ความยุติธรรมและความเสมอภาคที่แท้จริงไม่มีในโลกใบนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเลือกข้างและกำหนดจุดยืนให้ชัดเจน เพื่อจะก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...
3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ
2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์
1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์
สด จาก เอเชียอัพเดท
วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553
เพลโต-ศิษย์โสกราติส โดย จักรภพ เพ็ญแข
ที่มา : คอลัมน์ “กว่าจะเป็นประชาธิปไตย” นิตยสารข่าวสังคมมุสลิมและสถานการณ์โลก ฉบับที่ 6
โดย : จักรภพ เพ็ญแข
เรื่อง : เพลโต-ศิษย์โสกราติส
เรื่อง : เพลโต-ศิษย์โสกราติส
******************************************************************************
เพลโต (ในภาษากรีก: Πλάτων Plátōn, อังกฤษ: Plato) (427 - 347 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก เขาเป็นลูกศิษย์ของโสกราติส เป็นอาจารย์ของอริสโตเติล เป็นนักเขียน และเป็นผู้ก่อตั้งอาคาเดมีซึ่งเป็นสำนักวิชาในกรุงเอเธนส์
******************************************************************************
ถึงโสกราติสถูกฆ่าตายอย่างทารุณด้วยยาพิษและถูกตัดเท้าทิ้งทั้งสองข้าง เพราะยืนยันว่าการจัดระเบียบสังคมเป็นสิทธิและหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน จนสร้างความขัดเคืองใจให้กับคนในวรรณะกษัตริย์ในยุคนั้น และเป็นที่เกลียดชังของเหล่าพระผู้อ้างว่าเป็นตัวแทนของพระเจ้า แต่เขาก็ทิ้งมรดกทางความคิดมาจนถึงรุ่นเราได้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและแสวงหาสมดุลของสังคมกันถึงทุกวันนี้ บุคคลที่เราต้องไหว้ครูเป็นพิเศษนอกจากตัวอาจารย์ใหญ่ท่านนี้แล้ว คือลูกศิษย์ที่จดบันทึกคำสอนเหล่านั้นไว้อย่างเป็นระบบจนเราได้อ่านและศึกษากันนั่นเอง
วันนี้จึงเป็นเรื่องของลูกศิษย์คนนั้น คนที่ต่อมาก็กลายเป็นอาจารย์เองด้วย เขาคือเพลโต้ (Plato) ผู้มาก่อนการณ์และก่อนความเข้าใจของสังคมอีกคนหนึ่ง
เพลโตบันทึกสิ่งที่อาจารย์โสกราติสสอนไว้ในรูปบทสนทนาจำนวน ๓๕ บทและจดหมายอีก ๑๓ ฉบับ โดยให้ความดีกับอาจารย์อย่างเต็มที่ แต่นักประวัติศาสตร์รุ่นหลังสงสัยกันมากว่าทั้งหมดนี้เป็นคำสอนใครกันแน่ อาจจะเป็นงานเขียนของเพลโตเอง แต่อ้างชื่อของอาจารย์ผู้โด่งดังและผู้คนยอมรับมากกว่า
นั่นก็ช่างเถิด
เพราะเพลโตยังพัฒนาวิธีคิดในเรื่องจำนวน ปริมาณ และปริมาตร จนกลายเป็นนักคณิตศาสตร์ ได้วางพื้นฐานการเรียนในระดับอุดมหรืออุดมศึกษาไว้ในรูปของวิทยาลัย (Academy) ณ นครเอเธนส์ และสร้างองค์ความรู้ในวิชาปรัชญาธรรมชาติ ซึ่งเป็นฐานของปรัชญาตะวันตกที่มีบทบาทครอบครองโลกมาตั้งแต่เกิดรัฐขึ้น ให้เราใช้เป็นเครื่องมือถกเถียงกันจนถึงทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น ตรรกะ วาทกรรม ฯลฯ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในระบอบประชาธิปไตย
