ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

ผู้นำการต่อสู้แนวปฏิวัติ...

3. อ.ปิยบุตร-อ.วรเจตน์-คุณดอม-ป้าโสภณ รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์ฯ

2. "ท่านวีระกานต์" รำลึกสี่ปีการจากไป...ลุงสุพจน์

1.จักรภพ รำลึกสี่ปีฯ.. ลุงสุพจน์

สด จาก เอเชียอัพเดท

วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : ตอนที่ 58 สไตล์ทหาร



ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : หลังรัฐประหาร
ตอนที่ 58: สไตล์ทหาร
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)

*******************************************************************************
ครับ สไตล์ทหารนั้นเน้นความแตกต่างระหว่างผู้ออกคำสั่งกับผู้รับคำสั่งมาก เหมือนอยู่คนละโลกกัน

*******************************************************************************

สไตล์ทหาร

ใครที่สนใจในเรื่องของพฤติกรรมองค์กร (Organizational Behavior: OB) น่าจะส่องกล้องเข้าไปทำเนียบรัฐบาลทุกวันนี้ จะได้ความรู้มาก

ข่าวแจ้งว่า รัฐบาลรัฐประหารของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์กำลังปรับตัวอย่างอุตลุดกับระบบราชการของทำเนียบฯ โดยเฉพาะสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ฝ่ายทำเนียบฯ ก็กำลังรู้สึกสำลักน้ำกับ “สไตล์ทหาร” เต็มรัก ไม่รู้ว่าใครจะหมดความอดทนก่อนกัน
รู้แต่ว่าเหนื่อยกันทั้งคู่

อดีตนายกรัฐมนตรีบางท่านเคยพูดหัวเราะๆ กับคนใกล้ชิดว่า “ทหารคนไหนมาเป็นนายกฯ เมืองไทย ปวดกบาลทุกคน เพราะนึกว่าจะสั่งการอะไรได้หมด เอาเข้าจริงแล้วก็เหมือนสั่งขี้มูก ต้องไล่ตามกันอุตลุดกว่าจะได้ผลตามที่สั่งการไป”

ทหารจะเป็นเหล่าไหน คุมอำนาจหรือไม่ได้คุมก็ตาม มักจะคุ้นเคยกับระบบ “สั่งการลงล่าง” ที่จำลองมาจากการสั่งงานในสมรภูมิรบ นั่นคือผู้บังคับบัญชาเปรียบประดุจพระเจ้า คำสั่งแต่ละคำสั่งมีความศักดิ์สิทธิ์เหลือที่จะกล่าว ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ “เก่ง” คือคนที่ทำตามคำสั่งนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะต้องไปขู่เข็ญใครบ้างก็ตาม

แต่กิจการพลเรือนแตกต่างจากนั้นราวฟ้ากับเหว ความเสมอภาคระหว่างมนุษย์มีมากกว่าในวงการทหาร การสั่งการใดๆ จึงเป็นเรื่องของการ “บริหาร” คือผู้ออกคำสั่งต้องหาวิธีที่จะเกิดผลสัมฤทธิ์ตามนั้น มากกว่าการ “บัญชาการ” ซึ่งแปลว่าคนรับคำสั่งต้องเป็นผู้หาวิธีทำงาน พลาดขึ้นมาก็หัวขาดเอง

ทีมงานใหม่เริ่มจะคำรามว่า ระบบราชการของทำเนียบฯ ไม่สนองนโยบายเท่าที่ควร สั่งอะไรไปก็ไม่ได้เรื่อง หรือบางเรื่องที่ได้ก็ช้าเกินการ

ทำเนียบฯ บ่นกลับว่า ทำอะไรก็ไม่วางแผน ไม่บอกล่วงหน้า นึกว่าทุกคนเขาต้องมารุมล้อมอยู่รอบตัวเองตลอดเวลาราวกับจะออกศึกหรืออย่างไร

ทีมงานใหม่ไม่เข้าใจว่าประชุมอะไรกันนักหนา เช่นจะไปเยือนต่างประเทศก็ต้องหารือกันยืดยาว

ทำเนียบฯ โต้ว่า ไม่ประชุมแล้วนายกฯ จะเข้าใจหรือว่าประเด็นหารืออยู่ตรงไหน และมีอะไรที่ละเอียดอ่อนบ้าง

ทีมงานใหม่บอกว่าสถานการณ์อย่างนี้ นายกฯ จะเคลื่อนตัวไปที่ไหนอย่าให้ใครรู้ก่อน

ทำเนียบฯ บอกว่า วาระงานนายกฯ ล่วงหน้าทำไม่ได้เลย แล้วจะหวังความพร้อมจากที่ไหน

ฟังแล้วก็ขำ เหมือนนั่งดูเทนนิส US Open ที่เขาตีโต้กันไปมา

เรื่องนี้ความจริงออกจะลึกซึ้ง การทำงานด้วยอำนาจกับการทำงานด้วยการบริหารฟันเฟืองนั้นไม่เหมือนกัน อำนาจเป็นเรื่องของการสั่งการหรือบัญชาการ ติดตามมาด้วยการตกรางวัลหรือการลงโทษทัณฑ์ การบริหารที่ดีก็มีเรื่องรางวัลและการลงโทษ แต่วัดและประเมินผลจากเป้าหมายของภารกิจนั้นๆ มากกว่าจะยึดมั่นถือมั่นกับผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นคน

อย่างว่าแหละครับ สไตล์ทหารนั้นเน้นความแตกต่างระหว่างผู้ออกคำสั่งกับผู้รับคำสั่งมาก เหมือนอยู่คนละโลกกัน แต่สไตล์พลเรือนนั้นถือว่าทั้งนายและลูกน้องอยู่ในโลกเดียวกัน จะสั่งอะไรต้องคิดซับซ้อนเหมือนเราเป็นคนทำเอง
นายกรัฐมนตรีจึงยังมีพฤติกรรมเหมือนผู้บัญชาการทหารสูงสุดอยู่ที่ตึกไทยคู่ฟ้า และตึกไทยคู่ฟ้าก็เคลื่อนห่างจากตึกอื่นๆ ในทำเนียบรัฐบาลออกไปทุกที

ผลกระทบต่อรองนายกฯ และรัฐมนตรีทั้งหลายก็เห็นได้ชัด บางท่านก็ยังไม่มีรถนำขบวน ทำให้งกๆ เงิ่นๆ ผิดๆ ถูกๆ ประชุมคณะรัฐมนตรีแต่ละครั้งแทบจะต้องส่งหน่วยตามหารัฐมนตรี ที่หลงหายไปไหนก็ไม่รู้

ย้ายลงมาทำงานกลางสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้าก็ดีนะครับ อาจจะหากันเจอ.

----------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น