ความยุติธรรมและความเสมอภาคที่แท้จริงไม่มีในโลกใบนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเลือกข้างและกำหนดจุดยืนให้ชัดเจน เพื่อจะก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...
3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ
2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์
1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์
สด จาก เอเชียอัพเดท
วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 68 คุณค่าคำขอโทษ
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : หลังรัฐประหาร
ตอนที่ 68 : คุณค่าคำขอโทษ
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
*******************************************************************************
ตอนที่ 68 : คุณค่าคำขอโทษ
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
*******************************************************************************
อธิบายออกมาเลยสิครับว่า นโยบายที่แล้วมาผิดอย่างไร จึงจำเป็นต้องขอโทษ และต่อไปจะดำเนินนโยบายอย่างไรในรายละเอียดไม่ใช่ถามทีไรได้แต่ “หลักการและเหตุผล” กลับมา เหมือนเอกสารโครงการสไตล์ราชการที่อ่านแล้วก็โง่ลง
******************************************************************************
คุณค่าคำขอโทษ
หลายคนอดประทับใจไม่ได้กับภาพและเสียงของนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ได้เอ่ยปากขอโทษพี่น้องในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โทษฐานที่ได้เกิด “ความผิดพลาดในการดำเนินนโยบาย” ของรัฐบาลที่ผ่านมา ซึ่งเป็นรัฐบาลที่พลเอกสุรยุทธ์ไม่ได้ร่วมและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ด้วย
คนที่เป็นปรปักษ์กับรัฐบาลที่แล้วก็เชียร์สะบัด ประหนึ่งว่าได้เกิดความสมานฉันท์ขึ้นอย่างฉับพลันทันใด
ความจริงสิ่งที่ได้รับจากท่าทีของนายกรัฐมนตรีครั้งนี้มีเพียงอย่างเดียว คือพิสูจน์ว่ารัฐบาลขอโทษเป็น
ซึ่งไม่ค่อยได้เห็นจากบุคลิกของคุณชวน หลีกภัย หรือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
แต่การเปลี่ยนท่าทีที่ออกจะมากนี้ ก็ยังไม่ได้ลงลึกไปถึงสาระอันแท้จริงของการแก้ไขปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เท่ากับการฟื้น ศอบต. ขึ้นมา และตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี คุณพระนาย สุวรรณรัฐ ไปเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ
ระบบเก่าที่หวนคืนมาใหม่คือสาระสำคัญ และตัวบุคคลก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะไม่ได้เห็นการสืบตระกูลบ่อยครั้งนักในสมัยนี้ น่าจะทำให้องคมนตรี นายพลากร สุวรรณรัฐ มีความสบายใจดี
การเปลี่ยนแปลงนโยบายเมื่อมีรัฐบาลใหม่เป็นเรื่องธรรมดา แต่การแสดงท่าทีเจ็บปวดต่อนโยบายของรัฐบาลเดิมจนถึงขั้นต้องแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมาอย่างนี้ ถือเป็นเรื่องไม่ธรรมดา
คำขอโทษจึงเป็นการตอกย้ำว่ารัฐบาลนี้จะไม่ดำเนินนโยบายอย่างที่แล้วมา และตีตราไว้เสร็จสรรพว่าใครที่คิดจะกลับไปทำอีกคงจะเจอกระแสต่อต้านอย่างหนัก
สิ่งที่นายกรัฐมนตรีได้กระทำจึงเป็นการผนึกกำลังกับคนระดับนำในท้องถิ่นเพื่อตีกันการเปลี่ยนแปลงนโยบายหากจะมีอีกในอนาคต บอกโดยอ้อมว่าวิธีการที่แล้วผิด และวิธีการที่กำลังกระทำอยู่ทุกวันนี้เท่านั้นจึงถือว่าถูก ซึ่งเป็นสิทธิ์ของคนที่เป็นรัฐบาล
แต่สิ่งที่ดูจะสำคัญมากกว่าหรือไม่น้อยไปกว่ากัน คือการอธิบายให้คนไทยทั้งประเทศเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งว่าปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่แท้จริงคืออะไร
อะไรคือของจริง
อะไรคือ “บริการเสริม” และเสริมโดย “ใคร”
ขณะนี้รัฐบาลกำลังขอโทษประชาชนส่วนหนึ่งของประเทศ ในขณะที่ประชาชนส่วนมากกำลังกระซิบกระซาบกันอุตลุตว่าเรื่องจริงไม่ผ่านจอนั้นเป็นอย่างไรกันแน่
อธิบายออกมาเลยสิครับว่า นโยบายที่แล้วมาผิดอย่างไร จึงจำเป็นต้องขอโทษ และต่อไปจะดำเนินนโยบายอย่างไรในรายละเอียด
ไม่ใช่ถามทีไรได้แต่ “หลักการและเหตุผล” กลับมา เหมือนเอกสารโครงการสไตล์ราชการที่อ่านแล้วก็โง่ลง
คำขอโทษที่ดีควรประกอบด้วยท่าทีที่ดี และสาระที่สามารถสื่อสารให้คนที่เกี่ยวข้องเข้าใจได้โดยตลอด ขณะนี้ได้ครึ่งแรกมาเพียงครึ่งเดียว
หรือบังเอิญคิดว่า ปัญหาภาคใต้สามจังหวัดเป็นประเด็นเจ้าขุนมูลนาย (imperial issue) ที่ประชาชนทั่วไปไม่เกี่ยว ระวังเขาจะแอบเรียก ศอบต. ว่าเป็นศูนย์เกี้ยเซียะ เพราะแบ่งอำนาจและผลประโยชน์ลงตัวแล้วก็แล้วกันไป
ใครประกาศจะ “แก้” ปัญหาก็แอบหัวเราะเยาะเขา เพราะหลักการที่แท้จริงคือแสวงหาสมดุลระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ทั้งหลายโดยไม่คิดที่จะแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริงเลย
วันนี้เรายกประเด็นเรื่องการขอโทษคนไทยสามจังหวัดขึ้นมาคุยกัน ก็เลยเกิดสงสัยขึ้นมาว่า ความผิดฐานฉกชิงประชาธิปไตยไปจากมือของคนไทยทั้งประเทศ ๗๖ จังหวัดนี่มันจะขนาดไหน
และต้องอาศัยรัฐบาลในอนาคตอีกกี่ชุดมาขอโทษจึงจะสาสม.
------------------------------------------------------------------------------
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น