นักประชาธิปไตยควรทราบว่า โสกราติสเป็นคนแรกๆ ในโลกที่บอกว่าเรามีสิทธิ์คิด และมีสิทธิ์ทางสังคม ลูกศิษย์เอกอย่างเพลโตคือผู้ที่นำการค้นพบอันกล้าหาญมาสานต่อจนกลายเป็นที่ยืนของพวกเราทุกวันนี้ ส่วนตำนานที่แต่งเติมกันว่าเพลโตพูดจามีวาทศิลป์ถึงขนาดที่ตอนเด็กๆ ผึ้งบินมาจับกันเต็มที่ริมฝีปากนั้น สุดแต่ภาวะจิตของแต่ละคน ถือว่าเป็นสีสันบันเทิงกันไป
สำหรับชาวประชาธิปไตยในโลกนี้ บุญคุณใหญ่ที่สุดของเพลโตอยู่ในความคิดและงานเขียนที่มีชื่อว่า “สาธารณรัฐ” หรือ “The Republic” เพราะเราถกเถียงอย่างเร่าร้อนรุนแรง เสียเลือดเนื้อมาตลอดประวัติศาสตร์ และยังสู้กันต่อไป ด้วยเจตนาจะวางแบบแผนให้กับสิ่งที่เรียกว่า รัฐ (state) ซึ่งเพลโตเป็นผู้วางรากฐานทางปรัชญาให้
เพลโตเสนอว่ามนุษย์ควรเริ่มต้นคิดว่า รัฐอุดมคติ (ideal state) ในทัศนะของตนเป็นอย่างไร ไม่ใช่ยอมรับสิ่งที่เป็นอยู่อย่างดื้อรั้นและฝังใจว่าเปลี่ยนแปลงไม่ได้ อุดมคตินั้นเพลโตเสนอว่าควรมีอย่างน้อย ๒ อย่างขึ้นในสังคมแบบอุดม นั่นคือ
๑. กฎหมาย
๒. รัฐบุรุษ
กฎหมายก็คือข้อตกลงร่วมทางสังคมที่นำมาใช้บังคับบุคคลเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม แทนที่จะใช้ผู้มีอำนาจกำหนด ในยุคที่การใช้กฎหมายปกปักรักษาสิทธิส่วนบุคคลของปัจเจกยังไม่ใช่แนวทางที่งอกงามอำไพนัก และรัฐบุรุษก็คือผู้ปกครองและผู้มีอำนาจในรัฐอย่างมีกรอบ เพราะสังคมสร้างกรอบขึ้นมาให้
ในยุคนั้น การเสนอใช้กฎหมายแทนตัวบุคคลผู้มีอำนาจรัฐ และการวางวิธีจำกัดอำนาจของผู้มีอำนาจรัฐ เป็นแนวคิดที่ก้าวหน้าอย่างหาที่เปรียบมิได้เลย เป็นอันตรายอย่างสาหัสกับผู้เสนอ อย่าว่าแต่กรีกของเพลโตเลยครับ เมืองไทยสมัยนี้ก็พูดดังๆ ได้เสียที่ไหน
แต่ไม่นานจากนี้ สองประเด็นนี้ล่ะที่เราจะใช้เป็นธงนำในการปฏิวัติประชาธิปไตยอันแท้จริงในรัฐที่ล้าหลังทางการเมืองอย่างเมืองไทยเสียยิ่งกว่ารัฐของเพลโต
แต่สิ่งที่ผมอ่านและคิดต่อจากเพลโตอย่างอัศจรรย์ใจ คือสิ่งที่เรียกกันในสมัยหลังว่าไตรลักษณ์ในโครงสร้างทางสังคม ซึ่งประกอบเข้าด้วยกันแล้วตอบโจทย์ของมนุษย์ผู้มิใช่พรหมได้สบาย ไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องทำสงครามแก่งแย่งกันเลย
เพลโตเสนอว่าสังคมมี ๓ ส่วน และต้องพัฒนาทั้ง ๓ ส่วนไปสู่ความเป็นอุดมรัฐหรือรัฐอุดมคติ
๑. ความต้องการทางกาย (appetite)
ถึงโสกราติสถูกฆ่าตายอย่างทารุณด้วยยาพิษและถูกตัดเท้าทิ้งทั้งสองข้าง เพราะยืนยันว่าการจัดระเบียบสังคมเป็นสิทธิและหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน จนสร้างความขัดเคืองใจให้กับคนในวรรณะกษัตริย์ในยุคนั้น และเป็นที่เกลียดชังของเหล่าพระผู้อ้างว่าเป็นตัวแทนของพระเจ้า แต่เขาก็ทิ้งมรดกทางความคิดมาจนถึงรุ่นเราได้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและแสวงหาสมดุลของสังคมกันถึงทุกวันนี้ บุคคลที่เราต้องไหว้ครูเป็นพิเศษนอกจากตัวอาจารย์ใหญ่ท่านนี้แล้ว คือลูกศิษย์ที่จดบันทึกคำสอนเหล่านั้นไว้อย่างเป็นระบบจนเราได้อ่านและศึกษากันนั่นเอง
