ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 57 สมานฉันท์ให้ถูกจุด


ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : หลังรัฐประหาร
ตอนที่ 57: สมานฉันท์ให้ถูกจุด
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)

****************************************************************************
อย่าลืมว่าความไม่สมานฉันท์ในพื้นที่สามจังหวัดแต่เดิมนั้น ส่วนสำคัญมาจากความไม่สมานฉันท์ของผู้กำหนดนโยบายของประเทศในทุกระดับ ทั้งเจ้าของประเทศ ผู้บริหารประเทศ และผู้ปฏิบัติ

****************************************************************************

สมานฉันท์ให้ถูกจุด

สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ฯ ประกาศว่าจะทำ คือการปรับเปลี่ยนแนวนโยบายการแก้ไขปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และก็ได้ลงมือไปแล้วหลายเปลาะ รวมทั้งการเดินทางเยือนมาเลเซียและยกเรื่องนี้ขึ้นเป็นวาระหลักในการหารือกับนายกรัฐมนตรีบาดาวี

ขณะนี้ขยับจะนิรโทษกรรมผู้ต้องหา ๕๘ คนจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่อำเภอตากใบ ซึ่งเป็นท่าทีที่สอดคล้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

วิธีการมองปัญหาใต้ของคุณสุรยุทธ์ฯ จึงดูแตกต่างค่อนข้างมากกับคุณทักษิณฯ เมื่อเป็นนายกรัฐมนตรี

หลายคนเห็นว่าเป็นความแตกต่างระหว่างความคิดสมานฉันท์กับการมุ่งหน้าปราบปราม

ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลในครั้งนี้จึงมีความสำคัญและสมควรช่วยกันจับตามอง มองแล้วก็เอาใจช่วยให้แก้ไขปัญหาให้ถูกจุดเสียที โดยอาจจะละวางความยึดมั่นถือไปสักช่วงหนึ่งก่อนว่ารัฐบาลชุดนี้มีที่มาจากการรัฐประหาร

เพราะปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นับเป็นจุดอ่อนของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นจุดอ่อนที่ใครทำก็ตาม

เรื่องนี้เรื่องเดียวอาจจะทำให้รัฐบาลชุดนี้แจ้งเกิดได้

ขณะเดียวกันก็มีเหตุประจวบเหมาะ ซึ่งเกิดต่างกรรมต่างวาระ แต่ดูจะสอดคล้องกันดี นั่นคือพรรคไทยรักไทยแต่งตั้งหัวหน้าพรรคคนใหม่ ได้แก่ คุณจาตุรนต์ ฉายแสง

คุณจาตุรนต์ฯ ในขณะที่เป็นรองนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายให้ทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายว่า จะหาทางบรรเทาไฟแห่งความขัดแย้งที่กำลังโหมกระหน่ำสามจังหวัดชายแดนภายใต้ในขณะนั้นได้อย่างไรบ้าง
หายไประยะหนึ่งแล้วคุณจาตุรนต์ฯ ก็กลับมาเสนอแนวทางสมานฉันท์

สายเสรีนิยมปรบมือกราว ชื่นชมยินดี

แต่สายอนุรักษ์โกรธเคือง เห็นว่าคุณจาตุรนต์ฯ “ไร้เดียงสา” และ “ไปตกหลุมเขา”

กระทบกระเทือนถึงสถานะทางการเมืองของคุณจาตุรนต์ฯ ในครั้งนั้นเป็นอย่างมาก เพราะแนวคิดหลักของรัฐบาลในขณะนั้นคืออนุรักษ์นิยม

พรรคไทยรักไทยในขณะนี้อาจจะไม่ใช่ตัวแปรที่สำคัญอะไรในทางการเมือง แต่ถ้าแนวทางสมานฉันท์ควรก้าวลึกมากกว่านโยบายต่อ “ฝ่ายตรงข้าม” ก็ควรจะเริ่มต้นใช้แนวทางดังกล่าวกับ “ฝ่ายเดียวกัน”

ครับ ไม่ว่ารัฐบาลชุดนี้จะใส่ใจกระบวนการประชาธิปไตยแค่ไหน แต่การได้พันธมิตรทางการเมืองที่มีจุดร่วมกันในบางเรื่อง ก็คงไม่ใช่เรื่องที่เสียหายอะไร

คุณจาตุรนต์ฯ อาจใช้โอกาสนี้เปิดกระบวนการกำหนดนโยบายต่อชายแดนภาคใต้ภายในกรอบของพรรคไทยรักไทย เพราะเมื่อพรรคการเมืองย้อนกลับมาเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลในอนาคตแล้ว ย่อมจะต้องมีแนวนโยบายว่าจะเป็นรัฐบาลประเภทไหน

ระหว่างนี้เองก็กำหนดท่าทีและการแสดงออกสาธารณะได้ ไม่แพ้พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคการเมืองอื่นๆ ทุกพรรค

ถ้ารัฐบาลใช้ประโยชน์เป็น กระบวนการแก้ไขปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็จะราบรื่นและสอดคล้องต้องกันมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศชาติต้องการ

อย่าลืมว่าความไม่สมานฉันท์ในพื้นที่สามจังหวัดแต่เดิมนั้น ส่วนสำคัญมาจากความไม่สมานฉันท์ของผู้กำหนดนโยบายของประเทศในทุกระดับ ทั้งเจ้าของประเทศ ผู้บริหารประเทศ และผู้ปฏิบัติ

ถ้าแก้ไขตรงนี้ได้ก็จะเป็นคุณูปการยิ่ง.

---------------------------------------------------------------------------------



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น