบนฐานของสัญญาประชาคมนั้นเอง จะบิดพลิ้วพลิกลิ้นไปเสียมิได้
แต่รัฐบาลที่ตั้งตัวเองขึ้นมา ย่อมไม่มีโอกาสจะไปสร้างสัญญาประชาคมกับใครที่ไหน ก็ต้องพึ่งพาข้อกล่าวอ้างที่ตนเองพร่ำพูดมาตั้งแต่เริ่มต้นยึดอำนาจจากเขา เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างที่มาของรัฐบาลกับความคาดหวังของประชาชน
รัฐบาลชุดนี้เกิดจากการรัฐประหารโดย คปค. ที่ภายหลังแปลงกายเป็น คมช. หรือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และข้ออ้างของการยึดอำนาจก็คือความเลวร้ายนานัปการของรัฐบาลชุดเก่า ตั้งแต่ความไม่สุจริตไปจนถึงการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด
นโยบายของรัฐบาลแบบนี้จึงไม่ควรจะมีอะไรมากมายนัก นอกจากวางอยู่บนเหตุแห่งการได้มาซึ่งอำนาจของตน โดยแบ่งเป็นสองกรอบคือ การไล่ล่าผู้ทุจริต และ การกลับทวนนโยบายบางอย่าง
ส่วนนโยบายที่หวังผลระยะยาว อย่างแนวนโยบายเศรษฐกิจพื้นฐานจะโยงตนเองเข้ากับโลกาภิวัตน์หรือจะตัดรอนเลยนั้น ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐบาลชั่วคราวและไม่ควรจะไปเจ๋อทำ
เข้าใจล่ะครับว่านโยบายทุกระยะย่อมพุ่งตรงไปสู่เป้าหมายระยะยาวหรือเป้าหมายถาวรแห่งชาติทั้งนั้น
แต่ก็ต้องคำนึงเช่นเดียวกันว่า รัฐบาลที่จะวางชิ้นส่วนภาพต่อไปทีละตัวทีละขั้น เป็นรัฐบาลประเภทไหน
ถ้าประชาชนส่งมาบริหารประเทศเองก็ไม่ทางเลือก ต้องทำเต็มกำลังความสามารถ ผิดถูกอีกเรื่องหนึ่ง
แต่ถ้าเป็นรัฐบาลที่ประชาชนถูกกันออกไปดูอยู่นอกวง ก็จะต้องสำนึกว่าตัวไม่ได้มีอำนาจอันชอบธรรมในการบริหารประเทศนัก ทำอะไรก็ต้องยั้งมือและหาทางถามประชาชนเสียก่อน
อะไรที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยมันก็ต้องยุ่งยากอย่างนี้
ก็เลยอยากจะบอกไว้ว่า อย่าไปเสียเวลามากนักกับการถกเถียงเชิงนโยบายในระยะเวลาอย่างนี้ พูดไปก็เหมือนนั่งคุยเรื่องวิชาการกับมือปืน เขาก็ย่อมจะออกไปทำตามที่เขาถนัดคือไล่ยิงคนอยู่ดี รอให้นักวิชาการตัวจริงมาเสียก่อนแล้วค่อยพูดกันน่าจะได้ประโยชน์กว่า
น้ำในยุคนี้มีค่านัก หลายประเทศเริ่มจะทำสงครามชิงน้ำกันแล้ว อย่างในตะวันออกกลาง
เสียดายครับ ถ้าจะเอาไปใช้แค่รดหัวตอ.
-------------------------------------------------------------------------------
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น