วันนี้จึงเป็นเรื่องของลูกศิษย์คนนั้น คนที่ต่อมาก็กลายเป็นอาจารย์เองด้วย เขาคือเพลโต้ (Plato) ผู้มาก่อนการณ์และก่อนความเข้าใจของสังคมอีกคนหนึ่ง
เพลโตบันทึกสิ่งที่อาจารย์โสกราติสสอนไว้ในรูปบทสนทนาจำนวน ๓๕ บทและจดหมายอีก ๑๓ ฉบับ โดยให้ความดีกับอาจารย์อย่างเต็มที่ แต่นักประวัติศาสตร์รุ่นหลังสงสัยกันมากว่าทั้งหมดนี้เป็นคำสอนใครกันแน่ อาจจะเป็นงานเขียนของเพลโตเอง แต่อ้างชื่อของอาจารย์ผู้โด่งดังและผู้คนยอมรับมากกว่า
นั่นก็ช่างเถิด
เพราะเพลโตยังพัฒนาวิธีคิดในเรื่องจำนวน ปริมาณ และปริมาตร จนกลายเป็นนักคณิตศาสตร์ ได้วางพื้นฐานการเรียนในระดับอุดมหรืออุดมศึกษาไว้ในรูปของวิทยาลัย (Academy) ณ นครเอเธนส์ และสร้างองค์ความรู้ในวิชาปรัชญาธรรมชาติ ซึ่งเป็นฐานของปรัชญาตะวันตกที่มีบทบาทครอบครองโลกมาตั้งแต่เกิดรัฐขึ้น ให้เราใช้เป็นเครื่องมือถกเถียงกันจนถึงทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น ตรรกะ วาทกรรม ฯลฯ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในระบอบประชาธิปไตย
นักประชาธิปไตยควรทราบว่า โสกราติสเป็นคนแรกๆ ในโลกที่บอกว่าเรามีสิทธิ์คิด และมีสิทธิ์ทางสังคม ลูกศิษย์เอกอย่างเพลโตคือผู้ที่นำการค้นพบอันกล้าหาญมาสานต่อจนกลายเป็นที่ยืนของพวกเราทุกวันนี้ ส่วนตำนานที่แต่งเติมกันว่าเพลโตพูดจามีวาทศิลป์ถึงขนาดที่ตอนเด็กๆ ผึ้งบินมาจับกันเต็มที่ริมฝีปากนั้น สุดแต่ภาวะจิตของแต่ละคน ถือว่าเป็นสีสันบันเทิงกันไป
สำหรับชาวประชาธิปไตยในโลกนี้ บุญคุณใหญ่ที่สุดของเพลโตอยู่ในความคิดและงานเขียนที่มีชื่อว่า “สาธารณรัฐ” หรือ “The Republic” เพราะเราถกเถียงอย่างเร่าร้อนรุนแรง เสียเลือดเนื้อมาตลอดประวัติศาสตร์ และยังสู้กันต่อไป ด้วยเจตนาจะวางแบบแผนให้กับสิ่งที่เรียกว่า รัฐ (state) ซึ่งเพลโตเป็นผู้วางรากฐานทางปรัชญาให้
เพลโตเสนอว่ามนุษย์ควรเริ่มต้นคิดว่า รัฐอุดมคติ (ideal state) ในทัศนะของตนเป็นอย่างไร ไม่ใช่ยอมรับสิ่งที่เป็นอยู่อย่างดื้อรั้นและฝังใจว่าเปลี่ยนแปลงไม่ได้ อุดมคตินั้นเพลโตเสนอว่าควรมีอย่างน้อย ๒ อย่างขึ้นในสังคมแบบอุดม นั่นคือ
๑. กฎหมาย
๒. รัฐบุรุษ
กฎหมายก็คือข้อตกลงร่วมทางสังคมที่นำมาใช้บังคับบุคคลเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม แทนที่จะใช้ผู้มีอำนาจกำหนด ในยุคที่การใช้กฎหมายปกปักรักษาสิทธิส่วนบุคคลของปัจเจกยังไม่ใช่แนวทางที่งอกงามอำไพนัก และรัฐบุรุษก็คือผู้ปกครองและผู้มีอำนาจในรัฐอย่างมีกรอบ เพราะสังคมสร้างกรอบขึ้นมาให้
ในยุคนั้น การเสนอใช้กฎหมายแทนตัวบุคคลผู้มีอำนาจรัฐ และการวางวิธีจำกัดอำนาจของผู้มีอำนาจรัฐ เป็นแนวคิดที่ก้าวหน้าอย่างหาที่เปรียบมิได้เลย เป็นอันตรายอย่างสาหัสกับผู้เสนอ อย่าว่าแต่กรีกของเพลโตเลยครับ เมืองไทยสมัยนี้ก็พูดดังๆ ได้เสียที่ไหน
แต่ไม่นานจากนี้ สองประเด็นนี้ล่ะที่เราจะใช้เป็นธงนำในการปฏิวัติประชาธิปไตยอันแท้จริงในรัฐที่ล้าหลังทางการเมืองอย่างเมืองไทยเสียยิ่งกว่ารัฐของเพลโต
