ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553

ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 60 อย่าแหกโค้ง


ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : หลังรัฐประหาร
ตอนที่ 60: อย่าแหกโค้ง
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)

*******************************************************************************
ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะแก้ไขกันอย่างไรในฉากหลังนั้นไม่มีใครเขาว่า มีแต่จะสาธุการยกย่องให้เป็นเอกบุรุษ แต่หน้าฉากแล้วจะต้องยืนยันอย่างเฉียบขาดที่สุดว่าเรื่องนี้เป็นกิจการภายในของไทย และเป็นประเด็นในประเทศ (domestic issue)

*******************************************************************************
อย่าแหกโค้ง

แทบทุกช่องและแทบทุกฉบับรายงานว่านายกรัฐมนตรีไทยได้ยกเรื่องปัญหาชายแดนภาคใต้ขึ้นหารือกับผู้นำอาเซียนหลายประเทศ ทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ นอกจากนี้แล้วจะมีใครอีกก็ยังไม่รู้

ฟังแล้วก็ให้ใจหวิวๆ

การหยิบยกเอาเรื่องสำคัญขึ้นมาหารือกับประเทศเพื่อนบ้านหรือเล่าสู่กันฟัง เป็นสิ่งที่พึงกระทำ ถือเป็นสาระของการเยี่ยมเยือน แต่การกระทำนั้นจะต้องคำนึงถึงเส้นบางๆ ชนิดมองแทบไม่เห็นเส้นหนึ่งที่กั้นขวางอยู่

นั่นคือกิจการภายใน หรือ internal affairs ของประเทศเรา

เรื่องบางเรื่อง อย่างปัญหาชายแดนภาคใต้นั้น ถึงจะมีมิติที่เกี่ยวกับประเทศอื่นๆ อยู่บ้าง เช่น ผู้ร้ายข้ามแดน การควบคุมด่าน การค้าของเถื่อนทั้งหลายตั้งแต่อาวุธสงครามไปจนกระทั่งค้ามนุษย์ ฯลฯ แต่ถือเป็นเรื่องในประเทศของไทย ไม่ใช่กิจการภายนอกและไม่ใช่นโยบายระดับภูมิภาค

การขอความร่วมมือไม่ใช่การยกเอาเรื่องนั้นไปให้กับเขา

ต้องพูดอย่างนี้เพราะมีเสียงออกมาคล้ายๆ กับว่า ไทยกำลังเชื้อเชิญมาเลเซียเข้ามาเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ทางมาเลเซียก็สนองว่าดีจัง พร้อมที่จะก้าวเข้ามาในทันที อะไรทำนองนั้น

รัฐบาลจะเห็นความเกี่ยวข้องใดๆ ของมาเลเซียในปัญหาในสามจังหวัดที่เป็นของเรา ย่อมเป็นสิทธิ์ของรัฐบาล แต่รัฐบาลจะต้องระวังมิให้เกิดการสื่อสารผิดๆ ว่าปัญหาดังกล่าวกลายเป็นของมาเลเซียด้วยแล้วในบัดนี้

ระวังให้ดี เตือนตัวเองวันละสามเวลาหลังอาหารและก่อนนอนด้วยว่า ความร่วมมือกับต่างประเทศเป็นคนละเรื่องกับการทำให้เรื่องนั้นๆ กลายเป็นเรื่องต่างประเทศ

ทำแบบหลังนี้ เขาเรียกว่า internationalization แปลแบบฟังง่ายๆ ว่า เรื่องในบ้านแท้ๆ ดันไปทำให้เป็นเรื่องที่คนอื่นเขาวิ่งเข้ามาแส่ได้นั่นเอง

ทำแล้วก็เท่ากับชักศึกเข้าบ้าน บางกรณีเท่ากับการเชิญคนเข้ามาขโมยของเสียเลยด้วยซ้ำ จึงไม่ใช่เรื่องเล็กและไม่ใช่การกระทำของความรักชาติ

ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะแก้ไขกันอย่างไรในฉากหลังนั้นไม่มีใครเขาว่า มีแต่จะสาธุการยกย่องให้เป็นเอกบุรุษ แต่หน้าฉากแล้วจะต้องยืนยันอย่างเฉียบขาดที่สุดว่าเรื่องนี้เป็นกิจการภายในของไทย และเป็นประเด็นในประเทศ (domestic issue) ห้ามเปิดโอกาสให้ใครนอกประเทศเข้ามามีเอี่ยวด้วยเป็นอันขาด

ถึงเวลาจะขอความร่วมมือไปเอง ไม่ต้องเสนอมา

เตือนกันอีกครั้งตรงนี้นะครับว่า ถ้าไปทำเรื่องนี้ให้กลายเป็นประเด็นต่างประเทศ ไม่ว่าจะด้วยเจตนาดีขนาดไหนก็ตาม ท่านจะไม่ได้เฉพาะเพื่อนบ้านเข้ามาเอี่ยวด้วย

อาจจะมีประเทศอื่นๆ ขอเข้ามา

สหรัฐฯ อาจจะให้ความสนใจมากกว่าที่เป็นอยู่

อาเซียนอาจจะจะบอกว่า เกี่ยวข้องเกินสามประเทศสมาชิกแล้ว ควรจะถือเป็นประเด็นในระดับอาเซียนได้

องค์การสหประชาชาติอาจจะขอเยี่ยมกราย

หนักกว่านั้นก็คือ องค์การรัฐอิสลาม หรือ OIC อาจจะบอกว่าเรื่องนี้ประชาคมมุสลิมของโลกต้องเข้ามาร่วมวงด้วย เพราะไม่ใช่เรื่องของไทยโดยเฉพาะอีกแล้ว

ถึงวันนั้นจะตะโกนให้ก้องฟ้าว่าเรื่องนี้เป็นกิจการภายในของไทยและไม่เกี่ยวข้องกับใคร ก็จะเหมือนถ่มน้ำลายรดฟ้า กลับมาลงมาเปรอะหน้าตัวเองคนเดียว

ใครจะรับผิดชอบ?

----------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น