ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 33 กฎหมายกับความเป็นจริง


ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : หลังรัฐประหาร
ตอนที่33 : กฎหมายกับความเป็นจริง
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)

********************************************************************************
กฎหมายกับความเป็นจริงมักมีช่องว่างกันเสมอ บางครั้งเป็นช่องว่างขนาดตีความกันไปคนละโลกก็ยังเคย

********************************************************************************

กฏหมายกับความเป็นจริง

พอบทความของ “กาหลิบ” เรื่อง “ผู้ว่า กทม. ไม่ใช่คนกลาง” ลงพิมพ์ในวันจันทร์ที่ ๑๘ ก.ย. ๒๕๔๙ ไม่ถึงอึดใจพระพุทธเจ้า คือในวันเดียวกันนั้นเอง หนังสือตราครุฑจาก กทม. ก็มาถึง ลงนามเรียบร้อยโดย คุณยศศักดิ์ คงมาก ผู้อำนวยการกองปกครองและทะเบียนของ กทม.

ต้องขออนุญาตนำเสนอโดยสรุป เพราะหนังสือราชการของท่านยาวกว่าเนื้อที่ของคอลัมน์นี้มาก

ผ.อ.ยศศักดิ์ฯ ชี้แจงว่า ผู้ว่า กทม. ไม่ได้มีหน้าที่ใดๆ ตามกฎหมายในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ตลอดจนสมาชิกสภาเขต ทั้งหมดนี้-เว้นแต่การเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต-จัดการเลือกตั้งโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งและคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานครโดยแท้

การที่บอกว่าท่านผู้ว่า กทม. เป็นผู้จัดการเลือกตั้งนั้นจึงคลาดเคลื่อนจากความจริงตามกฎหมาย จึงขอชี้แจงมา และลงท้ายด้วยความหวังว่า “จะได้รับข้อราชการจากท่านในคราวต่อไป”

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณท่าน ผ.อ. และข้าราชการตลอดจนลูกจ้างทุกท่านของ กทม. ที่เกี่ยวข้องกับการชี้แจงในกรณีนี้ วิธีอธิบายความของท่านชัดเจน ครอบคลุม และย้ำความเชื่อของผมว่าเจ้าหน้าที่ของ กทม. ท่านมีความรู้และเข้าใจอะไรต่างๆ ดี

ก็ต้องย้ำกันตรงนี้ล่ะครับว่า ผู้ว่า กทม. ไม่ได้มีหน้าที่ตามกฎหมายในการจัดการเลือกตั้งในพื้นที่กรุงเทพพระมหานคร

ย้ำว่า “ตามกฎหมาย” นะครับ จะได้สบายใจกันในหมู่นักกฎหมายที่ชอบอะไรในบ้านเมืองแบบ de jure

แต่ก็นั่นแหละครับ อะไรๆ ในบ้านเมืองนี้มันกลับไม่ค่อยอยู่ที่ข้อกฎหมายเสียด้วยสิ แต่ไปพัวพันกับสิ่งที่เรียกกันว่า de facto คือความเป็นจริงหรือของจริงอยู่เรื่อย

คนที่ถามคำถามตีคู่อยู่เสมอว่า กฎหมายว่าอย่างไร และ ความเป็นจริงว่าอย่างไร ร้อยทั้งร้อยมีประสบการณ์มาแล้วว่ากฎหมายกับความเป็นจริงมักมีช่องว่างกันเสมอ บางครั้งเป็นช่องว่างขนาดตีความกันไปคนละโลกก็ยังเคย

ข้าราชการและลูกจ้างทุกระดับของ กทม. เข้าใจดีกว่าใครเลยครับว่า ช่องว่างที่ว่านี้แหละที่ทำให้ตัวเองอยู่ได้ต่อไป หรือต้องประสบภัยพิบัติในอาชีพข้าราชการและลูกจ้างของตน ถึงขนาดรวมสังขารไม่ติด

ช่องว่างที่ว่านี้เรียกกันว่าอิทธิพล

การใช้อิทธิพลคือการสร้างแรงกดดัน

การสร้างแรงกดดันคือการทำให้รู้สึกว่าถ้าไม่ทำตามผู้มีอิทธิพลแล้ว สุขภาพท่าจะไม่ค่อยดีนัก ทั้งกายและใจ

เมื่อทำแล้วก็ต้องย้อนกลับมาหารือกับนักกฎหมายเก่งๆ ว่าจะทำให้ภาพของผู้รักษากฎหมายอย่างยิ่งยวดคงอยู่ต่อไปได้อย่างไร

เช่น ถ้าหีบเลือกตั้งหายไปจากสายตา ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังเลือกตั้งก่อนการนับคะแนน ถ้าการนับคะแนนจริงเกิดขึ้นหลังจากที่หีบเวียนเข้าไปสถานที่ลึกลับในสำนักงานเขตนานพอสมควร ฯลฯ เหล่านี้ก็ต้องมาหาคำอธิบายที่ฟังขึ้นว่ามันจำเป็นจริงๆ อย่างไรที่ต้องทำอย่างนั้น

เรื่องแบบนี้คนบางคนเก่งมาก หรือบางคนเกิดมาเก่งแบบนี้อย่างเดียวก็มี

อย่างไรก็ตาม คำอธิบายของ กทม. ต้องถือเป็นหลักครับ เป็นหลักไปเรื่อยจนกว่าจะมีใครออกมาพิสูจน์ได้ว่าเป็นอื่น

ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของ กทม. เว้นแต่คน กทม. รู้อะไรดีๆ แล้วอยากจะบอกคนที่เขามีหน้าที่พิสูจน์ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง พรรคการเมืองฝั่งตรงข้าม ฯลฯ

เพราะอัดอั้นตันใจใกล้จะระเบิดอยู่แล้ว.

--------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น