แต่สิ่งที่ผมอ่านและคิดต่อจากเพลโตอย่างอัศจรรย์ใจ คือสิ่งที่เรียกกันในสมัยหลังว่าไตรลักษณ์ในโครงสร้างทางสังคม ซึ่งประกอบเข้าด้วยกันแล้วตอบโจทย์ของมนุษย์ผู้มิใช่พรหมได้สบาย ไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องทำสงครามแก่งแย่งกันเลย
เพลโตเสนอว่าสังคมมี ๓ ส่วน และต้องพัฒนาทั้ง ๓ ส่วนไปสู่ความเป็นอุดมรัฐหรือรัฐอุดมคติ
๑. ความต้องการทางกาย (appetite)
๒. ความต้องการทางจิตวิญญาณ (spirit)
๓. หลักเหตุผล (reason)
รัฐที่ดีที่สุดในทัศนะของเพลโต คือรัฐที่รู้ว่ามนุษย์เป็นทั้งคนและสัตว์ไปพร้อมกันและสร้างสมดุลได้ ความต้องการทางกายนั้นเป็นภาวะของสัตว์โลกโดยแท้ ทั้งกิน กาม และสัญชาติญาณดิบอื่นๆ แต่เมื่อเรานำจิตวิญญาณเข้ามาประกอบและพัฒนา ฝึกให้ใช้หลักเหตุผลแทนพละกำลังและความเป็นสัตว์ได้บ้างแล้ว รัฐนั้นๆ ก็จะอยู่ได้สบายขึ้นตามลำดับ เรื่องของศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ ค่านิยม ฯลฯ ก็ไหลเข้าสู่สังคมได้ในขั้นตอนนี้ ถึงบางอย่างที่จำนวนนั้นจะพากลับไปสู่ความเป็นสัตว์อยู่บ้าง อย่างพวกสุดโต่งของทุกศาสนา (religious fundamentalists) หรือลัทธิความเชื่อที่กดขี่มนุษย์อื่นๆ แต่สังคมมนุษย์ก็ยกสูงขึ้นมากเพราะกรอบความคิดที่เพลโตเสนอ
แต่เพลโตก็เป็นคน มิใช่พรหมหรือเทพเจ้ากรีก (โดยส่วนตัวแกก็บวงสรวงบูชาเทพเจ้าอพอลโลอยู่เสมอ) เมื่อถึงเวลาแบ่งชนชั้นทางสังคม ก็ยังอดแบ่งตามความเป็นจริงในยุคนั้นไม่ได้ เรื่องที่ว่านี้ชาวประชาธิปไตยยุคหลังไม่ค่อยชอบใจนัก คนในสังคมถูกแบ่งเป็น ๓ พวกคือ
๑. พวกผลิตงาน (productive)
๒. พวกคุ้มครองป้องกัน (protective)
๓. พวกครองเมือง (governing)
ผมแปลง่ายๆ ว่าเพลโตแบ่งคนในสังคมออกเป็น “๓ ก.” คือกรรมกร กองทัพ และกษัตริย์ โดยไม่ได้บอกชัดเจนว่าแต่ละคนจะไต่บันไดทางสังคมได้อย่างไร กรรมกรต้องเป็นกรรมกรไปตลอดชาติ คลอดลูกออกมาก็ต้องเป็นกรรมกรต่อไปทุกชาติหรืออย่างไร เรื่องนี้นักประชาธิปไตยที่มีแนวคิดเรื่องเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ (ความเป็นพี่น้อง) และนักสังคมนิยมที่เน้นความเท่าเทียมอย่างแท้จริง นำมาปรับปรุงต่ออีกมาก แต่ก็ถือได้ว่าเพลโตชี้ประเด็นไว้เป็นตุ๊กตาให้คนในสังคมวิจารณ์ไว้ชัดเจน
และในเนื้อตัวของปรัชญาแล้วเพลโตก็ไม่ได้พลาด “๓ ก.” ที่ประกอบด้วยกรรมกร กองทัพ และกษัตริย์ ความจริงก็คือผู้ปฏิบัติตามความต้องการทางสังคมสามประการแรกที่เขาเสนอ นั่นคือความต้องการทางกาย ความต้องการทางจิตวิญญาณ และหลักเหตุผล
กรรมกรคือผู้ตอบสนองความต้องการทางกาย
กองทัพคือผู้ตอบสนองความต้องการทางจิตวิญญาณ เพราะดูแลรักษาความเป็นรัฐนั้นๆ
กษัตริย์คือผู้ใช้หลักเหตุผลในการครองเมือง กษัตริย์ในที่นี้รวมถึงขุนนาง นักปราชญ์ ผู้เชี่ยวชาญ พระ และครูอยู่ด้วย รวมเรียกว่าเป็นรัฐบาลหรือคณะผู้บริหารประเทศ
ความแหลมคมของเพลโตอยู่ที่นี่เอง
หากกรรมกรไม่ยอมทำหน้าที่ผลิตของกินของใช้ ไม่เกิดผลิตภาพ (productivity) สังคมนั้นก็ไม่อาจดำเนินต่อไปได้ ถ้าเราโยงมาถึงวันนี้ก็จะเห็นว่าสอดคล้องต่อหลักเศรษฐศาสตร์และกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพราะเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรของรัฐเพื่อสนองความต้องการของคนในรัฐ (แถมเป็นความต้องการที่ไม่จำกัดเสียด้วย)
นี่ก็เรียกว่ารัฐต้องมีความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจ
กองทัพไม่ใช่สู้รบจนได้รับชัยชนะเพราะกล้ามโต โหดร้าย หรือชำนาญเพลงดาบ แต่ปกป้องให้รัฐเป็นรัฐต่อไปได้ และเพลโต้ไม่เคยบอกว่าคนที่รบเก่งจะมีความสามารถปกครองบ้านเมืองเก่งด้วยเสมอไป ทหารจึงไม่ควรขึ้นครองเมืองเพียงเพราะตัวถืออาวุธ
รัฐก็ต้องดูแลให้ทหารอยู่ในกรมกอง ไม่ทะลึ่งออกมาก่อรัฐประหาร เพื่อตัวเองหรือเพื่อเจ้านายคนไหนก็ตาม รัฐที่สมดุลจึงดำรงตนต่อไปได้
โดยเฉพาะกษัตริย์ ไม่ได้หมายความถึงปุถุชนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะเลย แต่หมายถึงคณะของบุคคลที่ประกอบด้วยความสามารถหลายแขนงหลายด้าน เพราะเพลโตรวมนักคิดและนักปรัชญาไว้ในกลุ่มนี้ด้วย นักปรัชญานั้นก็มีทั้งทางโลกและทางธรรมเสร็จสรรพ งานครองเมืองในทัศนะของเพลโตจึงไม่ใช่อำนาจเฉพาะ แต่เป็นอำนาจปลายเปิดที่ผู้รู้สามารถแผ่อิทธิพลเข้าไปในการตัดสินใจได้
กษัตริย์ในยุคหลังๆ จึงไม่ชอบแนวคิดของเพลโตเลย แต่ไปแสวงหาแนวคิดอย่างอื่นมาประกอบขึ้นเป็นพระราชอำนาจอันล้นพ้นและเป็นเอกสิทธิ์บุคคลขึ้นมา ตัวอย่างที่ชัดเจนมากคือลัทธิฟาโรห์ของไอยคุปต์โบราณและลัทธิไศเลนทร์หรือเทวราชของขอมโบราณ เพลโตมาก่อนการณ์มากด้วยข้อเสนอว่ากษัตริย์คืออะไร ไม่ใช่คำถามภายหลังที่ล้าหลังกว่าว่ากษัตริย์คือใคร ในทัศนะของเขา กษัตริย์เป็นสถาบันการเมืองการปกครอง โดยมีตัวบุคคลอยู่ในนั้นและเล็กกว่าในเชิงอิทธิพล
บางครั้งพวกเราต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่แท้ แล้วเราก็งุนงงสับสนเองว่าประชาธิปไตยที่ว่านั้นคือสิ่งใด เพลโตเสนอง่ายๆ ว่าประชาธิปไตยที่แท้คือการสถาปนารัฐของประชาชนหรือรัฐที่ประชาชนเป็นใหญ่ได้สำเร็จเท่านั้นเอง
วางบทบาทของกษัตริย์ (ผู้ปกครอง) กองทัพ (ทหาร) และกรรมกร (ประชาชนผู้เสียภาษี) ไว้เสร็จสรรพ
นักประชาธิปไตยยุคหลังคว้ามาใช้เป็นยาสามัญประจำระบอบได้เลย ตัวผมเองใช้อยู่เป็นประจำ ทำให้บางครั้งอดรู้สึกไม่ได้ว่าเรากวัดแกว่งในบางครั้งก็เพราะไม่เอาหัวใจของความเป็นรัฐมาเป็นหลักในการต่อสู้
การยึดเอาตัวคุณทักษิณ หรือยึดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ หรือสาละวนหาวิธีลดโอกาสที่ทหารจะก่อรัฐประหารนั้นก็ดีอยู่หรอกครับ แต่ต้องถามต่อไปว่าคนเหล่านั้นหรือสิ่งเหล่านั้นเป็นตัวแทนของอะไรในโครงสร้างใหญ่ของรัฐ แล้วต่อสู้อยู่บนหลักการนั้น
เท่าที่ผ่านมาการยึดมั่นกับสัญลักษณ์จนเกินไปทำให้เราขาดความคล่องตัวในการต่อสู้และเคลื่อนห่างจากประชาธิปไตยอันแท้จริงขึ้นทุกวันเหมือนกัน
เอาแค่หลักการของเพลโตก็พอถม ผู้ปกครอง ผู้ถืออาวุธ และผู้ทำมาหาเลี้ยงคนทั้งรัฐ จะอยู่กันอย่างไรให้ปกติสุข
ไม่ว่าจะก่อรัฐประหารยึดอำนาจ หรือเข้าสลายการชุมนุมที่สงบด้วยกำลังที่จัดตั้งแบบนักฆ่ามืออาชีพและอาวุธสงครามครบมือ รัฐอุดมคติก็เสียหายทั้งนั้น เพราะเมื่อผู้ถืออาวุธเล่นรังแกผู้ทำมาหาเลี้ยงคนทั้งรัฐ ทำให้อยู่กันไม่ได้
ผู้ปกครองถูกผู้ถืออาวุธเข่นฆ่าหรือขับไล่ หรือในทางกลับ ผู้ถืออาวุธถูกผู้ปกครองใช้เป็นเครื่องมือรักษาอำนาจของตนอย่างเดียวโดยไม่สนใจรัฐ ก็อยู่กันไม่ได้
หนักที่สุดคือผู้ปกครองเอาเปรียบผู้ทำมาหาเลี้ยงคนทั้งรัฐ เพื่อรักษาอำนาจล้นพ้นของตนเอาไว้ ก็จะเกิดกลียุค ถ้าไม่ไล่ปราบประชาชนจนเลือดนองแผ่นดิน แผ่นดินก็ลุกเป็นไฟเพราะประชาชนลุกขึ้นโค่นอำนาจของผู้ปกครองด้วยกำลัง หายนะทั้งนั้น
ถ้าลองนำแนวคิดบริสุทธิ์ของเพลโตมาใคร่ครวญดูบ้างว่า สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคนไทย มารวมกันเป็นรัฐไทยทำไม ทำไมไม่หนีไปพึ่งใบบุญรัฐอื่นๆ หรือแตกกระสานซ่านเซ็นออกเป็นชนกลุ่มน้อยเพื่อสู้กันต่อไปในทางการเมือง เราอาจจะเห็นสาเหตุของความจลาจลในครั้งนี้ได้ชัดขึ้น
ไม่ต้องไปย้อนอ่านประวัติศาสตร์เมืองไทยหน้าไหนให้เสียเวลาเลยครับ เพราะสิ่งที่จะเกิดต่อไปจากนี้ยังไม่มีใครบันทึกไว้.
---------------------------------------------------------------------------------
TPNews (Thai People News): ข่าวสารสำหรับผู้รักประชาธิปไตย เที่ยงตรง แม่นยำ ส่งตรงถึงมือถือทุกวัน สมัครวันนี้ ใช้ฟรี 14 วัน พิมพ์ PN ส่งมาที่เบอร์ 4552146 ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน (เฉพาะ DTAC 30 บาท/เดือน) Call center: 084-4566794-6 (จ.- ศ. 9.30-17.30 น.)
๓. หลักเหตุผล (reason)
รัฐที่ดีที่สุดในทัศนะของเพลโต คือรัฐที่รู้ว่ามนุษย์เป็นทั้งคนและสัตว์ไปพร้อมกันและสร้างสมดุลได้ ความต้องการทางกายนั้นเป็นภาวะของสัตว์โลกโดยแท้ ทั้งกิน กาม และสัญชาติญาณดิบอื่นๆ แต่เมื่อเรานำจิตวิญญาณเข้ามาประกอบและพัฒนา ฝึกให้ใช้หลักเหตุผลแทนพละกำลังและความเป็นสัตว์ได้บ้างแล้ว รัฐนั้นๆ ก็จะอยู่ได้สบายขึ้นตามลำดับ เรื่องของศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ ค่านิยม ฯลฯ ก็ไหลเข้าสู่สังคมได้ในขั้นตอนนี้ ถึงบางอย่างที่จำนวนนั้นจะพากลับไปสู่ความเป็นสัตว์อยู่บ้าง อย่างพวกสุดโต่งของทุกศาสนา (religious fundamentalists) หรือลัทธิความเชื่อที่กดขี่มนุษย์อื่นๆ แต่สังคมมนุษย์ก็ยกสูงขึ้นมากเพราะกรอบความคิดที่เพลโตเสนอ
แต่เพลโตก็เป็นคน มิใช่พรหมหรือเทพเจ้ากรีก (โดยส่วนตัวแกก็บวงสรวงบูชาเทพเจ้าอพอลโลอยู่เสมอ) เมื่อถึงเวลาแบ่งชนชั้นทางสังคม ก็ยังอดแบ่งตามความเป็นจริงในยุคนั้นไม่ได้ เรื่องที่ว่านี้ชาวประชาธิปไตยยุคหลังไม่ค่อยชอบใจนัก คนในสังคมถูกแบ่งเป็น ๓ พวกคือ
๑. พวกผลิตงาน (productive)
๒. พวกคุ้มครองป้องกัน (protective)
๓. พวกครองเมือง (governing)
ผมแปลง่ายๆ ว่าเพลโตแบ่งคนในสังคมออกเป็น “๓ ก.” คือกรรมกร กองทัพ และกษัตริย์ โดยไม่ได้บอกชัดเจนว่าแต่ละคนจะไต่บันไดทางสังคมได้อย่างไร กรรมกรต้องเป็นกรรมกรไปตลอดชาติ คลอดลูกออกมาก็ต้องเป็นกรรมกรต่อไปทุกชาติหรืออย่างไร เรื่องนี้นักประชาธิปไตยที่มีแนวคิดเรื่องเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ (ความเป็นพี่น้อง) และนักสังคมนิยมที่เน้นความเท่าเทียมอย่างแท้จริง นำมาปรับปรุงต่ออีกมาก แต่ก็ถือได้ว่าเพลโตชี้ประเด็นไว้เป็นตุ๊กตาให้คนในสังคมวิจารณ์ไว้ชัดเจน
และในเนื้อตัวของปรัชญาแล้วเพลโตก็ไม่ได้พลาด “๓ ก.” ที่ประกอบด้วยกรรมกร กองทัพ และกษัตริย์ ความจริงก็คือผู้ปฏิบัติตามความต้องการทางสังคมสามประการแรกที่เขาเสนอ นั่นคือความต้องการทางกาย ความต้องการทางจิตวิญญาณ และหลักเหตุผล
กรรมกรคือผู้ตอบสนองความต้องการทางกาย
กองทัพคือผู้ตอบสนองความต้องการทางจิตวิญญาณ เพราะดูแลรักษาความเป็นรัฐนั้นๆ
กษัตริย์คือผู้ใช้หลักเหตุผลในการครองเมือง กษัตริย์ในที่นี้รวมถึงขุนนาง นักปราชญ์ ผู้เชี่ยวชาญ พระ และครูอยู่ด้วย รวมเรียกว่าเป็นรัฐบาลหรือคณะผู้บริหารประเทศ
ความแหลมคมของเพลโตอยู่ที่นี่เอง
หากกรรมกรไม่ยอมทำหน้าที่ผลิตของกินของใช้ ไม่เกิดผลิตภาพ (productivity) สังคมนั้นก็ไม่อาจดำเนินต่อไปได้ ถ้าเราโยงมาถึงวันนี้ก็จะเห็นว่าสอดคล้องต่อหลักเศรษฐศาสตร์และกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพราะเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรของรัฐเพื่อสนองความต้องการของคนในรัฐ (แถมเป็นความต้องการที่ไม่จำกัดเสียด้วย)
นี่ก็เรียกว่ารัฐต้องมีความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจ
กองทัพไม่ใช่สู้รบจนได้รับชัยชนะเพราะกล้ามโต โหดร้าย หรือชำนาญเพลงดาบ แต่ปกป้องให้รัฐเป็นรัฐต่อไปได้ และเพลโต้ไม่เคยบอกว่าคนที่รบเก่งจะมีความสามารถปกครองบ้านเมืองเก่งด้วยเสมอไป ทหารจึงไม่ควรขึ้นครองเมืองเพียงเพราะตัวถืออาวุธ
รัฐก็ต้องดูแลให้ทหารอยู่ในกรมกอง ไม่ทะลึ่งออกมาก่อรัฐประหาร เพื่อตัวเองหรือเพื่อเจ้านายคนไหนก็ตาม รัฐที่สมดุลจึงดำรงตนต่อไปได้
โดยเฉพาะกษัตริย์ ไม่ได้หมายความถึงปุถุชนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะเลย แต่หมายถึงคณะของบุคคลที่ประกอบด้วยความสามารถหลายแขนงหลายด้าน เพราะเพลโตรวมนักคิดและนักปรัชญาไว้ในกลุ่มนี้ด้วย นักปรัชญานั้นก็มีทั้งทางโลกและทางธรรมเสร็จสรรพ งานครองเมืองในทัศนะของเพลโตจึงไม่ใช่อำนาจเฉพาะ แต่เป็นอำนาจปลายเปิดที่ผู้รู้สามารถแผ่อิทธิพลเข้าไปในการตัดสินใจได้
กษัตริย์ในยุคหลังๆ จึงไม่ชอบแนวคิดของเพลโตเลย แต่ไปแสวงหาแนวคิดอย่างอื่นมาประกอบขึ้นเป็นพระราชอำนาจอันล้นพ้นและเป็นเอกสิทธิ์บุคคลขึ้นมา ตัวอย่างที่ชัดเจนมากคือลัทธิฟาโรห์ของไอยคุปต์โบราณและลัทธิไศเลนทร์หรือเทวราชของขอมโบราณ เพลโตมาก่อนการณ์มากด้วยข้อเสนอว่ากษัตริย์คืออะไร ไม่ใช่คำถามภายหลังที่ล้าหลังกว่าว่ากษัตริย์คือใคร ในทัศนะของเขา กษัตริย์เป็นสถาบันการเมืองการปกครอง โดยมีตัวบุคคลอยู่ในนั้นและเล็กกว่าในเชิงอิทธิพล
บางครั้งพวกเราต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่แท้ แล้วเราก็งุนงงสับสนเองว่าประชาธิปไตยที่ว่านั้นคือสิ่งใด เพลโตเสนอง่ายๆ ว่าประชาธิปไตยที่แท้คือการสถาปนารัฐของประชาชนหรือรัฐที่ประชาชนเป็นใหญ่ได้สำเร็จเท่านั้นเอง
วางบทบาทของกษัตริย์ (ผู้ปกครอง) กองทัพ (ทหาร) และกรรมกร (ประชาชนผู้เสียภาษี) ไว้เสร็จสรรพ
นักประชาธิปไตยยุคหลังคว้ามาใช้เป็นยาสามัญประจำระบอบได้เลย ตัวผมเองใช้อยู่เป็นประจำ ทำให้บางครั้งอดรู้สึกไม่ได้ว่าเรากวัดแกว่งในบางครั้งก็เพราะไม่เอาหัวใจของความเป็นรัฐมาเป็นหลักในการต่อสู้
การยึดเอาตัวคุณทักษิณ หรือยึดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ หรือสาละวนหาวิธีลดโอกาสที่ทหารจะก่อรัฐประหารนั้นก็ดีอยู่หรอกครับ แต่ต้องถามต่อไปว่าคนเหล่านั้นหรือสิ่งเหล่านั้นเป็นตัวแทนของอะไรในโครงสร้างใหญ่ของรัฐ แล้วต่อสู้อยู่บนหลักการนั้น
เท่าที่ผ่านมาการยึดมั่นกับสัญลักษณ์จนเกินไปทำให้เราขาดความคล่องตัวในการต่อสู้และเคลื่อนห่างจากประชาธิปไตยอันแท้จริงขึ้นทุกวันเหมือนกัน
เอาแค่หลักการของเพลโตก็พอถม ผู้ปกครอง ผู้ถืออาวุธ และผู้ทำมาหาเลี้ยงคนทั้งรัฐ จะอยู่กันอย่างไรให้ปกติสุข
ไม่ว่าจะก่อรัฐประหารยึดอำนาจ หรือเข้าสลายการชุมนุมที่สงบด้วยกำลังที่จัดตั้งแบบนักฆ่ามืออาชีพและอาวุธสงครามครบมือ รัฐอุดมคติก็เสียหายทั้งนั้น เพราะเมื่อผู้ถืออาวุธเล่นรังแกผู้ทำมาหาเลี้ยงคนทั้งรัฐ ทำให้อยู่กันไม่ได้
ผู้ปกครองถูกผู้ถืออาวุธเข่นฆ่าหรือขับไล่ หรือในทางกลับ ผู้ถืออาวุธถูกผู้ปกครองใช้เป็นเครื่องมือรักษาอำนาจของตนอย่างเดียวโดยไม่สนใจรัฐ ก็อยู่กันไม่ได้
หนักที่สุดคือผู้ปกครองเอาเปรียบผู้ทำมาหาเลี้ยงคนทั้งรัฐ เพื่อรักษาอำนาจล้นพ้นของตนเอาไว้ ก็จะเกิดกลียุค ถ้าไม่ไล่ปราบประชาชนจนเลือดนองแผ่นดิน แผ่นดินก็ลุกเป็นไฟเพราะประชาชนลุกขึ้นโค่นอำนาจของผู้ปกครองด้วยกำลัง หายนะทั้งนั้น
ถ้าลองนำแนวคิดบริสุทธิ์ของเพลโตมาใคร่ครวญดูบ้างว่า สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคนไทย มารวมกันเป็นรัฐไทยทำไม ทำไมไม่หนีไปพึ่งใบบุญรัฐอื่นๆ หรือแตกกระสานซ่านเซ็นออกเป็นชนกลุ่มน้อยเพื่อสู้กันต่อไปในทางการเมือง เราอาจจะเห็นสาเหตุของความจลาจลในครั้งนี้ได้ชัดขึ้น
ไม่ต้องไปย้อนอ่านประวัติศาสตร์เมืองไทยหน้าไหนให้เสียเวลาเลยครับ เพราะสิ่งที่จะเกิดต่อไปจากนี้ยังไม่มีใครบันทึกไว้.
---------------------------------------------------------------------------------
TPNews (Thai People News): ข่าวสารสำหรับผู้รักประชาธิปไตย เที่ยงตรง แม่นยำ ส่งตรงถึงมือถือทุกวัน สมัครวันนี้ ใช้ฟรี 14 วัน พิมพ์ PN ส่งมาที่เบอร์ 4552146 ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน (เฉพาะ DTAC 30 บาท/เดือน) Call center: 084-4566794-6 (จ.- ศ. 9.30-17.30 น.)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น